Author: kanokgul.s

  • การใช้/พิมพ์ สระ เอ แอ ในระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์

    เด็กสมัยนี้….คนที่เอ่ยถึงว่าเด็กสมัยนี้อายุอานามก็น่าจะประมาณ 30 ปีขึ้นไปละ มาดูซิว่าเด็กสมัยนี้มีอะไรบ้างที่คนรุ่นก่อนไม่เข้าใจบ้าง

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ( E-Admission )

    จากการใช้งานระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือ E-Admission ในปีการศึกษา 2566 อายุผู้สมัครประมาณ 17 – 19 ปี เกิด พ.ศ. 2546 – 2547 ประมาณนี้ ซึ่งเมื่อก่อนจะมีบางส่วนที่เคยเรียนพิมพ์ดีดมา แล้วมันผลอย่างไรกันนะเหรอ เข้าเรื่องเลยแล้วกันค่ะ

    ประชากรในประเทศไทยน่าจะเกือบทั้งหมดมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บางรายอาจจะมีอุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้น แล้วใครทราบหรือไม่ว่าตัวอักษรไทยมีบางตัวที่มีปัญหากับระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยฯ ของเรา คือ สระเอ และสระแอ บางท่านอ่านถึงตรงนี้เข้าใจบ้าง หรือบางท่านอาจจะยังงงว่า แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ขอยกตัวอย่างระบบ E-Admission ค่ะ

    ระบบ E-Admission เป็นระบบที่ต้องเชื่อมต่อ API จาก TCAS ซึ่งจะต้องตรวจสอบเลขบัตรประชาชน ชื่อ และนามสกุล หากกรอกข้อมูลครบถ้วน ตรงกัน ระบบ E-Admission จะดึงข้อมูลเหล่านี้จาก TCAS มาให้ทันที….แต่ปัญหาก็เกิดจากตรงส่วนนี้ค่ะ เมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลแล้วแต่ระบบมีข้อความแจ้งเตือนว่า “ชื่อ นามสกุล ไม่ตรงกับเลขบัตรประชาชน ไม่สามารถตรวจสอบการยืนยันสิทธิ์ได้” ผู้สมัครก็จะส่งข้อความแจ้งเตือน กับข้อมูลชื่อ และนามสกุลมาให้ตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบพบว่าส่วนใหญ่ที่เกิดข้อความแจ้งเตือนจะมีชื่อ หรือนามสกุลประกอบด้วย “สระแอ” เมื่อสอบถามพบว่าผู้สมัครใช้ สระเอ 2 ตัว

    วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนหน้านี้โดยการให้ผู้สมัครแก้ไขชื่อ หรือนามสกุลให้ถูกต้อง

    กรณีที่สมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว หากเกิดไปแก้ไขข้อมูล เมื่อสมัครเข้าโครงการจะมีข้อความแจ้งเตือน “ไม่สามารถสมัครโครงการได้” เช่นเดียวกัน

    การใช้งานผ่าน Notepad

    ส่วนของสระเอ และสระแอ ที่ใช้งานผ่าน Notepad จะเห็นว่าได้ชัดเจนว่าช่องไฟมีความแตกต่างกัน ดังรูป

    *** วิธีการตรวจสอบว่าเป็นสระเอ หรือสระแอ ให้ทุกท่านลองกดปุ่ม Backspace ว่าลบแล้วจะลบทีละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว

    การใช้งานผ่าน Microsoft Word

    ส่วนของสระเอ และสระแอ ที่ใช้งานผ่าน Micorsoft Word จะเห็นว่าช่องไฟมีความเหมือนกัน เนื่องโปรแกรม Microsoft Word จะทำการปรับปรุงให้อัตโนมัติ และเมื่อลบสระแอ จะกดปุ่ม Backspace แค่ครั้งเดียว ดังรูป

    *** วิธีการตรวจสอบว่าเป็นสระเอ หรือสระแอ ให้ทุกท่านลองกดปุ่ม Backspace ว่าลบแล้วจะลบทีละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว

    แนวทางแก้ไขของระบบ E-Admission

    ทีมพัฒนาฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบฯ ให้มีการตรวจสอบว่าหากผู้สมัครกรอกชื่อ หรือนามสกุล ที่มีสระแอ หากผู้สมัครกรอกสระเอ 2 ตัว ระบบจะทำการปรับปรุงระบบให้อัตโนมัติเป็นสระแอให้ทันที

    ดังนั้น ขณะนี้หากผู้ใช้งานพิมพ์สระเอ 2 ตัวมาในระบบฯ ก็จะไม่เกิดข้อความแจ้งเตือนอีกแล้ว

    📢 สำหรับวิธีการนี้เป็นการแก้ไขปลายเหตุ เป็นการแก้ไขที่ระบบฯ แต่ยังไม่ใช้การแก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น Blog นี้ขอเป็นหนึ่งกระบอกเสียงที่หวังให้คนไทยทุกคนเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักการของภาษาไทยค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (5/5) : ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

    ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

    ระบบ Health Insurance for Foreigners หรือมีชื่อย่อว่า ระบบ HIF เป็นระบบน้องใหม่ของทางทีมพัฒนาสารสนเทศนักศึกษา เป็นระบบที่เปิดใช้สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไปโดยระบบนี้จะมีการเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ระบบ HIF เป็นระบบที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาบันทึกข้อมูลการพำนักว่าขณะนี้นักศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าหากนักศึกษาต่างชาติคนใดที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย นักศึกษาคนนั้นจำเป็นต้องมีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งคำว่าประกันสุขภาพคือ ประกันที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทุกกรณี ซึ่งประเภทของประกันที่มีผลกับข้อมูลว่าประกันสมบูรณ์หรือไม่ ได้แก่

    1. ประกันสุขภาพ ⇒ ครอบคลุม
    2. ประกันสุขภาพ + ประกันอุบัติเหตุ ⇒ ครอบคลุม
    3. ประกันอุบัติเหตุ ⇒ ไม่ครอบคลุม

    เมื่อนักศึกษาต่างชาติดำเนินการซื้อประกันตามที่ต้องการ นักศึกษาจะต้องมาบันทึกข้อมูลในระบบ HIF เพื่อแจ้งรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ ชื่อประกัน รูปถ่ายกรมธรรม์ และช่วงวันที่ของประกัน และดำเนินการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล

    หน้าหลักของระบบ HIF

    เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันตามที่นักศึกษาบันทึกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Pass” และหากไม่ถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Fail” เพื่อแจ้งให้นักศึกษาดำเนินการแก้ไข

    เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลรายงาน ได้แก่ รายงานนักศึกษาทั้งหมด รายงานนักศึกษาต่างชาติไม่ได้พำนักในประเทศไทย รายงานประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุม/หรือหมดอายุกรณีนักศึกษาอยุ่ในประเทศไทย และรายงานประกันสุขภาพที่ใกล้หมดอายุ ซึ่งรายงานเหล่านี้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ติดตามนักศึกษาในความรับผิดชอบของตนเองได้

    หน้าหลักของระบบ HIF ส่วนของเจ้าหน้าที่

    ส่วนในระบบสารสนเทศนักศึกษาจะมีข้อความแจ้งเตือนให้กับนักศึกษาต่างชาติทราบว่า ขณะนี้นักศึกษาได้เลือกสถานะการพำนักในประเทศไทย หรือต่างประเทศ และข้อมูลประกันที่มีอยู่ในปัจจุบันครอบคลุมหรือไม่ค่ะ

    🎯 ** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับทีมพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาขอนำเสนอระบบสารสนเทศเพียงเท่านี้ก่อนค่ะ

    ขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ ^^

  • ระบบสารสนเทศ (4/5) : ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

    ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

    ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ หรือเรียกสั่น ๆ ว่า ระบบ Course Spec. เดิมมีชื่อว่าระบบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกสั่น ๆ ว่าระบบ มคอ.ออนไลน์ หรือ TQF Online

    ระบบ Course Spec.

    ระบบ Course Spec. เป็นระบบที่เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2564 ทั้ง 5 วิทยาเขต โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ Course Spec. ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้

    • วิทยาเขตหาดใหญ่ : https://course.psu.ac.th
    • วิทยาเขตปัตตานี : https://course.pn.psu.ac.th
    • วิทยาเขตภูเก็ต : https://course.phuket.psu.ac.th
    • วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี : https://course.surat.psu.ac.th
    • วิทยาเขตตรัง : https://course.trang.psu.ac.th

    ระบบ Course Spec. สาเหตุที่มีการปรับปรุงจากระบบ มคอ.ออนไลน์ เนื่องจากมีการปรับปรุงรูปแบบต้นแบบจาก มคอ.3 และ มคอ. 4 มาเป็น “แผน” และต้นแบบจาก มคอ.5 และ มคอ. 6 เป็น “ผล” โดยมีการปรับเพิ่ม/ลด รายละเอียดที่จำเป็น/ไม่จำเป็นออกจากระบบ เพื่อให้อาจารย์ได้บันทึกข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

    ส่วนของเจ้าหน้าที่คณะ/ภาควิชา

    เมื่อเริ่มต้นการใช้งานระบบเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ ซึ่งในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นมาได้ยกเลิกการบันทึก ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) พร้อมด้วยกลยุทธ์/วิธีการสอน กลยุทธ์/วิธีการวัดผล และ Curriculum Mapping ออก แต่ตั้งแต่ปีการศึกษา 3/2565 เป็นต้นไป จะนำส่วนของ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) พร้อมด้วยกลยุทธ์/วิธีการสอน กลยุทธ์/วิธีการวัดผล และ Curriculum Mapping กลับมาใช้งานดังเดิม ดังนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องจัดทำข้อมูลส่วนนี้ให้ครบถ้วนก่อน อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์จึงจะสามารถดึงข้อมูลไปดำเนินการต่อได้

    ส่วนของอาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำแผน

    การจัดทำแผน เมื่อเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตั้งต้นให้แล้ว อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำแผน และส่งต่อให้แก่ ประธานหลักสูตร ผู้อนุมัติระดับคณะ อนุมัติแผน หากไม่ผ่านขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง จะย้อนกลับมาให้อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์แก้ไขแผนอีกครั้ง

    ส่วนของอาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำผล

    การรายงานผล เมื่ออาจารย์ดำเนินการส่งผลการเรียนในภาคการศึกษานั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ รายงานผล และส่งต่อให้แก่ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประธานหลักสูตร ผู้อนุมัติระดับคณะ อนุมัติการรายงานผล หากไม่ผ่านขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง จะย้อนกลับมาให้อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์แก้ไขการรายงานผลอีกครั้ง

    หน้าหลักของระบบ Course Spec.

