Create a feedback form with NotionForms

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน มาค่ะ เรามาต่อกันใน Blog ที่ 4 ของรอบ TOR นี้ ซึ่งผู้เขียนขอพาไปรู้จักกับ NotionForms ถ้าพร้อมแล้ว ไปค่ะ ไปเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน 😜 NotionForms 💬NotionForms was created to help Notion users to achieve more with their favourite tool. Need a contact form? Doing a survey? Create a form in 3 minutes and receive responses directly in Notion. 💡 หมายเหตุ : แบบฟอร์มที่เราสร้างขึ้นด้วย NotionForms ข้อมูลการตอบกลับจะถูกเก็บไว้ใน Notion Step 1 ก่อนอื่นเราต้องสร้างฐานข้อมูลหรือตารางสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบบฟอร์มของเราขึ้นมาก่อน ตัวอย่างใน Blog นี้ผู้เขียนขอสร้างตารางชื่อ Admission Feedback เก็บข้อมูล 4 column – name (type = text)– feedback (type = text)– the system is easy to use (type = select)– How do you feel after using the system (type = select) โดย column ที่อยู่ในรูปแบบ select เราก็จะเพิ่ม option เข้าไป เช่น column “How do you feel after using the system” ก็จะมี 2 option1. 👍 ฉันถูกใจสิ่งนี้ 2. 👎 ฉันไม่ถูกใจ 📌 วิธีการสร้าง Table เก็บข้อมูลใน notion สามารถตามไปอ่านได้ใน Blog ก่อนหน้า จัดการข้อมูลง่ายๆ ด้วย Database Notion Step 2 ไปยัง NotionForms คลิก Create Form จากนั้น Register ข้อมูล โดยใช้ Email เดียวกับตอนสมัครเว็บไซต์ Notion Step 3 คลิก Create a new form Step 4 ให้เลือก Notion Database Name สำหรับขั้นตอนนี้ให้เราระบุชื่อ Database ที่เราสร้างไว้ใน Notion (ตามในขั้นตอนที่ 1) จากตัวอย่างเราจะเลือก Database ที่ชื่อ Admission Feedback Step 5 NotionForms จะดึงข้อมูล Column ทั้งหมดที่เราสร้างไว้ใน Admission Feedback จาก Notion ขึ้นมาแสดง เราสามารถปรับแต่งการแสดงผลของ Forms ได้ตามต้องการ (setting ได้ภายใต้ฟังก์ชันที่ใช้ฟรีอะนะทุกคน 😜) Step 6 แนะนำให้เพื่อนๆ เลื่อนลงมาในส่วนของการ Custom Block เราสามารถกำหนดการแสดงผลข้อมูล Column ของเราได้ เช่น

Read More »

จัดการข้อมูลง่ายๆ ด้วย Database ใน Notion

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน สำหรับ Blog ที่ 3 ในรอบ TOR นี้ ผู้เขียนขอแนะนำการสร้าง Database เก็บข้อมูลบน Notion กันค่ะ 📍 Blog นี้จะไม่ลงลึกในส่วนการสมัครใช้งาน notion แต่จะเน้นในส่วนของการสร้าง Table เพื่อเก็บข้อมูล Notion 💬 Notion is a workspace with lots of tools to help you stay organized and productive. You can use notes, tasks, wikis and databases to manage projects, tasks, ideas and more. 📲 More than a doc. Or a table. Customize Notion to work the way you do. 📢 หากผู้อ่านอยากรู้ว่า Notion คืออะไร สามารถไปอ่านได้ที่ More than noting “Notion” ซึ่งมีสมาชิกผู้ร่วมอุดมการณ์เขียนแบบย่อๆ เอาไว้เรียบร้อยแล้ว มาค่ะ เรามาเริ่มขั้นตอนการสร้าง Database Notion กัน —>> สมัครใช้งาน Notion คลิกที่นี่ 📌 ตัวอย่าง Blog นี้จะแนะนำการสร้าง Table สำหรับเก็บข้อมูลบันทึกการแจ้งปัญหาการใช้งานจากลูกค้า 📝 Step 1 — เมื่อเราสมัครใช้งานให้เรียบร้อยแล้ว ให้เราเลือก Add a page ขึ้นมาจาก Sidebar ด้านซ้ายมือ 📝 Step 2 — ตั้งชื่อ Page ตามต้องการ ตัวอย่างนี้ขอตั้งชื่อ “Report Problem” และเลือก Database รูปแบบ “Table” 📝 Step 3 — เลือก New database เพื่อเริ่มต้นกำหนดและสร้าง Table เพื่อเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เราต้องการ 📝 Step 6 — เมื่อสร้างรายการเรียบร้อยแล้ว เรามาลองนำข้อมูลรายการดังกล่าวที่อยู่ในมุมมอง Table ไปแสดงในมุมมองอื่นๆ –>> ให้เราคลิกสัญลักษณ์ + 📝 Step 7 — เราสามารถเลือก View ได้หลายมุมมอง เช่น Calendar, Board, Timeline, List หรือ Gallery ตัวอย่างนี้ขอทดลองแสดงในรูปแบบ Calendar ละกันนะ 💡 เราสามารถ Customize การแสดงผลข้อมูลในหน้าดังกล่าวเพิ่มเติมได้นะ ให้คลิกตรงจุด 3 จุดหน้าปุ่ม New ตามในรูป จากนั้น หน้าต่าง notion ก็จะ View Option ขึ้นมาให้เราสามารถกำหนด หรือปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ 📌 สะดวก ใช้งานง่าย มี Template มากมาย รวมทุกฟังก์ชันไว้ในที่เดียว แนะนำ Notion นะทุกคน ! 📌 📢 สุดท้าย ท้ายสุด ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยค่ะ แล้วพบกันใหม่ Blog หน้า จะมาแนะนำการสร้าง Notion Form

