Category: ไม่มีหมวดหมู่

  • Oracle Database 18c XE กับปัญหาการ import user

    Oracle Database XE คืออะไร

    Oracle XE หรือ Oracle Express Edition เป็นซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล Oracle เวอร์ชันที่ให้สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จะมีข้อจำกัดในการใช้งาน ตัวอย่างเช่นในเวอร์ชัน 18c จะมีข้อจำกัด เช่น

    • จำกัดการใช้งานข้อมูลได้ไม่เกิน 12 GB
    • จำกัดการใช้งาน RAM ได้ไม่เกิน 2 GB
    • ฟังก์ชันการใช้งานหลายอย่างที่ไม่มีให้ใช้งานเหมือนเวอร์ชัน Standard หรือ Enterprise

    Oracle Database XE 18c กับการติดตั้งในรูปแบบ Multitenant

    Oracle Database XE 18c จะถูกติดตั้งในรูปแบบที่เรียกว่า Multitenant ซึ่งจะมีรูปแบบดังนี้คือ

    • มีฐานข้อมูลที่เป็น container database
    • ฐานข้อมูลที่สร้างภายใต้ container เรียกว่า pluggable database
    • ในการติดตั้งไม่สามารถเลือกได้ว่าจะลงเฉพาะ container database อย่างเดียวโดยไม่ลง pluggable database แต่ตัว pluggable database จะถูกติดตั้งมาให้ด้วย 1 pluggable database (มีได้สูงสุด 3 pluggable database)

    รูปตัวอย่างผลการติดตั้ง Oracle Database XE 18c

    • การเรียกใช้ service name จะเป็นดังนี้
      • XE เป็น service name สำหรับเรียกใช้ container database
      • XEPDB1 เป็น service name สำหรับเรียกใช้งาน pluggable database
      • service name ทั้ง XE และ XEPDB1 จะถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่ตอนติดตั้ง

    ปัญหาที่พบกับการ import user

    • เมื่อมีการ import user ด้วยคำสั่ง impdp
    • พบปัญหากับฐานข้อมูล container หรือ XE ส่วน ตัว pluggable หรือ XEPDB1 จะไม่พบปัญหาเช่นนี้
    • ตัวอย่างข้อความ error ที่พบ

    ORA-39083: Object type USER:”๊USER” failed to create with error: //”USER” คือชื่อ user ที่ถูก import เข้ามา

    ORA-65096: invalid common user or role name

    ตัวอย่างการแก้ปัญหาเมื่อต้องการ import user เข้า XE

    • รันคำสั่ง alter session set “_ORACLE_SCRIPT”=true;
    • สร้าง user ใหม่ โดยตั้งชื่อให้ตรงกับ user ที่ต้องการ import
    • ทำการ import ด้วยคำสั่ง impdp ตามปกติ

    สิ่งที่น่าสนใจ

    จะเห็นว่า oracle database 18c XE ถูกติดตั้งมาในรูปแบบ multitenant โดยมี database เริ่มต้นให้ 2 database คือ container database และ pluggable database ดังนั้นการเลือกว่าจะใช้งานแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่เราต้องการใช้งาน แต่กรณีที่ต้องการใช้งานทั่วไปแบบปกติ จะเห็นว่าการเลือกทำงานกับฐานข้อมูล pluggable database ดูแล้วน่าจะพบปัญหาน้อยกว่าจะไปทำงานกับตัว container database

  • การใช้ grant และ grant with grant option ใน Oracle

    การใช้คำสั่ง grant

    โดยทั่วไปเมื่อต้องการให้สิทธิ์สำหรับดำเนินการกับ object ใด ๆ ของ user หนึ่งให้กับอีก user หนึ่ง จะใช้คำสั่งคือ grant ตัวอย่าง เช่น

    • user1 เป็นเจ้าของตารางชื่อ table01
    • ในฐานข้อมูลมี user ชื่อ user2 อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกับ user1
    • ต้องการให้ user2 สามารถใช้คำสั่ง select ข้อมูลจากตาราง table01 ของ user1
    • บน user1 ดำเนินการโดยใช้คำสั่งในการให้สิทธิ์คือ

    grant select on user1.table01 to user2;

