Author: parnchanok.j

  • Grammarly For Chrome

    Blog ที่2 สำหรับปีนี้ ทางผู้เขียนก็อยากจะขอนำเสนอ Extension เจ๋งๆ ให้ได้รู้จักกันอีกสักอันละกันเนอะ

    เชื่อเลยว่าหลายๆคน ที่ไม่ถนัดในภาษาอังกฤษมากนัก (อย่างเช่นผู้เขียนนี่แหละ – -“) จะต้องกราบงามๆ

    ให้กับคนที่พัฒนาสร้างสรรค์ Extension ที่ชื่อว่า Grammarly ตัวนี้ขึ้นมาให้เราได้ใช้กัน … __/\__

    *** ถ้าพร้อมแล้วก็มาทำความรู้จัก Grammarly For Chrome กันเถอะ ***

    Grammarly เป็น Extension ที่จะทำหน้าที่คอยจับตามองในสิ่งที่เราพิมพ์ลงไปแบบ Real-time (ทันที)

    และจะคอยบอกให้เรารู้ ว่าเราพิมพ์ผิดคำไหน ตกตรงจุดไหน และที่สำคัญเจ้าตัวนี้มันจะแนะนำวิธีแก้ไขให้

    หรือบางทีก็จะมีการแสดงอธิบายเพิ่มเติมให้ด้วย ความฉลาดของเจ้าตัวนี้หลักๆ ที่จะช่วยเราได้อย่างเช่น

    การสะกดคำ การลืมเติม S หรือการใส่ . (dot) หรือการจัดวางเรื่องของรูปแบบประโยค การขึ้นต้นคำ เป็นต้น

    อะ ไม่ต้องบรรยายกันมากละ มาลองติดตั้ง แล้วก็ใช้งานจริงกันเลยดีกว่าาาา ถ้าพร้อมแล้วก็ ลุยยยย กันเลย

     

    *** วิธีติดตั้ง Grammarly For Chrome ***

    1.เปิด Google Chrome Browser เพื่อติดตั้ง Extension คลิกที่นี่ จากนั้นเลือกเพิ่ม Extension ดังกล่าว

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    2. หลังจากเพิ่มส่วนขยายเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าจอ Personalize Grammarly ดังรูป

    เราสามารถเลือกระบุได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วเรื่องที่เราเขียนจะเกี่ยวกับด้านไหน และระบุได้ว่าทักษะ

    ที่เรามีเนี่ยอยู่ที่ระดับประมาณไหน แต่หากไม่ต้องการระบุใดๆ ก็สามารถกด Skip เพื่อข้ามได้เลย

     

     

     

     

     

     

     

     

    3.ถัดมาให้ Create Account เพื่อเข้าสู่ระบบ โดยเราสามารถจะเลือก with facebook หรือ with google

    ก็ได้นะสำหรับคนที่มี Account อยู่แล้ว หากนอกเหนือจากนี้ก็ระบุ Email ที่ต้องการใช้ไปได้เลย

     

     

     

     

     

     

     

     

    4.แท่น แท่น แท๊นนน เมื่อ Login เข้ามาแล้วก็จะพบกับหน้าจอ Welcom to Grammarly! แบบในรูปนะ

    หน้านี้ก็จะมีให้เราเลือกว่าจะใช้แบบ ฟรี หรือจะใช้แบบ Premium เอาจริงๆ ตัดสินใจได้ไม่ยากเลย

    คลิกลงไปแรงๆ ตรงที่เขียนว่า “Continue to Grammarly It’s Free” 555+ จะเสียเงินทำไม แค่ที่เค้าฟรี

    มาให้เราก็เพียงพอที่จะใช้ได้ในชีวิตประจำวันของเราแล้ววว !!!

