Category: ระบบสารสนเทศ

  • การใช้/พิมพ์ สระ เอ แอ ในระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์

    เด็กสมัยนี้….คนที่เอ่ยถึงว่าเด็กสมัยนี้อายุอานามก็น่าจะประมาณ 30 ปีขึ้นไปละ มาดูซิว่าเด็กสมัยนี้มีอะไรบ้างที่คนรุ่นก่อนไม่เข้าใจบ้าง

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ( E-Admission )

    จากการใช้งานระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือ E-Admission ในปีการศึกษา 2566 อายุผู้สมัครประมาณ 17 – 19 ปี เกิด พ.ศ. 2546 – 2547 ประมาณนี้ ซึ่งเมื่อก่อนจะมีบางส่วนที่เคยเรียนพิมพ์ดีดมา แล้วมันผลอย่างไรกันนะเหรอ เข้าเรื่องเลยแล้วกันค่ะ

    ประชากรในประเทศไทยน่าจะเกือบทั้งหมดมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บางรายอาจจะมีอุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้น แล้วใครทราบหรือไม่ว่าตัวอักษรไทยมีบางตัวที่มีปัญหากับระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยฯ ของเรา คือ สระเอ และสระแอ บางท่านอ่านถึงตรงนี้เข้าใจบ้าง หรือบางท่านอาจจะยังงงว่า แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ขอยกตัวอย่างระบบ E-Admission ค่ะ

    ระบบ E-Admission เป็นระบบที่ต้องเชื่อมต่อ API จาก TCAS ซึ่งจะต้องตรวจสอบเลขบัตรประชาชน ชื่อ และนามสกุล หากกรอกข้อมูลครบถ้วน ตรงกัน ระบบ E-Admission จะดึงข้อมูลเหล่านี้จาก TCAS มาให้ทันที….แต่ปัญหาก็เกิดจากตรงส่วนนี้ค่ะ เมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลแล้วแต่ระบบมีข้อความแจ้งเตือนว่า “ชื่อ นามสกุล ไม่ตรงกับเลขบัตรประชาชน ไม่สามารถตรวจสอบการยืนยันสิทธิ์ได้” ผู้สมัครก็จะส่งข้อความแจ้งเตือน กับข้อมูลชื่อ และนามสกุลมาให้ตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบพบว่าส่วนใหญ่ที่เกิดข้อความแจ้งเตือนจะมีชื่อ หรือนามสกุลประกอบด้วย “สระแอ” เมื่อสอบถามพบว่าผู้สมัครใช้ สระเอ 2 ตัว

    วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนหน้านี้โดยการให้ผู้สมัครแก้ไขชื่อ หรือนามสกุลให้ถูกต้อง

    กรณีที่สมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว หากเกิดไปแก้ไขข้อมูล เมื่อสมัครเข้าโครงการจะมีข้อความแจ้งเตือน “ไม่สามารถสมัครโครงการได้” เช่นเดียวกัน

    การใช้งานผ่าน Notepad

    ส่วนของสระเอ และสระแอ ที่ใช้งานผ่าน Notepad จะเห็นว่าได้ชัดเจนว่าช่องไฟมีความแตกต่างกัน ดังรูป

    *** วิธีการตรวจสอบว่าเป็นสระเอ หรือสระแอ ให้ทุกท่านลองกดปุ่ม Backspace ว่าลบแล้วจะลบทีละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว

    การใช้งานผ่าน Microsoft Word

    ส่วนของสระเอ และสระแอ ที่ใช้งานผ่าน Micorsoft Word จะเห็นว่าช่องไฟมีความเหมือนกัน เนื่องโปรแกรม Microsoft Word จะทำการปรับปรุงให้อัตโนมัติ และเมื่อลบสระแอ จะกดปุ่ม Backspace แค่ครั้งเดียว ดังรูป

    *** วิธีการตรวจสอบว่าเป็นสระเอ หรือสระแอ ให้ทุกท่านลองกดปุ่ม Backspace ว่าลบแล้วจะลบทีละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว

    แนวทางแก้ไขของระบบ E-Admission

    ทีมพัฒนาฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบฯ ให้มีการตรวจสอบว่าหากผู้สมัครกรอกชื่อ หรือนามสกุล ที่มีสระแอ หากผู้สมัครกรอกสระเอ 2 ตัว ระบบจะทำการปรับปรุงระบบให้อัตโนมัติเป็นสระแอให้ทันที

    ดังนั้น ขณะนี้หากผู้ใช้งานพิมพ์สระเอ 2 ตัวมาในระบบฯ ก็จะไม่เกิดข้อความแจ้งเตือนอีกแล้ว

    📢 สำหรับวิธีการนี้เป็นการแก้ไขปลายเหตุ เป็นการแก้ไขที่ระบบฯ แต่ยังไม่ใช้การแก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น Blog นี้ขอเป็นหนึ่งกระบอกเสียงที่หวังให้คนไทยทุกคนเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักการของภาษาไทยค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (5/5) : ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

    ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

    ระบบ Health Insurance for Foreigners หรือมีชื่อย่อว่า ระบบ HIF เป็นระบบน้องใหม่ของทางทีมพัฒนาสารสนเทศนักศึกษา เป็นระบบที่เปิดใช้สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไปโดยระบบนี้จะมีการเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ระบบ HIF เป็นระบบที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาบันทึกข้อมูลการพำนักว่าขณะนี้นักศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าหากนักศึกษาต่างชาติคนใดที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย นักศึกษาคนนั้นจำเป็นต้องมีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งคำว่าประกันสุขภาพคือ ประกันที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทุกกรณี ซึ่งประเภทของประกันที่มีผลกับข้อมูลว่าประกันสมบูรณ์หรือไม่ ได้แก่

    1. ประกันสุขภาพ ⇒ ครอบคลุม
    2. ประกันสุขภาพ + ประกันอุบัติเหตุ ⇒ ครอบคลุม
    3. ประกันอุบัติเหตุ ⇒ ไม่ครอบคลุม

    เมื่อนักศึกษาต่างชาติดำเนินการซื้อประกันตามที่ต้องการ นักศึกษาจะต้องมาบันทึกข้อมูลในระบบ HIF เพื่อแจ้งรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ ชื่อประกัน รูปถ่ายกรมธรรม์ และช่วงวันที่ของประกัน และดำเนินการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล

    หน้าหลักของระบบ HIF

    เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันตามที่นักศึกษาบันทึกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Pass” และหากไม่ถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Fail” เพื่อแจ้งให้นักศึกษาดำเนินการแก้ไข

    เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลรายงาน ได้แก่ รายงานนักศึกษาทั้งหมด รายงานนักศึกษาต่างชาติไม่ได้พำนักในประเทศไทย รายงานประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุม/หรือหมดอายุกรณีนักศึกษาอยุ่ในประเทศไทย และรายงานประกันสุขภาพที่ใกล้หมดอายุ ซึ่งรายงานเหล่านี้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ติดตามนักศึกษาในความรับผิดชอบของตนเองได้

    หน้าหลักของระบบ HIF ส่วนของเจ้าหน้าที่

    ส่วนในระบบสารสนเทศนักศึกษาจะมีข้อความแจ้งเตือนให้กับนักศึกษาต่างชาติทราบว่า ขณะนี้นักศึกษาได้เลือกสถานะการพำนักในประเทศไทย หรือต่างประเทศ และข้อมูลประกันที่มีอยู่ในปัจจุบันครอบคลุมหรือไม่ค่ะ

    🎯 ** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับทีมพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาขอนำเสนอระบบสารสนเทศเพียงเท่านี้ก่อนค่ะ

    ขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ ^^

  • ระบบสารสนเทศ (4/5) : ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

    ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

    ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ หรือเรียกสั่น ๆ ว่า ระบบ Course Spec. เดิมมีชื่อว่าระบบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกสั่น ๆ ว่าระบบ มคอ.ออนไลน์ หรือ TQF Online

    ระบบ Course Spec.

