Author: naparat.h

  • 6 Tips (ดี ๆ) เกี่ยวกับ MS Word 2016

    บทความนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของ Microsoft Word (2016) โปรแกรมพื้นฐานเกี่ยวกับการพิมพ์เอกสาร รายงาน จดหมาย บลา ๆ ที่ใคร ๆ ก็ (ต้อง) ใช้เป็น … กันนะคะ วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอ 6 Tips ดี ๆ เกี่ยวกับ MS Word ซึ่ง (น่าจะ) ช่วยให้การใช้งาน word ของเรานั้น สะดวก และดูโปร (ไม่ใช่ ยี่ห้อนมผง นะคะ 555 +) ยิ่งขึ้น ซึ่งเราอาจยังไม่ทราบหรือได้ลองใช้มาก่อน

    เอ้ หรือว่าจริง ๆ แล้ว สาระในบทความนี้ เค้าก็รู้กันทั่วทั้งบางแล้วคะเนี่ย?! มีแต่ผู้เขียนหรือป่าว แฮร่ ๆ ^^’ เอาเป็นว่า ถือซะว่าได้ทบทวนก็แล้วกันนะคะ

    Come on, come on, turn the radio on . It’s Friday night … La, la, la, la, la, la (Sia – Cheap Thrills) อ่ะ ไม่ใช่ละคะ !!
    หยุดโยกกันก่อน เพราะวันนี้วัน (ศุกร์) ก็จริง แต่ยังไม่ถึงเวลาท่องราตรี ที่เรา จะไปกับแสงสี กับปีกทีสวยๆ ให้เหมือนผีเสื้อราตรี นะคะ (ไปเรื่อยยย) ฮาาา

    Come on, มาค่ะ Tip รออยู่ เริ่มที่หัวข้อแรกกันเลยนะคะ ^^

    Open the last document เปิดเอกสาร word ก่อนหน้าที่เพิ่งใช้งาน แบบเท่ ๆ (รึป่าว?)

    เพียงเราใช้คำสั่ง winword.exe /mfile1 ค้นหาใน search box ของ windows หรือใช้คำสั่งเดียวกันภายใต้ Run Command box ก็สามารถเปิดเอกสาร word ที่ใช้งานล่าสุดขึ้นมาได้ทันที

    Use Word’s built-in calculatorใช้เครื่องคิดเลขที่มากับ word

    ไปที่ File เลือก Options กล่อง Word Options จะแสดงขึ้นมา ให้ไปที่ Quick Access Toolbar ในตัวเลือก Choose commands ให้เลือก Commands Not in the Ribbon แล้วเลื่อนหา Calculate และคลิกเลือก แล้วคลิกปุ่ม add ต่อด้วยปุ่ม OK เท่านี้ก็จะมี calculator icon แสดงขึ้นมาให้ใช้งาน ที่ Top Toolbar ของ word

    เมื่อพิมพ์สมการทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการใน word ลากคลุมสมการดังกล่าว แล้วคลิก calculator icon  word จะคำนวณสมการดังกล่าว และแสดงผลลัพธ์ที่ได้การการคำนวณขึ้นมาให้ทันทีที่ Status Bar (ด้นล่างสุด) ของ word ค่ะ

    Search the web with Smart Lookupsค้นหาข้อมูลแบบรวดเร็วด้วย Smart Lookups

    เลือกคลุมคำ/วลีใดก็ได้ที่ต้องการและคลิกขวาบนนั้น แล้วเลือก Smart Lookup นะคะ word ก็จะทำการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับคำ/วลีนั้นๆ แบบรวดเร็วจากเว็บด้วย Bing (Search Engine จาก Microsoft) โดยไม่ต้องออกจากหน้าเอกสารที่กำลังทำงาน

    แต่เท่าที่ผู้เขียนลองใช้ดู ก็ยังไม่ได้ Perfectly ในทุกครั้งน่ะ

    Select Non-Adjacent Textเลือกข้อความที่ไม่ได้อยู่ติดกันในเอกสาร

    หากเราต้องการ Copy ข้อความ หรือต้องการจัดรูปแบบพิเศษของข้อความ เช่น หัวข้อ (Header) ต่าง ๆ พร้อมกันทีเดียวในเอกสาร ซึ่งข้อความไม่ได้อยู่ติดกันนั้น

    ก็ใช้วิธีการ กดปุ่ม Ctrl บน Keyboard ค้างไว้ แล้วลากคลุมข้อความที่เราต้องการในเอกสารได้เลยค่า

    Change the default fontเปลี่ยนแบบอักษรเริ่มต้นให้เอกสาร

    ไปที่ Home (หน้าแรก) คลิกลูกศรขนาดเล็กมุมล่างซ้ายของส่วน Font (แบบอังกษร) บน Ribbon กล่อง Font จะแสดงขึ้นมา ให้เลือก Font ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม “Set As Default” (ตั้งเป็นค่าเริ่มต้น)

    word จอแสดงกล่องขึ้นมาสอบถามว่าจะให้ Font ดังกล่าวนั้นให้เป็น Default Font ของเอกสารนี้ (ที่กำลังทำงาน) เท่านั้น หรือกับทุกเอกสารทั้งหมดที่มีพื้นฐานบนแม่แบบ Normal (Blank Document) ตัดสินใจได้แล้ว เราก็คลิกเลือก แล้วกดปุ่ม OK

    อย่างเราต้องใช้ TH SarabunPSK  ในการพิมพ์เอกสาร (ราชการ) เป็นหลักอยู่แล้วนั้น ก็ตั้งค่าแบบอักษรดังกล่าวให้เป็น Default Font กับทุกเอกสารไปเลย (เลือก All document based on the Normal template) ก็สะดวกนะคะ

    ปิดท้ายกันไปด้วย Tip สุดท้าย ( แต่ไม่ท้ายสุด) เพราะผู้เขียนเป็นห่วงสายตาของทุกท่าน และดวงตาก็เป็นหน้าต่างของดวงใจเสียด้วย อิอิ

    (ปิ๊ง ปิ๊ง)