     

     

     

     

     

     

     

     

    5. คราวนี้มาทดลองใช้ Extension ตัวนี้ในการส่ง E-mail กัน

    ปล..แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่แค่ใช้ในการพิมพ์ E-mail เท่านั้นนะ จะเขียน Blog หรือพิมพ์อย่างอื่นผ่าน Chrome

    ก็สามารถใช้ Extension ตัวนี้ได้เช่นเดียวกันนะเออ

    ตัวอย่างเช่น พิมพ์ข้อความ young people are talking less on their mobile ทดสอบโดยการพิมพ์ถูกบ้าง

    ผิดบ้าง ก็จะสังเกตุได้ว่าเจ้าตัว Grammarly ก็จะตรวจสอบคำที่คาดว่าจะไม่ถูกต้อง และขีดเส้นใต้ สีแดงเอาไว้

     

     

     

     

     

     

     

     

    6. หากเราต้องการแก้ไขคำที่เจ้าตัว Extension Grammarly แจ้งไว้ว่าอาจจะมีการสะกดคำผิด ก็สามารถทำได้

    โดยการคลิกลงบนข้อความนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น คำว่า takling ที่เราได้ทดสอบโดยการพิมพ์แบบผิดๆ เอาไว้

    เมื่อคลิกแล้วระบบก็จะตรวจสอบและแสดงคำดังกล่าวที่คาดว่าเราตั้งใจจะพิมพ์ ขึ้นมาให้เราเลือก ในที่นี่ก็จะเห็นว่า

    คำว่า takling ที่ถูกต้องก็ต้องเป็น talking เมื่อเลือกแล้วก็คลิกลงบน คำดังกล่าว (สีเขียว ที่แสดงขึ้นมา)

     

     

     

     

     

     

     

     

    7. เมื่อเราคลิกเลือกคำที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะนำคำดังกล่าวเข้ามาแทนที่ในประโยคของเรา ตัวอย่างดังรูป

    และเช่นเดียวกัน หากมีมากกว่า 1 คำ ก็ทำซ้ำตามขั้นตอนก่อนหน้า เราก็จะได้คำที่ถูกต้อง ตรงตามรูปแบบประโยที่เราต้องการนะจ๊ะ

     

     

     

     

     

     

     

     

    8. และเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อความของเราถูกต้องครบถ้วนกระบวนความแล้ว ให้คลิกตรงสัญลักษณ์ E-Mail

    เพื่อย้อนกลับมายังหน้าจอ E-Mail ของเรา เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ได้ E-Mail ที่มีเนื้อหาถูกต้องตรงตามรูปแบบการสะกดคำ

    หรือรูปแบบประโยคสมบูรณ์ ง่ายมั้ยล๊าาาาา

     

     

     

     

     

     

     

     

    9. อ๊ะๆ อีกอย่างนึงนะจากรูปก่อนหน้า เราสามารถตั้งค่าให้กับเจ้าตัว Grammarly ได้ว่าต้องการให้

    ตรวจสอบอะไรบ้างใน Document ของเรา

     

     

     

     

     

     

     

     

    อย่างไรแล้วหวังว่า Blog เล็กๆ Blog นี้จะมีประโยชน์บ้างกับใครหลายๆ คน ที่กำลังมองหาเครื่องมือเล็กๆ ที่สามารถนำมาปรับเพิ่มขีด
    ความสามารถหรือช่วยในการทำงานแต่ละวันของเรา สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น และสำหรับใครหลายคนที่ต้องพิมพ์งานเยอะ

    ทั้ง Blog , ตอบ comment , ส่ง E-mail หรืออื่นๆ เจ้าตัว Grammarly จิ๋วตอนนี้ก็น่าจะตอบโจทย์ ช่วยแก้ไขคำผิดง่ายๆ ได้บ้าง

    ไม่มากก็น้อยแหละ แต่หากคำไหนที่เราไม่มั่นใจจริง ๆ หรือพวกรายละเอียดเรื่องโครงสร้างยาก ๆ ก็ให้ใช้ช่องทางอื่น เสริมเข้ามาช่วยด้วย

    ก็น่าจะดีนะ อยากที่เค้าชอบพูดกันว่า “กันไว้ ดีกว่าแก้” ไง 555+ ….. แล้วพบกันใหม่ Blog หน้านะแจ๊ะ ทุกคนนนนนน 🙂

     

    ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

     

     