Read More »

Rename นามสกุลไฟล์ หลายๆไฟล์พร้อมกัน ด้วย command line

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน เราเจอกันอีกแล้ววว 🙂 Blog วันนี้ผู้เขียน ขอว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ ครั้งละหลายๆไฟล์ พร้อมกัน ด้วยคำสั่ง command line อันที่จริงวันนี้ทางผู้เขียนเจอปัญหาการแสดงผลรูปภาพในหน้าเว็บไซต์ที่ทางทีมเป็นผู้ดูแล ซึ่งไม่รองรับไฟล์นามสกุล .jpeg ซะงั้น แต่ไฟล์รูปต้นฉบับ 2800 กว่าไฟล์นี่มัน .jpeg หมดเลยนี่สิ …. ครั้นจะมานั่งเปลี่ยนที่ละไฟล์ก็ดูจะเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป !!! เลยต้องมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และนำมาทดลองใช้แก้ปัญหาในครั้งดู มาค่ะ มาเริ่มกันเลย Step 1 : ให้ทุกท่าน ไปที่ start ของ window ของเรา และค้นหาคำว่า cmd เพื่อเรียก command line ขึ้นมา Step 2 : เราจะได้หน้าจอ command line ของเราขึ้นมา อย่างแรกเลยคือเราต้องเขียนคำสั่งเข้าไปยัง folder ที่เก็บไฟล์ที่เราต้องการ rename ก่อน จากตัวอย่างผู้เขียนจะเก็บไว้ที่ folder ชื่อ name2 ซึ่งอยู่บน desktop ตัวอย่างคำสั่งก็ประมาณนี้ cd c:/users/administrator/desktop/name2 จากนั้นคลิก enter เล้ย ปล…สำหรับคำสั่ง command line นี่มีมากมายเลยนะ อันนี้แค่เบื้องต้นเท่านั้นแหละ พวก cd, cd.. , del, rename ฯลฯ Step 3 : จากรูปด้านบนสังเกตุได้ว่า เราก็จะเข้าไปอยู่ใน folder name2 เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็มาเขียนคำสั่งเพื่อเปลี่ยนนามสกุลกันเล้ยยยย คำสั่งคือ rename *.jpeg *.jpg จากนั้นกด Enter เพื่อ run คำสั่งได้เลยทุกคน ปล…rename คือคำสั่ง เปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลของไฟล์ ส่วน * คืออะไรก็ตาม ตามรูปแบบคำสั่ง โดยรวมคือเราจะเปลี่ยนทุกไฟล์ใน folder name2 ที่นามสกุล .jpeg ให้เป็นนามสกุล .jpg จากตัวอย่างในวิดีโอ หลังจากเรา Run คำสั่งเรียบร้อยแล้ว นามสกุลไฟล์ใน name2 ของเราก็จะเปลี่ยนให้อัตโนมัติเน้อ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกๆท่าน ไม่มากก็น้อย หลายๆท่านอาจรู้อยู่แล้ว แต่หลายๆท่านก็อาจจะไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นลองอ่านลองทำตามกันดูนะคะ ง่ายมาก สะดวกและประหยัดเวลามากๆเลย ขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงความรู้ดีๆจาก : https://www.techhub.in.th/