    🎯 นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (3/5) : ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เป็นระบบที่ให้ผู้สมัคร (นักเรียน/นักศึกษา) สมัครเข้ามาเพื่อศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า “ม.อ.”

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์เป็นระบบที่อยู่ในการรับผิดชอบของศูนย์รับนักศึกษาและการทดสอบ ซึ่งพัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่จะมาถึงระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่ เรามีการปรับปรุงมากี่ครั้ง

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือระบบ E-Admission (URL : https://e-admission.psu.ac.th/) ในปัจจุบันเริ่มใช้สำหรับรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา โดยเป็นการพัฒนาใหม่จากระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เวอร์ชั่นเดิม โดยมีการพัฒนาปรับปรุงการใช้งาน ได้แก่

    1. รองรับการสมัครนักศึกษาทุกคณะ ทุกวิทยาเขตในเว็บไซต์เดียว ซึ่งแบบนี้ทำให้ผู้สมัครรู้จักแค่เว็บไซต์เดียวก็สามารถสมัครเข้าเรียนใน ม.อ. ได้ทุกคณะ และทุกวิทยาเขตที่ต้องการได้
    2. มีการสมัครสมาชิกด้วยเลขบัตรประชาชน และต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมล ซึ่งจะทำให้เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยมีการตรวจสอบกับระบบ TCAS ของส่วนกลางเพื่อยืนยันข้อมูลเลขบัตรประชาชน ชื่อ สกุล ที่ถูกต้อง
    3. การค้นหา เลือก และสมัครเข้าโครงการที่ง่ายต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ใส่ข้อมูลรายละเอียดที่ครบถ้วน เช่น รายละเอียดของโครงการ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น
    4. การจัดส่งเอกสารอ้างอิง ระบบก็มีให้เลือกว่าแต่ละโครงการจะให้ผู้สมัครส่งเอกสารแบบใด เช่น การอัปโหลดเอกสารที่สมัคร หรือจะให้ส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งปัจจุบันจะมีการอัปโหลดเอกสารออนไลน์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้สมัคร และผู้ตรวจสอบที่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติจากที่ใดก็ได้ แถมประหยัดทั้งกระดาษ และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
    5. การชำระเงินที่เป็นแบบออนไลน์ โดยคลิกผ่านหน้าจอผู้สมัครสามารถหยิบมือถือเปิดแอปธนาคารมาชำระเงิน หรือจะไปชำระเงินที่ Couter Service ของ 7-eleven พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบผลการชำระเงินได้ทันที
    6. ใบเสร็จในรูปแบบดิจิทัล เมื่อผู้สมัครชำระเงินรียบร้อยแล้วสามารถพิมพ์ใบเสร็จในรูปแบบดิจิทัลได้ทันที
    7. มีการเชื่อมต่อ API กับ TCAS กลางเพื่อตรวจสอบสถานะการยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาต่อจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

    เว็บไซต์ปัจจุบันของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ดังรูป

    เมนูต่าง ๆ ของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ที่ผู้สมัครทุกคนจะต้องดำเนินการขึ้นอยู่กับโครงการที่เลือก ดังรูป

    *** กว่าจะมาเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันเราก็มีการปรับปรุงระบบ เสริม เติม แต่งจนมีความสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ หากมีส่วนใดของระบบที่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ทางทีมพัฒนาระบบ ฯ พร้อมที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

    *** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (2/5) : ระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)

    ระบบทะเบียนนักศึกษา และระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)

    ระบบสารสนเทศนักศึกษา มีตัวย่อคือ SIS มีนักศึกษาหลายคนจะเรียกว่า S I S (อ่านว่า เอส ไอ เอส) แต่บางคนจะเรียกกว่าระบบ SIS (อ่านว่า ซิส) ซึ่ง SIS ในที่นี้ไม่ได้มาจากคำว่า sister ที่แปลว่าน้องสาวหรือพี่สาวนะคะ แต่ย่อมาจากคำว่า Student Information System ระบบจะเกิดขึ้นมาใช้งานจนถึงปัจจุบันก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป

    ความเป็นมาของระบบลงทะเบียนเรียน

    การลงทะเบียนในปัจจุบันก็สามารดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้ แม้ว่าช่วงลงทะเบียนจะมีบางหน้าจอที่แสดงผลเนื่องจากมีการเข้าใช้งานที่เกินกว่าที่เครื่องแม่ข่าย (Server) จะรับได้ แต่ทางทีมพัฒนาระบบฯ ได้ตรวจสอบและวางแผนรับมือทุกครั้งในช่วงการลงทะเบียนเรียน