  • Email tracking By Google Chrome Extension

    เมื่อวันเวลาหมุนเวียนมาบรรจบพบกันอีกครั้ง ก่อนการเขียนผล TOR ในปีนี้ ก็ได้เวลาที่เหล่าเราทั้งหลายจะมาเริ่มต้นเขียน Blog กันอีกครั้ง
    และเช่นเคยสิ่งที่ผู้เขียนมีโอกาสศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือทดลองใช้งาน โดยมากแล้วก็จะเกี่ยวพันกับหน้าที่การงานในปัจจุบันนั่นแล

    ซึ่งหน้าที่หลักที่ผู้เขียนต้องทำทุกๆ วัน นั่นคือการรับแจ้งและตอบปัญหาให้กับลูกค้าผ่านทาง E-Mail และต้องขอบอกเลยว่าสำหรับผู้เขียน
    การตรวจสอบว่าเมลล์ถูกส่งไปถึงปลายทางหรือมีการเปิดอ่านหรือไม่นั้น มันเป็นเรื่องที่จำเป็นมากๆ ในงาน IT เพราะนอกจากการโทรแล้ว
    อีกหนึ่งช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แถมยังประหยัดรายจ่ายอีกต่างหาก นั่นก็คือการส่ง E-Mail นั่นเองแหละหนา

    โดยหนึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการติดตั้ง Extension บน Google Chrome และใน Blog นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ
    Chrome Extension ที่มีชื่อว่า “Email Tracking for Gmail & Inbox” ต้องขอบอกว่าจิ๋วแต่แจ๋วนะจ๊ะออเจ้าทั้งหลาย !!

    Email Tracking คืออะไร ???
    เอาแบบสั้นๆ เลย มันคือตัว App ที่ไว้คอย Track (ติดตาม) ว่า E-Mail ที่เราได้ส่งหรือตอบกลับไปนั้น ได้ถูกเปิดอ่านแล้วหรือไม่นั่นเอง

    วิธีติดตั้ง Email Tracking for Gmail & Inbox

    1.เปิด Google Chrome Browser เพื่อติดตั้ง Extension คลิกที่นี่ จากนั้นเลือกเพิ่ม Extension ดังกล่าว

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    2. จากนั้นให้เข้าสู่ระบบ Gmail เลือก Sign in with Google

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    3.จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างให้เรา อนุญาตให้ Mailtrack เข้าถึงบัญชีของเรา

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    4.ถัดมาจะให้เราเลือกว่าจะใช้งานแบบไหน และระดับเราๆแล้ว จะเลือกอะไรได้ล่ะ เลือก Free เท่านั้นก็พอ !!

     

     

     

     

     

     

     

    5.ระบบก็จะบอกเราว่า ยินดีด้วย คุณติดตั้ง Mailtrack เรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้คลิก “Go to my email”

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    6.เมื่อเข้าสู่หน้าจอ E-Mail ของเราแล้วนั้นจะสั่งเกตุได้ว่าจะมี Icon ของตัว Mailtrack แสดงอยู่ตรงมุมบนขวา

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    7.ในขั้นตอนต่อไปให้เราทดสอบโดยการเขียนและส่ง E-mail ไปยัง E-Mail อื่นที่เราสามารถเข้าไปเปิดอ่านเพื่อทำการทดสอบได้
    เมื่อส่งไปแล้วก็ให้ทดสอบโดยการไปเปิดอ่าน E-Mail ดังกล่าว และกลับมายัง E-Mail หลักที่เราใช้ส่ง จะสังเกตุได้ว่าจะมีการ
    แจ้งเตือนกลับมาจาก MailTrack Alert ที่เราตั้งค่าไว้

     

     

     

     

     

     

     

     

    8.ถ้ามีการเปิดอ่าน E-Mail ของเราที่ส่งออกไป ระบบจะมี Notification แจ้งเตือนมี E-Mail แจ้งสถานะกลับมา
    และในกล่องจดหมายที่ส่งแล้ว จะมี Icon เครื่องหมายถูกคู่ซ้อนกันสีเขียว ตัวอย่างดังรูป

     

     

     

     

     

     

     

     

    สำหรับตัว Email Tracking for Gmail & Inbox ผู้ใช้สามารถเข้าไปดำเนินการตั้งค่าได้ โดยให้สังเกตุที่มุมบนด้านขวามือของตัว Gmail
    จากนั้นให้คลิกที่ Icon ของ Extension เพื่อเข้าไปในหน้า dashboard ของตัว mailtrack ในหน้านี้เราสามารถที่จะตั้งค่าต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
    เช่น การเปิด-ปิด การแจ้งเตือน เป็นต้น