    ระบบ Course Spec. เป็นระบบที่เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2564 ทั้ง 5 วิทยาเขต โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ Course Spec. ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้

    • วิทยาเขตหาดใหญ่ : https://course.psu.ac.th
    • วิทยาเขตปัตตานี : https://course.pn.psu.ac.th
    • วิทยาเขตภูเก็ต : https://course.phuket.psu.ac.th
    • วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี : https://course.surat.psu.ac.th
    • วิทยาเขตตรัง : https://course.trang.psu.ac.th

    ระบบ Course Spec. สาเหตุที่มีการปรับปรุงจากระบบ มคอ.ออนไลน์ เนื่องจากมีการปรับปรุงรูปแบบต้นแบบจาก มคอ.3 และ มคอ. 4 มาเป็น “แผน” และต้นแบบจาก มคอ.5 และ มคอ. 6 เป็น “ผล” โดยมีการปรับเพิ่ม/ลด รายละเอียดที่จำเป็น/ไม่จำเป็นออกจากระบบ เพื่อให้อาจารย์ได้บันทึกข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

    ส่วนของเจ้าหน้าที่คณะ/ภาควิชา

    เมื่อเริ่มต้นการใช้งานระบบเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ ซึ่งในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นมาได้ยกเลิกการบันทึก ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) พร้อมด้วยกลยุทธ์/วิธีการสอน กลยุทธ์/วิธีการวัดผล และ Curriculum Mapping ออก แต่ตั้งแต่ปีการศึกษา 3/2565 เป็นต้นไป จะนำส่วนของ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) พร้อมด้วยกลยุทธ์/วิธีการสอน กลยุทธ์/วิธีการวัดผล และ Curriculum Mapping กลับมาใช้งานดังเดิม ดังนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องจัดทำข้อมูลส่วนนี้ให้ครบถ้วนก่อน อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์จึงจะสามารถดึงข้อมูลไปดำเนินการต่อได้

    ส่วนของอาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำแผน

    การจัดทำแผน เมื่อเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตั้งต้นให้แล้ว อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำแผน และส่งต่อให้แก่ ประธานหลักสูตร ผู้อนุมัติระดับคณะ อนุมัติแผน หากไม่ผ่านขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง จะย้อนกลับมาให้อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์แก้ไขแผนอีกครั้ง

    ส่วนของอาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำผล

    การรายงานผล เมื่ออาจารย์ดำเนินการส่งผลการเรียนในภาคการศึกษานั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ รายงานผล และส่งต่อให้แก่ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประธานหลักสูตร ผู้อนุมัติระดับคณะ อนุมัติการรายงานผล หากไม่ผ่านขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง จะย้อนกลับมาให้อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์แก้ไขการรายงานผลอีกครั้ง

    หน้าหลักของระบบ Course Spec.

    🎯 นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (3/5) : ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เป็นระบบที่ให้ผู้สมัคร (นักเรียน/นักศึกษา) สมัครเข้ามาเพื่อศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า “ม.อ.”

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์เป็นระบบที่อยู่ในการรับผิดชอบของศูนย์รับนักศึกษาและการทดสอบ ซึ่งพัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่จะมาถึงระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่ เรามีการปรับปรุงมากี่ครั้ง

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือระบบ E-Admission (URL : https://e-admission.psu.ac.th/) ในปัจจุบันเริ่มใช้สำหรับรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา โดยเป็นการพัฒนาใหม่จากระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เวอร์ชั่นเดิม โดยมีการพัฒนาปรับปรุงการใช้งาน ได้แก่

