3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการ Block Email ที่ไม่ต้องการใน PSU Webmail

เปิด Email ฉบับที่ไม่ต้องการรับ แล้วคลิกที่ From ในบรรทัด Create Filter เลือกว่าจะ Block แบบไหน 2.1 Reject คือโยนทิ้งทันที และแจ้งผู้ส่งด้วย 2.2 Discard คือโยนทิ้งทันที แบบเงียบๆ *** ในช่อง Additional Actions คลิก STOP ด้วย *** จากนั้นคลิก Add New Rule รออะไร คลิก Close สิครับ

Read More »

Kafka #01 Basic Installtion

Apache Kafka เป็น distributed streaming platform [1] กล่าวคือ สามารถ Publish และ Subscribe ข้อมูลแบบ Streaming ได้ คล้ายๆกับ Message Queue หรือ Enterprise Messaging System ระบบนี้ใช้ได้ทั้งเป็น Real-time Streaming Data Pipeline และ สร้าง Streaming Application ได้ Apache Kafka ออกแบบมาให้สามารถทำงานเป็นแบบ Cluster โดยเก็บข้อมูลเป็น Stream of Record ซึ่งจัดหมวดหมู่ในรูปของ Topics ข้อมูลแต่ละ Record ประกอบด้วบ Key, Value และ timestamp เอาเป็นว่า ระบบนี้เอาไว้สำหรับรองรับการส่งข้อมูลแนวๆ Streaming มาเพื่อทำการวิเคราะห์แบบ Real-Time แทนที่จะต้องบริหารเองก็แล้วกัน แถมด้วยความสามารถในการ Subscribe ข้อมูล สามารถย้อนไปดูข้อมูลก่อนหน้าได้ (ตามขอบเขตเวลาที่กำหนด) มาติดตั้งกัน บทความนี้ ทดสอบบน Ubuntu 16.04 ไป Download และ ติดตั้ง จาก https://www.apache.org/dyn/closer.cgi?path=/kafka/0.10.2.0/kafka_2.11-0.10.2.0.tgz ด้วยคำสั่ง wget http://www-eu.apache.org/dist/kafka/0.10.2.0/kafka_2.11-0.10.2.0.tgz tar -zxvf kafka_2.11-0.10.2.0.tgz cd kafka_2.11-0.10.2.0 Kafka ทำงานบน Zookeeper ดังนั้นให้เริ่มทำงานด้วยคำสั่ง bin/zookeeper-server-start.sh config/zookeeper.properties & แล้วจึง สั่ง Start Kafka bin/kafka-server-start.sh config/server.properties & ต่อไป Producer กับ Consumer จะติดต่อกันผ่าน Topic จึงต้องสร้าง topic ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ bin/kafka-topics.sh –create –zookeeper localhost:2181 –replication-factor 1 –partitions 1 –topic test ซึ่งในที่นี้ จะได้ Topic ชื่อ test ทำงานบน Zookeeper บน Localhost ที่ Port 2181 ลองใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อดู Topic ทั้งหมด bin/kafka-topics.sh –list –zookeeper localhost:2181 ทดลองส่งข้อมูลเข้าไปให้ Kafka ซึ่งจะทำงานที่ Localhost ที่ Port 9092 bin/kafka-console-producer.sh –broker-list localhost:9092 –topic test แล้วลองพิมพ์ข้อความอะไรลงไปดู เช่น Hello World This is a book Blah Blah ลองเปิดอีก Terminal ขึ้นมา แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้ bin/kafka-console-consumer.sh –bootstrap-server localhost:9092 –topic test –from-beginning ก็จะเห็นได้ว่า สามารถเรียกดูสิ่งที่ส่งเข้าไปใน Topic “test” ตั้งแต่เริ่มต้นได้ ตรงนี้ยังไม่แปลกอะไร และไม่น่าตื่นเต้นอะไร บทความต่อไปจะกล่าวถึงการสร้างเป็น Cluster แล้วก็ทำงานกับ หลายๆ Producer และ หลายๆ Consumer พร้อมๆกัน   Reference https://kafka.apache.org/intro

Read More »

