เตือนภัยอีเมลหลอกลวงว่าเป็นธนาคารกรุงไทย (Spam 2018-11-14)

เช้านี้มีอีเมลหลอกลวงหลุดเข้ามา อ้างว่ามาจาก Krungthai Bank PCL ดังภาพ จะเห็นว่า From ก็หลอกว่ามาจาก info@ktb.co.th และในเนื้อหาก็มี Logo ของธนาคาร แถมมี Link  ที่วิ่งไป HTTPS://WWW.KTB.CO.TH/PERSONAL/DETAIL/VERIFY/172 แต่ไม่ใช่ของจริง !!! เพราะ ถ้าท่านดูอีเมลฉบับนี้แบบ HTML จะเป็นการส่ง Link ไปที่ “เว็บไซต์หลอกลวง” หรือเรียกว่า Phishing Site  ไม่แนะนำให้คลิกตาม https://scrappse.tk/jssl/ktbnetbank/krungthai/index.html ซึ่งจะได้หน้าตาเหมือนกับของธนาคารจริง ๆ เพราะมันไปใช้ภาพจากเว็บไซต์จริง และใช้ HTTPS และได้ “กุญแจ” ที่บอกว่า valid certificate อีกด้วย เพราะใช้ Let’s Encrypt ดังนั้นจึงแจ้งเตือนภัยมายังประชาคมให้รับทราบ ว่าปัจจุบันนี้ เห็น LINK ใน Email แล้วเป็น URL ชื่อของธนาคารจริง ก็ยังไม่พอ (กรณีนี้เป็นของ www.ktb.co.th) คลิกไป เจอหน้าเว็บ หน้าตาน่าเชื่อถือ ก็ไม่พอ (ตามภาพ เลียนแบบเหมือนมาก) ดูว่ามี “กุญแจ” ของ HTTPS ถูกต้องก็ไม่พอ (กรณีนี้ ได้กุญแจมาแล้ว แต่เป็นของเว็บไซต์หลอกลวง) ดังนั้น ต้องดูด้วยว่า URL ที่ท่านเห็นด้านบน เป็นของธนาคารจริง ๆ หรือไม่ !!! (ในกรณีนี้ ไม่จริง เพราะเป็นของ https://scrappse.tk ) ธนาคารกรุงไทย ได้แจ้งเตือนเรื่องนี้ไว้แล้วที่  https://www.ktb.co.th/th/krungthai-update/announcement-detail/162 ดังนั้น หากท่านได้รับ Email ในทำนองนี้ ให้ตรวจสอบกับธนาคาร หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะคนร้ายจะหลอกให้ท่านกรอก Username/Password เพื่อเข้าสู่บัญชีธนาคารของท่านได้

Read More »

วิธีติดตั้ง HTTPS ด้วย Certificate ของ Let’s Encrypt

จาก มาใช้งาน let’s encrypt กันเถอะ ของอาจารย์ฉัตรชัย ผมขอขยายความต่อ เอาแบบว่า Copy-Paste กันเลย โดยในที่นี้ … OS เป็น Ubuntu 18.04 Web Server เป็น Apache ที่ Firewall เปิดให้เข้าถึง TCP 80 / 443 จาก Internet ได้ — มันจำเป็นสำหรับการ Verification ของ Certbot ครับ *** ในเบื้องต้นนะ 🙂 *** Let’s Encrypt คืออะไร อ่าน …https://letsencrypt.org/getting-started/ เริ่มต้น ต้องติดตั้ง Certbot ก่อน อ่าน …https://certbot.eff.org/ ดูต้นฉบับการติดตั้งของ Ubuntu 18.04 และใช้ Apache ได้จากhttps://certbot.eff.org/lets-encrypt/ubuntubionic-apache ติดตั้ง Certbot ก่อน ใช้คำสั่งต่อไปนี้ จาก User ที่สามารถ sudo ได้ แบบ Auto จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อให้ certbot ทำการติดตั้ง Certificate และแก้ไขไฟล์ (ในที่นี้ใช้ Apache) Configuration ให้เลย แบบแก้ไขเอง หรือถ้าจะทำเอง โดยต้องการเอาเฉพาะ Certificate มา แล้วทำการแก้ไขไฟล์ Apache Configuration เองก็ได้ ระบบจะถาม ยอมรับเงื่อนไขไม๊ –> แน่นอน (A) Accept email address ให้ใส่ไปตามจริง ต้องการให้แสดง email address เปิดเผยหรือไม่ –> ผมตอบ No นะ และ บอกว่า Domain Name ของเราคืออะไร ให้ใส่ FQDN ไป เช่น kx1.in.psu.ac.th เป็นต้น จากนั้น Certbot จะ Callback ไป ให้มีการ Verification จาก Internet ว่าสามารถเข้าถึงได้จริงหรือไม่ (ตรงนี้ ใน PSU ต้องแจ้งทาง Network Admin เพื่อเปิด Port ที่ Firewall ให้เข้าถึง TCP 80 และ 443 ให้สำเร็จก่อน) เมื่อ Verification สำเร็จ ก็จะได้ไฟล์ Certificate และ Private Key มา จะอยู่ที่ (path แต่ละเครื่องจะแตกต่างกันตรงที่ Domain Name ที่กำหนดข้างต้น) ตามลำดับ แก้ไขไฟล์ ให้มีค่าต่อไปนี้ จากนั้นใช้คำสั่งนี้ เพื่อเปิดใช้งาน https ใช้คำสั่งนี้ เพื่อใช้งาน default-ssl และทำการ Restart apache ด้วยคำสั่งนี้ sudo systemctl reload apache2 ทดสอบใช้งาน HTTPS ใช้งานได้ NOTE จริง ๆ แล้ว ในองค์กร สามารถทำเครื่อง ๆ หนึ่งขึ้นมา เพื่อติดตั้ง certbot แล้วขอ Certificate มา ของ Domain ต่าง ๆ แล้วค่อย “ย้าย” certificate และ key file ไปเครื่องที่จะใช้งานจริง

