Crystal Report : Grid กับการจัดรูปแบบรายงาน

ปกติแล้วการจัดรายงานใน Crystal Report ตัวหน้ากระดาษหรือหน้าจอนั้น จะเป็นหน้ากระดาษสีขาวปกติ ทำให้การจัดข้อความที่มีระยะเยื้องนั้นจัดได้ค่อนข้างยาก ตรงกันรึยังนะ หรือยังไม่ตรง นี่คือ 1 ในปัญหาของผู้เขียนเช่นกัน 🤣 ดังนั้นวันนี้ ผู้เขียนจะมาแนะนำการตั้งค่า Grid เพื่อให้การขยับ Object ในรายงานของเราง่ายขึ้น ขั้นตอนดังนี้ค่ะ 1️⃣ คลิกขวาพื้นที่โล่ง ๆ เลือกเมนู “Design” 2️⃣ ต่อด้วยเมนู “Default Setting” 3️⃣ ใน Tab “Layout” สังเกตส่วนด้านขวาที่ชื่อว่า “Grid” 👀 จะพบ Checkbox “Show Grid” ให้ ✅ ไว้ 👀 ในส่วนของ Grid Size เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ตัวกระดาษรายงานของเราแสดง Grid ถี่แค่ไหน ในที่นี้ผู้เขียนให้ความละเอียดมากสุดเลยกำหนดไว้ที่ 0.157 4️⃣หลังจากกำหนดค่าทุกอย่างเสร็จแล้วกลับมาหน้ารายงานเดิมจะพบว่า หน้าจอเราดำมืด ไม่ต้องตรงใจค่ะ เป็นเพราะค่า Grid ที่เรากำหนดไว้ถี่มาก หน้าจอเลยกลายเป็นท่านเปา วิธีการก็คือ ไปขยายหน้าจอค่ะ โดยไปที่เมนูบาร์ด้านบน จะพบค่าที่ Default อยู่ที่ 200% ให้ขยายเป็น 400% หรือตามที่ต้องการเลยค่ะ ✨หน้าจอหลังจากขยายก็จะเห็นดังภาพนะคะ เราสามารถจัด Object ให้ตรงตามที่เราต้องการได้เล้ย ^^

Read More »

CrystalReport : ข้อมูลส่วน DetailSection กับการแสดงผลส่วน PageFooterSection

เนื่องจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้มีการตรวจสอบข้อมูลว่า ถ้ามีข้อมูลใน Field1 ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย “*” ต้องแสดงข้อความที่ส่วนท้ายของรายงานทุกแผ่นว่า “มีข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * นำหน้า” ผู้เขียนจึงได้ทำการสร้าง Formula Field ขึ้นมาทั้งหมด 4 อัน คือ ffCountSubjectStar : ใช้สำหรับเก็บค่าจำนวนข้อมูลใน Field1 ที่ขึ้นต้นด้วย * ffResetCountStarSubject : ใช้สำหรับ Reset ค่าเมื่อขึ้นหน้าใหม่ ffSumStarSubjectCode : ใช้สำหรับเก็บค่าจำนวนรวมของ Field1 ที่ขึ้นต้นด้วย * ffPageFooter : ใช้สำหรับเก็บข้อความที่ต้องการให้แสดงท้ายกระดาษ 1. ffCountSubjectStar WhilePrintingRecords;Global numberVar isStarSubjectCode; if (Left({@Field1 },1) = “*”) then isStarSubjectCode := 1else isStarSubjectCode := 0 โค้ดส่วนนี้เป็นการตรวจสอบว่าถ้า Field1 นั้นมี * นำหน้า ให้เก็บค่านั้นไว้ในตัวแปร isStarSubjectCode โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ DetailSection เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทุก Record 2. ffResetCountStarSubject WhilePrintingRecords; Global numberVar isStarSubjectCode := 0; Global numberVar countStarSubjectCode := 0; โค้ดส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้สำหรับ Reset ค่าตัวแปร โดยกำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปร ให้เท่ากับ 0 โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ Page Header เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทุก Record 3. ffSumStarSubjectCode whileprintingrecords; //ทำราย Rec ที่มีการพิมพ์Global numberVar countStarSubjectCode;Global numberVar isStarSubjectCode; countStarSubjectCode := countStarSubjectCode + isStarSubjectCode โค้ดส่วนนี้เป็นการนับจำนวน Field1 ที่มี * นำหน้า ให้เก็บผลรวมไว้ในตัวแปร countStarSubjectCode โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ DetailSection เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทุก Record 4. ffPageFooter ” มีข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * นำหน้า” เก็บข้อมูลที่ต้องการให้แสดงในส่วนของ PageFooter โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ PageFooterSection ผู้เขียนหวังว่าบทความครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าจ้าาาาา ^^

Read More »

Toad : หากันจนเจอ (pass ที่เคย save ไว้)

