Category: ไม่มีหมวดหมู่

  • Data cleansing ทำให้ข้อมูลสะอาดก่อนเอาไปใช้/วิเคราะห์

    Data cleansing เป็นส่วนสำคัญในการทำ ETL (Extract, Transform, Load) data cleansing process เป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับ การระบุและ แก้ไขหรือลบ ข้อผิดพลาด ความไม่สอดคล้องหรือความไม่แม่นยำในข้อมูลก่อนที่จะโหลดเข้าสู่ที่เก็บข้อมูล

    ขั้นตอนการทำ Data cleansing ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

    1. Data Profiling: เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุปัญหาด้านคุณภาพหรือความไม่สอดคล้องกันที่ต้องได้รับการแก้ไข
    2. Data Standardization: ในขั้นตอนนี้ ข้อมูลจะถูกทำให้เป็นมาตรฐานในรูปแบบทั่วไปหรือเป็นมาตารฐานสากล รวมถึง format ต่างๆ เช่น รูปแบบวันที่ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม กำหนดค่าทางการเงินที่มีหน่วยนับเดี่ยวกันทั้งหมด
    3. Data Parsing: การแยกข้อมูลออกเป็นฟิลด์หรือคอลัมน์เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และประมวลผลเพิ่มเติมได้
    4. Data Transformation: ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งรวมถึงการแปลงชนิดข้อมูล การคำนวณข้อมูล และการรวมข้อมูล
    5. Data Enrichment: เป็นการเพิ่มข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อความสมบูรณ์ของการวิเคราะห์
    6. Data Deduplication: ในขั้นตอนนี้ records ที่ซ้ำกันจะถูกระบุและลบหรือผสานเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง
    7. Data Validation: ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามกฎเกณฑ์ ข้อจำกัด และข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด
    8. Documentations : การจัดทำเอกสารประกอบการจัดทำ Data cleansing
    9. Monitoring : การตรวจสอบข้อมูลให้เป็นไปตามมาตราฐานที่ว่างไว้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีขั้นตอนไหนผิดพลาด

    data cleansing ทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ผ่านกระบวนการ ETL ไปยังที่เก็บข้อมูลต้องมี accurate consistent และ reliable โดยเป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่ตั้งไว้ตามมาตราฐานขององค์กรหรือตามมาตราฐานสากล


    Data Profiling

    การประมวลผลข้อมูล (Data Profiling) เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการ ETL (Extract, Transform, Load) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์คุณภาพ โครงสร้าง และเนื้อหาของข้อมูลเพื่อตรวจสอบปัญหาหรือความไม่สอดคล้องที่ต้องการแก้ไขก่อนการโหลดข้อมูลเข้าสู่ระบบเป้าหมาย ขั้นตอนดังกล่าวประกอบไปด้วย:

    1. ระบุแหล่งข้อมูล: ขั้นตอนแรกคือการระบุแหล่งข้อมูลที่ต้องการประมวลผล ซึ่งสามารถเป็นฐานข้อมูล ไฟล์แบบแฟลต บริการเว็บ และแหล่งข้อมูลอื่นๆ
    2. กำหนดกฏการประมวลผลข้อมูล: เมื่อระบุแหล่งข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องกำหนดกฏการประมวลผลข้อมูล
    3. เลือกเครื่องมือประมวลผลข้อมูล: มีเครื่องมือประมวลผลข้อมูลหลายตัวที่ใช้งานได้ในตลาด สามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณขององค์กร
    4. กำหนดค่าเครื่องมือการโปรไฟล์ข้อมูล: กำหนดค่าเครื่องมือการโปรไฟล์ข้อมูลให้เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลและเก็บข้อมูลที่ต้องการสำหรับการวิเคราะห์ กำหนดกฎและตัวชี้วัดสำหรับการโปรไฟล์ข้อมูลรวมถึงความสมบูรณ์ของข้อมูล ความแม่นยำของข้อมูล ความสอดคล้องของข้อมูล และเวลาที่เป็นไปตามกำหนด
    5. รันกระบวนการโปรไฟล์ข้อมูล: เมื่อเครื่องมือการโปรไฟล์ข้อมูลได้ถูกกำหนดค่า จะต้องรันกระบวนการโปรไฟล์ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างรายงานโปรไฟล์ วิเคราะห์รายงานเพื่อระบุปัญหาคุณภาพข้อมูล เช่นข้อมูลที่ขาดหายไป เร็คคอร์ดที่ซ้ำกัน หรือค่าข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกัน
    6. แก้ไขปัญหาคุณภาพข้อมูล: โดยอิงตามรายงานการโปรไฟล์ข้อมูล จะต้องแก้ไขปัญหาคุณภาพข้อมูลโดยพัฒนากฎการทำความสะอาดข้อมูลหรือทำการเปลี่ยนแปลงในแหล่งข้อมูลหรือกระบวนการ ETL เพื่อให้ข้อมูลสะอาดและถูกแปลงตามกฎธุรกิจและความต้องการ
    7. ตรวจสอบคุณภาพข้อมูล: ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอย่างต่อเนื่องและทำการวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลยังคงถูกต้องและสอดคล้องกันตลอดเวลา

    โดยรวมแล้ว การทำ Data profiling เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการ ETL เนื่องจากมันช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่โหลดเข้าระบบเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง สอดคล้องกัน และเชื่อถือได้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ


    Data Standardization

    จัดข้อมูลให้เข้ากับมาตราฐานองค์กรหรือมาตราฐานสากล ตัวอย่างมาตราฐานข้อมูลของไทย

    คู่มือการจัดทํามาตรฐานเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
    Data Standardization for e-Government Interoperability Manual


    Data Parsing

    เป็นกระบวนการแปลงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น ที่อยู่ จะแยกออกเป็น บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นต้น การแยกวิเคราะห์ข้อมูลสามารถใช้เพื่อดึงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

    มีหลายวิธีในการทำ Data Parsing วิธีการหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปคือการใช้ parser generator สำหรับแปลงรูปแบบข้อมูลเฉพาะ เมื่อสร้างโปรแกรมแยกวิเคราะห์แล้ว สามารถใช้เพื่อแยกวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้

    อีกวิธีหนึ่งในการทำ Data Parsing คือการใช้ library หรือ API ทั้งทำเองหรือเอาที่ท่านอื่นๆทำไว้แล้ว


    Data Transformation

    เปลี่ยนข้อมูลไปเป็นรูปแบบที่ต้องการ โดยใช้รูปแบบดังนี้

    1.ใช้ data dictionary เพื่อให้ตรงกันทั้งหมด เช่น ตัวย่อ กทม. กรุงเทพฯ เป็นต้น
    2.ใช้ data validation tool เพื่อความถูกต้อง (accurate)
    3.ใช้ data quality tool เพื่อระบุและแก้ไขข้อผิดพลาดในข้อมูล (correct errors)
    4.ใช้ data transformation tool ทำงานเอง