    1. รองรับการสมัครนักศึกษาทุกคณะ ทุกวิทยาเขตในเว็บไซต์เดียว ซึ่งแบบนี้ทำให้ผู้สมัครรู้จักแค่เว็บไซต์เดียวก็สามารถสมัครเข้าเรียนใน ม.อ. ได้ทุกคณะ และทุกวิทยาเขตที่ต้องการได้
    2. มีการสมัครสมาชิกด้วยเลขบัตรประชาชน และต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมล ซึ่งจะทำให้เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยมีการตรวจสอบกับระบบ TCAS ของส่วนกลางเพื่อยืนยันข้อมูลเลขบัตรประชาชน ชื่อ สกุล ที่ถูกต้อง
    3. การค้นหา เลือก และสมัครเข้าโครงการที่ง่ายต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ใส่ข้อมูลรายละเอียดที่ครบถ้วน เช่น รายละเอียดของโครงการ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น
    4. การจัดส่งเอกสารอ้างอิง ระบบก็มีให้เลือกว่าแต่ละโครงการจะให้ผู้สมัครส่งเอกสารแบบใด เช่น การอัปโหลดเอกสารที่สมัคร หรือจะให้ส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งปัจจุบันจะมีการอัปโหลดเอกสารออนไลน์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้สมัคร และผู้ตรวจสอบที่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติจากที่ใดก็ได้ แถมประหยัดทั้งกระดาษ และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
    5. การชำระเงินที่เป็นแบบออนไลน์ โดยคลิกผ่านหน้าจอผู้สมัครสามารถหยิบมือถือเปิดแอปธนาคารมาชำระเงิน หรือจะไปชำระเงินที่ Couter Service ของ 7-eleven พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบผลการชำระเงินได้ทันที
    6. ใบเสร็จในรูปแบบดิจิทัล เมื่อผู้สมัครชำระเงินรียบร้อยแล้วสามารถพิมพ์ใบเสร็จในรูปแบบดิจิทัลได้ทันที
    7. มีการเชื่อมต่อ API กับ TCAS กลางเพื่อตรวจสอบสถานะการยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาต่อจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

    เว็บไซต์ปัจจุบันของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ดังรูป

    เมนูต่าง ๆ ของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ที่ผู้สมัครทุกคนจะต้องดำเนินการขึ้นอยู่กับโครงการที่เลือก ดังรูป

    *** กว่าจะมาเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันเราก็มีการปรับปรุงระบบ เสริม เติม แต่งจนมีความสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ หากมีส่วนใดของระบบที่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ทางทีมพัฒนาระบบ ฯ พร้อมที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

    *** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (2/5) : ระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)

    ระบบทะเบียนนักศึกษา และระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)

    ระบบสารสนเทศนักศึกษา มีตัวย่อคือ SIS มีนักศึกษาหลายคนจะเรียกว่า S I S (อ่านว่า เอส ไอ เอส) แต่บางคนจะเรียกกว่าระบบ SIS (อ่านว่า ซิส) ซึ่ง SIS ในที่นี้ไม่ได้มาจากคำว่า sister ที่แปลว่าน้องสาวหรือพี่สาวนะคะ แต่ย่อมาจากคำว่า Student Information System ระบบจะเกิดขึ้นมาใช้งานจนถึงปัจจุบันก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป

    ความเป็นมาของระบบลงทะเบียนเรียน

    การลงทะเบียนในปัจจุบันก็สามารดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้ แม้ว่าช่วงลงทะเบียนจะมีบางหน้าจอที่แสดงผลเนื่องจากมีการเข้าใช้งานที่เกินกว่าที่เครื่องแม่ข่าย (Server) จะรับได้ แต่ทางทีมพัฒนาระบบฯ ได้ตรวจสอบและวางแผนรับมือทุกครั้งในช่วงการลงทะเบียนเรียน

    คุณทั้งหลายอาจจะมีเสียงบ่นว่าระบบช้า ระบบไม่เสถียร หรือระบบไม่ทันสมัย แต่กระบวนการทำงานที่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ทดสอบจนแทบจะไม่เกิดข้อผิดพลาดมาตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบันก็ 7 ปีมาแล้วค่ะ เมื่อย้อนกลับไปสมัยก่อนที่พวกรุ่นพี่ของเราต้องมาเขียนใบคำร้องลงวิชาเรียน แล้วไปรวมตัวที่งานทะเบียนของมหาวิทยาลัย เข้าแถว ถือใบลงทะเบียนเรียน พร้อมกันลุ้นว่าเจ้าหน้าที่จะคีย์ข้อมูลรายวิชาแล้วระบบแจ้งมาว่า ลงทะเบียนสำเร็จ หรือว่าจำนวนนักศึกษาเต็มแล้วในรายวิชานั้น ๆ และต้องมาลุ้นว่าแถวเพื่อนที่ยืนอยู่ข้าง ๆ เจ้าหน้าที่ทำเร็วกว่าแถวของเราหรือเปล่าอีกด้วย….นี่แหละค่ะ เกิดมาในยุคหลังก็สบายกว่าพวกรุ่นก่อนอยู่มากโข…