    คุณทั้งหลายอาจจะมีเสียงบ่นว่าระบบช้า ระบบไม่เสถียร หรือระบบไม่ทันสมัย แต่กระบวนการทำงานที่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ทดสอบจนแทบจะไม่เกิดข้อผิดพลาดมาตั้งแต่ปี 2015 จนถึงปัจจุบันก็ 7 ปีมาแล้วค่ะ เมื่อย้อนกลับไปสมัยก่อนที่พวกรุ่นพี่ของเราต้องมาเขียนใบคำร้องลงวิชาเรียน แล้วไปรวมตัวที่งานทะเบียนของมหาวิทยาลัย เข้าแถว ถือใบลงทะเบียนเรียน พร้อมกันลุ้นว่าเจ้าหน้าที่จะคีย์ข้อมูลรายวิชาแล้วระบบแจ้งมาว่า ลงทะเบียนสำเร็จ หรือว่าจำนวนนักศึกษาเต็มแล้วในรายวิชานั้น ๆ และต้องมาลุ้นว่าแถวเพื่อนที่ยืนอยู่ข้าง ๆ เจ้าหน้าที่ทำเร็วกว่าแถวของเราหรือเปล่าอีกด้วย….นี่แหละค่ะ เกิดมาในยุคหลังก็สบายกว่าพวกรุ่นก่อนอยู่มากโข…

    แต่เมื่อย้อนกลับไปตั้งแต่วิธีการลงทะเบียนในสมัยก่อน เราก็ปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น แม้ว่าการพัฒนาปรับปรุงได้ไม่ทันตามความต้องการที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ทางทีมพัฒนาระบบ ฯ ทุกคนร่วมพัฒนาระบบให้มีความเสถียร ครอบคลุมทุกเงื่อนไขของการลงทะเบียนที่มีความหลายหลาย เพราะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พัฒนาระบบลงทะเบียนขึ้นใช้เอง เพื่อรองรับนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคน นักศึกษาทุกคนสามารถภูมิใจได้เลยว่า ระบบสารสนเทศนักศึกษาที่ใช้ลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ปี 1 ถึง ปีที่สำเร็จการศึกษา พวกคุณทั้งหลายได้ลงทะเบียนที่เป็นระบบที่ทางสำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะภูมิใจ และตั้งใจพัฒนาขึ้นมาเพื่อนักศึกษาทุกคน

    ระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ระบบสารสนเทศนักศึกษานี้เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาเป็นส่วนใหญ่ และจะมีส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบข้อมูลนักศึกษาบ้าง แต่การทำงานหลักๆ ของระบบ คือ “นักศึกษา”

    หากคุณทั้งหลายเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ว่าคุณจะสังกัดคณะไหน หรือวิทยาเขตไหนก็ตามทุกคนจะต้องใช้งานระบบสารสนเทศนักศึกษาที่มีหน้าตา ฟังก์ชั่นการทำงานที่เหมือนกัน แต่….นักศึกษาทราบหรือไม่ว่าเราทำอะไร ๆ ได้บ้างภายในระบบนี้ ตามมาดูกันเลย

    นี่เป็นรูปหน้าหลักของระบบฯ โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ SIS ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้

    • วิทยาเขตหาดใหญ่ : https://sis.psu.ac.th
    • วิทยาเขตปัตตานี : https://sis.pn.psu.ac.th
    • วิทยาเขตภูเก็ต : https://sis.phuket.psu.ac.th
    • วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี : https://sis.surat.psu.ac.th
    • วิทยาเขตตรัง : https://sis.trang.psu.ac.th

    เมนูในระบบสารสนเทศนักศึกษา

    เป็นเมนูการทำงานที่พัฒนาให้แก่นักศึกษา ดังนี้

    • การค้นหาข้อมูลรายวิชา
    • ลงทะเบียนเรียน
    • ผลการลงทะเบียนเรียน
    • ผลการเรียน
    • วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์
    • ตารางเรียน
    • ตารางสอบ
    • การค้นหาตารางสอนอาจารย์
    • ระบบจำลองผลการเรียน

    เมนูบริการเสริม

    เป็นเมนูการทำงานที่เชื่อมโยงมาจากบริการอื่นๆ ที่เพิ่มความสะดวกแก่นักศึกษา ดังนี้

    • บริการด้านการเงิน
    • ตรวจสอบข้อมูลค้างชำระทรัพยากรห้องสมุด

    การปรับปรุงระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ขณะนี้ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศกำลังพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาใหม่ โดยจะเปิดใช้งานระบบในปีการศึกษา 1/2566 ดังนั้นนักศึกษา ม.อ. ทุกคนจะได้ใช้ระบบสารสนเทศนักศึกษาใหม่ รอดูนะคะว่าระบบใหม่จะมีหน้าตาของระบบเป็นแบบใด

    นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (1/5) : ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ

    ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ

    ชาว ม.อ. ทราบหรือไม่ว่ามหาวิทยาลัยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศใช้งานภายในมหาวิทยาลัยที่มีหลากหลายระบบ พัฒนาขึ้นโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ เช่น ระบบทะเบียนนักศึกษา ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ระบบสารสนเทศบุคลากร ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