Read More »

import file from “notion” to “azure devops”

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน Blog แรกของรอบ TOR ใหม่ในปีนี้ ผู้เขียนจะขอว่าด้วยเรื่องของการ export ข้อมูลจาก notion และการนำเข้าข้อมูลไปยัง azure devops กันค่ะ หลายๆคนคงมีคำถาม ว่าเจ้า notion นี่มันคืออะไร ?? ถ้าให้อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ notion ก็คือ “ซอฟต์แวร์ตัวนึงที่เราสามารถใช้จดโน้ต จัดการงาน วางแผนต่างๆ ได้ครบจบในตัวเดียว ใช้งานง่าย หน้าตาน่ารัก” นั้นแหละนะ คำถามถัดมา แล้วทำไมไม่กรอกบน azure devops เลยละ ? ทางผู้เขียนขอตอบเลยว่าการบันทึกข้อมูลตามฟอร์ม work items เนี่ย ผู้เขียนมีความรู้สึก(ส่วนตัว) ว่ามันค่อนข้างจะกรอกยาก และเสียเวลาจริงๆ (ใช้ excel, google sheet หรือ notion ง่ายกว่าเย๊อะ) ปล…แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น azure devops ก็ยังคงมีประโยชน์และใช้งานได้ดีในส่วนอื่นๆ อยู่แหละนะ ^^ Blog นี้ผู้เขียนจะไม่ลงลึกในส่วนของการใช้งาน notion แต่จะเน้นในส่วนของการ import ข้อมูลเข้าใน azure devops ซะมากกว่า ถ้าท่านผู้อ่านสนใจการใช้งาน notion สามารถค้นหาข้อมูลผ่าน google ได้เลย มีเยอะแยะมากมายเชียวละ เรามาเริ่มดูหน้าตาเจ้า notion กันก่อนเลยดีกว่า Step 1 : สมัครใช้งานให้เรียบร้อย จากนั้น Add a page ขึ้นมา ตั้งชื่อตามต้องการ เลือกใช้ DATABASE ในรูปแบบ Table ซึ่งตอบโจทย์ในการทำงาน และเก็บข้อมูลของทางผู้เขียน Step 2 : สร้าง column ข้อมูลตามที่เราต้องการบันทึก สำหรับขั้นตอนนี้ แนะนำให้สร้างตรงกับฟิลด์ที่ใช้เก็บข้อมูลใน work item ของเราบน azure devops นะ เพราะมันจะง่ายและลดระยะเวลาในการทำงานได้เยอะเลยแหละ Step 3 : ขั้นตอนนี้จะเป็นการ Export ข้อมูลที่เรากรอกไว้บน notion ให้อยู่ในรูปแบบ .csv ให้เราคลิกตรง … มุมบนด้านขวาของ page ที่เราต้องการ Export จากในตัว notion จากนั้นเลือก Export Step 4 : เลือก format และเงื่อนไขอื่นๆ ที่เราต้องการ Export โดยผู้เขียนจะเลือกเป็น Markdown& CSV เมื่อเรา Export เรียบร้อยแล้วก็จะได้หน้าตาข้อมูลมาประมาณนี้ (เราสามารถปรับแก้ไขตัวไฟล์ดังกล่าวเพิ่มเติมได้เลยนะ) Step 5 : เปิดหน้าจอ azure devops ของเราขึ้นมาก่อนเลย เลือก Project ที่ต้องการดำเนินการ เลือกเมนู “Boards” เมนูย่อย “Work Items“ Step 6 : เลือก Import Work Items จากนั้นให้เราเลือก Choose File โดยเลือกเป็นไฟล์ที่เรา Export ได้มาตะกี้นั่นแหละ Step 7 : เมื่อเรา Import ข้อมูลจาก .CSV เราเข้ามาเรียบร้อยแล้ว เราก็จะพบกับข้อมูลดังกล่าวบนตัว azure devops หน้าตาประมาณนี้เลย สุดท้าย ท้ายสุด หากตรวจสอบพบว่าถูกต้อง ไม่มีปัญหาใดๆ ก็ให้คลิก Save items ได้เลยนะทุกคนนนนนน เอาจริงๆ ง่ายมากๆ ลดเวลาการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนในการทำงานของทางผู้เขียนได้ดีมากๆ เอาไปเลย 5 ดาววววววว ทั้งนี้ทางผู้เขียนยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้อ่านหลายๆ ท่านน๊าาาา แล้วพบกันใหม่ใน Blog หน้าเน้ออออออ ขอขอบคุณน้องเอก