    Data Enrichment

    กระบวนการเติมข้อมูลหรือการทำให้ข้อมูลที่เรามีอยู่แล้วสมบูรณ์ขึ้น โดยมาเป็นข้อมูลจากภายนอกหรือจากแหล่งอื่นๆ เช่น มีข้อมูลการลงทะเบียนของนักศึกษาอยู่ แล้วเอาข้อมูลการได้รับทุนกับข้อมูลการกู้ยืมมาประกอบ มาเติ่มทำให้มิติของการวิเคราะห์หรือมุมมองเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น


    Data Deduplication

    การตรวจสอบการซ้ำกันของข้อมูลทำได้โดยการเขียน Query ตรวจสอบหรือใช้เครื่องมือกลุ่ม data profiling, data quality ช่วยก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


    Data Validation

    การตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล ส่วนใหญ่จะทำโดยการทำ Data aggregation ข้อมูลต้นทาง ปลายทาง เหมือนเป็นการตรวจสอบกระบวนการที่ทำมาว่าถูกต้องตามกฏเกณฑ์ที่ว่างไว้หรือไม่


    Documentations

    การเขียนเอกสารการทำความสะอาดข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทำความสะอาดข้อมูล มันช่วยให้แน่ใจว่ากระบวนการทำความสะอาดข้อมูลสามารถทำซ้ำได้และมีประสิทธิภาพ การเขียนเอกสารควรรวมข้อมูลดังนี้:

    1. วัตถุประสงค์ของการทำความสะอาดข้อมูล
    2. ขอบเขตของการทำความสะอาดข้อมูล ต้องทำอะไรบ้าง column ไหนทำอะไร
    3. แหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ ระบุแหล่งข้อมูลมาจากที่แหล่ง อะไรบ้าง ข้อจำกัดต่างๆที่มี
    4. วิธีการทำความสะอาดข้อมูลที่จะใช้
    5. เครื่องมือที่ใช้ในการทำความสะอาดข้อมูล
    6. ขั้นตอนการทำความสะอาดข้อมูล เขียนให้ชัดเจนทำอะไรกับ column ไหนบ้าง
    7. ผลลัพธ์ของการทำความสะอาดข้อมูล
    8. ตัวชี้วัดของการทำความสะอาดข้อมูล ผลที่เกิดจากการทำความสะอาดข้อมูล เช่น เปลี่ยนค่าไปกี่ records แทนข้อมูลไปกี่ record

    การเขียนเอกสารการทำความสะอาดข้อมูลควรเขียนอย่างชัดเจนและกระชับ และควรเข้าใจและสามารถติดตามได้ง่าย การเอกสารควรอัพเดทเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในโครงการทำความสะอาดข้อมูลด้วย

    เคล็ดลับสำหรับการเขียนเอกสารการทำความสะอาดข้อมูล:

    1. เริ่มต้นด้วยการระบุวัตถุประสงค์ของโครงการทำความสะอาดข้อมูล คุณต้องการทำอะไรในการทำความสะอาดข้อมูล?
    2. ระบุขอบเขตของโครงการได้ คุณจะทำความสะอาดข้อมูลอะไรบ้าง อย่างไร?
    3. ระบุแหล่งข้อมูลที่จะใช้ ข้อมูลนี้มาจากไหนบ้างกี่แหล่งข้อมูล ?
    4. ระบุวิธีการทำความสะอาดข้อมูลที่จะใช้ คุณจะใช้วิธีการใดในการทำความสะอาดข้อมูล?
    5. เครื่องมือที่จะใช้เพื่อทำความสะอาดข้อมูล?
    6. เขียนขั้นตอนการทำความสะอาดข้อมูลเป็นเหมือนกฏเกณฑ์ไว้?
    7. เขียนผลลัพธ์เป้าหมายที่จะได้รับหลังทำความสะอาดข้อมูล?
    8. สรุปผลการทำความสะอาดข้อมูลทำงานได้ดีแค่ไหน โดยการระบุจำนวนข้อมูลที่ดำเนินการสำเร็จ ไม่สำเร็จ ต่างๆ?

    Monitoring

    เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยติดตามการทำ data cleansing เป็นไปตามกฏหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ ตรวจสอบ error log มีข้อมูลส่วนไหนมีปัญหาดำเนินการไม่ได้บ้าง อาจจะทำเป็น Dashboard สำหรับ Monitoring Data Cleansing Process แสดงวันเวลาดำเนินการ ผลลัพธ์สำเร็จหรือ error เท่าไร เป็นต้น


    Check List

    1. Check for missing values: ค่าที่ไม่ควรมีหรือ NULL ค่าที่ผิดต้องมี Data Standardization เป็นมาตราฐาน
    2. Check for duplicates: records ที่ซ้ำซ้อนกัน
    3. Check for outliers: data นอกช่วงที่ควรจะเป็นไม่ว่าจะเป็น อายุ วันที่ หรือ ช่วงเงินเดือนเป็นต้น วิธีการหา Outliers โดยการ Sort data มองหาค่าเกิดขอบเขต หรือ Graphing พวก Boxplots, Histograms  หาความสุดโต้งของข้อมูล
    4. Check data types: ตรวจสอบชนิดของข้อมูลต้องตรงกัน
    5. Check for inconsistent data: คือ การตรวจสอบข้อมูลที่มาจากหลายๆ แหล่งข้อมูลและมีความไม่ตรงกันทั้งๆที่เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
    6. Check for valid ranges: ช่วงของข้อมูลที่ควรจะเป็น
    7. Check for appropriate formatting: รูปแบบของข้อมูล เช่น วันที่แบบ พ.ศ. หรือ ค.ศ. หน่วยของเงิน หน่วยของส่วนสูง หรือน้ำหนัก เป็นต้น
    8. Check for missing or incorrect relationships: ข้อมูลที่มีการอ้างอิง เช่น foreign key ต้องตรวจสอบให้สามารถอ้างอิงกันได้จริงและถูกต้อง
    9. Check for errors in calculations: การคำนวนที่มีความไม่ถูกต้อง
    10. Check for documentation: สุดท้ายต้องตรวจสอบเอกสารที่ทำว่า update เป็นปัจจุบันหรือไม่

    ทั้งหมดนี้ก็คืองานที่ต้องทำและต้องตรวจสอบสำหรับการทำ Data cleansing ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่รู้จบ ทำวนไปเพื่อรักษาความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลไปจนกว่าไม่มีใครใช้ข้อมูลนั้นอีกแล้ว

    ขอบคุณสำหรับการเข้ามาอ่านบทความนี้นะครับ บันทึกไว้เพื่อช่วยจำในการทำงาน ถ้าผิดพลาดประการใด สามารถ comment แนะนำได้นะครับ

  • Data Masking ให้รู้ว่ามีอยู่จริง แต่ขอปิดไว้นะ

    Data Masking เป็นวิธีการสร้างข้อมูลใน Version ที่มีโครงสร้างเหมือนกันในระดับชัดข้อมูล ตารางหรือ template ข้อมูล แต่มีการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น รหัสนักศึกษา จาก 6600123 เป็น D2RT126 เป็นต้น และถ้า field หรือ Column มีคุณสมบัติเป็น Unique key ก็ต้องรักษาคุณสมบัตินั้นไว้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การทดสอบซอฟต์แวร์ การฝึกอบรมผู้ใช้ การส่งต่อให้ทีมงานอื่นๆไปทำงานต่อ แต่ไม่ต้องการให้เห็นข้อมูลที่แท้จริง และการเอาข้อมูลไปเผยเพร่ในรูปแบบ Open Data

    ทำ Data Masking เพื่อปกป้องข้อมูลจริงแต่ผลลัพธ์ต้องเหมือนกับชุดข้อมูลจริงต้นฉบับ เช่น ถ้านับจำนวนจากรหัสนักศึกษาจริง ก็ต้องมีผลเท่ากับที่นับจากจำนวนรหัส masking ที่จัดทำขึ้น

    เมื่อกฏหมาย PDPA มีบทลงโทษที่ชัดเจนทางกฏหมาย การทำ Data Masking ก็เป็นช่องทางที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการทำให้ข้อมูลรั่วไหลไปโดยไม่ได้ตั้งใจ

    Data masking ต่างจาก encryption ตรง Encrypted สามารถ decrypted ได้ข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม และอาจจะทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลบางจำพวกได้เมื่อ Encrypted ข้อมูลไปแล้ว เช่น วันเกิด เป็นต้น แต่ Masked Data จะต้องไม่มี algorithm ไหนนำกลับข้อมูลให้เหมือนต้นฉบับได้ ไม่สามารถ reverse engineered ได้ และไม่สามารถใช้ความสามารถทางสถิติในการระบุตัวบุคคลได้ เช่นการเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาประกอบขึ้นเพื่อระบุว่าเป็นข้อมูลของใครคนใดคนหนึ่งได้

    เทคนิคการทำ Data Masking

    Scrambling การเข้ารหัสแบบสุ่ม เป็นการสร้างความยุ่งเหยิงให้ข้อมูล

    Substitution เทคนิคนี้จะแทนที่ข้อมูลเดิมด้วยค่าอื่นจากการหาค่าที่น่าเชื่อถือและเป็นค่าประเภทเดียวกับข้อมูลที่แทนที่ โดยสร้างตารางข้อมูลที่จะใช้เพื่อแทนข้อมูลต้นฉบับ ต้องมีการตั้งกฎเพื่อรักษาลักษณะเดิมของข้อมูลไว้

    การใช้การแทนที่ทำได้ยากกว่าการเข้ารหัสข้อมูล แต่สามารถนำไปใช้กับข้อมูลหลายประเภทและให้ความปลอดภัยที่ดี ตัวอย่างเช่น คุณสามารถแทนที่หมายเลขบัตรเครดิตด้วยหมายเลขที่ผ่านกฎการตรวจสอบของผู้ให้บริการบัตร

    Shuffling การสับเปลี่ยนข้อมูลโดยการสุ่ม เช่นการสลับนามสกุลของลูกค้า

    Date aging วิธีนี้จะเพิ่มหรือลดฟิลด์วันที่ตามช่วงวันที่ที่ระบุไว้แล้วตามกฏที่ตั้งไว้

    Variance วิธีการนี้มักใช้เพื่อปกปิดข้อมูลมูลค่าทางการเงินและการทำธุรกรรมและข้อมูลวันที่ Algorithm ความแปรปรวนจะปรับเปลี่ยนตัวเลขหรือวันที่แต่ละคอลัมน์โดยสุ่มเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าจริง ตัวอย่างเช่น คอลัมน์ของเงินเดือนพนักงานอาจมีความแปรปรวนเป็นบวกหรือลบ 5% ที่ใช้กับคอลัมน์นั้น การทำเช่นนี้จะเป็นการปลอมแปลงข้อมูลที่สมเหตุสมผลในขณะที่รักษาช่วงและการกระจายของเงินเดือนให้อยู่ภายในขีดจำกัดที่มีอยู่

    Masking out การปิดบังจะแปลงค่าเพียงบางส่วนเท่านั้น และมักใช้กับหมายเลขบัตรเครดิตที่มองเห็นเพียงตัวเลขสี่หลักสุดท้ายเท่านั้น เดียวนี้เราน่าจะเห็นบ่อยๆ วันก่อนแม่เข้า รพ. ปกติบนกระดานในหอผู้ป่วยจะเขียนเบอร์โทรหมอไว้แบบพร้อมใช้งาน เดียวนี้จะเขียนไว้แค่ 3 ตัวหลังเท่านั้น

    Nullifying จะแทนที่ค่าจริงในคอลัมน์ข้อมูลด้วยค่า NULL ซึ่งจะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมดออก แม้ว่าการลบประเภทนี้จะใช้งานได้ง่าย แต่ไม่สามารถใช้คอลัมน์ที่ไม่มีค่าในการค้นหาหรือการวิเคราะห์ได้ ส่งผลให้ความสมบูรณ์และคุณภาพของชุดข้อมูลสำหรับสภาพแวดล้อมการพัฒนาและการทดสอบลดลงได้

    ประเภทของ data masking

    Static data masking จะสร้างชุดข้อมูลที่ปิดบังแยกต่างหากจากฐานข้อมูลจริงในที่ใหม่ เช่น การวิจัย การพัฒนา และการสร้างแบบจำลอง ค่าข้อมูลที่ปกปิดต้องสร้างผลการทดสอบและการวิเคราะห์ที่สะท้อนข้อมูลต้นฉบับและคงอยู่เมื่อเวลาผ่านไปเพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ถูกต้องและทำซ้ำได้

    Dynamic data masking  เป็นการรักษาความปลอดภัยตามบทบาทโดยเฉพาะในระบบที่ใช้งานจริง เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจริง Dynamic data masking จะแปลง บดบัง หรือบล็อกการเข้าถึงฟิลด์ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนตามบทบาทของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ต้องการใช้ข้อมูลนักศึกษาทั้วไปไม่จำเป็นที่ต้องให้เห็น รหัสบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ก็ทำการปกปิดไป

    On-the-fly data masking เป็นการปกปิดข้อมูลในขณะโอนข้อมูลไปสู่อีกที่นึ่ง หรือไปอยู่ในฐานข้อมูลทดสอบต่าง ๆ  