    พวกท่านทราบหรือไม่ว่าแต่ละระบบสารสนเทศกว่าจะออกมาให้ใช้งานกัน ทีมพัฒนาฯ ต้องทำอะไรกันบ้าง วันนี้จะขอมาเล่าส่วนของการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น จนเปิดใช้งานระบบ แบบคร่าวๆ เข้าใจง่ายกันค่ะ

    ก่อนการพัฒนาระบบสักระบบ ต้องวิเคราะห์ความเร่งด่วน หรือแผนการใช้งานระบบ มีการเข้าคิวการพัฒนา เมื่อสรุปจะพัฒนาระบบใดระบบหนึ่ง มีขั้นตอนอย่างไรมาดูกันค่ะ

    ช่วงที่ 1 : Requirement

    เจ้าภาพ จะทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นวิทยาเขต คณะ เพื่อรวบรวมความต้องการให้ชัดเจนว่าจะจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง กระบวนการ หรือรายงานเป็นอย่างไร

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (1) จัดทำเอกสารเปิดโครงการ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาระบบ (2) เอกสารรายงานการประชุมกับลูกค้า (3) เอกสารประเมินความเสี่ยง

    ช่วงที่ 2 : Analysis and Design

    ทีมพัฒนาฯ จะรวบรวมความต้องการจากลูกค้า เพื่อมาวิเคราะห์กระบวนการทำงาน พร้อมทั้งออกแบบหน้าจอและฐานข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยทีมพัฒนาจะออกแบบหน้าจอที่ต้องการพัฒนาเพื่อมานำเสนอให้ลูกค้าตรวจสอบว่าระบบมีความครบถ้วน ถูกต้อง สีของหน้าจอ ปุ่มต่าง ๆ มีความสะดวกสบายกับการใช้งานหรือไม่ ซึ่งส่วนนี้ยังสามารถปรับปรุงความต้องการให้สอดคล้องกับการใช้งานจริงได้มากที่สุด และสรุปเป็นเอกสาร Requirement Checklist เพื่อยืนยันความต้องการกับเจ้าภาพอีกครั้ง

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (4) จัดทำเอกสาร Requirement Checklist (5) เอกสาร Requirement Specification (6) เอกสาร Software Design (7) เอกสารประชุมติดตามความก้าวหน้าภายในทีม

    ช่วงที่ 3 : Development

    ช่วงนี้ทีมพัฒนาฯ จะเร่งมือในการพัฒนาระบบตาม Requirement Checklist เมื่อระบบสารสนเทศมีการพัฒนาไประยะหนึ่งก็จะมีการนัดประชุมกับลูกค้า เพื่อให้ดูความก้าวหน้าของระบบว่ามีการพัฒนาไปถึงส่วนใด ตรงตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่ เมื่อมีการพัฒนาเสร็จแต่ละฟังก์ชั่น ก็จะส่งต่อให้กับทีมทดสอบระบบ

    หากมีความต้องการเพิ่มเติมระหว่างการพัฒนาจะมีการปรับปรุงระบบส่วนนี้จะเรียกกว่า Change Request ซึ่งจะไปนับรวมกับ Requirement Checklist

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (8) ติดตามการพัฒนาระบบโดยใช้โปรแกรม Azure DevOps

    ช่วงที่ 4 : Testing

    ช่วงนี้จะเป็นงานของทีมทดสอบระบบ จะต้องตรวจสอบว่าทีมพัฒนาฯ ได้พัฒนาเสร็จสิ้นตาม Requirement Checklist โดยทีมทดสอบจะทำการเขียน Test case ที่ครอบคลุมว่ากระบวนการทุกกระบวนการก่อนที่จะส่งต่อให้กับผู้ใช้งาน (User) ต้องครบถ้วน สมบูรณ์ หากผิดพลาดไม่ตรงตามความต้องการจะส่งกลับไปยังทีมพัฒนาฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบให้ถูกต้อง ครบถ้วนที่สุด

    เมื่อทดสอบครบทุกฟังก์ชั่น จะมีการนัดประชุมลูกค้าเพื่อส่งมอบระบบ โดยจะมีเอกสาร Acceptance Checklist ให้ลูกค้าตรวจสอบหัวข้อในการพัฒนาระบบทั้งหมดในระบบ

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (9) ทดสอบระบบโดยใช้โปรแกรม Azure DevOps โดยทดสอบตาม Test case ทุกเงื่อนไข (10) เอกสาร Acceptance Checklist

    ช่วงที่ 5 : Training

    เมื่อพัฒนาระบบครบถ้วนตาม Requirement Checklist ช่วงนี้จะเป็นการอบรมผู้ใช้งาน (User) หากเป็นระบบใหม่ทางทีมพัฒนาฯ จะอบรมใหม่ทั้งระบบ อาจจะแบ่งเป็นส่วนของเจ้าหน้าที่ อาจารย์ หรือเป็นผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เป็นระดับต่างๆ แต่หากเป็นระบบที่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ก็ขึ้นอยู่กับว่าการพัฒนามีความแตกต่างจากระบบเดิมมากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องจัดอบรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ และในยุคปัจจุบันมีการอบรมผ่านช่องทางออกไลน์ ทำให้สะดวกกับผู้เข้าอบรมมากยิ่งขึ้น