Spam 2017-04-04

วันนี้ได้รับแจ้งว่า มี Email หลอกลวงแบบแนบเนียน หน้าตาดังนี้ แหน่ะ แนะนำว่าอย่าให้ข้อมูล Username/Password กับใครอีกด้วย แต่มี Link ให้ไปกรอกรหัสผ่านซะงั้น ฝากกระจายข่าวด้วยครับ

Read More »

Spark #03: Query Apache Access Log with Spark SQL

ต่อจาก Spark #02: Cluster Installation ซึ่งทำให้เรามี Spark Cluster ที่พร้อมจะทำงานแบบ Distributed Computing แล้ว ขั้นตอนการติดตั้ง Hadoop Cluster อย่างง่าย ทำให้มี Hadoop HDFS เป็นพื้นที่จัดกับ Zeppelin #01 Installation ทำให้สามารถใช้งาน Spark ได้ง่ายขึ้น บทความนี้ จะกล่าวถึงการนำเข้าไฟล์ Apache Access Log เข้าไปเก็บไว้ใน Hadoop HDFS แล้ว ให้ Apache Spark Cluster เข้าไปค้นหาข้อมูล โดยใช้ภาษา SQL ผ่าน Spark SQL API นำ Apache Access Log เข้า HDFS ให้ Copy Apache Access Log ที่มีอยู่มาเก็บไว้ในเครื่องที่สามารถติดต่อ Hadoop HDFS ได้ (ในที่นี้ ชื่อไฟล์เป็น apache.access.log) ใช้คำสั่งต่อไป (แทน /test/ ด้วย Path ที่สร้างไว้ใน HDFS) hdfs dfs -copyFromLocal apache.access.log /test/ เมื่อไปดูผ่าน Web UI ของ Hadoop HDFS ก็จะเห็นไฟล์อยู่ดังนี้ วิธี Query ข้อมูลจาก Zeppelin ไปยัง Spark Cluster เปิด Zeppelin Web UI แล้วสร้าง Note ใหม่ โดยคลิกที่ Create new node แล้วใส่ชื่อ Note เช่น Query Apache Access Log ตั้ง Default Interpreter เป็น Spark แล้วคลิก Create Note ใส่ Code ต่อไปนี้ลงไป ด้านขวามือบน จะมีรูปเฟือง ให้คลิก แล้วเลือก Insert New แล้วใส่ข้อความนี้ลงไป จากนั้นคลิก Run all paragraphs ผลที่ได้ ตอนต่อไปจะมาอธิบายวิธีการเขียนคำสั่งครับ

Read More »

เตือนภัยออนไลน์วันนี้

วันนี้ได้รับรายงานว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดนหลอกเอารหัสผ่านที่ใช้สำหรับจัดการระบบทะเบียนไป โดนคนร้าย ไปสร้าง LINE แล้วปลอมตัวเป็น “อาจารย์ที่ปรึกษา” นักศึกษาก็พาซื่อ … ให้ไป ปรากฏว่า คนร้าย เข้าไปในระบบทะเบียน แล้วไป Drop ทุกวิชาทิ้งหมด …. เมื่อตรวจสอบก็พบว่า ใช้ Account ของนักศึกษาเข้ามาเอง แต่เจ้าตัวไม่ได้ทำ และไม่ใช่รายเดียว เช้านี้มีมา 2 รายซ้อน >> ในทางคดี ก็ต้องว่ากันไป << แต่ที่อยากจะนำเสนอคือ ในฐานะที่เราทุกคนทุกวันนี้เป็น Net Citizen หรือ พลเมืองอินเตอร์เน็ต กันโดยปริยายอยู่แล้ว เรื่องนี้เป็น Common Sense ที่จะต้องเก็บรหัสผ่าน เป็นความลับ ไม่บอกใครเด็ดขาด จึงขอแจ้งเตือน ทั้งคนที่เป็น นักศึกษา บุคลากร และ บุคคลทั่วไป ถึง Common Sense พื้นๆข้อแรกคือ *** ไม่ว่ากรณีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทาง Email/LINE/Facebook/Twitter/Whatsapp/WeChat/SMS/โทรศัพท์/ช่องทางใดๆก็ตาม ทั้งที่กล่าวถึงแล้วยังไม่กล่าวถึง ต้องไม่ เปิดเผย รหัสผ่านของบริการใดๆก็ตามให้กับบุคคลอื่นเด็ดขาด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม *** ครับ

Read More »