Word : การปรับรูปแบบ font สารบัญตามที่เราต้องการ

กลับมาอีกครั้งกับเรื่อง Word สืบเนื่องมาจาก Blog ที่แล้วที่กล่าวถึงเรื่องการได้มีส่วนช่วยเพื่อนร่วมงานในการทำคู่มือ จึงได้มีโอกาสในการใช้งาน Word ซึ่งปัญหาที่พบอีกเรื่องก็คือ Font สารบัญ ไม่ใช่รูปแบบ Font ที่ต้องการคือ TH SarabunPSK ผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่าง ผู้เขียนได้ทำการสร้างเนื้อหาทดสอบ ใน Style Heading และใส่สารบัญเรียบร้อย ดังภาพ จะเห็นได้ว่า Font ในเนื้อหา เป็น TH SarabunPSK ตามที่ตั้งค่าใน Style Heading1 ไว้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนสารบัญนั้นเป็น Font แปลก ๆ ไม่ใช่ Font ที่เราต้องการ เริ่มทำการเปลี่ยน Font โดยไปที่ที่เราเลือกสารบัญแบบอัตโนมัติมาใส่ คือไปที่ Menu References -> Table of Contents -> Custom Table of Contents… จะพบหน้าต่าง Modify Style ที่ส่วนล่างซ้าย เลือก Format -> Font ที่หน้าต่าง Table of Contents มุมล่างขวา เลือก Modify… เพื่อเข้าไปแก้ไขรูปแบบ Font จากนั้นหน้าต่าง Style เลือก Level สารบัญที่ต้องการแก้ไขรูปแบบ ในที่นี้เลือกแก้ไขสารบัญ Level 1 จากนั้นกดปุ่ม Modify เรื่องน่ารู้ TOC ย่อมาจาก Table of Contents ซึ่งก็คือ สารบัญนั่นเอง จะพบหน้าต่าง Font นี่คือ Font ตั้งต้นที่เราได้ จะเป็นว่าไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แก้ไขได้เลย แก้ไขให้เป็น Font ที่เราต้องการทั้ง 2 จุด คือ Latin Text และ Conplext scripts จากนั้น กดปุ่ม OK ออกมาเรื่อย ๆ กลับออกมาจนเกือบจะถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีหน้าต่างถามว่า จะเปลี่ยนจริง ๆ ละนะ จะทับของเดิมละนะ ตอบ Yes ไปเล้ย แถ่นแท๊นนน ผลลัพธ์สุดท้าย สวยงามอย่างที่เราต้องการ เย้! หวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่าา 😀😍

Read More »

Word : การใส่รูปแบบเลขหน้าที่ต่างกันในไฟล์เดียวกัน

เคยไหมที่เวลาผู้อ่านจะสร้างคู่มือหรือเอกสารที่ต้องมีคำนำ สารบัญ ต่อด้วยเนื้อหา อาจจะจบด้วยภาคผนวก ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีการแสดงเลขหน้าที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคำนำ สารบัญ อาจจะใช้เลขหน้าเป็นตัวอักษร เช่น ก, ข แต่ส่วนเนื้อหาใช้ตัวเลขอารบิค ในช่วงนี้ ผู้เขียนได้มีการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในเรื่องนี้ในการทำคู่มือจึงได้นำลงมาใส่ไว้ใน Blog เผื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ตัวอย่าง ผู้เขียนสร้างเนื้อหามา 2 บรรทัดเพื่อเป็นเนื้อหาทดสอบในการใส่เลขหน้า จากนั้นทำการใส่ตัวแบ่งหน้า โดยเลือกเป็น Section Breaks -> Next Page จากนั้นใส่เลขหน้าเป็นเลขอารบิคปกติ เลขหน้าจะเริ่มที่หน้าที่ 1 และ 2 ไปเรื่อย ๆ จากนั้นผู้อ่านของดูที่แถบ Ribbon ใน Tab Header & Footer และพบเมนู Link to Previous ซึ่งจะเป็นว่าเมนูนี้ถูกไฮไลท์อยู่ นั่นคือ เลขหน้าจะต่อเนื่องจาก Section ก่อนหน้า ให้เลือกเมนูนี้อีกครั้ง เพื่อเอาการ Link กับ Section ก่อนหน้าออก จากนั้นลบเลขหน้าที่หน้าที่ 2 ออก จากนั้นไปที่เมนู Page Number -> Format Page Number เพื่อทำการเลือกรูปแบบตัวเลขที่ต้องการใส่ใหม่ ในที่นี้ต้องการใส่เลขหน้าเป็นตัวอักษรภาษาไทย เมื่อพบหน้าต่าง Page Number Format ให้ทำการเลือกรูปแบบเลขหน้าที่ Number format จากนั้น ที่ Page numbering ในเลือกเป็น Start at โปรแกรม Word จะเลือกค่าโดยปริยายเป็น “ก” มาให้ จากนั้นกด OK ผู้อ่านลองเลือกแผ่นกระดาษดูจะพบว่า เลขหน้าได้ทำการเปลี่ยนให้เป็นที่เรียบร้อย ผู้เขียนหวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณค่ะ 😀😍

