Acrobat Reader DC รุ่นที่แจกฟรีนี่แหล่ะ ก็พอเพียงแล้ว — หยุดใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์เถอะ

จากที่ปฏิบัติหน้าที่ Helpdesk และได้เห็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ใช้โปรแกรมเถื่อนโดยเฉพาะ Adobe Acrobat ซึ่งจริงๆแล้ว เค้ามีตัวฟรี คือ Adobe Acrobat Reader ให้ใช้อยู่แล้ว อย่าไปละเมิดลิขสิทธิ์เค้าเลย ในบทความนี้ จะขอแนะนำความสามารถที่ “ของฟรี” มีให้ใช้ แต่บางคนอาจจะไม่รู้ ก็เลยไปละเมิดลิขสิทธิ์   ยุค Paperless หรือ ไร้กระดาษ ก็สามารถทำได้แล้ว ตัวอย่างเช่น มีเอกสาร PDF ที่ต้อง Print ใส่กระดาษ แล้วกรอกเอกสาร ลงลายเซ็นต์ แล้วก็ต้อง Scan กลับเข้าไปในระบบอีก … สุดท้ายก็ต้องเก็บกระดาษกองโต เพื่อรอเอาไปทิ้ง ทำไปเพื่ออะไร ?   ขอยกตัวอย่างการใช้งานกับเอกสารต่อไปนี้ http://group.psu.ac.th/docs/F_SD13.pdf http://www.personnel.psu.ac.th/fromper/form1.pdf   เริ่มจาก Download เอกสารมาเก็บไว้ในเครื่อง แล้วเปิดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader DC นี่แหล่ะ แล้วคลิกที่ Fill & Sign ด้านขวามือ  ถ้าต้องการกรอกข้อมูลข้อความ ก็คลิกที่ Ab แล้วเลื่อนไปคลิกที่ตำแหน่งที่จะกรอกข้อมูล แล้วพิมพ์ไป  ตรงไหนที่เป็น Checkbox ก็เลือกได้ว่า จะเอาแบบ กากบาท หรือ เครื่องหมายถูก แล้วก็ไปคลิกที่ที่ต้องการ ต้องการใส่ลายเซ็นต์ ??? คลิกที่ Sign แล้วเลือก Add Signature จะใช้วิธี เซ็นต์บนกระดาษ แล้ว Scan เก็บภาพไว้ก็เลือก Image ส่วนใครจะเซ็นต์สด คลิก Draw แล้วใช้ S-Pen ให้คุ้มๆหน่อยครับ แล้วก็กดปุ่ม Apply (ทำครั้งเดียวนี่แหล่ะ หลังจากนั้นก็จะใช้งานได้ตลอด) จากนั้นก็เอามาวางในตำแหน่งที่ต้องการ แล้วก็ Save สิครับ รออะไร ??? กรณีเป็นเลขที่บัตรประชาชน เค้าก็สามารถเว้นระยะตัวอักษรได้อีก ให้เหมาะกับช่อง   หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วทำงานแบบ Paperless กันเถอะครับ

Read More »