    • หลังจากให้สิทธิ์แล้ว บน user2 สามารถใช้คำสั่งในการ select ข้อมูลจากตาราง table01 ของ user1 ได้ ตังตัวอย่างดังนี้

    select * from user1.table01; //ต้องระบุ user คั่นด้วยจุด และตามด้วยชื่อตาราง

    • การให้สิทธิ์ นอกจาก select แล้ว ยังมีสิทธิ์อื่น ๆ อีก เช่น insert, update, delete, execute ฯลฯ
    • ตัวอย่างการให้สิทธิ์มากกว่าหนึ่งสิทธิ์

    grant select, insert, update, delete on user1.table01 to user2;

    การใช้คำสั่ง grant with grant option

    รูปแบบการใช้คำสั่งคือ หลังคำสั่ง grant ปกติ ตามด้วย with grant option

    เช่น grant select on user1.table01 to user2 with grant option;

    ผลจากการใช้คำสั่ง with grant option จะมีผลให้ user ที่ได้รับสิทธิ์ สามารถให้สิทธิ์ที่ได้รับมา grant ต่อไปให้กับ user อื่นต่อได้นั่นเอง

    • ต่อเนื่องจากตัวอย่างแรก มี user3 ในฐานข้อมูลเดียวกันกับ user1 และ user2
    • เมื่อ user1 ใช้คำสั่ง

    grant select on user1.table01 to user2 with grant option;

    • มีผลทำให้ user2 สามารถ grant สิทธิ์ในการ select ให้กับ user อื่นต่อได้ เช่น

    grant select on user1.table01 to user3;

    user ที่ได้รับสิทธิ์ grant with option สามารถ ใช้ grant with option ต่อให้กับ user อื่นได้หรือไม่ ???

    • user ที่ได้รับการ grant ด้วยคำสั่ง with grant option สามารถ grant ให้ user อื่นด้วยคำสั่ง with grant option ด้วยเช่นกัน
    • ตัวอย่าง เช่น มี user4 ในฐานข้อมูลเดียวกับ user1, user2, user3
    • ต่อเนื่องจากตัวอย่างก่อนหน้านี้ user3 สามารถใช้คำสั่ง with grant option ต่อให้กับ user4 ได้ หาก user2 ได้ grant ให้ user3 ด้วยคำสั่ง with grant option

    ข้อควรระวัง

    • จะเห็นว่าในการใช้คำสั่ง grant with grant option นั้น จะทำให้ user ที่ได้รับสิทธิ์นี้ สามารถ grant สิทธิ์ต่อ ๆ กันไปให้กับ user อื่น ๆ เป็นทอด ๆ ด้วยคำสั่ง with grant option เช่นกัน
    • เมื่อ user อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของ object ที่ถูก grant ได้รับสิทธิ์ในการ grant with option จะเห็นว่าจะทำให้การควบคุมการให้สิทธิ์ทำได้ยาก หรืออาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นจึงไม่ควรให้สิทธิ์แบบ with grant option นั่นเอง

    การยกเลิกการให้สิทธิ์

    เมื่อต้องการยกเลิกการให้สิทธิ์ สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง revoke ตัวอย่างเช่น

    revoke select, insert, update, delete on user1.table01 from user2;

    จะเป็นการยกเลิกการให้สิทธิ์ในการ select, insert, update, delete บนตาราง table01 ของ user1 ที่เคยให้กับ user2

    ตรวจสอบได้อย่างไร ว่าเคย grant อะไรไปบ้าง

    มี view ของระบบที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบได้ว่า object ใด ถูก grant อะไรไปบ้าง ซึ่ง view นี้เป็นของ user sys

    • view ที่เก็บข้อมูลการ grant ของ object ต่าง ๆ ชื่อ dba_tab_privs
    • มีฟีลด์ที่น่าสนใจคือ
      • grantee คือ user ที่ได้รับสิทธิ์
      • owner คือ user ที่เป็นเจ้าของ object
      • table_name คือ ชื่อ object (ชื่อของ table, view ฯลฯ)
      • grantor คือ user ที่เป็นผู้ให้สิทธิ์ (อาจจะไม่ใช่เจ้าของ object ก็ได้)
      • privilege คือ สิทธิ์ที่ได้รับ
      • grantable คือ user ที่เป็น grantee สามารถ grant สิทธิ์ต่อได้หรือไม่