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ emoticon png

    Save yourself some eye strainทะนุถนอมสายตาของคุณบ้างน่ะ

    หากอ่านเอกสารพื้นสีขาวบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ อาจมีอาการเมื่อยล้าทางสายตาได้ มาตั้งค่าโหมดการอ่านเอกสาร (ไปที่ View บน Ribbon คลิกเลือก Reader Mode หรือคลิกไอคอนที่มุมล่างซ้ายของ word) ให้เป็นสีซีเปียเพื่อความสบายตา ช่วยลดอาการเมื่อยล้าทางสายตา (eye strain) ในขณะที่เราเปิดอ่านเอกสารดีกว่า

    โดยในหน้า  Reader Mode ให้เลือกเมนู View และ Page Color แล้วเลือก Sepia เมื่อเปิดเอกสารในโหมดอ่านเอกสาร เอกสารจะเปลี่ยนสีพื้นหลังเป็นสีซีเปียค่ะ

    ท้ายสุด สาระก็ได้จบกันไปเรียบร้อย ผู้เขียนหวังว่า ไม่หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านนะคะ
    อ่ะ โยกได้ !! และในส่วนคืนนี้นั้นนน ใครจะไป Dance on the Floor ต่อกันที่ไหน ก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ 555+ #TGIF ไม่ดื่ม-ไม่สูบ ดูแลตัวเอง เต้นได้แต่อย่านาน เอวจะเคล็ด… นะคะ
    ส่วนใครที่สงสัยว่าทำไมต้อง 6 นั่น ก็เพราะว่าเป็นเดือนเกิดของผู้เขียนนั่นเองงงงค่ะ ฮรี่ (#ยังงี้ก็ได้ดั้วะะะะะะหราาานี่ #555)

  • จับภาพหน้าเว็บไซต์ ง่าย ๆ ฟรี ๆ ฟิน ๆ ด้วย FireShot Lite – Capture Page (ดูปากณัชชานะคะ แค็พ-เฉอะ)

    บทความนี้ว่ากันด้วยเรื่องของ Extension บน Chrome กันอีกซักตัวนะคะ คราวนี้นำเสนอ Extension ที่จะช่วยในการ capture หน้าเว็บ ซึ่ง Easy to use มาก ๆ และ Free forever กันไปเลยค่า นั่นก็ คือ FireShot Version Lite นั่นเองงงงง เย่ ๆ เอ้า ปรบบบมือรัว ๆ สิคะ รออัลลลลไล

    แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ (หยุดรัวแทบไม่ทัน) สำหรับ Version Lite ที่เราจะติดตั้งใช้งานกันวันนี้นั้น อาจไม่ได้มี feature ต่าง ๆ ที่จะดำเนินการกับภาพที่เรา capture มาได้มากมาย เช่น Custom watermarks Advanced Editor: Undo/Redo, Resize, Crop and Save features หรือ Microsoft OneNote support และบลา ๆ นะคะ ซึ่งหากเราต้องการใช้ feature ที่มีอีกมากมายเหล่านี้ได้นั้น ก็ต้อง Pay ให้กับ FireShot Version Pro กันค่ะ ตอนนี้มีโปรโมชั่น 1 แถม 1 (เอ้ย ไม่ใช่ Watsons Boots หรือ TOPS น่ะจ๊ะ) โปรโมชั่นลดราคาเหลือ US$ 39.95 อยู่ค่ะ

    ช้าก่อน !! อย่าเพ่งรีบสอย เพราะผู้เขียนคิดว่า Version Lite ก็เพียงพอกับการใช้งานทั่ว ๆ ไปแล้วละค่ะ อย่าง User ท่านไหนใช้งานเว็บไซต์แล้วเกิดเจอ error ครั้นจะโทรมาแจ้ง Support แล้วแจ้งรายละเอียด error ที่ยาว (มาก) นั้นว่าอย่างไร ก็คงลำบากไม่น้อย หรือเมื่อโทรมาแจ้ง Support ว่าใช้งานแล้ว error ส่วนใหญ่ Support ก็จะแนะนำให้ส่งภาพหน้าจอที่ว่า error นั้นมาเพื่อจะได้ตรวจสอบให้

    บางทีก็ทำม่ายโถ๊กกกก แต่บางคนก็สบายมากจ้า กดปุ่ม Print Screen หรือไม่ก็ใช้ Snipping Tool ที่มาพร้อมกับ Windows จับภาพ แต่ก็ต้องเสียเวลาในการวางภาพ แนบไฟล์ ส่งเมล กันอี๊กกก

    แต่ต่อจากนี้หากใช้งาน FireShot อะไรก็ง่ายๆ ก็สะดวกสบายมากขึ้นแล้วละค่า เพราะสามารถ capture หน้าเว็บปั๊บ ก็ส่ง Email ได้เลย (Account ผู้ส่งต้องเป็น Gmail) หลังจากนั้นโทรแจ้ง Support นิดหน่อย “ส่งภาพหน้าจอ error มาแล้วน่ะคะ/น่ะครับ” จบปิ๊ง สวย ๆ ทั้ง User และ Support พอคุยกันเข้าใจ อะไรๆ ก็ดีไปโหม๊ดดด 555+

    ของฟรีที่ดีก็มีในโลกนะเออ เอ้า ปรบมือรัว (ต่อ) สิคะ รออัลลลลไล และขอขอบคุณผู้พัฒนานะคะ ฮี่ ๆ

    ปล. ส่วนใครที่อยากทราบข้อมูลของ Version Pro กับ Lite ว่ามี Features อะไร แตกต่างกันบ้าง มากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ลองเข้าไปดูข้อมูลเปรียบเทียบที่ลิงก์นี้ได้เลยค่ะ https://getfireshot.com/features.php

    เกริ่นกันซะยาวยืด ลิงหลับทั้งฝูงแย้ว มา ๆ ค่ะ สาระมีอยู่จริง มารู้จัก FireShot กันก่อนที่จะเริ่มใช้งานค่ะ เริ่มจากความสามารถในการจับภาพหน้าเว็บไซต์ก่อน ซึ่ง FireShot นั้นสามารถจับภาพหน้าเว็บได้ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ entire page ,visible part และ selection ค่ะ อธิบายแต่ล่ะรูปแบบสั้นๆ ง่าย ๆ (ขอให้สั้นจริงๆ เห๊อะ) ดังนี้

    Capture entire page จับภาพเว็บไซต์แบบยาวทั้งหน้า

    Capture visible part จับภาพเว็บไซต์เฉพาะส่วนที่เรามองเห็นอยู่บนหน้าจอ เหมือนกับการกดปุ่ม Print Screen นั่นแหละค่ะ แต่แตกต่างกันที่ภาพที่ได้จากการใช้ FireShot นั้นจะเป็นแค่หน้าเว็บล้วน ๆ ไม่มีส่วนอื่นบนหน้าจอ (Browser /OS) ปนในภาพเลย