    แต่เมื่อย้อนกลับไปตั้งแต่วิธีการลงทะเบียนในสมัยก่อน เราก็ปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น แม้ว่าการพัฒนาปรับปรุงได้ไม่ทันตามความต้องการที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ทางทีมพัฒนาระบบ ฯ ทุกคนร่วมพัฒนาระบบให้มีความเสถียร ครอบคลุมทุกเงื่อนไขของการลงทะเบียนที่มีความหลายหลาย เพราะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พัฒนาระบบลงทะเบียนขึ้นใช้เอง เพื่อรองรับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคน นักศึกษาทุกคนสามารถภูมิใจได้เลยว่า ระบบสารสนเทศนักศึกษาที่ใช้ลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ปี 1 ถึง ปีที่สำเร็จการศึกษา พวกคุณทั้งหลายได้ลงทะเบียนที่เป็นระบบที่ทางสำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะภูมิใจ และตั้งใจพัฒนาขึ้นมาเพื่อนักศึกษาทุกคน

    ระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ระบบสารสนเทศนักศึกษานี้เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาเป็นส่วนใหญ่ และจะมีส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบข้อมูลนักศึกษาบ้าง แต่การทำงานหลักๆ ของระบบ คือ “นักศึกษา”

    หากคุณทั้งหลายเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ว่าคุณจะสังกัดคณะไหน หรือวิทยาเขตไหนก็ตามทุกคนจะต้องใช้งานระบบสารสนเทศนักศึกษาที่มีหน้าตา ฟังก์ชั่นการทำงานที่เหมือนกัน แต่….นักศึกษาทราบหรือไม่ว่าเราทำอะไร ๆ ได้บ้างภายในระบบนี้ ตามมาดูกันเลย

    นี่เป็นรูปหน้าหลักของระบบฯ โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ SIS ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้

    • วิทยาเขตหาดใหญ่ : https://sis.psu.ac.th
    • วิทยาเขตปัตตานี : https://sis.pn.psu.ac.th
    • วิทยาเขตภูเก็ต : https://sis.phuket.psu.ac.th
    • วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี : https://sis.surat.psu.ac.th
    • วิทยาเขตตรัง : https://sis.trang.psu.ac.th

    เมนูในระบบสารสนเทศนักศึกษา

    เป็นเมนูการทำงานที่พัฒนาให้แก่นักศึกษา ดังนี้

    • การค้นหาข้อมูลรายวิชา
    • ลงทะเบียนเรียน
    • ผลการลงทะเบียนเรียน
    • ผลการเรียน
    • วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
    • ตารางเรียน
    • ตารางสอบ
    • การค้นหาตารางสอนอาจารย์
    • ระบบจำลองผลการเรียน

    เมนูบริการเสริม

    เป็นเมนูการทำงานที่เชื่อมโยงมาจากบริการอื่นๆ ที่เพิ่มความสะดวกแก่นักศึกษา ดังนี้

    • บริการด้านการเงิน
    • ตรวจสอบข้อมูลค้างชำระทรัพยากรห้องสมุด

    การปรับปรุงระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ขณะนี้ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศกำลังพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาใหม่ โดยจะเปิดใช้งานระบบในปีการศึกษา 1/2566 ดังนั้นนักศึกษา ม.อ. ทุกคนจะได้ใช้ระบบสารสนเทศนักศึกษาใหม่ รอดูนะคะว่าระบบใหม่จะมีหน้าตาของระบบเป็นแบบใด

    นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (1/5) : ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ

    ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ

    ชาว ม.อ. ทราบหรือไม่ว่ามหาวิทยาลัยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้งานภายในมหาวิทยาลัยที่มีหลากหลายระบบ พัฒนาขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ เช่น ระบบทะเบียนนักศึกษา ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ระบบสารสนเทศบุคลากร ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