  • พิมพ์ข้อความใน Excel แล้วให้มีเสียงพูด

    วันนี้มาแนะนำเทคนิคง่าย ๆ ในการพิมพ์ลงในเซลให้มีเสียงอ่านอัตโนมัติ เราพิมพ์อะไรลงไปก็ให้มันอ่านคำนั้นออกมา มีวิธีการตั้งค่ายังไง มาดูกันค่ะ

    1.เปิด Excel ขึ้นมา ไปที่เมนู File > More > Options

    ตั้งค่าดังรูปข้างต้น จากนั้นจะมี Icon ดังกล่าวแสดงที่แถบ Ribbon ดังรูป

    วิธีการใช้งานให้คลิกปุ่มข้างต้น 1 ครั้ง สังเกตว่าเมื่อคลิกคือเปิดการใช้งาน จะแสดงในลักษณะเหมือนถูกกด ถูกคลิก ถูกใช้งาน จากนั้นมาทดสอบพิมพ์ข้อความช่องไหนก็ได้ เช่นพิมพ์คำว่า Hello แล้วกดปุ่ม “Enter” มันก็จะอ่านว่า “Hello” พิมพ์ประโยค แล้วกดปุ่ม “Enter” ก็จะอ่านทั้งประโยค พิมพ์ตัวเลข เช่น 1 ก็จะอ่านว่า “one” ข้อจำกัดคือจะอ่านเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น!!

    หากไม่ใช้งาน Function ดังกล่าวแล้วก็กดที่ปุ่มเดิม เพื่อยกเลิกการใช้งานค่ะ

    อันนี้เป็นเทคนิคน้อย ๆ นะคะในการใช้ Excel การพิมพ์แล้วให้มีเสียงยังไง

  • การตั้งรหัสผ่าน ใน Google Form

    ทำไมต้องใส่รหัสผ่าน!!  อย่างเช่นบางทีเราทำแบบทดสอบออนไลน์ ลงทะเบียนออนไลน์ หรือต้องการให้ใครกรอกข้อมูลเฉพาะกลุ่มที่เราต้องการ โดยไม่ให้คนอื่นมากรอกมั่ว หรือกรอกเล่น เราจะต้องมีรหัสผ่านก่อนที่จะเข้าไปกรอกฟอร์ม มีวิธีการยังไง มาดูกันค่ะ

    1.สร้างฟอร์มขึ้นมา 1 ฟอร์ม กำนหดค่าต่าง ๆ ดังรูป

    หมายถึงต้องกรอกรหัสผ่านของฟอร์มชุดนี้คือ “abc123” หากกรอกผิดจะแสดงข้อความ “คุณกรอกรหัสผิดค่ะ!!!”

    2. Add Section เพื่อเป็นการลงชื่อเข้าใช้ ดังรูป

    3. มาทดสอบกัน กรณีกรอกรหัสผ่านผิด จะกดปุ่ม “Next” ก็ไม่ไปไหน

    4. กรณีกรอกรหัสผ่านถูกต้อง

    กดปุ่ม Next ก็จะสามารถเข้าไปยังหน้าฟอร์มถัดไปได้

    นี่คือเทคนิคการทำรหัสผ่านในการทำฟอร์ม เพื่อให้มีรหัสผ่าน จะทำให้ฟอร์มของเรานี้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นค่ะ

  • การนับจำนวนข้อมูลโดยใช้ Pivot Table

    ตามปกติหากเราต้องการนับจำนวนข้อมูลที่ซ้ำๆ กัน ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ใน Excel หลาย ๆคนคงใช้ฟังก์ชัน COUNTIF ในการนับจำนวนกัน แต่วันนี้มีอีกวิธีที่จะมานำเสนอนั้นคือการใช้ Pivot Table ในการนับจำนวน ซึ่งใช้งานง่ายและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ ลองมาดูวิธีกันเลยนะคะ

    1. ใน excel ที่เรามีข้อมูลซ้ำ ๆ กันหน้าตาแบบนี้

    2. ไปที่เมนู Insert เลือก Pivot Table

    3. ปรากฏหน้าจอ Create PivotTable เพื่อให้เลือกกลุ่มของข้อมูลที่ต้องการนับจำนวน ให้เลือกคอลัมน์ที่ต้องการนับจำนวน  แล้วกดปุ่ม OK  ดังรูป