    Capture Selection จับภาพเว็บไซต์เฉพาะส่วนที่เราต้องการ เหมือนกันการใช้ Snipping Tool ของ Window แต่ต่างกันที่ FireShot จะจับภาพได้เฉพาะหน้าเว็บไซต์เท่านั้นค่ะ

    ส่วนการดำเนินการกับภาพหน้าเว็บที่ได้จากการ capture ด้วย FireShot Version Lite นั้น มีดังนี้ ค่ะ

    Save as Image บันทึกเป็นไฟล์รูปภาพชนิด PNG

    Save to PDF บันทึกเป็นไฟล์ PDF

    Email ส่งภาพหน้าเว็บที่ capture ไปยังอีเมลที่ต้องการจาก Account Gmail ของเรา โดยสามารถเลือกได้ว่าจะให้แนบเป็น PDF file หรือแนบเป็นรูปภาพชนิด PNG / JPG

    Copy to clipboard copy ภาพหน้าเว็บที่ capture เพื่อใช้ในโปรแกรมอื่นต่อ ด้วยการคลิกขวาบนรูป แล้วเลือก copy image ค่ะ และสุดท้าย

    Print สั่งพิมพ์ภาพหน้าเว็บที่ capture ไปยัง Printer ของเรานั่นเองงงงค่า

    เป็นยังไงละคะ FireShot นี้เจ๋งใช่เล่น ทั้งความสามารถที่มี แถมการันตีด้วยยอดผู้ใช้งานที่มีกว่า 2 ล้านราย หรูหราหมาเห่ามาก ๆ (อ่ะ น้องณัชชาม่ะพอ เนสตี้ สไปร์ทซี่ ก็มาเอี่ยวววว) 555+ เริ่มการติดตั้ง FireShot กันดีกว่านะคะ

    ติดตั้ง FireShot ให้กับ Chrome

    1.ไปที่ลิงก์ https://chrome.google.com/webstore/category/extensions ค้นหาส่วนขยาย FireShot และกดปุ่ม Add to Chrome เพื่อเริ่มการติดตั้ง FireShot ให้กับ Chrome

    2.Chrome แสดงกล่องยืนยันการติดตั้ง FireShot กดปุ่ม Add extension เพื่อยืนยันการติดตั้ง และรอจนกว่าจะสิ้นสุดการติดตั้ง

    เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะมีปุ่ม FireShot ที่มุมขวาบนของ Chrome โผล่ขึ้นมาเพื่อให้กดใช้งานค่ะ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย (จบปิ๊ง!)

    ใช้งาน FireShot กัน

    หากเราไปยังเว็บไซต์ใดแล้วอยากจะ capture หน้าจอเว็บไซต์นั้น ๆ ให้กดปุ่ม FireShot ที่มุมขวาบนของ Chrome เมื่อกดปุ่มแล้ว จะพบกับเมนูย่อยต่าง ๆ ซึ่งก็คือรูปแบบการ capture ทั้ง 3 รูปแบบของ FireShot ที่ได้อธิบายไปแล้วในตอนต้นนั่นเองค่ะ

    หรือจะคลิกขวาบนหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการ capture ก็ได้นะคะ แล้วกดลือก “Take Webpage Screenshots Entirely – FireShot” ต่อด้วยเลือกเมนูย่อย ตามรูปแบบการ Capture ที่เราต้องการค่ะ

    เรามาลอง capture แต่ละรูปแบบกันดูนะคะ ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร เริ่มจากจับภาพเว็บไซต์แบบยาวทั้งหน้า โดยคลิก “Capture entire page” นะคะ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นภาพหน้าเว็บไซต์ยาว ๆ ทั้งหน้าแบบนี้เลยค่า

    มาต่อกันที่จับภาพเว็บไซต์เฉพาะส่วนที่เรามองเห็นอยู่บนหน้าจอ ให้คลิก “Capture visible part” นะคะ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นภาพของเว็บไซต์เฉพาะส่วนที่เราเห็นบนหน้าจอของเราค่ะ

    แต่ถ้าหากเราต้องการจับภาพเว็บไซต์เฉพาะส่วนที่เราต้องการ นั้น ให้คลิก “Capture Selection” นะคะ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นภาพของเว็บไซต์เฉพาะส่วนที่เราได้เลือกตัดมาค่า

    เมื่อเรา capture เว็บไซต์แล้ว รอแว๊บนึง FireShot ก็จะแสดงหน้า Save Screenshot ขึ้นมา เพื่อให้เราดำเนินการกับภาพนั้น ๆ ต่อได้ โดยในหน้านี้ผู้เขียนขออธิบายแยกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆนะคะ

    อธิบายดังนี้ค่ะ

    • ส่วนแสดงภาพเว็บไซต์ เป็นส่วนที่จะแสดงภาพของเว็บไซต์ที่ได้จากการ capture ตามรูปแบบที่เราเลือก capture มานั่นเอง และ
    • ส่วนการดำเนินการกับภาพ เป็นส่วนที่ให้เราดำเนินการต่อกับภาพเว็บไซต์ที่ capture มา โดยสามารถเลือกได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร  สำหรับ FireShot Version Lite สามารถดำเนินต่อกับภาพอย่างไรได้บ้างนั้น ก็ตามที่ผู้เขียนได้อธิบายไปแล้วตอนต้นนั่นแหละค่ะ (Save as Image, Save to PDF, Email, Copy to Clipboard และ Print)

    สำหรับวันนี้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการดำเนินการกับภาพแบบที่ capture มาปุ๊บ ก็แนบส่ง Email เลยนะคะ ส่วนแบบอื่น ๆ นั้น ให้ลองใช้งานกันดูนะคะ ง่ายมาก ๆ สบายบรื๋ออแน่นวลค่ะ

    มาเริ่มกันเลย!