Read More »

Word : วิธีแก้ Repeat Header Table แล้ว word ดื้อ ไม่ยอม Repeat ให้

เคยไหม กด ✔ ที่คำสั่ง Repeat as header row at the top of each page แล้ว ตารางนั้นก็ยังไม่ยอมแสดงหัวตารางในหน้าถัดไปเสียที ช่วงนี้หลังจากที่ผู้เขียนได้มีช่วงเวลาในการที่ปั่นเอกสาร รวมถึงเพื่อน ๆ ที่เจอปัญหาได้สอบถามกันเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าน่าจะนำมาเขียน Blog เผื่อผู้อ่านท่านใดที่ติดปัญหาเช่นเดียวกัน จะได้ลองนำไปใช้ดูเผื่อแก้ปัญหาได้ หลัก ๆ แล้วปกติ เมื่อผู้อ่านสร้างตารางขึ้นมา เมื่อต้องการให้ข้อมูลสองแถวแรกเป็นหัวตาราง ผู้เขียนจะทำการคลุมสองแถวนั้น จากนั้นคลิกเมาส์ขวา เลือกเมนู Table Properties… ดังภาพด้านล่าง จากนั้นที่ Tab Row ให้ ✔ ที่คำสั่ง Repeat as header row at the top of each page เพื่อเป็นการบอกว่า จะทำให้ตาราง 2 แถวแรกเป็นหัวตารางจากนั้นกด OK แต่เมื่อกลับมาหน้าตาราง ทำไมหัวตารางถึงยังไม่มีล่ะ????? 🤔 งั้นต้องมาตรวจสอบเพิ่มเติมกันหน่อย โดยลองทำการคลุมสองแถวนั้นเหมือนเดิม จากนั้นคลิกเมาส์ขวา เลือกเมนู properties แต่ตอนนี้ไปเลือกที่ Tab Table สังเกตที่กลุ่ม Text wrapping ถ้าของผู้อ่านท่านใดเป็นแบบรูปด้านล่างคือเลือกอยู่ที่ Around นั่นคือปัญหา 😫😤 ลองเปลี่ยนเป็นเลือก None ตามรูปด้านล่างดูค่ะ แทน แท๊นนนนนนนนนนนนนนนนน *0* ตารางของเรามีหัวตารางตามที่เราต้องการแล้ว เย้!!!!!!! 🎉🎊✨ หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ สวัสดีค่าาาาา 😘

Read More »

ข้อมูลใน DropdownList แรกจนถึง DropdownList สุดท้ายกับค่าที่เหลืออยู่ของเขา ด้วย LINQ

ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระบบโดยมีการนำ LinQ มาใช้นิด ๆ หน่อย ๆ (มือใหม่หัดใช้ >< ) ซึ่งมีอยู่ฟังก์ชันนึงที่เกี่ยวกับ การ Bind ค่า DropdownList กรณีที่มี DropdownList หลาย ๆ ตัวและไม่อยากให้ค่าที่เคยเลือกจาก DropdownList ก่อนหน้าไปแสดงใน DropdownList ถัดไปอีก น่าสนใจทดลองใช้แล้วทำงานได้ดี ผู้เขียนจึงนำมาเขียนเพื่อไว้เตือนความจำ จะได้กลับมาอ่าน แนวคิดและวิธีการดังนี้ค่ะ ในขั้นตอนแรก สร้าง Data ที่ชื่อว่า MyList เก็บข้อมูล id และชื่อ เพื่อเตรียมเป็น DataSource สำหรับ Bind ให้กับ DropdownList1 ดังนี้ ต่อมากำหนดค่าให้กับ MyList เพื่อผูกให้กับ DropdownList1 ผลลัพธ์ของ DropdownList1 ได้ดังนี้ ID Name1 name12 name23 name35 name510 name10 ต่อมา กำหนดว่า DropdownList1 เลือกค่าเป็น ID = ‘2’ จากนั้น ที่ Event SelectedIndexChange ของ DropdownList1 ให้ใส่ Code ดังนี้ จากนั้นผูก myDataSource ให้กับ DropdownList2 ค่าล่าสุดใน DropdownList2 จะแสดงดังด้านล่าง โดยที่ ID = ‘2’ จะหายไป เนื่องจากถูกเลือกไปแล้ว ดังนี้ ID Name 1 name1 3 name3 5 name5 10 name10 กรณีที่มี DropdownList3 ก็ให้ทำเหมือนขั้นตอนก่อนหน้า ตัวอย่างกำหนดค่าการเลือกของ DropdownList1 = ‘2’ และ DropdownList2 = ‘5’ ดังนี้ จากนั้น ที่ Event SelectedIndexChange ของ DropdownList2 ให้ใส่ Code แบบเดิม จากนั้นผูก myDataSource ให้กับ DropdownList3 ค่าล่าสุดใน DropdownList3 จะแสดงดังด้านล่าง โดยที่ ID = ‘2’ และ ‘5’ จะหายไป เนื่องจากถูกเลือกไปแล้ว ดังนี้ ID Name 1 name1 3 name3 10 name10 จะเห็นได้ว่าเราใช้ Query เดียวกันในหลาย ๆ DropdownList ดังนั้นสามารถทำ Query นี้ให้เป็นฟังก์ชันเพื่อเรียกใช้งานได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่านนะคะ \(@^0^@)/