    4. ปรากฏหน้าจอการทำงานของ Pivot Table ให้เลือกลากข้อมูลชื่อ-สกุล มาไว้ในช่อง  Rows และ Values สังเกตุว่าในช่อง Values ใน Excel จะใช้ฟังก์ชัน Count ให้เราโดยอัตโนมัติ ดังรูป

    5. แสดงข้อมูลผลลัพธ์ของการนับจำนวนโดยใช้ Pivot Table ดังรูป

             

    เป็นไงบ้างคะ ยังไงก็ลองดูเอาไว้เป็นทางเลือกนะคะ เพราะบางคนอาจจะไม่ถนัดในการใช้สูตร คิดว่าวิธีนี้ก็น่าจะเป็นอีกวิธีที่น่าสนในค่ะ ^^

  • แปลภาษาผ่าน Google Sheets ด้วยสูตร(ไม่)ลับ

    ใน Google Sheets จะมีสูตรที่ชื่อว่า =GOOGLETRANSLATE ใช้เป็นคำสั่ง ให้ดึงคำหรือประโยคภาษาต่าง ๆ เข้าไปแปลให้ใน Google Translate แล้วส่งคำแปลนั้นมาแสดงใน Google Sheets ซึ่งสูตรนี้จะช่วยแปลคำหรือประโยคในภาษาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดก็คือ มันจะแสดงคำแปลตรงๆ มาให้ ไม่มีคำใกล้เคียง (Synonyms) แสดงมาให้ด้วย สามารถแปลได้ทุกภาษา แต่ต้องมีการปรับสูตรบ้างเล็กน้อย

    เริ่มต้นด้วย : เปิด Google Sheets เพื่อสร้างข้อมูลคำศัพท์ที่ต้องการแปล

    โครงสร้างสูตร
    ชื่อเซลล์ ภาษาที่จะแปล
    =GOOGLETRANSLATE(A2, “th”, “en”)
    หมายความว่า แปลคำศัพท์ที่อยู่ใน “ตำแหน่งของเซลล์ที่มีคำศัพท์หรือประโยค” ตามด้วย
    “ภาษาต้นฉบับ” และ “ภาษาที่จะแปล” เพื่อให้สูตรทำการแปลภาษาได้อย่างถูกต้องตรงตามที่เราต้องการ
    และสามารถ Copy สูตรด้านล่างได้


    หากต้องการแปลภาษาอื่น ๆ สามารถใช้อักษรย่อในแต่ละภาษาแทนได้ เช่น
    อักษรย่อแต่ละภาษา
    th ไทย , en อังกฤษ, zh จีน, k๐ เกาหลี, ja ญี่ปุ่น,ge เยอรมัน
    สำหรับภาษาอื่น ๆ เหนือจากนี้ก็เข้าไปหาได้ในที่ Link https://www.loc.gov/standards/iso639-2/php/code_list.php

    ยกตัวอย่าง เช่น
    แปลภาษาอังกฤษ เป็น ไทย
    = GOOGLETRANSLATE( ตำแหน่งของเซลล์ , “en”, “th”)


    แปลภาษาไทย เป็น อังกฤษ
    = GOOGLETRANSLATE ( ตำแหน่งของเซลล์ , “th”, “en”)


    แปลทุกภาษา เป็น ไทย
    = GOOGLETRANSLATE( ตำแหน่งของเซลล์ , “auto”, “th”)


    แปลทุกภาษา เป็น อังกฤษ
    = GOOGLETRANSLATE( ตำแหน่งของเซลล์ , “auto”, “en”)

    สูตร(ไม่)ลับ นี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการแปลคำศัพท์ในภาษาต่าง ๆ มาเป็นภาษาไทย หรือภาษาอื่น ๆ อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และประหยัดเวลาในการเข้าไปหาใน Google Translate อีกด้วย ^^

    ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ จาก : https://www.extremeit.com และ https://today.line.me/





  • ใช้มือถือแทน Mouse และ Keyboard ก็ได้นะ

    ชีวิตคนทำงาน Office ที่ต้องใช้ Computer เป็นประจำทุกวัน ทำงานกันอย่างหนักหน่วง ถ้าเกิด Mouse หรือ Keyboard ที่ใช้งานอยู่ มีปัญหาหรือเสียหายขึ้นมา จะทำยังไง? ส่งซ่อมหรือออกไปหาซื้อใหม่ ก็ทำให้เสียเวลา
    วันนี้เรามีวิธีมาช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เปลี่ยนมือถือคุณเป็น Mouse และ Keyboard แบบ WiFi ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ของคุณได้ทั้ง Windows และ Mac รวมถึงคุมมือถือ iOS และ Android ได้ด้วย สามารถพิมพ์ผ่านมือถือได้ เพียงลง Application WiFi Mouse ลงบนเครื่อง iOS หรือ Android และคอมพิวเตอร์