    ที่หัวขัว Email (Account ผู้ส่งต้องเป็น Gmail นะคะ) ให้เลือกว่าเราจะแนบภาพเป็นไฟล์ชนิดอะไรไปใน Email ค่ะ ผู้เขียนต้องการแนบเป็น PDF file ก็คลิกเลือก “PDF” ค่ะ

    เมื่อคลิกเลือกแล้ว ครั้งแรกที่เราใช้งาน FireShot นั้น FireShot จะแสดงหน้าจอ FireShot – please allow the access to Gmail เพื่อเราขอสิทธิ์ให้กับ FireShot อนุญาตให้ FireShot จับภาพ และเปิดใช้งาน Gmail API  เราก็ Allow ให้เรียบร้อยนะคะ

    เมื่ออนุญาตเรียบร้อยแล้ว เราก็จะพบกับหน้าจอของ Gmail ของเราโผล่ขึ้นมา พร้อมหน้าต่างให้เราส่ง Email ค่า (Sign in ไว้ก่อนแล้ว) สิ่งที่เราต้องทำต่อก็แค่ ป้อนชื่อ Email ของผู้รับที่เราจะส่ง Email ไป ป้อน Subject และเนื้อหาของ Email แล้วก็กดปุ่มเพื่อส่ง Email ได้เลยค่า

    อ๊ะ !! เดี๋ยวก่อน แล้วไฟล์รูปภาพของเว็บที่จะแนบใน Email ละ ? ไม่ต้องแนบเองแล้วละค่ะ ก็เพราะว่า FireShot เค้าแนบมาให้เราเรียบร้อยแล้วค่า ฟิน ๆ  

    และผู้รับก็ได้รับ Email พร้อมไฟล์แนบแบบนี้ เรียบร้อยแล้วค่า Awesome!!

    อ้าว ปรบมือรัวๆ กันอีกซักรอบนะคะ ก่อนจะ Say Good Bye แยกย้ายกันไปทำงานที่เรารัก (มาก) และลากันไปก่อนสำหรับบทความนี้นะคะ บุยยยย

    อ้อ สำหรับ Browser อื่น ๆ – Edge, Opera, Firefox นั้น ก็สามารถติดตั้ง FireShot ได้เช่นกันนะคะ

    (ดูปากณัชชานะคะ อ๊อ-เซิม)

    ขอขอบพระคุณ :

    https://getfireshot.com
    https://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/capture
    https://ภาษาอังกฤษออนไลน์.com/awesome-translate-pronunciation/
    https://www.beartai.com/beartai-tips/176323

  • จัดระเบียบ Tab บน Chrome ด้วยเทเลทับบี้ เอ้ย Toby (โทบี้) กันดีกว่า

    วันนี้จะมาแนะนำส่วนขยาย (Extensions – เครื่องมือเสริมบราวเซอร์) บน Chrome ที่มีชื่อว่า Toby ค่ะ ใช้งานฟรี กับวลีเด็ดที่เจ้า Toby นำเสนอตัวเองได้น่าสนใจมากเลยทีเดียว คือ Better than Bookmarks หลังจากที่ผู้เขียนได้ลองใช้งาน (Account แบบ Guest) ก็พบว่าการทำงานของเจ้า Toby นั้น ช่างเหมาะสมกับวลีดังกล่าวเสียจริง ๆ

    โดยเจ้า Toby จะช่วยเราจัดเก็บเว็บไซต์ที่เราใช้งานเป็นประจำทุกวัน บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ หรือที่ถูกใจอยากจะเก็บเอาไว้ (ก็เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เรา Bookmark เอาไว้นั้นแหละค่ะ) แยกตามหมวดหมู่ (Collections) ที่เราได้สร้างไว้อย่างมีระเบียบ โดยหากใช้งานเจ้า Toby เมื่อเราเปิด Chrome ขึ้นมา เจ้า Toby จะเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นของ Chrome ให้เป็นรูปแบบรายการของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เราได้บันทึกจัดเก็บไว้ แน่นอน มันช่วยให้การเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้นสะดวกและง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเราไม่ต้องเสียเวลาในการหา หรือป้อนชื่อเว็บไซต์นั้น ๆ ใหม่ทุกครั้ง แต่สามารถคลิกเลือกเว็บไซต์จากรายการเพื่อไปยังเว็บไซต์นั้นได้เลยทันที

    อย่างผู้เขียนทำหน้าที่เป็น Customer Support ซึ่งต้องดูแลหลาย ๆ ระบบ (Web Application)  จากแต่ก่อน Bookmark ไว้ แต่พอมาใช้เจ้า Toby ก็สบายเลยละคะ User โทรมาสอบถามปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ดูแลอยู่เมื่อไหร่ล่ะก็ พร้อมเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านั้น (ซึ่งต้องเข้าออกทู๊กกกกกวันนนนน) เพื่อทดสอบ ตอบ แก้ไขปัญหาให้กับ User ได้อย่างทันทีเลยล่ะค่าาาา

    หรือ User ท่านไหนที่ชอบลืมชื่อเว็บไซต์ที่เราเข้าใช้งานเป็นประจำ ก็แนะนำให้ลองเอาไปใช้ดูนะคะ

    น่าสนใจมากเลยใช่มั้ยยยยล๊าาา งั้นเรามาติดตั้ง Toby ให้กับ Chrome ของเรากันดีกว่า พร้อมแล้ว ! ลุยยยกันเลยยยยค่ะ!

    ติดตั้ง Toby ให้ Chrome กันก่อน

    1.ไปที่ลิงก์ https://chrome.google.com/webstore/category/extensions ค้นหา Toby และกดปุ่ม Add to Chrome เพื่อเริ่มการติดตั้ง Toby ให้กับ Chrome ค่ะ

    2.Chrome จะแสดงกล่องยืนยันการติดตั้ง Toby กดปุ่ม Add extension เพื่อยืนยันการติดตั้ง รอจนกว่าจะสิ้นสุดการติดตั้งนะคะ

    เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราก็ได้เจอกับเจ้า Toby  เสียที หน้าตาก็จะหวานแหวว สีชมพู๊วว ชมพู และจะพบปุ่ม Toby ที่มุมขวาของ Chrome โผล่ขึ้นมาด้วย

    โดยเจ้า Toby จะ guide การใช้งานให้กับเราซึ่งมี 3 ขั้นตอนที่ง่ายมาก ๆ ดังนี้ค่ะ

    Create Your First collection. > Give your collection a name. > Drag the tab to the collection.