Read More »

django – as a Dialogflow Webhook #03

บทความนี้ จะกล่าวถึง การใช้ django ทำหน้าที่เป็น Webhook จาก Dialogflow ผ่าน Fulfillment ทาง HTTP Post Request ด้วย JSON object และ ทำการประมวลผล แล้วตอบกลับไปเป็น JSON Object เช่นกัน เพื่อให้ Dialogflow ตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตามต้องการ เช่น อาจจะให้ไปค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลในองค์กรมาตอบ เป็นต้น ในมุมของ django django (ดี)จังโก้ ดีอย่างไร #01 ได้กล่าวถึงการสร้าง Web Application จาก Model โดยกำหนด Fields ต่าง ๆ จากนั้น django ก็จะสร้าง Web Form ต่าง ๆ ให้อัตโนมัติ และยังสามารถสร้าง Users ของระบบ พร้อมทั้ง กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละคนได้อีกด้วย แล้วนำไปผูกกับส่วน Admin เพื่อให้ผู้ใช้ทำการ Authentication ก่อนเข้าจัดการกับข้อมูลต่างได้ และในบทความ django – Deploy to Production #02 ได้แนะนำวิธีการ Deploy ระบบที่สร้างขึ้นสู่ Production ตามลำดับ ในบทความนี้ จะใช้ “view” ซึ่งเป็นอีกส่วนของ django ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ใน myproject สร้าง App ใหม่ ชื่อ fulfillment เพิ่ม ‘fulfillment’ app ลงใน myproject/settings.py ที่ INSTALLED_APPS( ในตัวอย่างก่อนหน้า เราเพิ่ม worklog app ไว้แล้ว)  INSTALLED_APPS = [ ‘django.contrib.admin’, ‘django.contrib.auth’, ‘django.contrib.contenttypes’, ‘django.contrib.sessions’, ‘django.contrib.messages’, ‘django.contrib.staticfiles’, ‘worklog’, ‘fulfillment’ ] จากนั้น แก้ไขไฟล์ myproject/fulfillment/views.py ตามนี้ from django.http import HttpRequest, HttpResponse from django.views.decorators.csrf import csrf_exempt import json # Create your views here. @csrf_exempt def sayHi(request): j = json.loads(request.body) x = { “fulfillmentText”: “This is a text response” } return HttpResponse(json.dumps(x)) ในส่วนนี้ จะ import packages ต่อไปนี้ HttpRequest เพื่อรับ Input ผ่าน HTTP HttpResponse เพื่อตอบ Output ผ่าน HTTP csrf_exempt เพื่อบอกว่า ยอมให้ทำงานผ่าน HTTP POST โดยไม่ต้องมี CSRF Token (ถ้าไม่ใส่ อยู่ ๆ จะส่ง POST เข้ามาไม่ได้ ) json เพื่อจัดการ JSON object จากนั้น สร้าง Function ชื่อ “sayHi” มี function ที่เรียกใช้งานดังนี้ json.loads(request.body) ทำหน้าที่แปลง JSON Object จาก HTTP Request เข้ามาอยู่ในรูป Python Object ในที่นี้ จะนำข้อมูลจาก Dialogflow

Read More »