    เริ่มต้นด้วย
    1. Download Application ที่ชื่อว่า WiFi Mouse มาไว้ที่มือถือของเรา ซึ่งสามารถ Download ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android



    2. Download โปรแกรมที่ http://wifimouse.necta.us/ มาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยเลือก Download ตาม OS ที่เราใช้งาน



    3. หลังจากติดตั้งให้เรียบร้อย จะได้โปรแกรม Mouse Server บนคอมพิวเตอร์ และ Application WiFi Mouse บนมือถือ ดังรูป


    4. เริ่มต้นการใช้งาน มือถือและ เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องเชื่อมต่อ ให้อยู่ใน WiFi วงเดียวกัน จากนั้นให้เปิดโปรแกรมและ Application ที่ติดตั้งนั้นขึ้นมา จะปรากฏชื่อคอมพิวเตอร์ของเราบนมือถือ เพื่อให้เลือกใช้งาน ดังรูป



    5. เมื่อเลือกเข้าใช้งานที่ชื่อคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว มือถือของเราก็จะกลายเป็น Mouse และ Keyboard ได้ทันที…..ว้าวววว


    6. สำหรับ Function ที่สามารถใช้งานได้ฟรี มีดังนี้
    – Keyboard


    – Presentation


    – File Browser


    – Browser


    – Screen Picture เมื่อคลิกจะสามารถ Capture หน้าจอที่เราต้องการไปวางไว้บนหน้า Desk top



    – Applications



    – Shutdown



    ชีวิต คนทำงานง่ายขึ้นเยอะ ไว้มา update เคล็ดลับดี ๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้กันอีกนะคะ
    ขอบคุณ : ความรู้ดีๆ จาก Youtube





  • ว่าด้วยการนับแถวข้อมูลใน ORACLE

                  การนับแถวข้อมูล (Row Count) ในตารางข้อมูล (Table) บน ORACLE จะใช้คำสั่ง SQL พื้นฐานคือ

                                SELECT COUNT(*) FROM table_name;

                  แต่ในบางครั้งข้อมูลที่ไม่ปกติหรือการเพิ่มพารามิเตอร์ในคำสั่ง COUNT อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้ดังตัวอย่าง

    ภาพการสร้างตารางข้อมูล table1 และเพิ่มข้อมูล 7 แถว

                  จากภาพเป็นการเพิ่มตารางข้อมูล และเพิ่มข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกันคือ เพิ่มข้อมูลที่ไม่ซ้ำกัน เพิ่มข้อมูลซ้ำกัน เพิ่มข้อมูลที่เป็น NULL ทั้งสิ้น 7 rows

                  เมื่อใช้คำสั่งเรียกดูข้อมูลและนับจำนวนข้อมูลพบว่าข้อมูลถูกแสดงถูกต้อง และสามารถนับได้ 7 rows ถูกต้อง

    ภาพการแสดงข้อมูลและการนับจำนวนแถวข้อมูลแบบพื้นฐาน

                  เมื่อใช้พารามิเตอร์ ALL ในคำสั่ง COUNT จะพบว่าสามารถนับได้ 5 แถว ซึ่งจะหมายถึงการนับเฉพาะแถวที่มีค่าข้อมูล (ยกเว้นแถวที่มี F1 เป็น NULL)

                  การทำงานโดยใช้คำสั่ง SELECT COUNT( ALL f1) FROM table1; จะให้ผลการทำงานเหมือนกับการนับโดยระบุเงื่อนไข SELECT COUNT(*) WHERE f1 IS NOT NULL; ดังรูป

    ภาพการแสดงข้อมูล และการนับข้อมูลโดยใช้พารามิเตอร์ ALL และการระบุเงื่อนไข WHERE …. IS NOT NULL

                  เมื่อใช้พารามิเตอร์ DISTINCT ภายในคำสั่ง COUNT จะพบว่าผลการนับจะแสดงค่าที่ไม่ซ้ำเท่ากับ 4 (ค่าที่นับได้คือ 1,2,3,4) ค่า NULL ใน Row=5,7 ไม่ถูกนับเนื่องจาก NULL ไม่มีค่า