    เริ่มใช้งาน Toby กันเลย

    Create Your First collection สร้างหมวดหมู่ (collection) ที่จะใช้บันทึกจัดเก็บเว็บไซต์ โดยคลิก ปุ่มเครื่องหมายบวก

    + Add Collection

    Give your collection a name คลิก  เลือก Edit tittle แล้วทำการแก้ไขชื่อของ Collection ตามที่ต้องการ

    Drag the tab to the collection ลาก Tab เว็บไซต์ที่เราต้องการ (รายการเว็บไซต์จะมาจากที่เราเข้าใช้งาน) มาใน collection แล้ววาง เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อบแล้ว

    หากเราต้องการสร้าง collection อื่น ๆ อีก ก็คลิกปุ่มเครื่องหมาย + สีชมพู Add collection  แล้วก็ทำตามขั้นตอนข้างต้นได้เลยค่ะ

    นอกจากนี้ เรายังสามารถแก้ไข tittle ของ Tab เว็บไซต์ที่จะให้แสดงได้อีกด้วย โดยการคลิกเครื่องหมายดินสอ (edit)  ที่ Tab นั้น ๆ แล้วทำการแก้ไขค่ะ
    ส่วนการลบ Tab ออกจาก collection ให้คลิกเครื่องหมายผิด X  นะคะ

    หากต้องการลบทั้ง collection ให้คลิก x Remove collection  ที่ collection นั้น ๆ นะคะ เท่านี้ collection ก็จะถูกลบออกไปจากหน้าจอแล้วละค่า

    เพิ่ม และเพิ่ม และเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนพอใจ ก็จะได้หน้าตาประมาณนี้ค่า

    ส่วนใครอยากใช้ตัวเต็ม ๆ ของเจ้า Toby ซึ่งมีลูกเล่นอื่น ๆ อีก เช่น add notes เป็นต้น ก็ลงทะเบียนกับเจ้า Toby กันได้นะคะ
    ตัวอย่าง Add note แบบเกร๋ ๆ ค่ะ หลังจากที่ลงทะเบียนกับ Toby เรียบร้อยแล้ว ก็ลองใช้ซะเลยยย

    สำหรับบทความนี้ก็มีเท่านี้ค่ะ หมดเวลาสนุกแล้วซิ ! หมดเวลาสนุกแล้วซิ !

    แล้วพบกันใหม่นะคะ บ๊าย บายยย 🙂 เทเล ทั๊บบบบี้ ก็มาาาา 555+

    ขอบพระคุณ : http://www.gettoby.com/

  • การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) – 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์

    บทความนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกนะคะ (ก็แหงอ่าาจิ) แต่ผู้เขียนจะนำเสนอ 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ (นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับ Software Testing ที่ทุกท่านต้องทราบกันดีอยู่แล้ว) ซึ่งได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองเผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ทดสอบท่านอื่น ๆ ค่ะ ตามตารางข้างล่างนี่เลยยยค่ะ

    ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนการทดสอบซอฟต์แวร์

    ตารางข้างต้นนั้น หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ทดสอบในการเตรียมตัวทดสอบ ไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂 ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ ยังมีข้อมูลอีกหลายส่วนเลยล่ะคะ ไปลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อนเริ่มทดสอบดูนะคะ ว่าเราต้องทราบอะไรบ้างงงน๊าาาาา ที่จะเป็นประโยชน์ก่อนที่เราจะลงมือทดสอบซอฟต์แวร์กัน

  • การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) – #2 (Step.1) ผู้ทดสอบรับการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบจากนักพัฒนาโปรแกรม

    จากตอนที่ 1 เราได้ทราบภาพรวมกิจกรรมและขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดในการทดสอบซอฟต์แวร์กันไปแล้ว ตอนที่ 2 ผู้เขียนจะลงลึกในรายละเอียดขั้นตอนที่ 1 ของการทดสอบซอฟต์แวร์กันค่ะ โดยขั้นตอนที่ 1 นั่นก็คือ

    1. ผู้ทดสอบรับการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบจากนักพัฒนาโปรแกรม

    ขั้นตอนนี้เป็นการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์จากนักพัฒนาโปรแกรมให้กับผู้ทดสอบเพื่อให้ผู้ทดสอบทราบภาพรวม ขอบเขตและเข้าใจการทำงานทั้งหมดของซอฟต์แวร์ก่อนเริ่มการทดสอบ รวมถึงรวบรวม Task Test ทั้งหมดของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบค่ะ

    ผู้เขียนขอย่อยการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ตาม Flowchart นี้นะคะ

    ขั้นตอนการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์

    อธิบายดังนี้ ค่ะ

    1. เริ่มจากการนัดหมายเวลาในการถ่ายทอดการทำงานของวอฟต์แวร์กันก่อนค่ะ โดยนักพัฒนาโปรแกรมจะนัดวันเวลาที่จะถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบกับผู้จัดการโครงการ ซึ่งจะต้องนัดล่วงหน้า ระยะเวลาเท่าไหร่นั้นก็ตามแล้วแต่เห็นสมควรและพิจารณากันเอาเองค่า อย่างทีมของผู้เขียน ก็จะนัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดสอบค่ะ (นัดทำไม นัดกันให้ชัดเจน จะได้เตรียมตัวเตรียมใจถูกเตรียมสมองให้โล่งงงงค่ะกันถ้วนหน้าค่ะ)

    2. เมื่อได้วันเวลากันเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดการโครงการก็แจ้งวันเวลาที่นักพัฒนาโปรแกรมจะถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบรับทราบค่ะ (PM ซึ่งถือว่ามีอำนาจการจัดการบริหารในทีม ก็จะมาแจ้งให้ทราบบ อิอิ สบายใจกันทุกฝ่ายค่ะ)

    3. เมื่อถึงวันเวลาตามที่ได้นัดหมายไว้ นักพัฒนาโปรแกรมก็จะมาถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบค่ะ ในขั้นนี้โปรแกรมเมอร์ต้องถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับผู้ทดสอบอย่างละเอียด และจัดเตรียม Software Requirements Specification และ Functional Design ของซอฟต์แวร์มาให้กับผู้ทดสอบด้วยนะคะ (จะได้ใช้เป็นข้อมูลตอนทดสอบค่ะ บางทีที่จดๆๆ เข้าใจมา ก็อาจจะผิดพลาดได้)