    พวกท่านทราบหรือไม่ว่าแต่ละระบบสารสนเทศกว่าจะออกมาให้ใช้งานกัน ทีมพัฒนาฯ ต้องทำอะไรกันบ้าง วันนี้จะขอมาเล่าส่วนของการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น จนเปิดใช้งานระบบ แบบคร่าวๆ เข้าใจง่ายกันค่ะ

    ก่อนการพัฒนาระบบสักระบบ ต้องวิเคราะห์ความเร่งด่วน หรือแผนการใช้งานระบบ มีการเข้าคิวการพัฒนา เมื่อสรุปจะพัฒนาระบบใดระบบหนึ่ง มีขั้นตอนอย่างไรมาดูกันค่ะ

    ช่วงที่ 1 : Requirement

    เจ้าภาพ จะทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นวิทยาเขต คณะ เพื่อรวบรวมความต้องการให้ชัดเจนว่าจะจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง กระบวนการ หรือรายงานเป็นอย่างไร

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (1) จัดทำเอกสารเปิดโครงการ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาระบบ (2) เอกสารรายงานการประชุมกับลูกค้า (3) เอกสารประเมินความเสี่ยง

    ช่วงที่ 2 : Analysis and Design

    ทีมพัฒนาฯ จะรวบรวมความต้องการจากลูกค้า เพื่อมาวิเคราะห์กระบวนการทำงาน พร้อมทั้งออกแบบหน้าจอและฐานข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยทีมพัฒนาจะออกแบบหน้าจอที่ต้องการพัฒนาเพื่อมานำเสนอให้ลูกค้าตรวจสอบว่าระบบมีความครบถ้วน ถูกต้อง สีของหน้าจอ ปุ่มต่าง ๆ มีความสะดวกสบายกับการใช้งานหรือไม่ ซึ่งส่วนนี้ยังสามารถปรับปรุงความต้องการให้สอดคล้องกับการใช้งานจริงได้มากที่สุด และสรุปเป็นเอกสาร Requirement Checklist เพื่อยืนยันความต้องการกับเจ้าภาพอีกครั้ง

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (4) จัดทำเอกสาร Requirement Checklist (5) เอกสาร Requirement Specification (6) เอกสาร Software Design (7) เอกสารประชุมติดตามความก้าวหน้าภายในทีม

    ช่วงที่ 3 : Development

    ช่วงนี้ทีมพัฒนาฯ จะเร่งมือในการพัฒนาระบบตาม Requirement Checklist เมื่อระบบสารสนเทศมีการพัฒนาไประยะหนึ่งก็จะมีการนัดประชุมกับลูกค้า เพื่อให้ดูความก้าวหน้าของระบบว่ามีการพัฒนาไปถึงส่วนใด ตรงตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่ เมื่อมีการพัฒนาเสร็จแต่ละฟังก์ชั่น ก็จะส่งต่อให้กับทีมทดสอบระบบ

    หากมีความต้องการเพิ่มเติมระหว่างการพัฒนาจะมีการปรับปรุงระบบส่วนนี้จะเรียกกว่า Change Request ซึ่งจะไปนับรวมกับ Requirement Checklist

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (8) ติดตามการพัฒนาระบบโดยใช้โปรแกรม Azure DevOps

    ช่วงที่ 4 : Testing

    ช่วงนี้จะเป็นงานของทีมทดสอบระบบ จะต้องตรวจสอบว่าทีมพัฒนาฯ ได้พัฒนาเสร็จสิ้นตาม Requirement Checklist โดยทีมทดสอบจะทำการเขียน Test case ที่ครอบคลุมว่ากระบวนการทุกกระบวนการก่อนที่จะส่งต่อให้กับผู้ใช้งาน (User) ต้องครบถ้วน สมบูรณ์ หากผิดพลาดไม่ตรงตามความต้องการจะส่งกลับไปยังทีมพัฒนาฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบให้ถูกต้อง ครบถ้วนที่สุด