    ความยากของการทำ Data Mask คือความซับซ้อนของข้อมูลที่นำมาทำตามรูปแบบข้างต้นที่ต้องรักษา Referential integrity * ไว้และยังต้องรักษากฏตาม Data governance policy ด้วย

    ดีต่อมหาวิทนาลัยอย่างไรเมื่อมีการใช้ Data masking

    1. ป้องกันการละเมิดข้อมูลและเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล
    2. ทำ Data masking ก่อนการการพัฒนาระบบ การทดสอบ และการวิเคราะห์ ช่วยให้สามารถแชร์ข้อมูลสำคัญทั้งภายในและภายนอกได้ ในขณะที่ยังคงเป็นไปตามข้อบังคับ หรือ กฏหมาย PDPA
    3. ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเหมาะสมตามบทบาท
    4. ทำให้ผู้ใช้งานสบายใจและไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหลแล้วต้องรับผิดชอบต่างๆนาๆ เพราะข้อมูลที่นำมาใช้งานได้ปกป้องผู้ใช้งานอยู่แล้ว อันนี้ดีสุด

    ข้อมูลประกอบอื่น ๆ

    * Referential integrity ทำให้ข้อมูลมีทั้ง consistent และ accurate โดยการจัดทำ foreign key ที่ต้องมีค่าข้อมูลในอีกตารางเท่านั้นถึงจะปรากฏในตารางปลายทางได้ การสร้าง Trigger หรือ stored procedure เพื่อควบคุมการทำ CRUD ข้อมูล

    ** Data sanitization เป็นกระบวนการลบ Sensitive Data หรือ Confidential Data จากฐานข้อมูลมีวิธีทำดังนี้

    1. Overwriting the data with random characters สร้างข้อมูลสุ่มมาแทนที่ข้อมูลเดินแบบไม่ให้สามารถย้อนหลังข้อมูลได้
    2. Degaussing การลบข้อมูลแบบใช้สนามแม่เหล็ก (powerful magnetic)
    3. Physical destruction เป็นการทำลายอุปกรณ์จัดเก็บไปเลย

    คำถามต่อไปที่จะหาคำตอบคือมี Tools อะไรมาช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำ Data Masking บ้าง ?

    อ้างอิงข้อมูลจาก

    Data Masking จากเว็บ https://www.techtarget.com/searchsecurity/definition/data-masking

    AI ที่ชื่อ Bard ของ Google : https://bard.google.com/

    AI ของ OpenAI : https://chat.openai.com/

  • โกง Online ก็ต้องฟ้อง Online ซิครับ

    ผมสั่งซื้อของ Online มาก็เยอะแล้วไม่ค่อยพลาด แต่ก็ไม่วายเจอดีเข้าจนได้ เมื่อสั่งซื้อของ Online แล้วไม่ได้รับของ ของไม่ตรงปก ของเสียหาย เราก็ต้องฟ้องแบบ Online ไปเลยครับ (แต่ก่อนฟ้องต้องแน่ใจว่าโดนโกง โดยการติดต่อผู้ขายแล้ว ติดต่อไม่ได้โดนบล๊อก หรือปฏิเสธความรับผิดชอบ)

    มาเริ่มกันเลย

    กระบวนการจะมีอยู่ 5 ขั้นตอนสำหรับครั้งแรกของการขอยืนฟ้อง

    1. Load Application COJ CONNECT และลงทะเบียน
    2. เข้าสู่เว็บ https://efiling3.coj.go.th/ โดยใช้การเข้าระบบผ่านทาง Application COJ CONNECT ที่ได้ลงทะเบียนไว้
    3. กรอกข้อมูลยื่นฟ้องตามเอกสารที่เตรียมไว้
    4. รอการพิจารณาประทับรับฟ้อง
    5. รอขึ้นศาลผ่านทาง Online

    ขั้นตอนการสมัครสมาชิก Application COJ CONNECT และลงทะเบียน
    1. Scan QR Code หรือเข้า Android (Google Play) และ IOS (App Store) ค้นหา COJ CONNECT

    2. เข้าสู่ Application COJ CONNECT เพื่อลงทะเบียน ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน

    2.1 ระบุตัวตน >> กรอกข้อมูลรายละเอียดทุกช่องที่มีเครื่องหมาย *

    2.2 ตรวจสอบบุคคล >> ถ่ายรูปบัตรประชาชนและหน้าตาหล่อๆ สวยๆ

    2.3 รหัสผ่าน >> ตั้งรหัสผ่านตามกฏที่ทางเว็บกำหนด

    2.4 OTP >> รับรหัส OTP จากเบอร์มือถือที่กรอกข้อมูลไว้

    2.5 ลงทะเบียนอุปกรณ์

    หน้าระบุตัวตนหน้าที่ 1.
    หน้าระบุตัวตนหน้าที่ 2.

    เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอน เราก็พร้อมสำหรับเริ่มกระบวนการฟ้องแล้วครับ

    1. เริ่มต้น เข้าเว็บ https://efiling3.coj.go.th/
    Click เลือก ประชาชน เว็บจะพามาหน้า
    เลือก เข้าสู่ระบบ
    เลือก เข้าสู่ระบบผ่าน COJ Connect โดยจะกรอกข้อมูลรหัสบัตรประชาชน และ รหัสผ่าน หรือจะเปิด Application COJ Conect แล้ว SCAN QR Code ก็ได้ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังรูปด้านล่างนี้

    ถ้าเป็นครั้งแรกจะให้ใส่ OTP เพื่อยืนยันอีกรอบ แต่ถ้าเข้ารอบหลังๆจะไม่มีให้ใส่ OTP อีกแล้ว

    และระบบจะพามาสู่หน้า

    เลือก ยื่นฟ้องคดีผู้บริโภค
    เลือก ผู้ซื้อสินค้า หลังจากนั้น กรอกข้อมูลและ upload หลักฐานการพูดคุยและจ่ายเงินทั้งหมดเข้าระบบ

    เมื่อกรอกข้อมอูลครบแล้ว Click ยื่นฟ้อง แล้วก็รอ Mail ตอบกลับจากศาล ซึ่งจะมีอยู่ 3 ฉบับ ดังนี้

    Mail แรก บอกว่ายื่นฟ้องเรียนร้อยแล้ว รอเจ้าพนักงานคดีทำการตรวจสอบ
    Mail ที่ 2 แจ้งรับฟ้องคดี
    Mail ที่ 3 จะนัดหมายวันที่ศาลพิจารณา เวลา โดยผ่านทาง google meet

    ที่ผมยื่นฟ้องไปนับจากวันเริ่มยื่น การดำเนินการ mail ทั้ง 3 ฉบับประมาณ 2 สัปดาห์ แต่รอศาลนัดพิจารณาคดีประมาณ 3 เดือน