Juju #06 – เชื่อม MySQL Master-Master เข้ากับ HAProxy

ต่อจาก Juju #05 – วิธีกระจายงานไปยัง MySQL แบบ Master-Master เมื่อสร้าง MySQL แบบ Master-Master Replication ได้แล้ว ก็มาเชื่อมกับ HAProxy เพื่อให้ Application ที่เขียน มองเห็นทั้งระบบเป็นชิ้นเดียว IP Address ของระบบต่างๆเป็นดังนี้ haproxy : 10.107.107.71 mysql-master1: 10.107.107.35 mysql-master1: 10.107.107.83 ขั้นตอนการติดตั้ง ที่ mysql-master1 ต้องสร้าง 2 Users ขึ้นมา ชื่อ haproxy_check และ haproxy_root ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e “INSERT INTO mysql.user (Host,User) values (‘10.107.107.71′,’haproxy_check’); FLUSH PRIVILEGES;” mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e “GRANT ALL PRIVILEGES ON *.* TO ‘haproxy_root’@’10.107.107.71’ IDENTIFIED BY ‘password’ WITH GRANT OPTION; FLUSH PRIVILEGES;” ที่ haproxy ติดตั้ง mysql-client ด้วยคำสั่ง sudo apt-get install mysql-client ทดสอบด้วยคำสั่ง mysql -h 10.107.107.35 -u haproxy_root -ppassword -e “SHOW DATABASES;” mysql -h 10.107.107.83 -u haproxy_root -ppassword -e “SHOW DATABASES;” แก้ไขไฟล์ /etc/haproxy/haproxy.cfg โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ท้ายไฟล์ [3] frontend mysql-cluster bind *:3306 mode tcp default_backend mysql-backend backend mysql-backend mode tcp balance roundrobin server mysql-master1 10.107.107.35:3306 check server mysql-master2 10.107.107.83:3306 check และสุดท้าย ทดสอบด้วยคำสั่งต่อไปนี้ for i in `seq 1 6`; do mysql -h 127.0.0.1 -u haproxy_root -ppassword -e “show variables like ‘server_id'”; done ควรจะได้ผลประมาณนี้ จากนั้นก็สามารถพัฒนา Application โดยใช้ IP Address ของ haproxy ซึ่งในที่นี้คือ 10.107.107.71 และ Port 3306 ได้แล้ว ซึ่งเบื้องหลัระบบจะทำการ Replication กันเองทั้งหมด Reference: [1] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-set-up-mysql-master-master-replication [2] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-use-haproxy-to-set-up-mysql-load-balancing–3 [3] https://serversforhackers.com/load-balancing-with-haproxy  

Read More »

Juju #05 – วิธีกระจายงานไปยัง MySQL แบบ Master-Master

ต่อจาก Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB ซึ่งเป็นวิธีการกระจายงานให้ MySQL แบบ Master-Slave จะต้องอาศัยความสามารถของ HyperDB Plugin ของ WordPress ในการทำงาน ซึ่งถ้าเป็นการพัฒนา Application ทั่วไปที่ไม่ใช่ WordPress ก็จะทำด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้ ในบทความนี้จะกล่าวถึง การสร้าง Load-Balanced MySQL แบบ Master-Master ซึ่งทำให้สามารถกระจายการ Write ไปยัง MySQL หลายตัวได้ (ในเบื้องต้น 2 ตัว) *** ในบทความต่อไป จะต่อด้วยการเชื่อมเข้ากับ haproxy *** ขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้ Deploy haproxy (ตั้งชื่อ haproxy-mysql) และ MySQL (ตั้งชื่อ mysql-master1 และ mysql-master2) ต่อไปนี้เป็นวิธีการติดตั้ง MySQL Master-Master Replication [1] บนเครื่อง mysql-master1 แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/mysql.cnf ค้นหาคำว่า server-id จากนั้น Uncomment บรรทัดต่อไปนี้ server-id log_bin binlog_do_db จากนั้น ในบรรทัด – server_id = 1 – binlog_do_db ใส่เป็น Database Name ที่จะทำการ Replication เมื่อเสร็จแล้ว ก็ Save แล้ว Restart Mysql sudo service mysql restart แล้วเข้าใช้งานด้วยคำสั่ง mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) สร้าง User ที่จะทำหน้า Replicate ข้อมูล ด้วยคำสั่ง mysql> create user ‘replicator’@’%’ identified by ‘password’; และกำหนดสิทธิให้สามารถ Replicate ได้ ด้วยคำสั่ง mysql> grant replication slave on *.* to ‘replicator’@’%’; สุดท้ายใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อเรียกข้อมูลที่สำหรับการตั้งค่า mysql-master2 mysql> show master status; ได้ผลดังนี้ จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ แล้วเก็บค่า FILE และ POSITION ไว้ เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไป บนเครื่อง mysql-master2 แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/mysql.cnf เหมือนกับที่ทำบน mysql-master1 แต่เปลี่ยนค่า server_id เป็น 2 เมื่อเสร็จแล้ว ก็ Save แล้ว Restart Mysql sudo service mysql restart แล้วเข้าใช้งานด้วยคำสั่ง mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) สร้าง User ที่จะทำหน้า Replicate ข้อมูล ด้วยคำสั่ง mysql> create user ‘replicator’@’%’ identified by ‘password’; และกำหนดสิทธิให้สามารถ Replicate ได้ ด้วยคำสั่ง mysql> grant replication slave on *.* to ‘replicator’@’%’; ** ขั้นตอนต่อไปนี้ ทำที่ mysql-master2 (mysql-master1 ใช้ IP 10.107.107.35) mysql>  slave

Read More »

Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB

ต่อจาก Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL เมื่อมี MySQL Server มากกว่า 1 ตัว ซึ่งทำการ Replication กัน (ในตอนนี้ 2 ตัว คือ Master กับ Slave) ซึ่งให้ความสามารถในเรื่อง [1] Data-Security : เมื่อข้อมูลถูก Replicate ไปที่ Slave แล้ว เราสามารถหยุดการทำงานของ Slave เพื่อทำการสำรองข้อมูลได้ โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master Analytics: ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ที่ Slave โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master Scale-Out Solutions: เมื่อมี Slaves หลายตัว ทำให้สามารถกระจายงานในด้าน Read เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการแก้ไขข้อมูล จะทำที่ Master เท่านั้น ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการ Scale-Out Solutions ของ WordPress เท่านั้น โดยใช้ Plugin ชื่อ HyperDB HyperDB [2] เป็น Database Class ที่ใช้แทนที WordPress built-in database functions โดยจะทำให้ WordPress สามารถติดต่อกับ MySQL ได้หลายเครื่อง โดยที่สามารถกำหนดได้ว่าจะ Write ไปยัง Master และ Read จากทั้ง Master และ Slaves อีกทั้งยังสามารถ Failover ได้อีกด้วย วิธีการติดตั้ง HyperDB ที่ WordPress ใช้คำสั่ง wget https://downloads.wordpress.org/plugin/hyperdb.1.2.zip sudo apt-get install unzip sudo unzip hyperdb.1.2.zip ย้ายไฟล์ hyperdb/db-config.php ไปยังที่ Directory เดียวกันกับ wp-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/) sudo cp hyperdb/db-config.php /var/www ย้ายไฟล์ hyperdb/db.php ไปยังที่ Directory wp-content (ในที่นี้คื่อ /var/www/wp-content) sudo cp hyperdb/db.php /var/www/wp-content/ แก้ไขไฟล์ db-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/db-config.php) [3] โดยค้นหาคำว่า DB_HOST ซึ่งควรจะปรากฏอยู่แค่ 2 แห่งในไฟล์ ให้ไปที่ชุดที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาประมาณนี้ จากนั้นแก้ไข DB_HOST ให้เป็น DB_SLAVE_1 ต่อไปก็ไปเพิ่ม define(‘DB_SLAVE_1′,’xxx.xxx.xxx.xxx’) ซึ่งไฟล์ wp-config.php หรือไม่ก็ wp-info.php (ในที่นี้อยู่ที่ /var/www/wp-info.php) เมื่อทดสอบใช้งาน พบว่า มี Query มาทั้งที่ master และ slave ในภาวะว่าง ในภาวะมีงานเข้ามา ทดสอบเพิ่มบทความใหม่ ชื่อ “This is my first article” พบว่า ระบบสามารถเขียนไปยัง Master แล้วสามารถส่งต่อไปให้ Slave ได้ ต่อไป เพิ่ม mysql-slave2 เข้าไปใน Juju และสร้าง Relation เป็น master -> Slave เช่นกัน แล้วทำการเพิ่ม DB_SLAVE_2 เข้าไปใน db-config.php และ wp-info.php ก็จะพบว่าข้อมูลได้ Replicate ไปหา Slave2 แล้ว และ เมื่อทำการ

Read More »

Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL

จาก Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress ทำให้ได้ WordPress ซึ่งเป็น Web Application 2 เครื่องทำหน้าที่ Load Balance กัน ด้วย haproxy แล้ว จากนั้น ทำการเพิ่ม MySQL เข้าไปใหม่ แล้วตั้ง Application Name เป็น mysql-slave แล้ว Commit Chages จากนั้น สร้าง Relation เป็น mysql:master –> mysql-slave:slave เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ผลอย่างนี้ ทดสอบเพิ่ม Post ใหม่ แล้วเข้าไปใน mysql-slave (juju-xxx-xx เป็นชื่อเครื่องที่ Juju สร้างขึ้น) lxc exec juju-xxxx-xx  bash แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้ mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e ‘use wordpress; select post_title from wp_posts;’ ก็จะพบว่า mysql-slave ได้รับการ Update ตามไปด้วย บทความต่อไป จะกล่าวถึงวิธีการทำให้ WordPress สามารถใช้ mysql-slave ในการ Read ได้ เพื่อกระจายโหลดครับ  

Read More »