    เมื่อทดสอบครบทุกฟังก์ชั่น จะมีการนัดประชุมลูกค้าเพื่อส่งมอบระบบ โดยจะมีเอกสาร Acceptance Checklist ให้ลูกค้าตรวจสอบหัวข้อในการพัฒนาระบบทั้งหมดในระบบ

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (9) ทดสอบระบบโดยใช้โปรแกรม Azure DevOps โดยทดสอบตาม Test case ทุกเงื่อนไข (10) เอกสาร Acceptance Checklist

    ช่วงที่ 5 : Training

    เมื่อพัฒนาระบบครบถ้วนตาม Requirement Checklist ช่วงนี้จะเป็นการอบรมผู้ใช้งาน (User) หากเป็นระบบใหม่ทางทีมพัฒนาฯ จะอบรมใหม่ทั้งระบบ อาจจะแบ่งเป็นส่วนของเจ้าหน้าที่ อาจารย์ หรือเป็นผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นระดับต่างๆ แต่หากเป็นระบบที่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ก็ขึ้นอยู่กับว่าการพัฒนามีความแตกต่างจากระบบเดิมมากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องจัดอบรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ และในยุคปัจจุบันมีการอบรมผ่านช่องทางออกไลน์ ทำให้สะดวกกับผู้เข้าอบรมมากยิ่งขึ้น

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (11) เอกสารการอบรมระบบ (12) คู่มือการใช้งานระบบในรูปแบบเอกสาร หรือ VDO

    ช่วงที่ 6 : Deployment

    เมื่อปรับปรุงระบบจนพร้อมใช้งานแล้ว ก็แจ้งเปิดระบบอย่างเป็นทางการตามที่เจ้าภาพต้องการ เช่น เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2565 เป็นต้น ซึ่งทีมพัฒนาระบบฯ จะมีการเฝ้าระวังระบบในช่วงการใช้งานในช่วงแรกว่าสามารถใช้งานได้สมบูรณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระบวนการใช้งานของแต่ละระบบ เช่น หากเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ จะต้องตรวจสอบตั้งแต่ช่วงที่เจ้าหน้าที่คณะจัดทำโครงการ ตลอดจนผู้สมัครสามารถสมัครสมาชิก จนสามารถสมัครโครงการ ชำระเงินได้ครบถ้วนสมบูรณ์

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (13) เอกสาร Operation Guideline (14) เอกสาร Maintenance

    ช่วงที่ 7 : Maintenance

    เป็นช่วงการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศที่นอกเหนือจากช่วงการพัฒนาโครงการ ดังนั้นหากเป็นความผิดพลาดของโปรแกรมที่ไม่สามารถทำงานได้จำเป็นต้องแก้ไขทันที ทางทีมพัฒนาระบบฯ จะได้รับมอบหมายให้วางมือจากโครงการที่กำลังจัดทำ เพื่อมาแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดให้สามารถใช้งานได้

    ทีมพัฒนาระบบฯ : บันทึกการบำรุงรักษาระบบ มีการบันทึกผ่าน Azure DevOps พร้อมทั้งจัดทำ Dashboard โดยแบ่งเป็น (15) ส่วนที่เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าสามารถแก้ไขเองได้ (QA-Support) (16) ส่วนส่งต่อทีมพัฒนา (F-SD01)

    ดังนั้นทุกโครงการที่มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยง เนื่องจากแต่ละโครงการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน เช่น การประสานงานกับลูกค้าที่อยู่นอก ม.อ. ความต้องการที่ไม่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงความต้องการ กำลังคนน้อยลง เป็นต้น

    ระบบสารสนเทศทั้งหมดที่ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาได้พัฒนาและอยู่ในความดูแลทั้งหมด ดังนี้

    จากที่เล่ามาทั้งหมดขอกล่าวแค่ส่วนของระบบในความผิดชอบของงานสารสนเทศนักศึกษาว่าในช่วงนี้มีระบบอะไรบ้างที่พัฒนา ติดตามนะคะ แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้

    1. ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
    2. ระบบทะเบียนนักศึกษา และระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)
    3. ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)
    4. ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)
    5. ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)