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (11) เอกสารการอบรมระบบ (12) คู่มือการใช้งานระบบในรูปแบบเอกสาร หรือ VDO

    ช่วงที่ 6 : Deployment

    เมื่อปรับปรุงระบบจนพร้อมใช้งานแล้ว ก็แจ้งเปิดระบบอย่างเป็นทางการตามที่เจ้าภาพต้องการ เช่น เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2565 เป็นต้น ซึ่งทีมพัฒนาระบบฯ จะมีการเฝ้าระวังระบบในช่วงการใช้งานในช่วงแรกว่าสามารถใช้งานได้สมบูรณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระบวนการใช้งานของแต่ละระบบ เช่น หากเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ จะต้องตรวจสอบตั้งแต่ช่วงที่เจ้าหน้าที่คณะจัดทำโครงการ ตลอดจนผู้สมัครสามารถสมัครสมาชิก จนสามารถสมัครโครงการ ชำระเงินได้ครบถ้วนสมบูรณ์

    ทีมพัฒนาระบบฯ : (13) เอกสาร Operation Guideline (14) เอกสาร Maintenance

    ช่วงที่ 7 : Maintenance

    เป็นช่วงการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศที่นอกเหนือจากช่วงการพัฒนาโครงการ ดังนั้นหากเป็นความผิดพลาดของโปรแกรมที่ไม่สามารถทำงานได้จำเป็นต้องแก้ไขทันที ทางทีมพัฒนาระบบฯ จะได้รับมอบหมายให้วางมือจากโครงการที่กำลังจัดทำ เพื่อมาแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดให้สามารถใช้งานได้

    ทีมพัฒนาระบบฯ : บันทึกการบำรุงรักษาระบบ มีการบันทึกผ่าน Azure DevOps พร้อมทั้งจัดทำ Dashboard โดยแบ่งเป็น (15) ส่วนที่เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าสามารถแก้ไขเองได้ (QA-Support) (16) ส่วนส่งต่อทีมพัฒนา (F-SD01)

    ดังนั้นทุกโครงการที่มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องประเมินความเสี่ยง เนื่องจากแต่ละโครงการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน เช่น การประสานงานกับลูกค้าที่อยู่นอก ม.อ. ความต้องการที่ไม่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงความต้องการ กำลังคนน้อยลง เป็นต้น

    ระบบสารสนเทศทั้งหมดที่ทีมพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาได้พัฒนาและอยู่ในความดูแลทั้งหมด ดังนี้

    จากที่เล่ามาทั้งหมดขอกล่าวแค่ส่วนของระบบในความผิดชอบของงานสารสนเทศนักศึกษาว่าในช่วงนี้มีระบบอะไรบ้างที่พัฒนา ติดตามนะคะ แบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้

    1. ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
    2. ระบบทะเบียนนักศึกษา และระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)
    3. ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)
    4. ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)
    5. ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)
  • วิธีการสร้าง/แชร์ Template จาก Notion

    • URL : https://www.notion.so/

    การใช้งานโปรแกรม Notion มีเครื่องมือการใช้งานที่หลากหลาย มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้ ซึ่งงานที่เอามาใช้มากที่สุดตอนนี้เป็นการบันทึกรายงานการ

    สร้างเป็น Table

    1. สร้างเพจใหม่โดยการคลิก New page
    2. ตั้งชื่อของเพจ
    3. เลือก Table

    เมื่อตั้งชื่อเพจ และสร้าง Table เรียบร้อยแล้ว เราต้องการสร้าง template สำหรับเป็นรูปแบบที่เมื่อมีการบันทึกการประชุมทุกครั้งจะต้องมีหัวข้อนี้เสมอ ลองมาทำกันต่อค่ะ

    1. คลิกปุ่ม “New”
    2. คลิกปุ่ม “New template”

    เริ่มสร้าง template เริ่มจากการตั้งชื่อ template ตัวอย่างใช้ชื่อว่า “Meeting Template”

    1. พื้นที่ส่วนที่ 1 เป็นการจัดเก็บข้อมูลในรูปของตาราง ข้อมูลสามารถมาแสดงเป็นตารางที่สร้างขึ้นได้ ค้นหาได้ เรียงได้ หรือค้นหาได้
    2. พื้นที่ส่วนที่ 2 เป้นการบันทึกรายละเอียด ซึ่งสามารถสร้างรูปแบบที่บันทึกข้อมูลการประชุมที่เราจะสร้าง Template

    สร้างส่วนที่ 1 เป็นการสร้างข้อมุลการประชุม ได้แก่

    1. ชื่อ property
    2. ประเภทของ property ซึ่งมีให้เลือกหลายอย่าง ส่วนนี้อาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติม

    เพิ่มข้อมูลวันที่ เลือกประเภทเป็น “Date”

    ส่วนของวันที่จะสามารถตั้งค่าได้ว่า Format ว่าต้องการให้แสดง Month/Day/Year ซึ่งตัวอย่างเราจะเคยชินจึงเลือกใช้เป็น Day/Month/Year