    ตอนนี้ยังไม่ได้ขึ้นศาลพิจารณาคดี ถ้ามีความคืบหน้าจะมาเขียนสรุปเพิ่มให้นะครับ

    มาต่อกันครับ

    วันขึ้นศาล เข้า link ตามที่ระบบ Mail มาให้ซึ่งจะเป็นห้องรอขึ้นศาลจะมีการถ้าเพื่อตรวจาสอบชื่อ นามสกุล และบอกให้เตรียมบัตรประชาชนและแต่งกายสุภาพ เมื่อห้องพิจารณาคดีวาง ก็จะมีเจ้าหน้าที่ส่ง link มาทาง chat ในห้องประชุมแล้วเจ้าหน้าที่จะบอกว่าห้องประชุมนี้ให้โจทย์ท่านใดเข้าเป็นรายคนไปครับ

    เข้าห้องพิจารณาคดี เริ่มแรกก็ให้แสดงบัตรประชาชนกับหน้าของโจทย์เพื่อยืนยันตัวตนและเป็นหลักฐาน จากนั้นศาลท่านจะให้กล่าวคำสาบาน เสร็จจากนั้นศาลท่านจะสอบถามที่มาที่ไป ความต้องการ เช่นต้องการเงินคืนพร้อมดอกเบื้อร้อยละ 5 เป็นต้น เมื่อศาลซักเสร็จศาลก็จะแจ้งให้เข้าระบบในภายหลังเพื่อติดตามคำพิพากษาไม่เกิน 10 วันทำงาน

    ตอนนี้ถึงขั้นตอนนี้อยู่ครับ รอคำพิพากษาจากศาลครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านนะครับ

  • แนะนำวิธีการสร้างรูปภาพลายเซ็นสำหรับใช้บน Adobe Acrobat DC


    แนะนำ 2 วิธีการ คือ

    1) วิธีการสร้างรูปภาพลายเซ็นเป็นนามสกุล .pdf โดยใช้ Microsoft Word

    2) วิธีการสร้างรูปภาพลายเซ็นเป็นนามสกุล .pdf โดยใช้ Microsoft PowerPoint

    หมายเหตุ: รูปภาพลายเซ็นต้องเป็นนามสกุล .pdf สำหรับใช้บน Adobe Acrobat DC

    วิธีการสร้างรูปภาพลายเซ็นเป็นนามสกุล .pdf โดยใช้ Microsoft Word

    1) เตรียมรูปภาพลายเซ็น (นามสกุล .png, .jpg หรือ .jpeg) แนะนำภาพพื้นหลังสีขาว

    2) เปิดโปรแกรม Microsoft Word

    2.1) คลิก Layout

    2.2) Page Setup (คลิกเครื่องหมายลูกศร)

    2.3) ตั้งค่า Margins

    2.4) Top: 0″, Bottom: 0″, Left: 0″, Right: 0″

    2.5) Orientation: คลิก Landscape

    2.6) คลิก OK

    2.7) ตั้งค่า Paper

    Paper size คลิก Custom size Width: 6.25″ และ Height: 2.08333″ และคลิก OK

    หมายเหตุ:
    600 Pixel = 15.875 cm = 6.25 inches
    200 Pixel = 5.29167 cm = 2.08333 inches

    2.8) คลิก Insert > Pictures > This Device…

    2.9) เลือกรูปภาพที่ต้องการ จากนั้นปรับรูปภาพตามความเหมาะสม

    2.10) File > Save As

    2.11) ตั้งชื่อไฟล์ เลือก Save as type เป็น PDF

    2.12) คลิก Save

    3) ผลลัพธ์จากการสร้างรูปภาพลายเซ็น

    วิธีการสร้างรูปภาพลายเซ็นเป็นนามสกุล .pdf โดยใช้ Microsoft PowerPoint

    1) เตรียมรูปภาพลายเซ็น (นามสกุล .png, .jpg หรือ .jpeg) แนะนำภาพพื้นหลังสีขาว

    2) เปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint

    2.1) คลิก Design

    2.2) คลิก Slide Size

    2.3) คลิก Custom Slide Size…

    2.4) Slides sized for คลิก Custom

    Width 6.25 in และ Height 2.083 in

    2.5) Orientation > Slides คลิก Landscape

    2.6) คลิก OK

    2.7) คลิก Ensure Fit

    2.8) คลิก Insert > Pictures > This Device…

    2.9) เลือกรูปภาพที่ต้องการใช้ จากนั้นปรับรูปภาพตามความเหมาะสม

    2.10) File > Save As

    2.11) ตั้งชื่อไฟล์ เลือก Save as type เป็น PDF

    2.12) คลิก Save

    3) ผลลัพธ์จากการสร้างรูปภาพลายเซ็น

  • แนะนำวิธีการสร้าง Digital Signature บน Adobe Acrobat DC

    1) เข้าเว็บไซต์ https://passport.psu.ac.th/
    2) คลิก หัวข้อออกใบรับรองดิจิทัลส่วนบุคคล (USER CERTIFICATE AUTHORITY)

    3) ดาวน์โหลด Certificate (จะได้ไฟล์ jakkrit.ch@psu.ac.th.p12)

    4) กรอก Username และ Password (PSU Passport) และคลิก Sign in

    5) กรอก PINCODE และคลิก Authorize Application/อนุญาตให้เข้าถึง

    หมายเหตุ: ไฟล์ jakkrit.ch@psu.ac.th.p12 คือใบรับรองดิจิทัลส่วนบุคคล (Digital ID หรือ Digital Certificate)

    6) ดาวน์โหลด CA Certificate สำหรับใช้ตรวจสอบใบรับรองดิจิทัลส่วนบุคคล(TUCTrustedCert.fdf)

    หมายเหตุ: TUCTrustedCert เป็น Self Sign ที่ถูกรับรองโดยสมาคมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (Thailand University Consortium Root CA (TUC))

    วิธีการติดตั้ง TUCTrustedCert

    1) Double Click ไฟล์ TUCTrustedCert

    2) คลิก Add Contacts to List of Trusted Identities…

    3) คลิก Check ที่ Use this certificate as a trusted root

    4) คลิก Check ที่ Certified documents

    5) คลิก Check ที่ Dynamic content

    6) คลิก Check ที่ Embedded high privilege JavaScript

    7) คลิก Check ที่ Privileged system operations (networking, printing, file access, etc.)