     

    อย่างไรแล้วหวังว่า Blog เล็กๆ Blog นี้จะมีประโยชน์บ้างกับใครหลายๆ คน ที่กำลังมองหาเครื่องมือเล็กๆ ที่สามารถนำมาปรับเพิ่มขีด
    ความสามารถหรือช่วยในการทำงานแต่ละวันของเรา สะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้นค่ะ …. ^ ^

    ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • สั่งให้ Excel พูดด้วยเครื่องมือ Speak Cells

    สำหรับ blog ในวันนี้ ทางผู้เขียนขอแนะนำเทคนิคการใช้งานเครื่องมือใน Quick Access Toolbar (QAT) ที่จะสามารถทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น โดยการเลือกเครื่องมือที่มีการใช้งานบ่อยๆ มาไว้ในที่ที่เข้าถึงง่าย

     

    แล้ว Quick Access Toolbar คืออะไร ?

    อธิบายแบบง่ายๆ เลยนะ มันคือ แถบคำสั่งที่อยู่มุมบนด้านซ้ายของตัวโปแกรมชุด Office ไม่ว่าจะเป็น Excel, Word หรือ PowerPoint เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้งานคำสั่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ที่เราเห็นอยู่บ่อยๆ คือพวกปุ่ม Save, Undo, Redo นั่นแหละ

     

    แล้วถ้าหากเราต้องการ Add คำสั่งอื่นๆ เพิ่มเข้ามาละ จะต้องทำยังไง ?

    วิธีการเพิ่มคำสั่งใน Quick Access Toolbar

    1. วิธีที่หนึ่ง สามารถ Add ได้จากปุ่มที่เห็นอยู่แล้ว ดูตัวอย่างได้ตามรูปด้านล่าง
      • คลิกขวาบนคำสั่งที่ต้องการ จากนั้นเลือก Add to Quick Access Toolbar
    2. วิธีที่สอง คลิก Add More Command (วิธีนี้สามารถเลือกคำสั่งแบบแปลกๆ ที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นเข้ามาได้ด้วย) ดูตัวอย่างได้ตามรูปด้านล่าง
      • คลิกเลือกสัญลักษณ์ สามเหลี่ยม ดังรูป เลือก “More Commands…”
      • Choose commands from ให้เลือกแสดงเป็นแบบ All Commands หากอยากเห็นทั้งหมด หรือจะเลือกแบบ Commands Not in the ribbon ก็ได้นะ เดี๋ยวมันจะกรองให้ ตัวอย่างดังรูป
      • จากนั้นเราจะเห็นเมนูทั้งหมด สามารถเลือกคำสั่งที่ต้องการและ คลิกปุ่ม “Add” จากนั้นคลิกปุ่ม “OK” เพื่อยืนยันการเพิ่มคำสั่งดังกล่าว
      • สำหรับคำสั่งที่เราจะเลือกแนะนำใน Blog นี้คือ คำสั่ง “Speak Cells”
      • เมื่อเรา Add Commands เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเห็นสัญลักษณ์คำสั่งดังกล่าวเพิ่มเข้ามาในส่วนของ Quick Access Toolbar

    ซึ่งประโยชน์ของเจ้าคำสั่งนี้เนี่ย คือการที่โปรแกรมจะช่วยทวนสิ่งที่เราพิมพ์เข้าไป เพื่อลดความผิดพลาด โดยไม่ต้องมานั่งเสียเวลาอ่านทวนซ้ำในสิ่งที่เราพิมพ์เข้าไปนั่นเอง (แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษนะ)

    ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ เหล่านี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับใครหลายๆ คน (รวมถึงตัวผู้เขียนด้วย) ซึ่งนอกเหนือจาก Commands ดังกล่าวนั้น Excel ก็ยังมีเครื่องมือเจ๋งๆ ที่เราสามารถ Add เข้ามายัง Quick Access Toolbar เพิ่มเติมได้อีกเยอะแยะมากมาย ผู้อ่านสามารถทดลองคลิกๆ เลือกๆ เพิ่มเข้ามาได้เลย ไม่ต้องกลัวโปรแกรมจะเจ๊งงงงนะ ไม่ลองเล่นก็จะไม่รู้น่ะแจ๊ะ แฮ่ ^____^