เคยไหม ที่คุณลืม password ที่คุณเคยเซฟไว้ใน Toad เคยไหม ที่วันนึงคุณต้องการใช้ password เหล่านั้นแต่คุณจำไม่ได้ ดูก็ไม่ได้ เพื่อนก็จำไม่ได้!!! วันนี้เรามีทริกที่จะสามารถดู password ที่เราเคย save ไว้ใน toad ได้ มาดูกันเล้ยยย!!! ขั้นตอน 1 เลือก Schema ใดก็ได้ที่เรา login ได้ มาสักอัน ขั้นตอน 2 เลือกเมนู DB Links และกดปุ่ม สร้าง ขั้นตอน 3 ตั้งชื่อ DB Link (ตั้งอะไรก็ได้เพราะไม่ได้เอาไปใช้จริง) จากนั้นเลือก Database ที่ต้องการทราบ Password สุดท้ายกดปุ่ม “Show SQL” ขั้นตอนสุดท้าย ดูที่บรรทัด identified by “xxx” โดย xxx คือ Password ที่เราต้องการ แค่นี้เองค่ะ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้พัฒนาหลาย ๆ ท่านที่ต้องกลับไปต่อฐานข้อมูลดั้งเดิมที่เราเคย save password ไว้แล้วลืมนะคะ 🙂 ออ…Version Toad ที่ใช้คือ 9.6.0.27 นะคะ ไม่แน่ใจว่า Version ที่สูงกว่านี้ยังใช้วิธีนี้ได้อีกรึเปล่า >< แล้วพบกันใหม่ Blog หน้านะคะ ^.^

Read More »

CrystalReport : จัดการกราฟซ่อนแอบ

จากที่ผู้เขียนช่วงนี้ได้มีการทำกราฟใน Crystal Report ทำไปทำมาผลปรากฎว่า กราฟไม่แสดงรูปซะงั้น (ไหงเป็นแบบนี้ได้หว่าาาาาา T T) จึงได้ลองค้นหาข้อมูลและพบว่า ต้องเพิ่ม Config เพิ่มเติมเข้าไปใน ” Web.config “ตาม Code ด้านล่างเลยจ้าาาา ส่วนแรก “System.web” ส่วน “httpHandlers”โดย Version จะต้องเป็น Version Crystal Report ที่เราใช้งานอยู่ อย่าลืมตรวจสอบให้ตรงกันด้วยนะ ส่วนที่สอง “System.webServer” ส่วน “handlers”โดย Version จะต้องเป็น Version Crystal Report ที่เราใช้งานอยู่ อย่าลืมตรวจสอบให้ตรงกันด้วยนะ หวังว่า Blog นี้จะช่วยเหลือท่านที่ประสบปัญหาเดียวกันอยู่นี้ไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ Blog หน้าค่าาาาาา 🙂

Read More »

รู้จักฟังก์ชัน Excel ตอนที่ 2 เรื่อง ตระกูลท่าน Count (COUNTIF, COUNTIFS)

พบกันอีกครั้งนะคะ กับ Excel ตอน ตระกูลท่าน Count ตอนที่ 2 ค่ะ สำหรับตอนที่ 2 นี้จะเป็นการแนะนำการใช้ Function COUNTIF และ COUNTIFS มาเริ่มกันเลยค่ะ COUNTIF เป็น Function ที่ใช้สำหรับนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการ 1 เงื่อนไข เช่น ต้องการนับจำนวนคนที่ได้เกรด A : เงื่อนไขคือ “คนที่ได้เกรด A” ต้องการนับจำนวนคนที่ได้คะแนนมากกว่า 75 : เงื่อนไขคือ “คะแนนมากกว่า 75” รูปแบบ Function คือ COUNTIF(range, criteria) range คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวน criteria คือ เงื่อนไขที่ต้องการ ตัวอย่าง จากตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือ หาจำนวนคนที่ได้เกรด A ดังนั้น range คือ ช่วง D3 ถึง D7 criteria คือ “A” ดังนั้นสิ่งที่จะได้เมื่อเขียน Function คือ =COUNTIF(D3:D7,”A”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 2 ดังภาพ   COUNTIFS เป็น Function ที่ใช้สำหรับนับข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการโดยเงื่อนไขนั้นมีมากกว่า 1 เงื่อนไข เช่น ต้องการนับจำนวนคนที่ได้เกรด A และเป็นเพศหญิง : เงื่อนไขคือ “คนที่ได้เกรด A” และ “เพศหญิง” ต้องการนับจำนวนเด็กเข้าอบรมได้คะแนนมากกว่า 60 แต่น้อยกว่า 79 : เงื่อนไขคือ “คะแนนมากกว่า 60 แต่น้อยกว่า 79” รูปแบบ Function คือ COUNTIF(range_criteria1, criteria1, [range_criteria2, criteria2],…) range_criteria1 คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวนของเงื่อนไขที่ 1 ค่านี้จำเป็นต้องระบุ criteria1 คือ เงื่อนไขที่ต้องการ เงื่อนไขแรก ค่านี้จำเป็นต้องระบุ range_criteria2 คือ ช่วงข้อมูลที่ต้องการนับจำนวนของเงื่อนไขที่ 2 ค่านี้ไม่จำเป็นต้องระบุ criteria2 คือ เงื่อนไขที่ต้องการ เงื่อนไขที่สอง ค่านี้ไม่จำเป็นต้องระบุ สามารถระบุเงื่อนไขที่ต้องการได้เรื่อย ๆ ตัวอย่าง จากตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือ หาจำนวนคนที่ได้เกรด A และได้คะแนนมากกว่า 90 ดังนั้น เงื่อนไขแรก range_criteria1 คือ ช่วง D3 ถึง D7 criteria1 คือ “A” เงื่อนไขที่สอง range_criteria2 คือ ช่วง E3 ถึง E7 criteria2 คือ “>=90” ดังนั้นสิ่งที่จะได้เมื่อเขียน Function คือ =COUNTIFS(D3:D7,”A”,E3:E7,”>=90″) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1 ดังภาพ สำหรับเรื่องราวของตระกูลท่าน Count ก็จบลงในตอนที่ 2 แต่เพียงเท่านี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ 

Read More »