    –> ในการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์

    นักพัฒนาโปรแกรมต้องอธิบาย ภาพรวมทั้งหมดและการทำงานของซอฟต์แวร์ว่ามีการทำงานอะไรบ้างและทำงานอย่างไร ซอฟต์แวร์มีข้อจำกัดอะไรบ้างเพื่อผู้ทดสอบจะได้เข้าใจและทราบข้อมูลที่จะนำไปทดสอบ

    –> โดยในระหว่างการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ หากผู้ทดสอบมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของซอฟต์แวร์

    ผู้ทดสอบควรซักถามจากนักพัฒนาโปรแกรมหรือศึกษาจาก Software Requirements Specification และ Functional Design ของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบให้เข้าใจนะคะ ไม่ควรเก็บข้อสงสัยนั้นไว้หรือทดสอบซอฟต์แวร์ไปตามความคิดของตนเองเพราะจะส่งผลให้การทดสอบนั้นดำเนินการไปในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง การทดสอบอาจล่าช้ากว่าที่ได้กำหนดไว้ซึ่งเกิดจากผู้ทดสอบเอง และอาจไม่สามารถค้นหาข้อผิดพลาดที่มีอยู่ของซอฟต์แวร์ได้ค่ะ

    ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ทดสอบซอฟต์แวร์ที่ผ่านมา และสรุปเป็นข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์เอาไว้ด้วยค่ะ ไว้จะมาแชร์ไว้ในบทความหน้าให้อ่านกันนะคะ (อัพเดท ตามไปอ่านกันได้ที่ บความเรื่อง 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ นะคะ)

    ส่วนบทความนี้มาต่อที่ขั้นตอนถัดไปกันก่อนนะคะ

    4. เมื่อผู้ทดสอบทราบข้อมูลก่อนการทดสอบซอฟต์แวร์แล้ว ให้บันทึกข้อมูลเหล่านั้นลงในฟอร์มบันทึกการทดสอบและผลการทดสอบส่วนที่ 1 คือ Test Information ที่ได้จัดเตรียมไว้ค่ะ ตัวอย่างค่ะ

    ตัวอย่างการบันทึกข้อมูล Test Information ของโปรแกรมระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

    และขั้นสุดท้ายยยยยยยยยยยยย

    5. ผู้ทดสอบรวบรวบการทำงานทั้งหมดของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบโดยรวบรวมจาก Function หรือ Use Case ของซอฟต์แวร์ซึ่งตรงตามข้อกำหนดของซอฟต์แวร์ที่ได้ระบุไว้ (หากโปรแกรมมีผู้ใช้หลายบทบาทให้แยก Task Test ตามบทบาทการใช้งาน) โดย Function เหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็น Task Test ในการทดสอบและระบุ Task Test No. เอาไว้ (1 Task Test เท่ากับ 1 ชุดการทดสอบ) เพื่อเตรียม Test Step และออกแบบ Test Case สำหรับทดสอบแต่ละ Task Test ในขั้นตอนต่อไป

    สำหรับ Task Test No. นั้นแนะนำให้ตั้งโดยใช้ตัวอักษรย่อเพียงสองถึงสามตัวและตามด้วยตัวเลขที่จะเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ เช่น TE001 เป็นต้น

    Task Test คือ ชุดการทดสอบของแต่ละการทำงาน (Function) ต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์

    ตัวอย่างค่ะ

    ตัวอย่างการรวบรวม Task Test ที่จะทดสอบของโปรแกรมระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

    สำหรับรายละเอียดของขั้นตอนที่ 1 ก็มีเท่านี้ค่ะ ส่วนบทความหน้านั้น ผู้เขียนจะมาแชร์ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ไว้ให้นะคะ และบทความถัดไปจะลงลึกในรายละเอียดขั้นตอนที่ 2 (#3) กันต่อค่ะ

  • HelpNDoc – #1 (หุบ ๆ ย่อ ๆ) กำหนดการแสดงผล Table of contents เริ่มแรกให้กับเอกสาร HTML

    บทความนี้จะขอแนะนำให้กับผู้ใช้งานโปรแกรม HelpNDoc ในการสร้างเอกสารกันอยู่ค่ะ ว่าเราสามารถกำหนดการแสดง table of contents ของเอกสารชนิด HTML ที่เราได้ generate ได้ว่าจะให้แสดงผลเริ่มต้นกับผู้อ่านเมื่อเปิดเอกสารอย่างไรค่ะ

    โดยสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ table of contents ของเอกสารของเรานั้น ขยายไปที่ topic ของ contents ใน Level ใด

    —> วิธีการกำหนดการแสดงเริ่มแรกให้กับ table of contents ของเอกสารของเรานั่นง่ายมาก ๆ มาเริ่มกันเลยยย

    ในขั้นตอนการ Generate เอกสารให้เป็น Html เมื่อเรา Click Generate Document และเลือก ฺBuild เอกสารเป็น html นั้น จะพบลิงก์ Customize ให้คลิกลิงก์ดังกล่าว เพื่อเข้าไปกำหนดค่าต่างๆ ให้กับเอกสารของเรากันค่ะ

    เมื่อคลิก Customize ให้สังเกตในแท๊ป Template settings และเลื่อนลงไปในหัวข้อ Table of content expand level ทำการเลือก level ของ topic contents (เริ่มต้นจาก level 0) ที่เราต้องการให้แสดงเริ่มต้นเมื่อเปิดเอกสารขึึ้นมา แล้วคลิกปุ่ม Generate เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ

    มาดูผลลัพธ์กันเลย เมื่อเราเลือก เป็น Level 0 จะเห็นได้ว่า เมื่อเปิดเอกสารขึ้นมาในครั้งแรก table of contents ของเอกสารของเรา ก็จะแสดงแบบขยายในระดับ level 0 (หัวข้อแรก) เท่านั้นค่ะ แต่ยังไงไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ ไงก็สามารถกดย่อขยายหัวข้อที่มีอยู่ของเอกสารได้ทั้งหมดอยู่ดีค่ะ เป็นแค่การแสดงผลเริ่มแรกเมื่อเปิดเอกสารเท่านั้น

    ลองเลือกเป็น Level 2 กันค่ะ ก็จะได้หน้าตาออกมาแบบนี้

    เป็นยังไงบ้างคะ ง่ายมากเลยใช่มั้ยคะ ไว้บทความหน้า จะมาแนะนำเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการใช้งานโปรแกรม HelpNDoc กันอีกนะคะ สำหรับบทความนี้ก็มีเพียงเท่านี้ค่า ขอบคุณค่ะ 😉


  • การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) – #1 กิจกรรม และขั้นตอนการทดสอบซอฟต์แวร์

    สวัสดีค่ะ … ถึงเวลาซ๊ากที ฤกษ์งามยามดี กลิ่นดอกพญาสัตบรรณเลือนหาย แสงแดดสาดส่องแทนที่ ฤดูร้อนถามหา ณ เพลานี้เราได้พบกัน 🌼🌼

    ก็ว่ากันตามหัวข้อของบทความ เรื่องราวเหมือนจะไม่เครียดแต่จริง ๆ ก็วิชาก๊านน วิชาการอยู่นะคะ ฮาา 😉
    ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยเรียนป. ตรี (ก็ผ่านมายังไม่กี่ปีหรอกค่ะ ฮรี่ ๆ) Software Testing เป็น หัวข้อหนึ่งที่ผู้เขียนต้องเรียนด้วยค่ะ .. และผ่านมาไม่กี่ปี
    ปัจจุบันผู้เขียนก็ได้มีโอกาส (ที่เรียกว่าบทบาทหน้าที่) เป็นผู้ทดสอบซอฟต์แวร์มาแล้วหลาย ๆ โปรแกรมค่ะ (อ๊ะไม่กี่ปีเหรอ ?) จึงได้รวบรวมข้อมูลและประสบการณ์เอาไว้ และถือโอกาสนี้มาเขียนบทความแชร์ให้กับผู้อ่านเพื่อเป็นแนวทางและ/หรือความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้นำไปใช้ในการทดสอบซอฟต์แวร์ซึ่งถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนอื่นในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์กันค่ะ

    สำหรับเนื้อหาหลักของบทความนี้ (ตอนที่ 1) ผู้เขียนจะนำเสนอข้อมูลและแชร์ประสบการณ์ให้กับผู้อ่านทราบเกี่ยวกับกิจกรรมและขั้นตอนต่าง ๆ ของการทดสอบซอฟต์แวร์กันก่อนค่ะ ในตอนต่อไปเราจะลงลึกไปแต่ละขั้นตอนพร้อมตัวอย่าง และประสบการณ์ที่ผู้เขียนอยากจะแชร์ให้ผู้อ่านได้ทราบกันนะคะ (เผื่อว่าเราจะได้มาระดมสมอง ช่วยแสดงความคิดเห็นกันเข้ามา และ/หรือผู้อ่านจะมีข้อเสนอแนะให้กับผู้เขียน ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนกันค่ะ)
    การทดสอบซอฟต์แวร์ที่ผู้เขียนจะมาแชร์นั้น จะเป็นการทดสอบแบบ Functional Testing โดยใช้เทคนิค Blackbox Testing และทดสอบแบบ Manual นะคะ

    แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาหลักของบทความนี้กันนั้น ผู้เขียน (ขอ) อธิบายนิยาม/ความหมายของ Software Testing รวมถึง Manual Testing, Functional Testing และ Blackbox Testing กันก่อนนะคะ เพื่อทั้งผู้อ่านและผู้เขียนจะได้ทบทวนกันซักหน่อย และทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันค่ะ (อิอิอิ) 😊

    Software Testing หรือการทดสอบซอฟต์แวร์ คืออะไรกันน่ะ ?

    การทดสอบซอฟต์แวร์ หรือ Software Testing ก็คือ กระบวนการในการประเมินและปรับปรุงคุณภาพของซอฟต์แวร์โดยการค้นหาข้อผิดพลาดและ/หรือจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ให้ปรากฏออกมา แล้วสามารถระบุแนวทางที่ทำให้เกิดขึ้นได้และก็ทำการแก้ไข ค่ะ

    Manual Testing คืออะไร ?

    Manual Testing ก็คือ การทดสอบที่ดำเนินการโดยไม่ได้ใช้เครื่องมืออัตโนมัติ (Automated Tool) หรือสคริปต์ (Script) โดยผู้ทดสอบจะ Run Test ตาม Test Plan, Test Case หรือ Test Scenarios ด้วยมือของผู้ทดสอบเองนั่นแหละค่ะ
    [Manual คำศัพท์ทางวิศวกรรม ความหมาย คือ คู่มือ, (งาน) ทำด้วยมือ]

    อ่านถึงตรงนี้ผู้อ่านบางท่านอาจตั้งคำถามในใจ และ/หรืออุทาน ออกมาว่า “เดี๋ยวนี้เค้าทำ Automated Testing กันแล้วน่ะ ทำไมยัง Manual กันนี่ ! ” ก็เพราะว่า …………..

    อืม ….. ยังไงผู้เขียนก็คิดว่า การที่เราจะตัดสินใจลงมือทดสอบแบบ Automated เลยแบบสุ่มสี่สุ่มห้า (รวมถึงเรื่องอื่นในชีวิต Drama ซะงั้น ฮาาา) โดยไม่ได้ดูถึงความเหมาะสมความคุ้มค่า ไอ้ที่เค้าว่าดีนั้น ก็อาจจะไม่ดีเพราะไม่ได้เหมาะสมกับการทดสอบโปรแกรมที่เราจะทดสอบก็ได้ และผู้เขียนเชื่อว่า เราจะ Automated ได้ดีนั้น ยังไงก็ต้อง Manual ได้ดีระดับหนึ่งก่อน มีความเข้าใจ และมีประสบการณ์มาก่อน เหมือนเป็นพื้นฐานที่สำคัญค่ะ อีกอย่างสุดท้ายเมื่อเรามีประสบการณ์การทดสอบซอฟต์แวร์ไประยะหนึ่งแล้ว เราก็จะพบว่าการทดสอบโปรแกรมหนึ่ง ๆ นั้น ยังไงก็ต้องทดสอบแบบ Manual ร่วมกับ Automated อยู่ดี จะ Automated 100% เลยก็อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดได้
    และเอาเป็นว่า ………. ผู้เขียนจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ละเอียดกัน (ตามที่ผู้เขียนได้ประสบพบเจอ ศึกษาหาข้อมูลมา) ซักบทความหนึ่งในโอกาสหน้านะคะ ตอนนี้ก็เริ่ม ๆ มาจับ ๆ ถู ๆ เอ้ยยยยย ศึกษา Automated Test บ้างแล้วค่ะ ส่วน Tool ตัวไหนนั้น ขออุบส์ไว้ก่อนนะคะ กลัวจะไม่เวิคคค แฮร่ ไปซะไกลแล้วววจร้าาา เรามาว่ากันด้วยเนื้อหาของตอนที่ 1 ต่อกันดีกว่า ๆ นะคะ

    Functional Testing คืออะไร ?