    เพิ่มข้อมูลประเภทการประชุม

    1. ตั้งชื่อประเภทการประชุม
    2. เลือกประเภทเป็น “Select”
    3. ซึ่งสามารถเพิ่มข้อมูลได้ เช่น ประชุมภายใน ประชุมภายนอก เป็นต้น

    เมื่อเราเพิ่มประเภทการประชุมเรียบร้อยแล้ว

    1. สามารถปรับปรุงตามสีสรรที่ต้องการได้

    บันทึกข้อความที่ต้องการสร้าง Template ตามหัวข้อที่เราต้องการ

    1. จัดทำหัวข้อรายงานการประชุม ได้แก่
      • วาระทบทวนการประชุม
      • วาระการประชุม
      • วาระอื่น ๆ (ถ้ามี)
      • เรื่องที่จะติดตามครั้งต่อไป

    มีการจัดทำวาระย่อยๆ ตามวาระการประชุม

    1. สร้างวาระย่อย โดยระบุชื่อวาระ พร้อมมติที่ประชุม

    เมื่อสร้าง Template เรียบร้อยแล้ว

    1. ดำเนินการ Set As default เพื่อให้สร้างเอกสารจะเรียกใช้ Template ให้ทันที

    ดำเนินการยืนยันการตั้งค่า default

    1. เลือก For all views in “บันทึกรายงานการประชุม”

    ตรวจสอบอีกครั้งว่า Template ที่สร้างเป็นค่า default หรือยัง

    1. Template “Meeting Template” มีค่า DEFAULT

    เมื่อต้องการบันทึกรายงานการประชุม

    1. คลิกปุ่ม “New”

    สร้างเอกสารการประชุมใหม่

    1. ตั้งชื่อตาม Template
    2. รายละเอียดการประชุม
    3. Template บันทึกรายงานการประชุม

    หากต้องการแชร์ไฟล์บันทึกการประชุมให้แก่เพื่อน หรือใช้ภายในหน่วยงาน สามารถแชร์ได้

    1. คลิกปุ่ม “Share”
    2. คลิกปุ่ม “Allow duplicate as template”

    วิธีการ Duplicate เพื่อนำ Template จากเพื่อนมาใช้งาน โดยนำลิงก์ที่ได้มาเปิด

    1. คลิกปุ่ม Duplicate
    2. ข้อมูบันทึกรายงานการประชุมก็สามารถใช้ได้ทันที

    หวังว่าวิธีการนี้จะสามารถทำให้การทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้นนะคะ ^^

  • มารู้จักเครื่องมือ Smart Facebook URL ที่สามารถเปิด Facebook ตามอุปกรณ์ที่ใช้งานปัจจุบัน

    ทุกท่านเคยเป็นกันไหมค่ะ เมื่อเพื่อนของเราส่งลิงก์ Facebook มาให้เราดู แต่เมื่อเราเปิดใช้งานบนมือถือ มันก็จะเด้งไปหน้าเบราว์เซอร์ แล้วระบบก็จะให้เรา Login ซึ่งคนทั่วไปจะใช้งานบน App Facebook หากเราใช้งานผ่านมือถือ และจะใช้ผ่านเบราว์เซอร์เมื่อเราใช้ผ่านคอมพิวเตอร์

    ***มาดูตัวอย่างการเปิดลิงก์ Facebook Fan Page เมื่อเพื่อนส่งมาให้***

    ตัวอย่างการส่งลิงก์ Facebook ให้เพื่อนช่วยกดไลค์แฟนเพจ เมื่อเราคลิกลิงก์จากข้อความ

    ระบบปฏิบัติการ Android

    จะเปิดมาที่ เบราว์เซอร์ เป็น m.facebook หากต้องการใช้งานก็จะต้อง Login Facebook ใหม่ ซึ่งปกติเราก็มักจะลืม Username หรือ Password

    ระบบปฏิบัติการ iOS

    มีข้อความแจ้งเตืนอว่าจะให้เปิดผ่าน Faceook หรือไม่ หากกดปุ่ม “เปิด” จะเป็นไปยัง App ให้ทันที่ แต่หากกดปุ่ม “ยกเลิก” จะเปิดมาที่ เบราว์เซอร์ เป็น m.facebook ก็จะต้อง Login Facebook ใหม่

    ระบบปฏิบัติการ iOS

    จะเปิดมาที่เบราว์เซอร์ เป็น m.facebook หากต้องการใช้งานก็จะต้อง Login Facebook ใหม่เช่นเดียวกับ ระบบปฏิบัติการ Android

    **** ซึ่งเมื่อเราจะส่งลิงก์ URL ให้เพื่อน เราจะไม่ทราบว่าเพื่อนใช้ Smart phone ระบบปฏิบัติการอะไร
    ดังนั้นเรามีวิธีการดังนี้….=>>

    1. นำ URL ที่เราต้องการ เช่น https://www.facebook.com/PSUDIIS
    2. คลิกปุ่ม “สร้าง Smart URL”

    เมื่อดำเนินการเรียบร้อยจะได้ URL ใหม่ ดังนี้

    1. http://pili.app/fb/SP4FHeHc
    2. คลิกปุ่ม “คัดลอก”