Read More »

สร้าง ER Diagram ง่ายๆ ด้วย Toad for Oracle

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน Blog ที่ 2 ของ TOR รอบนี้จะขอว่าด้วยเรื่องของ ER Diagram กันค่ะ การจัดทำ ER Diagram โดยปกติเราสามารถทำได้หลากหลายวิธี ใช้งานได้มากมายหลากหลายเครื่องมือ ก็แล้วแต่แหละเนอะ ว่าใครถนัดแบบไหน ใช้เครื่องมือใด สำหรับทางผู้เขียนจะคลุกคลีตีโมงอยู่กับ Toad for Oracle เป็นหลัก ครั้งนี้เลยจะมาขอแชร์วิธีการเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีความสะดวกสบายในการสร้าง ER Diagram จากข้อมูลตารางที่อยู่ในฐานข้อมูลของเราโดยอัตโนมัตินั่นเอ๊งงงง !!! ปะ …. เรามาเริ่มกันเลยละกัน เมื่อเราเปิด Toad for Oracle และ Connect เข้า Database ที่เราต้องการเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้หน้าจอตามรูป ปล…หน้าตาอาจจะต่างกันเล็กน้อยแล้วแต่ version ของแต่ละคนที่ใช้งาน 2. ให้คลิกเลือกเมนู “Database” —> จากนั้นเลือกเมนู “Report” —> เลือกเมนู “ER Diagram” เมื่อเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้พื้นที่ Workspace ของเราขึ้นมา ตัวอย่างดังรูปด้านล่างเลยจ๊ะ 3. จากนั้นคลิกเลือก Add Objects ตรงสัญลักษณ์เครื่องหมาย + สีเขียวๆฟ้าๆ จากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่างให้เราเลือก Table หรือ View จาก Schema ที่เราต้องการ เพื่อ “Add to ER Diagram“ ปล … ทั้งนี้หากเราไม่เลือกที่ละรายการ ก็สามารถเลือกได้ว่า Select All , Deselect All หรือ Invert selection ผ่าน เครื่องมือที่มีให้ได้เช่นเดียวกัน 4. เราลองมาเลือก Table ข้อมูลที่เราต้องการนำมาสร้าง ER Diagram กันเลย และเมื่อเลือกเรียบร้อยแล้วก็ให้คลิกปุ่ม “OK” ได้เลยนะ จากนั้นก็จะได้หน้าตา ER Diagram ที่โยงความสัมพันธ์ของข้อมูลให้แล้ว ดังรูปเลยทุกคน !! 5. และหากเราต้องการให้ใน ER Diagram ของเราแสดงเพียงแค่ชื่อ Column Name เท่านั้น ไม่แสดงรายละเอียดอื่นๆ ก็แนะนำให้เลือกตรงข้อความ All Columns จากนั้นเลือกแสดงแบบ “Column Names only“ 6. เมื่อเลือกแสดงแบบ Column Names only ก็จะได้หน้าตาดังรูปด้านล่างนะ เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย Blog นี้พอจะช่วยให้การสร้าง ER Diagram สำหรับผู้อ่านง่ายขึ้นบ้างมั้ย ? ทั้งนี้ …. ทางผู้เขียนก็ขอออกตัวก่อนเลย มันมีมากมายหลายวิธีจริงๆ ในการสร้าง ER Diagram ทั้งอาจจะง่ายกว่าวิธีนี้ หรือยุ่งยากกว่าวิธีนี้ก็เป็นได้ ผู้เขียนจึงอยากจะขอแชร์วิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อช่วยในการทำงานของทางผู้เขียนเองเท่านั้น และก็ยังคงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน ไม่มากก็น้อย ตามคติที่ว่า “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามมมมม” นั้นเอง 555+ Special Thanks : Supervisor Regist Team สำหรับคำแนะนำในการใช้งานแง๊บบบบ 🙂

Read More »