    8) คลิก OK

    9) คลิก OK (กรณีที่ติดตั้ง TUCTrustedCert ครั้งแรก)

    หมายเหตุ: กรณีที่มีการติดตั้ง TUCTrustedCert แล้ว

    วิธีการติดตั้ง Digital ID หรือ Digital Certificate

    ตัวอย่างไฟล์ jakkrit.ch@psu.ac.th.p12

    1) คลิก Mouse ขวา เลือก Install PFX

    2) Store Location: คลิก Current User และคลิก Next

    3) File name: คลิก Browse… ไฟล์ jakkrit.ch@psu.ac.th.p12 และคลิก Next

    4) กรอก Password (PINCODE)

    5) คลิก Check Include all extended properties

    6) คลิก Next

    7) คลิก Automatically select the certificate store based on the type of certificate

    8) คลิก Next

    9) คลิก Finish

    10) คลิก OK

    วิธีการลงลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature)

    1) เปิดไฟล์ PDF ที่ต้องการลงลายเซ็นดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat DC

    2) คลิก Tab เครื่องมือ Tools และคลิก Certificates

    3) คลิก Digitally Sign

    4) คลิก Check ที่ Do not show this message again

    5) คลิก OK

    6) ใช้ Mouse ลากบริเวณที่จะลงลายเซ็นดิจิทัล

    7) คลิก Configure Digital ID

    8) คลิก Digital ID

    9) คลิก Continue

    10) คลิก Create

    11) คลิก Draw

    12) วาดภาพลายเซ็น จากนั้นคลิก Apply

    13) คลิก Save

    14) คลิก Sign

    15) ตั้งชื่อไฟล์ และคลิก Save

    16) ผลลัพธ์จากการลงลายเซ็นดิจิทัล

  • วิธีการสร้าง/แชร์ Template จาก Notion

    • URL : https://www.notion.so/

    การใช้งานโปรแกรม Notion มีเครื่องมือการใช้งานที่หลากหลาย มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้ ซึ่งงานที่เอามาใช้มากที่สุดตอนนี้เป็นการบันทึกรายงานการ

    สร้างเป็น Table

    1. สร้างเพจใหม่โดยการคลิก New page
    2. ตั้งชื่อของเพจ
    3. เลือก Table

    เมื่อตั้งชื่อเพจ และสร้าง Table เรียบร้อยแล้ว เราต้องการสร้าง template สำหรับเป็นรูปแบบที่เมื่อมีการบันทึกการประชุมทุกครั้งจะต้องมีหัวข้อนี้เสมอ ลองมาทำกันต่อค่ะ

    1. คลิกปุ่ม “New”
    2. คลิกปุ่ม “New template”

    เริ่มสร้าง template เริ่มจากการตั้งชื่อ template ตัวอย่างใช้ชื่อว่า “Meeting Template”

    1. พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นการจัดเก็บข้อมูลในรูปของตาราง ข้อมูลสามารถมาแสดงเป็นตารางที่สร้างขึ้นได้ ค้นหาได้ เรียงได้ หรือค้นหาได้
    2. พื้นที่ส่วนที่ 2 เป้นการบันทึกรายละเอียด ซึ่งสามารถสร้างรูปแบบที่บันทึกข้อมูลการประชุมที่เราจะสร้าง Template

    สร้างส่วนที่ 1 เป็นการสร้างข้อมุลการประชุม ได้แก่

    1. ชื่อ property
    2. ประเภทของ property ซึ่งมีให้เลือกหลายอย่าง ส่วนนี้อาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติม

    เพิ่มข้อมูลวันที่ เลือกประเภทเป็น “Date”

    ส่วนของวันที่จะสามารถตั้งค่าได้ว่า Format ว่าต้องการให้แสดง Month/Day/Year ซึ่งตัวอย่างเราจะเคยชินจึงเลือกใช้เป็น Day/Month/Year

    เพิ่มข้อมูลประเภทการประชุม

    1. ตั้งชื่อประเภทการประชุม
    2. เลือกประเภทเป็น “Select”
    3. ซึ่งสามารถเพิ่มข้อมูลได้ เช่น ประชุมภายใน ประชุมภายนอก เป็นต้น

    เมื่อเราเพิ่มประเภทการประชุมเรียบร้อยแล้ว

    1. สามารถปรับปรุงตามสีสรรที่ต้องการได้

    บันทึกข้อความที่ต้องการสร้าง Template ตามหัวข้อที่เราต้องการ

    1. จัดทำหัวข้อรายงานการประชุม ได้แก่
      • วาระทบทวนการประชุม
      • วาระการประชุม
      • วาระอื่น ๆ (ถ้ามี)
      • เรื่องที่จะติดตามครั้งต่อไป

    มีการจัดทำวาระย่อยๆ ตามวาระการประชุม

    1. สร้างวาระย่อย โดยระบุชื่อวาระ พร้อมมติที่ประชุม

    เมื่อสร้าง Template เรียบร้อยแล้ว

    1. ดำเนินการ Set As default เพื่อให้สร้างเอกสารจะเรียกใช้ Template ให้ทันที

    ดำเนินการยืนยันการตั้งค่า default

    1. เลือก For all views in “บันทึกรายงานการประชุม”

    ตรวจสอบอีกครั้งว่า Template ที่สร้างเป็นค่า default หรือยัง

    1. Template “Meeting Template” มีค่า DEFAULT

    เมื่อต้องการบันทึกรายงานการประชุม

    1. คลิกปุ่ม “New”

    สร้างเอกสารการประชุมใหม่

    1. ตั้งชื่อตาม Template
    2. รายละเอียดการประชุม
    3. Template บันทึกรายงานการประชุม

    หากต้องการแชร์ไฟล์บันทึกการประชุมให้แก่เพื่อน หรือใช้ภายในหน่วยงาน สามารถแชร์ได้

    1. คลิกปุ่ม “Share”
    2. คลิกปุ่ม “Allow duplicate as template”

    วิธีการ Duplicate เพื่อนำ Template จากเพื่อนมาใช้งาน โดยนำลิงก์ที่ได้มาเปิด

    1. คลิกปุ่ม Duplicate
    2. ข้อมูบันทึกรายงานการประชุมก็สามารถใช้ได้ทันที

    หวังว่าวิธีการนี้จะสามารถทำให้การทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้นนะคะ ^^

  • เทคนิคการขยับแถวขึ้นลงใน Table ด้วยวิธี Drag & Drop ใน Blazor

    สำหรับ blog นี้ของผู้เขียน ถือว่าเป็นซีรี่ส์ที่ต่อเนื่องมาจาก https://sysadmin.psu.ac.th/2021/05/25/ขยับแถว-row-ขึ้น-ลง-ใน-asp-net-gridview-ด้วย-j/ และ https://sysadmin.psu.ac.th/2021/05/27/ขยับแถว-row-ขึ้น-ลง-ใน-asp-net-gridview-ด้วย-c/ ก็คือผู้เขียนจะนำเสนอวิธีการขยับแถวอีกวิธีหนึ่ง ที่น่าจะเฟรนด์ลี่ต่อผู้ใช้มากกว่า นั่นก็การ Drag & Drop ก็คือผู้ใช้งานสามารถเลือกคลิก ลาก และวาง เพื่อจัดลำดับได้ตามความต้องการ ซึ่งเมื่อผู้เขียนมาทำงานบน Blazor พบว่าการ implement เรื่องนี้สามารถทำได้ง่ายมาก โดยไม่ต้องพี่งพา javascript แต่อย่างใด เรามาดูกันเลยครับ