Read More »

Crystal Report : Suppress การซ่อน/แสดง Section

ปกติแล้วการจัดรายงานใน Crystal Report จะมีการแบ่งเป็น 5 ส่วนดังนี้ค่ะ Report Header Section เป็นส่วนที่อยู่บนส่วนหัวรายงาน แสดงแค่หน้าแรกเพียงหน้าเดียวเท่านั้น Page Header Section เป็นส่วนที่แสดงต่อจากส่วน Report Header Section แสดงอยู่ทุกหน้า Details Section ส่วนแสดงรายละเอียดที่ต้องการ สามารถจัดกลุ่มข้อมูล แบ่งรายงานเป็น 2 ส่วนและอื่น ๆ ได้ Page Footer Section เป็นส่วนที่แสดงในรายงานทุกหน้าอยู่บนส่วนท้ายของรายงาน Report Footer Section เป็นส่วนที่อยู่ส่วนท้ายสุดของรายงานจะแสดงแค่หน้าสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งในแต่ละ Section นั้นสามารถมี Section ย่อย ๆ ได้มากกว่า 1 Section ย่อยดังภาพ ซึ่งเราสามารถแสดงหรือซ่อน Section ย่อย ๆ เหล่านี้ได้ตามเงื่อนไขที่เราต้องการ โดยใช้เมนู “Suppress” จัดการ ดังนี้ค่ะ คลิกขวาที่ Section ใดก็ได้ เลือกเมนู “Section Expert” จะพบกับหน้าจอ Section Expert ดังภาพโดยหน้าจอจะแบ่งเป็น 2 ส่วน 👈 ซ้ายมือ เป็นส่วนแสดงรายการ section ทั้งหมดของเราที่มีสามารถเพิ่ม ลบ หรือย้าย Section ขึ้นและลงตามที่ต้องการได้ 👉 ขวามือ จะแบ่งเป็น Tab ย่อย ๆ ในวันนี้ส่วนที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออยู่ที่ Tab “Common” ที่ Tab “Common” หาบรรทัดที่ชื่อว่า “Suppress (No Drill-Down)” ดูที่ด้านขวา ถ้าสัญลักษณ์ “x-2” เป็น สีฟ้า แสดงว่า เรา ไม่ได้ มีการเขียนคำสั่งให้ซ่อนตามเงื่อนไข ถ้าสัญลักษณ์ “x-2” เป็น สีแดง แสดงว่า มี การเขียนคำสั่งให้ซ่อนตามเงื่อนไข จากรูปด้านล่างสามารถอธิบายได้ว่า ให้ซ่อน Page Header a โดยไม่มีเงื่อนไข ส่วนรูปด้านล่างสามารถอธิบายได้ว่า ให้ซ่อน Page Header l โดยมีเงื่อนไข ซึ่งสามารถกดเข้าไปดูเงื่อนไขที่เขียนไว้ได้ ส่วนของคำสั่งที่เขียนไว้ สามารถอธิบายได้ดังนี้ เงื่อนไขคือ ถ้า Formula Field “@hdLang” มีค่าเป็น “E” และ ไม่ใช่รายงานหน้าแรก ผลลัพธ์ที่ต้องการ ✅ถ้าตรงตามเงื่อนไข ให้แสดง Page Header l ❌ถ้าไม่ตรงตามเงื่อนไข ให้ซ่อน Section นี้ เพียงเท่านี้ ก็สามารถจัดการการซ่อนหรือแสดง Section ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ตามต้องการ o(*°▽°*)o d=====( ̄▽ ̄*)b

Read More »