    ภาพแสดงการนับข้อมูลและการนับข้อมูลโดยระบุพารามิเตอร์ DISTINCT

                  สรุปในเบื้องต้นการนับจำนวนแถวใน ORACLE โดยใช้คำสั่ง COUNT นอกจากจะนับจำนวนแบบง่ายด้วยคำสั่ง COUNT(*) แล้ว เราสามารถระบุพารามิเตอร์ให้มีค่าเป็น ALL หรือ DISTINCT ก็จะให้ผลลัพธ์ของการทำงานที่แตกต่างกันได้

  • การใช้งานหน่วยเวลาใน ORACLE ระดับมิลลิวินาที

                  การใช้งานประเภทเวลาใน ORACLE ที่เราใช้งานปกติคือข้อมูลประเภท Date (Data Type=Date) ซึ่งจะเก็บข้อมูลที่มีหน่วยเล็กที่สุดคือ วินาที (second)

                  การใช้งานระบบที่มีผู้ใช้จำนวนมากพร้อมๆกัน ในบางครั้งหน่วยวินาทีอาจไม่ละเอียดพอ จำเป็นต้องใช้หน่วยเวลาที่เล็กกว่าวินาทีคือมิลลิวินาที (1000 มิลลิวินาที = 1 วินาที) ซึ่งใน ORACLE ได้จัดเตรียมข้อมูลประเภทนี้ไว้ให้คือ Timestamp ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งการสร้างเป็นคอลัมน์ในตารางข้อมูลหรือเป็นตัวแปรใน PL/SQL ดังตัวอย่าง

    การใช้งาน Timestamp ใน SQL

    รูปแสดงการสร้างตาราง

                  จากรูปจะสร้างฟิลด์ประเภท NUMBER, DATE และ TIMESTAMP (ที่ระดับความละเอียด 6 digits) โดยฟิลด์ DATE กำหนด Default Value = SYSDATE และ TIMESTAMP กำหนด Default = SYSTIMESTAMP

                  เมื่อเพิ่มข้อมูลโดยระบุค่าในฟิลด์ ID ค่าในฟิลด์ Date1, Date2 จะถูกป้อนค่าอัตโนมัติดังรูป โดยจะเห็นค่าความละเอียดของหน่วยเวลาที่แตกต่างกันของทั้งสองฟิลด์ดังรูป

    รูปเมื่อเพิ่มข้อมูลรายการใหม่ และสืบค้นข้อมูล

                  จากรูปจะพบว่าค่าในฟิลด์ Date1 มีค่าเวลาหน่วยวินาทีเท่ากับ 38 ส่วน Date2 มีค่าเวลาหน่วยวินาทีเป็น 38.779

                  ทดสอบการเพิ่มข้อมูลเพื่อดูค่าเวลาในฟิลด์ Timestamp โดยเพิ่มข้อมูลและหยุด 100 มิลลิวินาที ก่อนเพิ่มรายการถัดไป

    คำสั่งเพิ่มข้อมูล และพัก 0.1 วินาทีก่อนเพิ่มข้อมูลรายการถัดไป
    การสืบค้นข้อมูลเพื่อดูค่า Timestamp ที่รายการ ID = 2 และ 3

                  จากรูปจะพบว่าค่า Date1 ของรายการ 2,3 มีค่าเท่ากันในขณะที่ Date2 (Timestamp) มีค่าต่างกัน

    การใช้งานตัวแปรประเภท Timestamp ใน PL/SQL

                  นอกจาก Timestamp สามารถใช้งานในคำสั่ง SQL แล้ว ยังสามารถใช้งานได้ใน PL/SQL ได้อีกด้วยดังรูป

    รูปแสดงการใช้งานตัวแปรประเภท Timestamp

                  จากรูปเป็นการสร้างตัวแปรประเภท Timestamp และนำค่าข้อมูลในฟิลด์ข้อมูลมาจัดเก็บและแสดง

                  จากบทความนี้สามารถสรุปได้ว่า สามารถใช้งาน Data Type ประเภท Timestamp บน ORACLE เพื่อจัดการกับข้อมูลที่มีผู้ใช้งานระบบหลายคนพร้อมๆกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน่วยเวลาที่มีความละเอียดกว่าวินาที