วิธีตั้งค่า HTTPS บน Apache2 รุ่นที่สูงกว่า 2.4.8

จากบทความ การแก้ไข Certificate สำหรับ Apache Web Server (Ubuntu 14.04 LTS) ตอนนี้ Apache2 รุ่นที่สูงกว่า 2.4.8 ประกาศให้ SSLCertificateChainFile นั้น obsolete หรือ จะไม่ใช้อีกต่อไป จากเดิม เราเคยใช้ SSLCertificateFile /etc/apache2/cer/[cer-file-name].crt SSLCertificateKeyFile /etc/apache2/cer/[cer-file-name].key SSLCertificateChainFile /etc/apache2/cer/[cer-file-name].ca-bundle ต่อไปนี้ แนะนำให้ใช้แค่ SSLCertificateFile /etc/apache2/cer/[cer-file-name]_combined.crt SSLCertificateKeyFile /etc/apache2/cer/[cer-file-name].key แล้ว  /etc/apache2/cer/[cer-file-name]_combined.crt มาจากไหน ??? มันมากจากการเอาไฟล์ [cer-file-name].crt แล้วต่อท้ายด้วยไฟล์ [cer-file-name].ca-bundle ด้วยคำสั่ง cat [cer-file-name].crt [cer-file-name].ca-bundle > [cer-file-name]_combined.crt เช่น cat in_psu.crt intermediate_ca.crt > in_psu_combined.crt เป็นต้น เสร็จแล้ว ก็ Restart Apache — จบแค่นี้ ใช้งานได้ TL;DR Q: มีไฟล์ .crt เต็มไปหมด จะรู้ได้ไงว่า อันไหนคือ Certificate ของอะไร อย่างไร A: สมมุติ Certificate ของ Server ที่ได้มา ชื่อ server.crt ต้องใช้คำสั่งนี้ ดูรายละเอียด openssl x509 -in server.crt -text ผลที่ได้ จะประมาณนี้ สิ่งสำคัญที่ควรดู ในที่นี้คือ Issuer จะเห็นว่า CN หรือ common name คือ AlphaSSL CA – SHA256 – G2  และบรรทัด Subject จะบอกว่า Domain (*.xxxxx.psu.ac.th) ที่ลงทะเบียนไว้ อยู่ภายใต้ “AlphaSSL CA” อีกที ซึ่ง ถ้าไปดูใน /etc/ssl/certs ก็จะเห็นว่า ไม่มี CA Certificate ของ “AlphaSSL CA” นี้อยู่ แต่จะมีของ “GlobalSign Root CA” อยู่ ทำไมเป็นอย่างนั้น ??? เพราะ CA เค้าต้องรักษา Root Certificate ของตนเองไว้ให้ดี จึงออกสิ่งที่เรียกว่า Intermediate CA ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง แล้วแจกจ่ายให้กับผู้ที่ซื้อ Certificate ของเค้าอีกชั้นหนึ่ง คราวนี้ มาลองดูข้อมูลใน intermediate_ca.crt ว่ามีข้อมูลเป็นอย่างไร ด้วยคำสั่ง openssl x509 -in intermediate_ca.crt -text จะเห็นได้ว่า Issuer เป็น “GlobalSign Root CA” และ Subject เป็น “AlphaSSL CA”  จากเดิม Apache2 รุ่น < 2.4.8 ให้ใช้ Directive  “SSLCertificateChainFile” ในการกำหนด Intermediate CA ได้ แต่หลังจากนั้น ก็ให้ Obsolete เพราะ สามารถเอา 2 ไฟล์มาต่อกันได้ตามที่เขียนไว้ข้างต้น ในทางปฏิบัติ จริง ๆ แล้ว ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่เป็น Obsolete ทางที่ดี ก็ควรจะปรับปรุงตามที่แนะนำไว้จะดีกว่า และ ถ้าใช้งานแค่ SSLCertificateFile (แบบที่มีแต่ Server Certificate) และ SSLCertificateKey (Server Private Key) นั้น เมื่อ

Read More »

django – Deploy to Production #02

ต่อจาก django #01 Development Environment เริ่มจาก ไปที่ command prompt แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อ เก็บรายละเอียดของ Package และ Version ที่ใช้ในการพัฒนา ไว้ในไฟล์ myenv.txt และ เก็บไฟล์ myproject ทั้งหมดไว้ในไฟล์ myproject.tar.gz (บน Windows อาจจะใช้ 7zip สร้าง) แล้ว Upload ไฟล์ myenv.txt และ myproject.tar.gz ขึ้นบน Projection Server Production Server ในที่นี้ ลองไปใช้ Google Compute Engine สร้าง Instance ขึ้นมา เป็น Ubuntu 18.04 และ ได้ Upload ไฟล์ myenv.txt และ myproject.tar.gz จาก Development ขึ้นไว้แล้ว (ใน /home/user01) ติดตั้ง Python3, PIP, Apache2, และ mod_wsgi sudo apt update sudo apt install python3 python3-pip apache2 libapache2-mod-wsgi-py3 ติดตั้ง virtualenv pip3 install virtualenv สร้าง Virtual Environment ชื่อ production virtualenv production source production/bin/activate ติดตั้ง Package ต่าง ๆ ตามที่สร้างไว้จาก Development Environment (จากไฟล์ myenv.txt) pip install -r myenv.txt แตกไฟล์ myproject.tar.gz ออกมา tar -zxvf myproject.tar.gz สร้าง Apache Site Configuration ที่ /etc/apache2/sites-available/001-myproject.conf เนื้อหาตามนี้ จากนั้น สร้าง Symbolic Link จาก /home/user01/production/lib/python3.6/site-packages/django/contrib/admin/static มาที่ /home/user01/myproject/static ปรับ Permission ให้ www-data สามารถแก้ไข Database ได้ (เพราะในที่นี้ใช้ SQLite) สั่ง Apache ให้เอา Default Site ออก และ นำ myproject ขึ้นแทน และ ทำการ Reload ก็จะใช้ได้แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »