Author: parnchanok.j

  • Chrome ~ Live Caption

    กราบสวัสดีคุณผู้อ่านทุกๆ ท่านนนน … blog วันนี้ ผู้เขียนจะขอว่าด้วยเรื่องของ Google Chrome Live Caption !!

    คาดว่าหลายๆ ท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเช่นเดียวกับผู้เขียน เช่น เมื่อเราต้องการดูข้อมูลวิธีการอะไรสักอย่างนึง เราก็จะ Search google เพื่อหาข้อมูล บ่อยครั้งที่ข้อมูลที่เราได้จะอยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ซึ่งมีผู้รู้หลายๆ ท่านมาแชร์เอาไว้

    และก็บ่อยครั้งอีกเช่นเดียวกัน ที่ความรู้เหล่านั้นอยู่ในรูปแบบภาษาอังกฤษ (ซึ่งทักษะภาษาอังกฤษของผู้เขียนก็ … นะ T T)

    ปัญหาของผู้เขียนก็คือ ฟังไม่ทัน ฟังไม่เข้าใจ เค้าพูดอะไร !! 55+ ดังนั้นผู้เขียนจึงหาข้อมูล หาวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยให้ตัวเองสามารถเข้าใจในข้อมูลเหล่านั้นได้เพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลาที่จำกัด ค้นไปค้นมา นั่นแน่ … ก็มาเจอกับ Feature ใหม่ของ Google Chrome

    ที่มีชื่อว่า Live Caption นั่นเอง

    Live Caption บน Google Chrome แปลง่ายๆ เลยก็คือ มันจะช่วยขึ้น Subtitle ให้เราสามารถอ่านตามไปได้ และสามารถใช้งานได้ดีกับวิดีโอบน youtube หรือแม้กระทั่ง Podcast (แต่ปัจจุบันยังรองรับแค่ภาษาอังกฤษ เท่านั้นนะ)

    คำถามถัดมา แล้วเราจะทำยังไงให้ Google Chrome ของเรา แสดง Live Caption ได้ละ … ไป ไปเริ่มตั้งค่ากันเลย

    step 1 : เปิด Browser google chrome ขึ้นมาก่อน จากนั้นไปที่จุด 3 จุด มุมขวาบนของ Browser —> เลือก Settings

    step 2 : เลือกเมนู Advance

    step 3 : เลือก Accessibility

    step 4 : สุดท้ายเลือก on คำสั่ง live caption ตามในรูปเล้ยยยย

    เมื่อเราตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาดูผลลัพธ์กัน ว่าจะเป็นยังไง หน้าตาที่ได้ก็ประมาณตามวิดีโอตัวอย่างด้านล่างนี้นะ

    จริงๆ แล้วจากที่หาข้อมูลพบว่า Feature Live Caption ตัวนี้เนี่ย เค้าออกแบบมาเพื่อสนับสนุนผู้มีปัญหาทางการได้ยิน แต่เอาจริงๆ นะ ผู้เขียนมองว่ามันมีประโยชน์ไม่น้อยเลยกับคนทั่วไป ถึงแม้ตอนนี้จะยังคงรองรับเพียงแค่ภาษาอังกฤษ แต่นั่นผู้เขียนก็มองว่ามันดีมากๆ แล้ว แถมยังสามารถใช้ได้ทั้งการดูวิดีโอแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์ เลยด้วย ดีมากจริงๆ

    ยังไงก็แล้วแต่ ผู้เขียนก็หวังเหมือนเดิมอีกเช่นเคย หวังว่า blog นี้จะยังคงมีประโยชน์กับหลายๆ คน ไม่มากก็น้อย แนะนำให้ลองไปใช้กันดูนะทุกคน

    ขอบคุณแหล่งที่มา : ข่าวไอทีใน https://www.techhub.in.th/ ไว้น่ะที่นี้แง๊บบบบ

  • How to ลบไฟล์ใน Downloads อัตโนมัติ บน Win10

    เนื่องด้วยทางผู้เขียนเองในทุกๆ วัน ด้วยงานที่ทำและพฤติกรรมโดยส่วนตัว ส่งผลให้ Folder Downloads ในเครื่องตัวเองมีไฟล์เพิ่มขึ้นทุกวัน (แลดูรกมากๆ) มีทั้งไฟล์งาน ไฟล์เพลง ไฟล์วีดีโอ ไฟล์ภาพ เต็มไปหมด !! และเอาจริงๆ บางทีก็คิดนะว่าควรจะทำความสะอาดโดยการลบออกซักที แต่ก็นะ ด้วยความยุ่งวุ่นวายในหลายๆ อย่าง ก็เลยลืม และยังคงลืมมาโดยตลอดดดดดด 555+

    จนสุดท้ายได้นั่งหาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนมาเจอวิธีที่สามารถตั้งค่าการลบไฟล์ใน Folder Downloads ได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะมาก เหมาะกับคนที่ความจำแย่ ขี้ลืม และขี้เกียจ T T แบบผู้เขียน

    มา เรามาเริ่มกันเลย ไม่ต้องเกริ่นกันให้มากความ ลุยยยยย !!

    ก่อนอื่น Blog นี้จะเป็นการตั้งค่าบน Windows10 นะ (Windows อื่นๆนี่ยังไม่ได้ศึกษา แหะๆ) เริ่มแรกไปที่เมนู Start ก่อนเลย

    • คลิกเลือก Start จากนั้นเลือกเมนู Settings ตามรูปเลยนะ
    • เมื่อเข้ามาในหน้าต่าง settings ให้คลิกเลือกตรงเมนู “System” ได้เลย
    • เมื่อเข้ามาในหน้าจอเมนู System ให้คลิกเลือกเมนูด้านซ้ายที่ชื่อว่า “Storage” (รอเครื่องเราโหลดข้อมูลสักครู่นะ) จากนั้นคลิกเลือกตรงด้านขวาของหน้าจอ เลือกข้อความ “Configure Storage Sense or run it now
    • จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอ Configure Storage Sense or run it now ให้เลือก “Turn on” ในส่วนของ “Storage Sense
    • ขั้นตอนสุดท้ายให้เลือกติ๊กถูกด้านหน้าข้อความ “Delete temporary files that my apps aren’t using” และเลือกระบุตามความพอใจได้เลยว่าต้องการให้ระบบทำการลบไฟล์ในระยะเวลาใด โดยค่าเริ่มต้นจะอยู่ที่ 30days อยู่แล้วนะ

    เพียงเท่านั้นก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการตั้งค่าบน Windows 10 กันแล้วนะทุกคน มันดีจริงๆ อยากให้ทุกคนที่อยากลอง ก็ลองไปเล่นดูนะ สั้นๆ ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากหรอก สำหรับ Blog นี้ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านทุกๆท่านน๊าาาา

    ขอขอบคุณบทความดีๆจาก : https://www.varietypc.net

  • สวัสดี PDPA 🙂

    สำหรับ Blog นี้ ทางผู้เขียนขอพูดถึง PDPA เบื้องต้นละกัน คิดว่านาทีนี้จากไม่อยากรู้จัก ก็ต้องมาทำความรู้จักกันไว้บ้างแล้วแหละ !!

    ต้องขอบอกก่อนเลยว่า ในยุคปัจจุบันที่มีการพัฒนาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด การเข้าถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ง่ายขึ้น รวมไปถึงการเข้าใช้งาน Internet แบบเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกเพศทุกวัย และมีการใช้งานที่กำลังขยายเป็นวงกว้าง ส่งผลให้เกิดโลกออนไลน์ที่มีขนาดใหญ่ และสิ่งต่างๆ เหล่านี้นี่แหละที่เราทุกๆ คน หากต้องการเข้าใช้งาน เราก็จะต้องแลกมาด้วยการใส่ข้อมูลเข้าไป

    ผลจากสิ่งต่างๆ ที่มีความทันสมัย และสะดวกสบายเหล่านั้น มันก็จะมีผลบางอย่างที่เดินตามหลังเรามาแบบติดๆ ผลกระทบที่เห็นได้ชัดอย่างนึงเลยก็คือเรื่องของ “ข้อมูลส่วนบุคคล ที่อาจจะมีผู้ไม่หวังดีสามารถที่จะเลือกใช้ช่องโหว่ของเทคโนโลยีเหล่านั้นมาก่อปัญหา และหลายครั้งก็นำมาซึ่งความเดือดร้อน หรือสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูล เราจึงจำเป็นต้องมีกฏหมายขึ้นมา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ กำกับดูแล และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว นั่นก็คือ PDPA พระเอกของเราในวันนี้นั่นเอง

    PDPA คืออะไร ?

    PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562(2019)) ก็คือพระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และได้มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ไปแล้วในบางส่วน และเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ถือเป็นวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตามกฏหมายทั้งฉบับ

    ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร?

    ถ้าว่ากันตาม PDPA ดังกล่าว จะให้ความหมายของคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ไว้ดังนี้ “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม และข้อมูลนิติบุคคล ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.นี้”

    ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)

    • ชื่อ – นามสกุล, เลขประจำตัวประชาชน, เลขประกันสังคม, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เป็นต้น
    • ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, วันเกิด, อีเมล, การศึกษา, เพศ, อาชีพ, รูปถ่าย
    • ข้อมูลทางการเงิน
    • ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เช่น ข้อมูลทางการแพทย์หรือสุขภาพ, เชื้อชาติ, ความคิดเห็นทางการเมือง, ความเชื่อทางศาสนาหรือปรัชญา, พฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น

    PDPA เกี่ยวกับใคร ?

    เอาจริงๆ ผู้เขียนมองว่าเกี่ยวกับทุกคนนะ และอย่างน้อยๆ เราควรรู้ข้อมูลเหล่านี้ไว้บ้างไม่มากก็น้อย เพื่อไว้ในการช่วยรักษาสิทธิของเราเอง

    • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) คือ บุคคลที่ข้อมูลระบุไปถึง
    • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ “ตัดสินใจ” เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
    • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล “ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าว ต้องไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

    หากหน่วยงาน / องค์กรของเราต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร ?

    กรณีที่ต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการยินยอม ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) ต้องดำเนินการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนการประมวลผลข้อมูล ดังนี้

    • ต้องอธิบายให้ชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลที่ขอความยินยอม
    • ต้องระบุประเภทของข้อมูลที่นำไปใช้
    • ต้องมีข้อความที่เข้าถึงได้ง่าย อ่านเข้าใจ และไม่เป็นภาษาในทางกฏหมายจนเกินไป
    • ไม่เป็นการบังคับ ต้องให้สิทธิอิสระแก่เจ้าของข้อมูลในการให้หรือไม่ให้ความยินยอม
    • ห้ามกำหนดการให้ความยินยมเป็นเงื่อนไขในการให้บริการ
    • กรณีเป็นผู้เยาว์อายุไม่ถึง 20 ปี คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ การขอความยินยอมต้องได้จากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ด้วย

    บทลงโทษหากเราไม่ปฏิบัติตาม PDPA

    เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสม ใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ การให้ข้อมูลในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน เพราะหากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้วนั้นหน่วยงาน องค์กร หรือผู้ควบคุมข้อมูล อาจได้รับโทษ ดังนี้

    • ความรับผิดทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
    • โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

    จริงๆแล้ว รายละเอียดที่เราควรรู้ หรือควรเตรียมพร้อมรับมือเกี่ยวกับ พ.ร.บ. PDPA นั้นค่อนข้างมีรายละเอียดเชิงลึกที่มากกว่าที่ผู้เขียนได้กล่าวมา ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาหาข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมได้จากหลายๆ ช่องทาง สำหรับ Blog นี้เป็นเพียงแค่ส่วนนึงเล็กๆน้อยๆ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่บุคคลทั่วไปควรรู้ ทางผู้เขียนหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นจะโยชน์กับผู้อ่าน หรือผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อยแหละนะ

    ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลเพิ่มอาหารสมองมา ณ ที่นี้ด้วย

    • https://www.hubbathailand.com/hubba-blog/10-pdpa-part
    • https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/pdpa-about-us.html
    • https://techspace.co.th/

  • แชร์หน้าจอมือถือขณะ VDO Call ด้วย LINE

    สำหรับ Blog ในวันนี้จะมาขอแชร์เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่หลายๆคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน (ถึงแม้จะใช้ LINE กันอยู่ทุกวันก็เถอะ)

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาทาง LINE ได้มีการ update version ล่าสุด คือ10.6.5 ซึ่งใน version นี้จะเน้นไปที่การเพิ่มคุณสมบัติขณะวิดีโอคอล เช่น สามารถดู YouTube ร่วมกันได้ หรือสามารถแชร์หน้าจอตัวเองได้ เป็นต้น จริงๆแล้ว เรื่องของการแชร์หน้าจอขณะ VDO Call เนี่ย เดิมบนคอมพิวเตอร์ก็ทำได้อยู่ก่อนแล้วนะ แต่ตอนนี้ update ให้สามารถแชร์ผ่าน application บน smart phone ได้ด้วย

    วิธีการก็ไม่ยากเลย ปะ ไปดูกันว่าเค้าทำกันยังไง !!

    Step1 : เริ่มจากเปิด LINE และเลือก VDO Call หาคนที่เราต้องการ

    Step2 : เมื่อเริ่มการ VDO Call เรียบร้อยแล้ว แตะหน้าจอเบาๆ 1 ครั้ง จากนั้นให้สังเกตุมุมบนด้านขวาของหน้าจอ จะปรากฏicon เล็กๆ ให้กดเลือกตรงจุด3จุด

    Step3 : หน้าจอจะแสดงเมนูให้เราเลือก ให้เลือก “Share screen

    Step4 : เมื่อกดเลือกเรียบร้อยแล้วหน้าจอก็จะถามเราว่า “LINE will start capturing everything that’s displayed on your screen.” ให้เลือกว่าจะ cancel หรือ start now เลือกแบบไหนก็เลือกเลย หากไม่ต้องการให้รอบหน้าแสดงข้อความนี้อีกก็สามารถ Checkbox ด้านหน้าคำว่า Don’t show again ได้เลย

    Step5 : เมื่อเราเริ่มต้นการ Share screen เรียบร้อยแล้ว หน้าจอเราเปิดอะไรอยู่ เพื่อนที่เรา VDO Call ด้วยก็จะเห็นเหมือนกัน ตัวอย่างก็จะได้ดังรูป ^^

    จะว่าไปก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อยเลยนะ ยิ่งช่วงนี้อะไรๆก็ออนไลน์ ทั้งเรียน ทั้งประชุม ทั้งพูดคุย ตัวคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาอันนี้ตอบรับนโยบาย social distancing ได้ดีมากๆ

    อย่างไรก็ตามผู้เขียนอยากให้ทุกคนไปลองเล่นดูนะ ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเหล่านี้ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม จริงมั้ย !!

    อ้างอิง
    https://www.rainmaker.in.th/line-update-video-call/

  • Transcribe speech with Google Translate

    สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน หลังจากเงียบหายไปนาน และแล้ว วันนี้ก็มาถึง วันที่ต้องกลับมาเขียน Blog อีกรอบ

    เพราะ …. เพราะ …. เพราะอยากเขียนนี่แหละ (หื้มมม) ไม่มีอะไรในก่อไผ่หรอก 55 อะๆ อย่ามามัวเสียเวลากันเลยเนอะ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า !!

    วันนี้ขอว่าด้วยเรื่องของ feature บน google translate กันหน่อย feature ที่เพิ่มเข้ามาคือ “Transcribe” การถอดข้อความจากไฟล์เสียงนั่นเอง

    จริงๆแล้ว คนไหนที่เคยลองใช้ลองเล่น google translate ก็จะรู้กันอยู่แล้วว่าจะมี feature เกี่ยวกับเสียงอยู่แล้วก่อนหน้า ที่สามารถฟังเสียง
    หรือข้อความสั้นๆ และแปลออกมาเป็นคำ หรือบริบทสั้นๆ ได้ แต่ก็ยังไม่สามารถแปลในส่วนของไฟล์หรือข้อความเสียงที่แบบยาวๆ ต่อเนื่องได้

    สำหรับวิธีการใช้งาน feature Transcribe ที่เพิ่มเข้ามาเนี่ย ง่ายดายมากๆ

    1. เปิดเข้าไปที่ app google translate
    2. ให้กดไปที่ icon “Transcribe” ดูได้จากรูป

    3. เมื่อคลิกเข้ามาก็จะเจอกับหน้าจอขาวๆ แบบนี้ ซึ่งคือพร้อมใช้ทำงานแล้วนะ มาๆ จะลองเล่นให้ดู ทดสอบอ่านบทความ(ภาษาไทย) ให้ดูละกันนะ

    จากวิดีโอตัวอย่างก็จะเป็นการอ่านบทความภาษาไทยและเจ้า app ตัวนี้ก็จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ เราก็จะได้ผลลัพธ์ประมาณนี้ เจ๋งดีเนอะ ^^

    เราสามารถตั้งค่าขนาดการแสดงผลของตัวอักษร หรืออื่นๆ ได้เล็กน้อยนะ สามารถลองเล่นได้โดยกดตรง รูปฟันเฟือง (มุมล่างซ้าย) กดๆดู ไม่ยากๆ

    สำหรับภาษาที่จะใช้ได้นั้น ขณะนี้รองรับ 8 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮินดี โปรตุเกส รัสเซีย สเปน และ ไทย เน้ออออออ ^__^

    อ๊ะๆ สำหรับ feature ตัวนี้ขอบอกก่อนว่าทางผู้เขียนใช้ Android นะ แต่สำหรับบน iOS เนี่ยจะอัพเดทหรือยังไม่อัพเดท ทางผู้เขียนก็ไม่มั่นใจเช่นกัน
    แต่คาดว่าน่าจะตามกันมาติดๆนั่นแหละ รอไม่นานหรอก ก็ลองไปติดตามข่าวสารกันดูนะ

    หวังว่าสาระวันนี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนไม่มากก็น้อย พบกันใหม่รอบหน้า ทางผู้เขียนก็จะพยายามเขียนเรื่องสาระดีๆเล็กๆน้อยๆ แต่ก็มีประโยชน์
    พอจะนำมาใช้กันได้ในชีวิตประจำวัน จะเลือกแบบที่ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนหรอก เพราะตัวคนเขียนก็ไม่ค่อยรู้อะไรกับเค้าเหมือนกันนั่นแหละ 55+

    อ้างอิง
    https://blog.google/products/translate/transcribe-speech/
    https://www.rainmaker.in.th/transcribe-speech-with-google-translate/

  • ฝึกภาษาด้วย Mate Translate

    สวัสดี หนีห่าวววว ท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทางผู้เขียนมี extension ดีๆ ที่ลงตัว มาแนะนำให้ได้รู้จักกันอีกแล้วเน้อ ไม่ต้องเกริ่นมาก ไปดูกันเลยดีกว่า

    จริงๆ แล้ว ณ ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงการแปลภาษา extension หรือเว็บที่เราคุ้นชินกันมาก ถึงมากที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น google translate กันใช่มั้ย ซึ่งการทำงานของ เจ้าตัว google translate เนี่ยก็ถือว่าดีอยู่แล้วเช่นเดียวกัน แต่ก็นะ ชีวิตนี้จะรู้จักแค่อันนี้อันเดียวก็คงจะดูโลกแคบไปหน่อยนึง วันนี้ผู้เขียนเลยอยากจะลองนำเสนอ extension แปลภาษาดีๆ อีกสักตัวนึง ให้ทุกคนได้รู้จัก เจ้าตัวนี้มีชื่อว่า “Mate Translate” นั่นเอง

    Mate Translate จะเหมาะกับผู้ใช้ที่เน้นอ่านบทความต่างประเทศ ฝึกภาษา และที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ สำหรับใครที่ชื่นชอบการดู Netflix และฝึกภาษาจากการดูหนังดูซีรีย์ เชื่อเถอะเจ้า Mate Translate จะช่วยให้การแปลภาษาในระหว่างการดูหนังง่ายขึ้นไปอี๊กกกก เพียงแค่ คลิกบนคำศัพท์ หรือข้อความในส่วน subtitles ที่ขึ้นบนหน้าจอ ตัว extension Mate ก็จะแปลความหมายของคำนั้นขึ้นมาให้เราอ่าน ง่ายม๊ากกก เพียงแค่คลิกเดียวจริงๆ นะเออ

    ไม่ใช่แค่เพียงภาษาอังกฤษนะ ตัวช่วยตัวนี้สามารถแปลภาษา คำ วลี ประโยค ได้ถึง 103 ภาษา แถมยังสามารถฟังการออกเสียงอย่างถูกต้องได้ด้วย ปะ ติดตั้งกันเลย

    1. เข้าไปที่ webstore ของ google chrome ได้เลย หรือ ตามนี้นะ https://chrome.google.com/webstore/category/extensions จากนั้นค้นหาคำว่า Mate Translate (ตัวที่หน้าตาสีเขียวๆ นั่นแหละ)

    2. คลิกปุ่ม “เพิ่มใน Chrome” หรือ “Add to Chrome” ได้เลย

    3. ระบบก็จะถามซ้ำอีกครั้ง เราก็เลือกปุ่ม “เพิ่มส่วนขยาย” เพื่อยืนยันการติดตั้งไปอีกครั้ง

    4. เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะปรากฏ icon เล็กๆ ตรงมุมบนด้านขวาของหน้าจอ

    เมื่อคลิกครั้งแรกก็จะปรากฏหน้าต่างให้เรายอมรับเงื่อนไข จากนั้นก็คลิก Continue ต่อได้เลย

    5. เรามาทดลองตั้งค่าก่อนการใช้งานกันก่อนเลยละกัน คลิกบน icon จากนั้นเลือก “ตั้งค่า” (ตรงสัญลักษณ์ฟันเฟืองนะ) เมื่อเราคลิกแล้วก็จะได้หน้าตาประมาณนี้

    ปล..ระดับเราๆแล้ว ไม่ต้อง upgrade หรอก ใช้ version ฟรีนั่นแหละ 55+

    หลักๆ ก็จะมาดูในส่วนของ on-page ละกัน ตัวอย่างเช่น

    • double click translation ก็เปิด on ได้เลย เวลาเราเจอคำที่ต้องการแปลก็แค่ double click ไปบนคำนั้น ตัวช่วยก็จะแปลความหมายขึ้นมาให้เราเองทันที ไม่ต้อง copy แล้วว่าง
    • tooltip size ก็สามารถเลือกได้ว่าหน้าจอที่แสดงคำแปลเนี่ย จะเอาขนาดไหน
    • translate Netflix subtities ก็คือเมื่อเราคลิกบนคำใน subtitles บนหนัง หรือ วีดีโอที่ดูใน Netflix มันก็จะแปลความหมายขึ้นมาให้เราเลย ***เหมาะมากสำหรับคนที่ฝึกภาษาด้วยซีรีย์เนี่ยยย !!

    จริงๆ แล้วอยากให้ลองดูกันนะ ตัวช่วยแปลดีๆเนี่ย ไม่ได้มีแค่ google translate นะจ๊ะทุกคนนนนน อย่างไรก็ตามทางผู้เขียนหวังว่า blog นี้จะช่วยเหลือ หรือมีประโยชน์กับผู้อ่านได้ ไม่มากก็น้อยแหละนะ พบกันใหม่ครั้งหน้า สำหรับวันนี้ บ๊ายยยยย !!

    ขอบคุณแหล่งอ้างอิงดีๆ มา ณ ที่นี้ด้วยแง๊บ
    – https://www.9tana.com/node/5-chrome-extensions/

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 3

    ต่อจาก Blogก่อนหน้า Blog นี้ เรามาว่ากันด้วยเรื่องของการ upload file และสั่งให้โปรแกรม Generate QR code กัน

    หลังจากที่เราบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว และเราอยาก upload file ขึ้นไปเก็บไว้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเช่น “บันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว upload file ขึ้น youtube เมื่อ upload เสร็จ ให้แสดง QR Code ขึ้นมา” โอเคมั้ย โจทย์ประมาณนี้นะ งั้นไป … เราไปเริ่มกันเลย !!!

    ลำดับแรกคลิกเลือก “Destinations” จากนั้นเลือกไปที่ “File uploader” เลือกเป็น “Youtube” เน้อออ

    จากนั้นก็มาเริ่มตั้งค่ากันเลย ให้ไปที่ “Destination” อีกรอบนึง แต่คราวนี้เลือกไปที่ข้อความ “Destination settings….” โปรแกรมก็จะเปิดหน้าต่างให้เราตั้งค่า

    เลือกที่เป็นประเภท File uploader จากนั้นเลือก youtube ขวามือจะแสดง ให้เรา authorize ไปยัง youtube ของเรา คลิกเลือกตรง Step 1 : Open authorize page จากนั้นก็จะเจอหน้าจอดังรูป

    ให้เราเลือกเลย กรณีเรามีบัญชีมากกว่า 1 ก็เลือกว่าจะใช้บัญชีไหน เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงหน้าจอตามรูปด้านล่างเลย ก็ให้เลือก “อนุญาต

    เมื่ออนุญาตการเข้าถึงบัญชีของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ code ยาวๆ มา หน้าตาประมาณรูปด้านล่าง ให้เรา copy code ที่ได้ไว้นะ

    จากนั้นให้เอา code ที่ได้กลับมาวางในหน้าของโปรแกรมแกรม shareX ตรง ช่อง “Verification code” เสร็จแล้วรอแป๊บนึง เมื่อโปรแกรมตรวจสอบและ verify code แล้วว่าถูกต้องก็จะแจ้งเราว่า login successful. ถือว่าครบถ้วนกระบวนความ โดยในหน้านี้ เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ เช่น Private type: เลือกได้ว่าต้องการเป็นแบบใด public, private เป็นต้น และสามารถระบุได้ว่า link ที่ได้ต้องการเป็นแบบ shortened link หรือไม่

    ต่อมาตะกี้แผนของเราคือ upload ขึ้น youtube เสร็จแล้วให้แสดง QR Code ใช่มั้ย ก็ไปตั้งค่าเพิ่มกันอีกนิดนึง ให้ไปตรงเมนู “After upload task….” จากนั้นเลือก QR Code

    เมื่อตั้งค่าเสร็จทุกอย่างครบถ้วนกระบวนความแล้ว คราวนี้มาดูผลลัพธ์กัน ก็ลองบันทึกวีดีขึ้นมาสักอันนึง เมื่อบันทึกวีดีโอเสร็จแล้วให้ “คลิกขวา” บนไฟล์วีดีโอของเราจากนั้นเลือก Upload

    เมื่อเลือก upload แล้วก็รอสักครู่ จนโปรแกรมบอกเราว่า upload 100% พร้อม ๆ กับแสดงหน้าต่าง QR Code ขึ้นมาให้เราทันที

    ก็ลอง Scan QR Code กันดูได้ มันก็จะวิ่งไปที่วีดีโอของเราที่อัพขึ้น youtube นั่นแหละ

    เป็นยังไงกันบ้าง ง่ายมั้ย ดูเหมือนยาก แต่มันไม่ยากนะ แถม Destination ที่มีให้เราเลือกอัพก็มีมากมายซะเหลือเกิน ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นกันดู มันมีประโยชน์จริงๆ เล่นไปเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก ไม่ต้องรีบร้อนกันนะ สบาย สบายยยยยยย วันนี้ผู้เขียนก็ขอจบ Blog แต่เพียงเท่านี้ และก็ขอจบในเรื่องราวของเจ้า shareX ตัวนี้แต่เพียงเท่านี้

    หากผู้อ่านมีข้อสงสัย สามารถถามเข้ามาได้นะ ถ้ารู้ก็จะบอก แต่ถ้าไม่รู้ก็จะพยายามหาคำตอบมาให้ 55+ ส่วน Blog หน้าจะมาเล่าเรื่องอะไร รอติดตามกันนะทุกคนนนน …. บุ้ยบุ่ย ^___^

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 2

    Blog นี้ ขอมาต่อในส่วนของโปรแกรม shareX โดยจะมาว่ากันในเรื่องของการบันทึกหน้าจอในรูปแบบ VDO กันค่ะ

    สำหรับการบันทึกภาพหน้าจอเป็นวิดีโอ ผู้ใช้สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มหน้าจอ หรือจะเลือกเป็นพื้นที่ก็ได้เช่นกัน

    แต่ก่อนที่เราจะบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอด้วย shareX ได้นั้น เครื่องของเราก็ต้องมี plugin ที่ชื่อ “FFmpeg” ติดตั้งอยู่ในเครื่องก่อน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องตกใจหรอก เพราะว่าพอเราเลือกฟังก์ชันบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอ (Screen recording) โปรแกรมก็จะบอกเราว่า เราไม่มี plugin ตัวนี้ จะไปดาวน์โหลดมาติดตั้งเลยมั้ย ก็ให้ตอบตกลงไปเลย แค่นี้เราก็สามารถใช้งานการบันทึกภาพหน้าจอได้แล้ว

    หรืออีกวิธีนึง !!!

    เราสามารถไปดาวน์โหลดด้วยตัวเองก่อนก็ได้ โดยไปที่ “Task settings

    จากนั้นก็ปรากฏหน้าจอดังรูป ให้เลือก “Screen recorder” –> “Screen recording options….” –> คลิก Download

    รอสักครู่ ไฟล์ไม่ใหญ่ โหลดไม่นาน หน้าตาก็ประมาณนี้น่ะ

    เพิ่มเติมอีกนิดนึง นอกจากเราจะบันทึกการจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอเป็นแบบวิดีโอแล้วเรายังสามารถบันทึกในแบบ  GIF Animation ได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้คือดีมากๆ เลย

    อะ มาๆ เรามาลองบันทึกภาพเคลื่อนไหวจริงๆ กันเลย

    Step 1 : เลือก capture –> Screen recording 

    Step 2 : โปรแกรมก็จะให้เราเลือกพื้นที่ ที่เราต้องการจะบันทึก เราก็ลองลากเลือกเลยว่าจะบันทึกตรงไหน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วก็ให้สังเกตุ โปรแกรมจะขึ้นเส้นประรอบๆ พื้นที่ที่เราเลือก พร้อมทั้งเริ่ม Record หน้าจอของเราละ

    Step 3 : เราก็เริ่มต้นทำงานบนหน้าจอของเราได้เลย โปรแกรมจะบันทึกวีดีโอเก็บไว้ เมื่อเราดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม “Stop” เพื่อหยุดการบันทึกได้เลย โปรแกรมก็จะแสดงให้เราเห็นว่าบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว

    จากรูป สามารถคลิกบนลิงค์เพื่อ Play วีดีโอของเราได้เลย หรือหากไม่คลิกจากลิงค์ ก็สามารถเข้าไปดูใน Folder ตาม path ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้นะ ได้ทั้ง 2 วิธีนั่นแหละ หรือใครไม่รู้ว่าไปตั้ง path ได้จากไหน ก็ทำตามวิธีนี้ดูนะ

    คลิกเลือก Application settings …… –> เลือก path –> คลิก Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ได้เลย

    ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นเจ้า shareX ตัวนี้จริงๆ นี่ขนาดผู้เขียนลองเล่น ลองใช้มาจะสัปดาห์นึงละ ยังทำความรู้จักเจ้าโปรแกรมตัวนี้ได้แค่ผิวเผิน เท่านั้นเอง ลูกเล่นเค้าเยอะดีจริงๆ เยอะจนบางทีก็ทำให้เราสับสน งงๆ ได้เหมือนกันนะ 55 เอาเป็นว่า เดี๋ยว Blog หน้า Ep 3 จะมาเล่าต่อนะ ว่าหลังจากบันทึกวีดีโอ หรือรูปภาพเสร็จแล้วสามารถสั่งให้โปรแกรมทำอะไรต่อได้บ้าง วันนี้ก็ลากันไปเท่านี้ก่อน อย่าลืม อ่านแล้ว ลองเล่นดูนะ ^__^

  • จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep1

    Blog ที่4 นี้ขอนำเสนอโปรแกรมจับภาพหน้าจอฟรี ย้ำนะว่าฟรี !! มีชื่อว่า shareX ซึ่งสามารถจับภาพหน้าจอเพื่อนำไปใช้งานต่อในหลากหลายรูปแบบ เช่น ทำคู่มือ ทำวีดีโอ เอาไปลงในเว็บไซต์ หรื่ออื่นๆ ถือเป็นโปรแกรมฟรีแบบ Open Source ที่จัดเต็มในเรื่องของเครื่องมือต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้แบบครบครันนนนนน

    จริงๆแล้วโปรแกรมฟรีที่สามารถจับภาพหน้าจอ record วีดีโอนี่ก็มีมากมายเลยแหละ อยู่ที่ใครชอบแบบไหน เอาเป็นว่าวันนี้ลองมาทำความรู้จักกับอีก 1 ตัว ที่มีชื่อว่า shareX กันหน่อยละกันนะ “จะได้รู้ว่าดีกว่าที่ใช้อยู่เนี่ย มันก็มีนะ !!” (อันนี้ผู้เขียนบอกตัวเองนะ 55+)

    shareX สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://getsharex.com/ หรือจะหาผ่าน window store ก็ได้เหมือนกัน เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการติดตั้งบนเครื่องของเราได้เลย

    สำหรับ shareX ก็จะมี feature หลักๆ คือ

    • รองรับการจัดภาพหน้าจอแบบเต็มจอ เฉพาะหน้าต่าง หรือเฉพาะส่วน
    • สามารถตั้งให้เปิดแก้ไขภาพในโปรแกรมอื่นๆ ก่อนที่จะอัพโหลดได้
    • save file อัตโนมัติเอาไว้ในเครื่อง
    • upload ภาพขึ้นไปยัง services ต่างๆ
    • สามารถ copy code ต่างๆได้จากในตัวโปรแกรม เช่น html สำหรับแทรกภาพ หรือ BBCode สำหรับแปะในเว็บบอร์ด
    • รองรับการย่อ URL ในตัว
    • รองรับการ upload ข้อความขึ้นเว็บ
    • รองรับการ upload file ขึ้นอินเตอร์เน็ต
    • แชร์สิ่งที่อัพโหลดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้
    • ตั้งค่า hotkey สำหรับจับภาพได้

    เหล่านี้ถือเป็น feature คร่าวๆ ของเจ้า shareX นะ จริงๆ แล้ว services ต่างๆที่ตัวโปรแกรมเชื่อมต่อได้นั้นมีเยอะมากๆ เดี๋ยวเราจะลองไปดูกัน

    เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะเจอกับหน้าตาเจ้าตัว shareX ประมาณนี้ …..

    จะเห็นได้ว่าข้อความที่ขึ้นบอกไว้นั้นคือ ปุ่มใช้งานมาตรฐานที่โปรแกรมกำหนดมาให้ หากเราต้องการปุ่มอื่นๆ ถามว่าเปลี่ยนได้มั้ย ตอบเลยว่า …. ได้ !! แต่เดี๋ยวจะอธิบายไว้ในส่วนของ Hotkey settings ด้านล่างนะ

    ——————————————————————————————————————————————–

    Capture

    มากันที่ Feature หลักอันแรกคือ “Capture” หรือการจับภาพหน้าจอนั่นเอง shareX จะรองรับการจับภาพในหลายรูปแบบ ย้ำว่าหลากหลาย จริงๆ

    Fullscreen          จับภาพหน้าจอแบบ Fullscreen
    window               จับภาพหน้าจอแบบ Window ซึ่งสามารถเลือกได้จากหน้าจอทั้งหมดที่เราเปิดไว้ในเครื่องได้เลย
    monitor               หากมีมากกว่า 1 จอ ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะจับหน้าจอใด
    Region                 จับภาพหน้าจอแบบเลือกเฉพาะส่วน
    Last region        จับภาพในส่วนล่าสุดที่เราเพิ่งจับภาพไป
    Screen recording      บันทึกภาพหน้าจอ
    Screen recording (GIF)           บันทึกภาพหน้าจอแบบ GIF
    Scrolling capture        จับภาพหน้าจอที่มีความยาวมากเกินกว่าที่จะสามารถแสดงบนหน้าจอได้ทีเดียวหมด (ต้อง Scroll mouse ขึ้นลงนั่นเอง)
    Text capture (OCR)    จับภาพโดยเลือกเฉพาะตัวอักษรในภาพนั้น
    Auto capture           สามารถตั้งเวลาได้ ว่าจะให้จับภาพหน้าจอ ทุกๆ กี่วินาที
    Show Cursor          สามารถเลือกได้ว่าภาพหน้าจอที่เรา capture ไปเนี่ย จะให้แสดง cursor หรือไม่
    Screenshot delay: 0s สามารถเลือกความ delay ของการ capture หน้าจอได้

    Upload Feature

    Workflows

    แสดง Hotkey นั่นแหละ โดยส่วนหลักตัวโปรแกรมก็จะกำหนดมาให้อยู่แล้ว แต่เราสามารถปรับเปลี่ยน Hotkey ได้เอง และยังสามารถเพิ่ม workflows ได้อีกด้วยตัวอย่างจะอธิบายในส่วนของ Hotkey settings นะ

    • Capture region คือการจับภาพโดยเลือกพื้นที่ ๆ เราต้องการ
    • Capture entire screen คือการจับภาพแบบเต็มหน้าจอ
    • Capture active window คือการจับภาพจากหน้าต่างที่เราเลือก หรือกำลังทำงาน
    • Start/Stop screen recording using custom region คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้
    • Start/Stop screen recording (GIF) using custom region  คือการบันทึกหน้าจอโดยบันทึกจากพื้นที่ที่เราได้เลือกหรือกำหนดเอาไว้โดยผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ GIF นั่นเอง

    Tools

    เครื่องมือเพิ่มเติม หรือส่วนเสริมของตัวโปรแกรมที่ทำให้เจ้า shareX เนี่ย ล้ำกว่าโปรแกรมอื่นไปอีก Step ขอยกตัวอย่างเป็นบางเครื่องมือละกัน เนื่องจากผู้เขียนก็ยังใช้ไม่ครบทุกเมนูเล้ยยยยย ตัวอย่างเช่น

    • Color picker           สามารถเลือกสีได้ ว่าต้องการสีอะไร
    • Screen color picker… เลือกสีบนหน้าจอเราได้เลยว่าต้องการสีอะไร โดยโปรแกรมจะ copy code สีเราให้ทันที เราสามารถนำไป code สีดังกล่าวไปใช้ต่อได้
    • Image editor           หน้าจอสำหรับปรับแต่งแก้ไขรูปภาพของเรา เช่น บันทึก upload print, select and move, สามารถใส่ข้อความลงในภาพได้ ทั้งแบบตัวอักษร หรือ free hand ใส่ step ในรูปภาพได้, Hilight, zoom, ใส่ emotion ได้, crop รูปภาพ แทรกรูปภาพ เป็นต้น
    • Image effects…       สำหรับใส่ effects ให้กับภาพได้ เช่น เพิ่ม filter ภาพ, ปรับ Adjustment, เพิ่ม text watermark หรือ image watermark เป็นต้น
    • Ruler…                เลือกเพื่อวัดขนาดของส่วนหน้าจอที่เราเลือกได้ ดังรูป
    • Image combiner…           อันนี้ก็เจ๋งดี เราสามารถเลือกภาพหน้าจอที่เราได้ capture ไว้เนี่ย นำมาผสมกันได้ ให้อยู่ในรูปเดียวกัน และยังเลือกแสดงผลได้อีกว่าจะให้แสดงในแนวนอน หรือแนวตั้ง เป็นต้น

    After capture tasks

    สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่จับภาพเสร็จแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป ตัวอย่างตามภาพด้านล่างเลย เช่น บันทึกเป็นไฟล์ภาพทันที, ใส่เอฟเฟกต์, ใส่ลายน้ำ, บันทึกเป็นภาพขนาดย่อ, คัดลอกในคลิปบอร์ด อัพโหลดไปยังเว็บ หรือ print เป็นต้น อยากเลือกอันไหนบ้างก็คลิกบนรายการ หรือบน icon ได้เลย

    After upload tasks

    สามารถตั้งค่าได้ว่าหลังจากที่อัพโหลดภาพแล้วให้โปรแกรมทำอะไรต่อไป เช่น แสดง shorten URL, Show QR code หรือ Copy URL to Clipboard เป็นต้น

    Destinations

    คือส่วนที่เราสามารถเข้ามาเลือกได้ว่าปลายทางที่เราจะเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์ตัวอักษร หรือแปลง URL shortener เนี่ย เราจะเลือกอะไร คือเอาจริงๆ มันเยอะมากกกกกก หลักๆ ถ้าเป็นรูปผู้เขียนก็จะเลือก upload ไว้ที่ google photo หากเป็น file ก็จะไว้ที่ google drive เป็นต้น เอาเป็นว่าการตั้งค่าเนี่ยจะมาเล่าในตอนต่อๆ ไปละกันนะ มันเยอะจริงๆ

    Task settings…..

    การตั้งค่าในการบันทึกหน้าจอ เมื่อคลิก “Task settings” ก็จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา จริงๆ การตั้งค่าหลักๆ โปรแกรมก็จะตั้งมาให้เรียบร้อยอยู่แล้ว

    Application settings

    เป็นส่วนสำหรับตั้งค่าต่างๆ ของตัวโปรแกรม shareX หลักๆ ก็จะมีภาษา ตั้งค่า path ที่เก็บไฟล์ การแสดงผลของ History หรือต้องการให้โปรแกรมแสดงหรือไม่แสดงในส่วนไหน เป็นต้น แล้วแต่ผู้ใช้แต่ละคนนะ ก็ลองเข้ามาตั้งค่ากันดูได้

    Hotkey settings

    1. เลือกเมนู “Hotkey setting
    2. เลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยน
    3. คลิกบน hotkey เดิม จากนั้นก็จะปรากฏหน้าจอด้านล่างเพื่อให้เราสามารถ select hotkey…. ใหม่ตามที่เราต้องการได้เลย

    แต่หากไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ Hotkey ที่ให้มาก็จำง่ายอยู่แล้วก็ข้ามเมนูนี้ไปได้เล้ย

    Screenshots folder…..

    เมนูนี้ใช้สำหรับเปิด Folder ที่เก็บภาพหน้าจอที่เราได้ Capture เอาไว้นั่นเอง หากต้องการเปลี่ยน path ที่เก็บสามารถเปลี่ยนได้โดยเลือกไปที่เมนู “Application settings” นะ

    History

    ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการใช้งานย้อนหลังทั้งหมดของเรา โดยจะแยกให้เห็นเลยว่า total รวมเป็นเท่าไหร่ และเป็นประเภท image , text , URL อย่างละกี่ไฟล์ เป็นต้น

    Image history…..

    ใช้สำหรับเรียกดูประวัติการจับภาพหน้าจอย้อนหลังของเราทั้งหมด

    News

    ข่าวประกาศจากทาง shareX

    Debug

    ส่วนสำหรับข้อมูลการพัฒนา และมีในส่วนของการทดสอบเครื่องมือต่างๆ ไว้ด้วยเช่น test text upload, test images upload เป็นต้น

    Donate

    ถ้าใครคิดว่าใช้งานโปรแกรมนี้จนประทับใจแล้วก็สามารถไปบริจาคเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานของ ShareX กันได้

    About

    แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม shareX

    ——————————————————————————————————————————————–

    สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนขอแนะนำโปรแกรม shareX  โดยอธิบายคุณสมบัติหลักๆ แต่ละตัว แบบไม่ได้ลงลึกเอาไว้ก่อน Blog หน้า จะกลับมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมทั้งในส่วนของการ connect ไปยังปลายทางที่เราเลือกสำหรับ upload ภาพ หรือการ Generate ออกมาเป็น QR Code หรืออื่นๆ เท่าที่ผู้เขียนจะอธิบายได้ละนะ 555 อย่าลืมไปลองใช้กันดูละ จิ๋วแต่แจ๋ว นะจะบอกให้

    อ้างอิง : bit.ly/refblog4