    ******เมื่อเราได้ URL ที่ต้องการแล้ว ส่งให้เพื่อนอีกครั้ง แล้วให้เพื่อนเปิดดูเลยค่ะ******

    ระบบปฏิบัติการ Android

    เมื่อคลิก URL แล้วจะเลือก “Android” ให้อัตโนมัติ

    ระบบปฏิบัติการ Android

    เลือก “facebook app” ให้อัตโนมัติ

    ระบบปฏิบัติการ Android

    จะเข้า “Facebook App” ให้อัตโนมัติ สามารถกดไลค์แฟนเพจได้ทันที

    ระบบปฏิบัติการ iOS

    เมื่อคลิก URL แล้วจะเลือก “iPhone” ให้อัตโนมัติ

    ระบบปฏิบัติการ iOS

    เลือก “Facebook App” ให้อัตโนมัติ

    ระบบปฏิบัติการ iOS

    จะเข้า “Facebook App” ให้อัตโนมัติ สามารถกดไลค์แฟนเพจได้ทันที

    การใช้งานผ่าน Computer

    เมื่อคลิก URL แล้วจะเลือก “คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล” ให้อัตโนมัติ

    การใช้งานผ่าน Computer

    เลือก “เบราว์เซอร์” ให้อัตโนมัติ

    การใช้งานผ่าน Computer

    จะเข้า “เบราว์เซอร์” ให้อัตโนมัติ สามารถกดไลค์แฟนเพจได้ทันที

  • วิธีการแปลงไฟล์จาก PDF เป็น Word แบบบ้าน ๆ โดยใช้ Google Drive

    วิธีการแปลงไฟล์จาก PDF เป็น Word มีหลากหลายวิธี ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเว็บไซต์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับแปลงไฟล์กัน แต่…สำหรับคนที่ไม่ต้องการให้เอกสารของเราไปอัปโหลดเพื่อแปลงไฟล์กับเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก หรือไม่มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ที่สามารถแปลงไฟล์ได้ ลองมาดูวิธีนี้กันนะคะ คิดว่าทุกคนสามารถทำได้อย่างง่ายดายค่ะ

    ในตัวอย่างวันนี้จะมีวิธีการแปลงไฟล์ PDF เป็น Word วิธีเดียวเท่านั้นแต่….จะทดลองทำให้ดูกับ 2 ไฟล์ ได้แก่

    แบบที่ 1 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการแปลงจาก Word มาโดยตรง ซึ่งการแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

    สิ่งที่คิด คือ ข้อความในเอกสารส่วนใหญ่ จะถูกต้องครบถ้วน และสวยงาม

    แบบที่ 2 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการสแกน หรือเป็นรูปถ่าย การแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

    สิ่งที่คิด คือ ข้อความจะมีลักษณะไม่เหมือนกับต้นฉบับ อาจจะมีสระหรือวรรณยุกต์ที่ไม่ครบถ้วน แต่สามารถนำไปปรับปรุงต่อให้สวยงามได้ค่ะ

    มาดูวิธีการกันเลย และจะเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบเอกสารให้ดูนะคะ

    แบบที่ 1 : เป็นเอกสารที่เกิดจากการแปลงมาจากเอกสาร Word

    เมื่อเปิดไฟล์ในรูปแบบ PDF

    วิธีการคือคลิกที่ไฟล์ที่ต้องการแปลงไฟล์จาก PDF เป็น Word (1) คลิกเลือก Open with (2) คลิกเลือก Google Docs ดังรูป

    รอระบบทำการแปลงไฟล์ ดังรูป

    เมื่อแปลงไฟล์เรียบร้อยจะแสดงเอกสาร Word มาให้ ดังรูป

    แบบที่ 2 : เป็นเอกสารที่เกิดจากการแปลงมาจากเอกสารที่ผ่านการสแกน

    เมื่อเปิดไฟล์ในรูปแบบ PDF

    เมื่อแปลงไฟล์เรียบร้อยจะแสดงเอกสาร Word มาให้ ดังรูป

    สรุปผลการแปลงไฟล์ทั้ง 2 รูปแบบ

    แบบที่ 1 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการแปลงจาก Word มาโดยตรง ซึ่งการแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

              สิ่งได้ คือ มีตัวสระที่ยังไม่ถูกต้องนัก อาจจะเป็นเพราะรูปแบบตัวอักษรที่แปลงมา แต่ภาพรวมก็ถือว่าดีมากแล้ว

    แบบที่ 2 : ไฟล์ PDF ที่เกิดจากการสแกน หรือเป็นรูปถ่าย การแปลงไฟล์ PDF มาเป็น Word

              สิ่งได้ คือ ว๊าวมากค่ะ ไม่คิดว่าตัวอักษรที่ออกมาจาะครบถ้วนสมบูรณ์ขนาดนี้ แต่ต้องปรับนิดหน่อยให้สวยงาน

    *** นี่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการแปลงไฟล์จาก PDF มาเป็น Word โดยไม่ต้องง้อโปรแกรมหรือเว็บไซต์ออนไลน์ทั่วไปเลยค่ะ

    ขอบคุณผู้อ่านที่รักทุกท่านค่ะ ^^