    Functional Testing คือ การทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์ว่าสามารถทำงานได้ครบถ้วนและถูกต้องตรงตามข้อกำหนดซอฟต์แวร์ที่ระบุไว้หรือไม่ โดยเราจะมุ่งเน้นตรวจสอบความถูกต้องของ Output ที่ออกมาค่ะ

    แล้ว Blackbox Testing ล่ะ คืออะไร ?

    Blackbox Testing หรือการทดสอบแบบกล่องดำ ก็คือ การทดสอบที่ไม่คำนึงถึงคำสั่งภายในซอฟต์แวร์ (เปรียบเหมือนกล่องดำที่มองไม่เห็นอะไรข้างใน) เป็นการทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์ตามความต้องการ (Requirements) ที่มี โดยดูค่าผลลัพธ์ที่แสดงออกมา (Output) จากข้อมูลนำเข้า (Input) ที่ให้กับซอฟต์แวร์ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ค่ะ ซึ่งถ้าโปรแกรมทำงานถูกต้องก็คือ Ouput ต้องสอดคล้องกันกับ Input นั่นเอง

    ทบทวนนิยาม/ความหมาย กันแล้ว ผู้เขียนขออธิบายในส่วนกิจกรรม ขั้นตอนการทดสอบซอฟต์แวร์ต่อเลยนะคะ

    ก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ของทีมพัฒนาของผู้เขียนนั้น

    ผู้ทดสอบจะต้องได้รับการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์จากนักพัฒนาโปรแกรมจนเข้าใจเสียก่อน ซึ่งจริง ๆ ก็พอจะเข้าใจภาพรวมการทำงานของโปรแกรมที่จะทดสอบอยู่แล้วค่ะ เพราะผู้ทดสอบเองก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่เก็บรวบรวมความต้องการของโปรแกรมแล้วก่อนเริ่มพัฒนาค่ะ – ตรงนี้ถือว่าได้มาทำความเข้าใจ ทบทวนร่วมกันอีกซักครั้งเพื่อให้เข้าใจตรงกันก่อนจะเริ่มทดสอบโปรแกรมของเรากันนะคะ

    เมื่อทดสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้ทดสอบก็จะส่งมอบเอกสารซึ่งได้จากการทดสอบ (Test Report และ Defect Log) ให้กับนักพัฒนาโปรแกรมพร้อมกับการทบทวนผลการทดสอบร่วมกับทีมพัฒนาเพื่อรับทราบรายการข้อผิดพลาดและข้อเสนอแนะของโปรแกรมที่ได้จากการทดสอบ และนักพัฒนาโปรแกรมดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมตามรายการเหล่านั้นต่อไปค่ะ

    เมื่อนักพัฒนาโปรแกรมแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะแจ้งให้กับผู้ทดสอบทราบ เพื่อทำการทดสอบผลการแก้ไขปรับปรุงเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่งก่อนปิดการทดสอบเมื่อรายการข้อผิดพลาดและข้อเสนอแนะเหล่านั้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจึงจะจัดทำคู่มือการใช้งานซอฟต์แวร์ อบรมการใช้งานให้กับผู้ใช้ และแจ้งนักพัฒนาโปรแกรมเพื่อติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์ต่อไปค่ะ

    ภาพแสดงกิจกรรมการทดสอบซอฟต์แวร์

    จากภาพรวมกิจกรรมต่าง ๆ ในการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ผู้เขียนได้อธิบายไปข้างต้น ผู้เขียนจึงขอสรุปเป็นขั้นตอนการทดสอบซอฟต์แวร์ทั้งหมด 8 ขั้นตอนเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ (เราจะลงลึกแต่ละขั้นตอนในบทความตอนต่อไปนะคะ) ดังนี้ค่ะ

    1. ผู้ทดสอบรับการถ่ายทอดการทำงานของซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบจากนักพัฒนาโปรแกรม (Preparation Testing)

    2. ผู้ทดสอบเตรียมเหตุการณ์ทดสอบ ออกแบบกรณีทดสอบ และยืนยันความถูกต้อง (Test Development and Verify)

    3. ผู้ทดสอบทดสอบซอฟต์แวร์และเปรียบเทียบผลการทดสอบ (Test Execution)

    4. ผู้ทดสอบรายงานผลการทดสอบ (Test Reporting)

    5. ผู้ทดสอบทบทวนผลการทดสอบร่วมกับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Test Result Analysis)

    6. นักพัฒนาโปรแกรมแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดและข้อเสนอแนะของซอฟต์แวร์ และแจ้งให้ผู้ทดสอบรับทราบผลการแก้ไข (Defect Fixing)

    7. ผู้ทดสอบรับทราบผลการแก้ไขซอฟต์แวร์ ทดสอบผลการแก้ไขและปิดการทดสอบ (Defect Retesting and Closure)

    8. นักพัฒนาโปรแกรมติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์

    ภาพแสดงขั้นตอนการทดสอบซอฟต์แวร์

    สำหรับตอนที่ 1 ผู้เขียนขอจบไว้เท่านี้ก่อนนะคะ โดยในตอนถัดไป เราจะมาลงลึกกันแต่ละขั้นตอนพร้อมตัวอย่างแต่ละขั้นตอนเพื่อจะได้เข้าใจกันมากขึ้นค่ะ

    ปล. เนื้อหาในบทความนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหาจากคู่มือเรื่อง “การทดสอบซอฟต์แวร์ด้วยกลยุทธ์การทดสอบแบบกล่องดำ (Black Box Testing) สำหรับเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าระบบสารสนเทศบุคลากร” เพื่อให้ผู้อ่านอ่านได้ง่ายขึ้น คู่มือดังกล่าวนั้น ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นมาโดยรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์การทดสอบซอฟต์แวร์ของผู้เขียนเอง ร่วมกับการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้และ/หรือผู้มีความรู้ท่านอื่น ๆ สำหรับอ้างอิงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ นั้น ผู้อ่านสามารถดูได้จากคู่มือดังกล่าวนะคะ