     

    ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

    • https://www.sara2u.com/tips-trick.html
    • http://www.inwexcel.com/
  • TeamViewer QuickSupport

    สำหรับการเขียน blog ในรอบนี้ คิดอยู่นานว่าจะเขียนอะไรดี แต่เนื่องด้วยภาระหน้าที่ในงานส่วนใหญ่ที่ทำ

    คือการ support ให้กับลูกค้า และ ณ ปัจจุบันนี้ กลุ่มของลูกค้าที่ทางผู้เขียนต้องติดต่อประสานงานด้วยนั้น

    ก็หลากหลายมากกกกก (กอ ไก่ หมื่นตัว – -“) และปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นก็คือ การอธิบายปัญหาระหว่างลูกค้า

    และตัวเรานั้น “เข้าใจไม่ตรงกัน”

     

    ดังนั้นวันนี้ทางผู้เขียนจึงอยากจะแนะนำ Application ที่จะช่วยให้การติดต่อ ระหว่างเครื่อง Notebook ของเรา

    กับเจ้า Tablet หรือ Smartphone ของลูกค้า ง่ายขึ้นไปอี๊กกกก ^__^

     

    TeamViewer QuickSupport เป็น Application ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งบน iOS และ Android ละนะ

    สำหรับตัวอย่างหน้าตา App ก็คล้ายๆ ตัว TeamViewer ที่เราใช้บน PC หรือ Notebook นี่แหละ

     

    ** แต่ต้องขอบอกก่อนว่า feature ที่ได้เนี่ยอาจจะไม่เหมือนกันนะ สำหรับ samsung ก็จะมี quicksupport for samsung เลย สำหรับรุ่นอื่นๆ ก็อาจจะต้องมีการลง add-on เพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถใช้งาน feature remote control

    ได้ และสำหรับเจ้า add-on เนี่ย ก็ไม่ได้มีทุกค่ายนะ ยังไงก็สามารถทดลองเล่นๆ กันดูได้

    • เริ่มแรกก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ Play Store ค้นหา App teamviewer quicksupport จากนั้นคลิก Install กันได้เลย เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็ Open โปรแกรมขึ้นมา *** สำหรับเครื่องไหนที่จะต้องดาวน์โหลด add-on เพิ่มเติม มันก็จะมี pop up แจ้งบอกเรานะ สำหรับ add-on ก็มีจะเยอะแยะหลายรุ่น ลองเลือกๆ กันดูได้เลย
    • เปิด TeamViewer บน PC หรือ Notebook ขึ้นมา เพื่อเริ่มต้นการ Remote หน้าจอของผู้ใช้ นำ Your ID ของลูกค้ามากรอกในช่อง Partner ID จากนั้น คลิก connect to partner *** แต่ถ้าคอมพิวเตอร์เราไม่มีโปรแกมดังกล่าว ก็สามารถเข้าผ่าน https://start.teamviewer.com ได้เหมือนกันนะ

    • เมื่อเริ่มต้น connect บนฝั่งของทาง smartphone ของลูกค้าก็จะมีการให้ยืนยันการเชื่อมต่อ ว่าจะ อนุญาต หรือปฏิเสธ ให้เลือกอนุญาต จากนั้นการเชื่อมต่อก็จะพร้อมใช้งานได้ทันที 🙂
    • เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเห็นหน้าจอของลูกค้า ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และสามารถควบคุมอุปกรณ์ได้จากระยะไกล หรือสามารถตรวจสอบสถานะอุปกรณ์ ติดตั้ง App หรือจะตั้งค่าข้อมูลต่างๆ บน Smartphone หรือ Tablet ของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย

    จากนี้ต่อไป ไม่ว่าลูกค้าของเราจะอยู่ส่วนไหนของมุมโลก เพียงแค่มี Internet และ App เทพตัวนี้ Teamviewer quicksupport เราก็จะสามารถ Remote เพื่อเข้าไปดูหน้าจอจริงๆ ไปดูปัญหาที่ลูกค้าเจอจริงๆ ได้อย่างง่ายดาย

    และรวดเร็ว

    สรุปประโยชน์ของ App ตัวนี้

    1. สามารถเชื่อมต่อ ระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ กับ อุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อทำการช่วยเหลือ ในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ ได้ทันที แม้จะอยู่กันคนละซีกโลก !
    2. สามารถถ่ายโอนไฟล์ระหว่างกันได้ เช่น รูปภาพ PDF หรืออื่นๆ
    3. สามารถ แชท (ส่งข้อความ) ระหว่างกันได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องโทรติดต่อกันให้ยุ่งยาก
    4. สามารถตรวจสอบ ข้อมูลอุปกรณ์ รายละเอียดของอุปกรณ์ (Smartphone หรือ tablet) ไม่ว่าจะเป็น CPU RAM หรือแม้แต่สถานะของ Battery ได้ด้วย
    5. สุดท้าย ท้ายสุด คือ App ตัวนี้ ฟรี !!!

    อย่างไรแล้วหากท่านไหนยังไม่เคยลองใช้งาน ก็ลองโหลดมาเล่นกันดูได้นะ ขนาดเล็ก ติดตั้ง และใช้งานง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสจริงๆ แฮ่ 🙂

     

    อ้างอิง :

    https://www.teamviewer.com/th/download/mobile-apps/

  • ทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวง่ายนิดเดียว

    ทดสอบเว็บผ่าน Browser
    หลังจากที่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างเว็บขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือทดสอบเว็บของเราว่าสามารถที่จะแสดงผลผ่าน Browser ได้ดีหรือไม่ และแสดงผลได้ดีกับทุก Browser หรือไม่ เช่น Google Chrome , Firefox หรือจะเป็น Internet Explorer ซึ่ง Browser แต่ละตัวนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชันมาก และที่เราต้องพยายามทดสอบให้ได้มากที่สุดก็เพราะว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าลูกค้าหรือผู้ใช้เว็บของเรานั้นจะใช้เครื่องมือ หรือ Browser ตัวไหนเป็นหลัง ดังนั้นการทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ

    ทำอย่างไรให้การทดสอบผ่าน Browser ทุกตัวเป็นเรื่องง่าย

    สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเครื่องมือช่วยทดสอบการแสดงผลเว็บผ่าน Browser ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เพื่อให้เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องลงๆ ถอนๆ Browser ในเครื่องจนอาจจะปวดหัวเอาได้

    หลักๆ จากที่ศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมี Cloud Browser เปิดให้บริการมากมาย เช่น Saucelab, BrowserStack, Browserling, Ghostlab หรือ CrossBrowserTesting เป็นต้น

    สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอหน้าตาของ BrowserStack กันก่อนละกัน

    • เราจะต้องสมัครสมาชิกกันก่อน โดยจะมีแบบ Free trial ให้เราทดลองใช้งาน สมัครเสร็จแล้วก็ Login เข้าไปทดลองใช้งานกันได้เลย

     

    • หลังจากสมัครสมาชิกทดลองใช้ฟรีกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาของเจ้า BrowserStack แบบนี้

     

    • เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะทดสอบเว็บกับระบบปฏิบัติการไน และ Browser อะไร

     

    • ตัวอย่างเช่นเลือก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Mavericks และ Browser Safari 7.1 ก็จะได้ตัวอย่างหน้าจอ
      แบบด้านล่าง

     

     

     

    • ในหน้าจอที่เรากำลังทดสอบก็จะมี Tool เล็กๆ ให้เราสามารถจัดการหน้าจอได้ เช่นสามารถ Switch เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Browser อื่นๆ สามารถปรับ Resolutions
      ของหน้าจอได้ สามารถ Create a bug สามารถสร้าง Issue Tracker สามารถตั้งค่าอื่นๆ
      หรือตรวจสอบ Features ของตัว BrowserStack ได้ เป็นต้น

     

     

     

     

    สุดท้ายแล้วสำหรับเพื่อนๆ หรือใครที่มีปัญหายุ่งยากในการทดสอบเว็บให้ครบทุก Browser ก็สามารถลองเอาเจ้าตัว BrowserStack ไปใช้งานกันดู เผื่อบางทีอาจจะช่วยระยะเวลา หรือปัญหาต่างๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ^ ^

