ทุกวันนี้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร อยู่ที่ไหนในโลกนี้ก็สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้เราเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามภัยอันตรายที่แฝงอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยอันตรายที่มาจากมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่มันจะมาจับเครื่องหรือไฟล์ของเราเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกค่าไถ่ มัลแวร์ชนิดนี้สร้างความตื่นตัวให้กับคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมาแล้ว ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประเทศไทยได้มีการออกหนังสือราชการ ประกาศแจ้งเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังในการเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้มากยิ่งขึ้น มัลแวร์ที่ประสงค์ร้ายต่อข้อมูลในอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเราดังกล่าว จัดเป็นมัลแวร์ประเภท “Ransomware” หรือ “มัลแวร์เรียกค่าไถ่” มีเป้าหมายที่ตรวจพบการโจมตีแล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ Window, Android, iOS และ Linux โดยแบ่งตามการทำงานออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ อุปกรณ์ต่าง…
Author: วชิรวิชญ์ จิวานิจ
แนวทางการพัฒนา App บนสมาร์ทโฟน
ถ้าใครเคยพัฒนา app เพื่อให้รองรับหลาย ๆ Platform ทั้ง iOS, Android หรือ Window Phone ก็คงจะทราบถึงความยากลำบากในการพัฒนา เนื่องจากแต่ละ platform ก็มีวิธีการพัฒนาที่แตกต่างกัน เช่น app ที่รันบน iOS พัฒนาโดยใช้ภาษา Object C, ภาษา Swift ในขณะที่ app ที่รันบน Android พัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษา Java และ app ที่รันบน Windows phone ก็พัฒนาขึ้นด้วย .Net Framework จะเห็นว่าแต่ละ Platform…
การสร้าง Hybrid App ด้วย Ionic Framework
ในบทความนี้จะนำขั้นตอนการพัฒนา Hybrid App อย่างง่ายด้วย Ionic Framework เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาแก่ผู้ที่สนใจ โดยเครื่องที่ใช้ในการทดลองเป็นปฏิบัติการ Windows 10 มีขั้นตอนการติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้ Ionic ได้ดังนี้ ติดตั้ง js โดยดาวน์โหลดไฟล์ node-v4.4.7-x64.msi ได้จาก http://nodejs.org วิธีการติดตั้งก็ไม่ยุ่งยากครับ ใช้ Next Technology ได้เลย จะมีหน้าจอขั้นตอนต่าง ๆ ดังรูป ติดตั้ง Cordova และ Ionic command line tool โดยการเปิด command prompt ของ…
ข้อแตกต่างระหว่างการลงนามเอกสารด้วย Electronic Signature กับ Digital Signature
ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางด้วยความอยากรู้ว่าหน่วยงานอื่นๆ เขาพัฒนาระบบนี้กันไปถึงไหนแล้ว เพื่อจะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบของม.อ.เราต่อไป จากการดูงานที่ผ่านมาพบว่า ระบบที่มีการใช้งานกันส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้รองรับงานด้านสารบรรณอย่างเต็มรูปแบบสักเท่าไหร่ บางที่ยังเป็นแค่ระบบที่ใช้ในการเก็บเอกสารแต่ยังไม่สามารถติดตามการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเอกสารเรื่องนั้นๆ ได้ ซึ่งต่างจากของม.อ. เราที่สามารถติดตามเส้นทางการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และเป็นที่ทราบกันดีว่าวัตถุประสงค์หลักของระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์คือ การดำเนินการต่างๆ ด้านงานสารบรรณทั้งหมดในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้งานกระดาษ นั่นหมายความว่าเป้าหมายที่สำคัญของระบบนี้คือการดำเนินการทั้งหมดจะต้องดำเนินการผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ 100% โดยไม่มีการใช้กระดาษเลย แต่ในปัจจุบันระบบยังไม่สามารถทำแบบนั้นได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการลงนามเอกสาร เนื่องจากผู้ใช้ยังไม่มั่นใจรูปแบบการลงนามเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ควร จึงเลือกที่จะพิมพ์เอกสารเป็นกระดาษแล้วลงนามกันด้วยปากกาเช่นเดิม อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้กำลังจะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีกฎหมายออกมารองรับ และสามารถใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้แล้ว จากการเดินทางไปศึกษาดูงานพบว่ามีระบบของสถาบันแห่งหนึ่งในภาคกลาง มีความสามารถในการลงนามเอกสาร โดยผู้ใช้จะต้องใช้รหัสผ่านที่ 2 เพื่อยืนยันตัวตนอีกครั้งหนึ่งก่อนการลงนาม จากนั้นระบบจะดึงรูปภาพลายเซ็นของผู้ลงนามมาแปะลงในเอกสารตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ ข้อดีของวิธีการนี้คือในเอกสารจะมีรูปภาพลายเซ็นแปะอยู่ ทำให้ผู้อ่านคนอื่นๆ รับทราบได้ทันทีว่าใครเป็นคนลงนาม แต่ข้อเสียคือ รูปภาพลายเซ็นดังกล่าวสามารถคัดลอกแล้วนำไปแปะในเอกสารอื่นๆ ได้ง่าย จึงทำให้การลงนามแบบนี้ยังขาดคุณสมบัติด้านความปลอดภัย จากการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พบว่าวิธีการในการลงนามเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นมี…
จับตา Bootstrap 4 Beta
เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2015 ผู้พัฒนา Bootstrap ได้เปิดตัว Bootstrap 4 Beta ออกมาให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ได้ทดลองใช้งานกัน โดยได้มีการแก้ไข bug ที่เจอในเวอร์ชั่น 3 และเพิ่มเติมความสามารถต่างๆ เข้าไป ทำให้การพัฒนาเว็บไซต์สามารถทำได้ง่าย และเป็นที่น่าสนใจได้มากขึ้น โดยในเวอร์ชั่นนี้มีการปรับปรุงจากเวอร์ชั่น 3 ค่อนข้างเยอะ แต่ที่เด่นๆ ได้แก่ ใช้ Sass แทน Less ทำให้ compile ได้เร็วขึ้น ข้อดีของการใช้ Sass คือการมี community ขนาดใหญ่เป็นตัวช่วยสำหรับนักพัฒนาในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม หรือขอความช่วยเหลือต่างๆ จาก community ได้ ปรับปรุง…
Icon Font
บทความนี้จะพูดถึงคำ 2 คำ คือ Icon และ Font ที่ใช้งานบนเว็บ ซึ่งทุกคนคงจะรู้จัก Web Icon กันดีอยู่แล้วว่ามันคือรูปภาพขนาดเล็กที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ เช่น รูปแว่นขยายมีความหมายถึงการค้นหาข้อมูล รูปแผ่นดิสก์ใช้แทนความหมายของการบันทึกข้อมูล เป็นต้น รูปภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์นามสกุล .png ซึ่งสามารถทำเป็นรูปที่มีพื้นหลังโปร่งใสได้ ในส่วนของการใช้งาน Font บนเว็บไซต์นั้นสามารถอ่านได้จากบทความ @font-face ครับ กล่าวโดยสรุปแบบง่ายๆ คือ Font เป็นข้อความที่ใช้นำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ครับ และการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันนี้ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น เมื่อมีการนำ Icon และ Font มารวมกัน คือการทำ Icon…
@FONT-FACE
การใช้ฟอนต์นำเสนอข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ หรือ Web Typography ในยุคแรก นั้น Browser จะเป็นตัวกำหนดว่าจะนำเสนอด้วยฟอนต์อะไร ทำให้การแสดงผลในแต่ละ Browser ไม่เหมือนกัน ต่อมาใน HTML2 ได้มีการเพิ่มแท็ก <font> เข้ามา และใน CSS2 ก็อนุญาตให้เราสามารถกำหนดฟอนต์ได้เอง แต่ปัญหาที่เจอคือฟอนต์ที่เราเลือกใช้จะต้องถูกติดตั้งบนเครื่องฝั่งผู้ใช้ด้วย ดังตัวอย่างการกำหนดรูปแบบ font ด้วย CSS2 ดังนี้ body { font-family: Gill, Helvetica, sans-serif } เมื่อ Web Browser อ่านเจอ CSS ดังกล่าว อันดับแรกก็จะดูว่าฟอนต์ที่ชื่อ Gill…
ทำความรู้จักกับ Bootstrap
สำหรับในบทความนี้ เป็นภาคต่อจาก “เตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนา Web Application ” โดยจะมาทำความรู้จักกับ Bootstrap กันให้มากขึ้น ซึ่ง Bootstrap จัดเป็น Front-end Framework ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน อาจจะเป็นเพราะว่า Bootstrap มีแนวทางในการพัฒนาในแบบ Responsive Web Design ก็เป็นได้ (บทความ แนวทางการพัฒนาเว็บแบบ Responsive Web Design) แนวคิดของ Bootstrap จะให้ความสำคัญกับการออกแบบการแสดงผลในอุปกรณ์ขนาดเล็กก่อน (Mobile First Approach) กล่าวคือ การสร้างเว็บไซต์ 1 หน้าสำหรับ Content ชุดเดียวกัน เราต้องออกแบบการแสดงผลให้ครอบคลุมหน้าจออย่างน้อย…
การทำ Wireframe
ในการพัฒนาเว็บไซต์ จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงหลักๆ ได้แก่ 1. ทีมพัฒนาเว็บไซต์ หรือโปรแกรมเมอร์ อาจจะมีคนเดียว หรือทำงานกันเป็นทีมก็ได้ และ 2. ผู้ใช้ หรือลูกค้า จะเป็นผู้กำหนดความต้องการของเว็บไซต์ หลังจากที่ทีมพัฒนาเก็บรวบรวมความต้องการของลูกค้า และได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการแล้ว ขั้นตอนถัดไป ก็จะเป็นการวางแผน ออกแบบ Layout คร่าวๆ ก่อน เพื่อให้ทีมพัฒนามีความเข้าใจที่ตรงกัน อีกทั้งยังสามารถนำเสนอต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ก่อนการลงมือออกแบบเว็บไซต์ และเขียนโค้ดจริง เราเรียกกระบวนการออกแบบ Layout และนำเนื้อหาคร่าวๆ ในเว็บไซต์มาจัดเรียงบน Layout นี้ว่า “การทำ Wireframe” การทำ Wireframe นั้นไม่ได้มีรูปแบบตายตัว นักพัฒนาแต่ละคนอาจมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แต่มีวัตถุประสงค์ในการทำที่เหมือนกัน คือ เพื่อให้เห็นภาพรวมของเว็บไซต์…