    1. เพิ่มโค้ด HTML ในส่วนของการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ Table

    @if (provinces != null)
    {
        <table class="table table-striped" >
            <thead>
                <tr >
                    <th>ลำดับ</th>
                    <th>จังหวัด</th>
                </tr>
            </thead>
            <tbody>
                @foreach (var pr in provinces)
                {
                    <tr role="button" class="cursor-pointer"  >
                        <td>@pr.ID</td>
                        <td>@pr.Name</td>
                    </tr>
                }
            </tbody>
        </table>
    }

    2. เพิ่มโค้ด C# ในส่วนที่ควบคุมการทำงานและจำลองข้อมูล

    private List<Province> provinces = new List<Province>();
    
    protected override void OnInitialized()
    {
    
    	provinces.AddRange(new List<Province> {
    		new Province(1,"สงขลา"),
    		new Province(2,"ปัตตานี"),
    		new Province(3,"ยะลา"),
    		new Province(4,"นราธิวาส"),
    		new Province(5,"สตูล")
    	});
    
    }
    
    public class Province
    {
    	public Int32 ID;
    	public string Name;
    	public Province(int id, string name)
    	{
    		ID = id;
    		Name = name;
    	}
    }

    ซึ่งจะได้ผลลัพธ์หน้าจอดังรูป และเป้าหมายของเราก็คือสามารถคลิกเลือกจังหวัด จากนั้นลากและวางไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้

    3. จากนั้นเพิ่มโค้ดส่วนที่ควบคุมการ Drag และ Drop ทั้งใน HTML และ C#

    @if (provinces != null)
    {
        <table class="table table-striped" ondragover="event.preventDefault();">
            <thead>
                <tr >
                    <th>ลำดับ</th>
                    <th>จังหวัด</th>
                </tr>
            </thead>
            <tbody>
                @foreach (var pr in provinces)
                {
                    <tr role="button" class="cursor-pointer" draggable="true"
                @ondrop="@(()=> Drop(pr))" @ondrag="@(e => StartDrag(pr))" >
                        <td>@pr.ID</td>
                        <td>@pr.Name</td>
                    </tr>
                }
            </tbody>
        </table>
    }
    • ondragover=”event.preventDefault();” เป็นการขัดขวางการทำงานปกติของการ drag บน object เพื่อให้สามารถ drop ได้
    • @ondrop=”@(()=> Drop(pr))” เรียกฟังก์ชัน Drop พร้อมกับส่ง pr (จังหวัด) เมื่อมีเหตุการณ์ drop เกิดขึ้น
    • @ondrag=”@(e => StartDrag(pr))” เรียกฟังก์ชัน StartDrage พร้อมกับส่ง pr เมื่อมีเหตุการณ์ drag เกิดขึ้น
    /// <summary>
    /// เก็บตำแหน่งของจังหวัดที่คลิกเลือก เมื่อเริ่ม drag
    /// </summary>
    /// <param name="province"></param>
    private void StartDrag(Province province)
    {
    	currentIndex = GetIndex(province);
    }
    
    /// <summary>
    /// หาตำแหน่งของจังหวัดที่อยู่จาก list
    /// </summary>
    /// <param name="province"></param>
    /// <returns></returns>
    int GetIndex(Province province)
    {
    	return provinces.FindIndex(p => p.ID == province.ID);
    }
    
    /// <summary>
    /// เมื่อ Drop จังหวัดที่ drag มาลงในตำแหน่งที่ต้องการ
    /// </summary>
    /// <param name="province"></param>
    void Drop(Province province)
    {
    	if (province != null)
    	{
    		// หาตำแหน่งของจังหวัดที่ถูก drop
    		var index = GetIndex(province);
    
    		// หาจังหวัดที่ถูก drag มา จาก index ที่เก็บไว้ตั้งแต่เริ่ม drag
    		var current = provinces[currentIndex];
    
    		// ลบจังหวัดที่ถูก drag มา ออกจาก list
    		provinces.RemoveAt(currentIndex);
    
    		// แทรกจังหวัดที่ถูก drag มา ลงในตำแหน่งที่ drop
    		provinces.Insert(index, current);
    
    		StateHasChanged();
    	}
    }

    4. เมื่อทดสอบการทำงาน รายชื่อจังหวัดในตารางจะสามารถคลิก ลาก และวางไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้

    5. และเมื่อ drop ลงไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จังหวัดที่ลากมาก็จะแทรกเข้าไปยังตำแหน่งที่ drop

    ขั้นตอนถัดไป ท่านผู้อ่านก็แค่ทำการบันทึกตำแหน่งใหม่ของจังหวัดลงในฐานข้อมูลหรือทำอย่างอื่นได้ต่อไป ซึ่งวิธีการนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับคอมโพเน้นอื่นๆ ได้ เช่น li, div หรืออย่างอื่นที่ผู้ใช้ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายการ

    ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีครับ


    แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • 📸 How to Capture screen website แบบเก๋ๆ

             🙏สวัสดีครับ การเขียน Blog หรือการทำคู่มือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านหรือใช้งานระบบ ปกติแล้วเราก็จะใช้ปุ่ม print screen เพื่อ capture หน้าจอแล้วก็ save as image ออกมาเลย หรือเอารูปที่ capture มา ไปใช้กับโปรแกรมอื่นก็ได้ เช่น Photoshop, Illustrator หรือ Mockup Generator เพื่อที่จะได้รูปประกอบที่สวยงามและเหมาะแก่การนำเสนอให้น่าสนใจมากขึ้น


               เอาหละ จากที่เกริ่นมา เรามีเครื่องมือมานำเสนอทุกคน เครื่องมือที่จะไปช่วยเรา Capture หน้าจอออกมาแล้วนำมาใส่ในกรอบ Browser เก๋ๆให้เราเลย เราก็แค่ใส่ URL และกด Download ออกมาใช้งานได้เลย เครื่องมือที่ว่ามีชื่อว่า 🎊 “Screenshotr” 🎊 (คำว่า Screenshot + ตัวอักษร r)

                Screenshotr เป็นเครื่องมือจัดการ Capture screen และ Mockup ออนไลน์ เปิด Browser ขึ้นไป พิมพ์ที่แถบ URL ไปว่า ฉันจะไปที่  screenshotr.app  เข้าผ่านเว็บแบบนี้แสดงว่าาาาา น้องเป็น Online tool ไม่ต้องโหลดโปรแกรมใดๆ ใช้งานได้ทันที สะดวกมากมาย ที่สำคัญ ฟรี จ้าาา มาถึงตรงนี้แล้วคงสงสัยว่าหน้าตามาจะออกมาเป็นยังไง ไปดูกันเลยยย

               หน้าตาดู Professional ขึ้นมาเลยทันที 😎 อันนี้คือเลือกสีพื้นหลังมา ใส่เงาแล้ว Download รูปออกมาแล้ว ใช้เวลาประมาณ 45-60 วินาที ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถ Customize ส่วนต่างๆได้เช่น ขนาดของ Canvas, การแสดง URL, ประเภทของไฟล์, Scale ของภาพ

    หน้าตาของเจ้า Screenshotr จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ ส่วนของ Preview รูป, แถบด้านซ้ายสำหรับการปรับค่าต่างๆ, แถบข้างบนสำหรับการใส่ URL และ Upload รูปภาพ

    🌈 วิธีการใช้งาน

    1. ให้ใส่ URL เข้าไปที่แถบ URL ข้างบนและกดปุ่ม GO สีเขียวด้านขวาบน
      • Capture website ตรงๆ ใส่ URL ได้เลย
      • ใช้รูปที่ Capture ให้กดปุ่ม Upload Image ถัดจากปุ่ม GO มุมขวาบน
    2. หลังจากใส่ที่มาของภาพหน้าจอแล้ว ปรับค่าที่แถบด้านซ้ายต่อได้เลย
      • Desktop / Mobile : เลือก Device ที่จะแสดงผล
        • สามารถเลือก Device ของการแสดงผลได้หรือ Theme ของ browser
      • Background : สีพื้นหลัง สามารถใช้เป็น Transparent (ใส) ก็ได้หรือสี Solid, Gradient หรือ Image ก็ได้
      • Shadow : ไม่มี / เงาเล็กน้อย / เงาขนาดใหญ่
      • Address Bar : ไม่แสดง / URL แบบเรียบๆ (มีแต่ text) / URL แบบมี Icon (favicon) ของเว็บด้วย
      • Presets : ขนาดสำเร็จรูปที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไป เลือกมาใช้ได้เลย
      • Screenshot Resolution : ขนาดของหน้าจอที่จะ Capture
        • Tip: เพื่อความอ่านง่ายดูง่าย Size ประมาณ 1280×720 – 1366×768 จะได้ขนาดอักษรที่พอดี
      • Canvas Width x Height : ขนาดของรูปภาพที่จะได้ออกมาจากการ Download ออกมา
      • Browser Width : ขนาดความกว้างของ Browser ใน Canvas (อิงตาม Aspect ratio)
      • Browser Scale : ขนาดของแถบ Browser ข้างบน
      • File Name : ชื่อไฟล์
      • File Type : ประเภทของไฟล์ PNG / JPEG (รูปพื้นหลังใสต้อง PNG นะครับ อย่าลืม ไม่งั้นจะได้พื้นหลังขาวมา)
      • Scale : ความหนาแน่นของ pixel ของรูป Standard เหมาะกับการใช้งานทั่วไป ส่วนของ Retina เหมาะกับการใช้งานกับจอของ apple device
        • Retina จะให้ density ของ pixel ที่มากกว่า ดังนั้นขนาดไฟล์จะใหญ่กว่า
        • ทั้งนี้ขึ้นกับจุดประสงค์การใช้งานรูปภาพ
    3. กด Download มุมซ้ายล่างเพื่อ Save ภาพออกมา

               จบไปแล้วสำหรับวิธีใช้งาน มีแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ ก็ได้ภาพออกมาแบบสวยงาม ยังมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอีกมากมาย ไว้มีโอกาสนะมา(แนะนำ)ขายของให้ใหม่อีก แล้วพบกันใหม่ สวัสดี 😘🥳🥳

  • การแยก/รวมไฟล์ PDF และลบข้อความใน VDO ด้วย123apps

    ถ้าเราต้องการจะแยกไฟล์ PDF ออกเป็นแต่ละหน้าตามที่เราต้องการ หรือว่าเรามีไฟล์ PDF หลาย ๆ ไฟล์แยกกันอยู่ ให้รวมกันเป็นไฟล์เดียวเราจะมีวิธีการอย่างไรนะ?

    การแยกไฟล์ PDF

    1. เราเข้าเว็บ https://123apps.com/
    2. ไปที่เมนู เครื่องมือ PDF เลือก “แบ่ง”

    เราจะเลือกไฟล์ไหน หน้าไหนก็ได้ เรามาที่ “เลือกไฟล์” แล้วเลือกไฟล์ที่เราต้องการ แบ่ง (Split)

    มันก็จะ Show ว่าตอนนี้มีกี่หน้า

    เลือกไฟล์ที่ต้องการจะแยก เช่นเลือกหน้า 2 5 7 9 ส่วนหน้าอื่นไม่เอา

    สามารถพิมพ์หน้าที่เลือกได้เอง จากนั้นคลิกปุ่ม “แบ่ง” จากนั้นคลิกปุ่ม “ดาวน์โหลด”

    เปิดไฟล์ที่ได้ จะเห็นว่าเหลือ 5 หน้าตามที่เลือก

    การรวมไฟล์ PDF

    1. ไปที่เมนู เครื่องมือ PDF เลือก “รวม”
    2. คลิก “เลือกไฟล์” และคลิก “เพิ่มไฟล์” จากรูปเมื่อรวมแล้วจะต้องได้ 60+25=85 page จากนั้นคลิกปุ่ม “รวม”

    เปิดไฟล์ที่ได้ จะเห็นว่ารวมได้ 85 page

    ลบข้อความใน VDO

    ท้ายนี้ขอแถมนิดนึง พอดีเรื่อง PDPA มาแรง เห็นว่ามีประโยชน์กับงานเลยเอามาแชร์ เนื่องจากว่าเราทำ VDO แล้วติดข้อมูลส่วนบุคคล แต่เราต้องการเบลอข้อมูลหรือเอาออก ขั้นตอนง่าย ๆ เลย ด้วย 123apps

    จากรูปจะเห็นได้ว่าใน VDO ที่วงกลมสีแดงชื่อข้อมูลส่วนบุคคล เราจะลบออกหรือเบลอข้อมูลส่วนนี้ใน VDO

    1. ไปที่เมนู “เครื่องมือวิดีโอ”
    2. คลิก “ลบโลโก้ออกจากวิดีโอ”
    3. คลิก “เปิดไฟล์” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ

    ทำตามขั้นตอนและบันทึก แล้วลองเปิดไฟล์ VDO ดู มันจะลบข้อมูลส่วนที่เราเลือกตลอดทั้งคลิปเลยหล่ะ

    อาจจะเป็นบทความที่ง่ายหรือหลาย ๆ ท่านทราบอยู่แล้ว ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน มาให้กำลังใจคนเขียนนะคะ