    แหล่งความรู้อ้างอิง
    – http://soraya.in.th/2013/04/08/browserstack-ie/
    – https://medium.com/tag/browserstack
    – https://chittakorn.com/do-you-know/browser-testing/
    – http://www.designil.com/free-internet-explorer-mac.html

  • Infographic เล่าเรื่องด้วยภาพ

    ปัจจุบันเราทุกคนจะต้องมีการรับ/ส่งข้อมูลอะไรระหว่างกันอยู่เสมอ และสิ่งนึงที่เรามักจะคิดตรงกันคือเราจะสื่อสารกันอย่างไรให้อีกฝ่ายเข้าใจได้รวดเร็ว และง่ายที่สุด

    “อินโฟกราฟิก” เป็นอีก 1 คำตอบ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

     

    อินโฟกราฟิกคืออะไร ?

    คือการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อสารกับผู้คนด้วยสิ่งที่จับต้องได้ การที่จะอ่านบทความที่มีความยาวหลายๆหน้า กราฟ

    หรือข้อมูลมหาศาลคงต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญบางคนอาจจะไม่สนใจข้อมูลเหล่านั้นเลยก็เป็นได้ เพราะการตีความของคนที่อ่านแต่ละคนไม่เหมือนกัน

     

    ทักษะที่จำเป็นในการทำ อินโฟกราฟิก

    ทักษะพื้นฐาน 3 อย่างคือ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการเรียบเรียบ และทักษะดีไซน์

     

    หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก แบ่งเป็น 2 ส่วน

    1. ด้านข้อมูล

    ข้อมูลที่จะนำเสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราว เปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง

    1. ด้านการออกแบบ

    การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำงานและความสวยงาม โดยออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง

     

    การทำอินโฟกราฟิกโดยใช้ Web Tool

    Web Tool คือ เว็บที่ให้บริการทำอินโฟกราฟิกออนไลน์ เช่น piktochart หรือ easel.ly เราสามารถเลือก Template แล้วปรับแต่งได้ตามใจชอบ

    โดยจะขอยกตัวอย่างการทำอินโฟกราฟิกโดยการใช้ piktochart

     

    วิธีการสมัครใช้งาน

     

    • กรอกข้อมูล หรือเลือก Sign In ผ่าน Gmail/Facebook เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังรูป

     

     

     

     

     

     

     

    • เริ่มต้นสร้าง โดยคลิกเลือก “Start Creating” จากนั้นเข้าสู่หน้าสร้างงานผ่าน piktochart

    • เลือก Template รูปแบบที่ต้องการ เช่น infographic presentation หรือ printable โดยในแต่ละรูปแบบจะมี Free template ให้เลือกใช้งาน
      ตัวอย่าง Free Template Infographic

    • Tool ต่างๆ ของหน้าเว็บที่มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน
    Menu Graphics

    • Shapes & Line ใช้วาดรูปหรือเส้น
    • Icon มีไอคอนให้เลือกใช้
    • Photo มีรูปภาพให้เลือกใช้
    • Photo Frame มีกรอบรูปให้เลือกใช้
    Uploads

    • โปรแกรมมีรูปให้เลือกใช้
    • หรือสามารถอัพโหลดรูปจากภายนอกเข้ามาใช้งานได้
    Background

    • มีรูปพื้นหลังให้เลือกใช้งานในการตกแต่ง
    • สามารถปรับความเข้มได้ที่ Opacity
    Text

    • สามารถเลือกรูปแบบตัวอักษร
    • สามารถเลือกปรับแต่ง Style กรอบรูปหรืออื่นๆ ได้ตามด้านล่าง
    Tools

    • สามารถเลือกรูปแบบ Charts ทำกราฟได้
    • เลือก Maps ทำแผนที่ได้
    • หรือสามารถแทรก link videos ได้
    • Saved          บันทึก
    • Preview       ดูผลลัพธ์
    • Download    แปลงไฟล์เป็น JPEG หรือ PNG
    • Share          เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ

     

    แหล่งความรู้อ้างอิง