Raspberry Pi 3 [Basic Configuration]
หลังจากเราได้ติดตั้ง OS แล้ว ต่อไปจะเป็นการเชื่อมต่อกับเครือข่าย LAN หรือ Wi-Fi ถ้าเป็นสายแลน ก็ไม่ยากครับ เสียบสายเข้าไปเลย โดย default config eth0 จะเป็น DHCP Client อยู่แล้ว ส่วน Wi-Fi นั้น จากการหาข้อมูลชิบBroadcom BCM43438 Wireless Controller นั้น เหมือนจะรองรับเฉพาะ 2.4GHz ครับ ผมจะเลือกทำการ connect Wi-Fi ก่อนนะครับ หลังจากนั้นค่อยเซ็ตอัพวัน/เวลา และโปรแกรม เรื่องของการ connect เข้า Wi-Fi ที่เป็น WPA2 Enterprise นั่นก็อาจจะเป็นปัญหาเบื้องต้นที่เจอครับ คือ โดย default แล้วนั้น จะไม่ support ดังรูปข้างล่างนี้ ทำให้ connect เข้าโดยตรงไม่ได้ ต้องทำการแก้ไขปัญหาดังนี้ครับ 1.เปิด terminal จากนั้นแก้ไฟล์ wpa_supplicant.conf โดยใช้คำสั่ง sudo nano /etc/wpa_supplicant/wpa_supplicant.conf 2.เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้เข้าไป network={ ssid=“PSU WiFi (802.1x)“ priority=1 proto=RSN key_mgmt=WPA-EAP pairwise=CCMP auth_alg=OPEN eap=PEAP identity=”YOUR_PSU_PASSPORT_USERNAME“ password=hash:xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx phase1=“peaplabel=0” phase2=“auth=MSCHAPV2” } เซฟไฟล์ด้วยการกด Ctrl + X ตอบ Y กด Enter กลับมาที่หน้าจอ Terminal ตามเดิม ข้อมูลที่ท่านสามารถปรับแก้ได้คือตัวอักษรสีแดงด้านบน ได้แก่ ssid <= ชื่อ ssid ซึ่งบางที่อาจจะไม่ใช่ดังในตัวอย่าง identity <= username ของ psu passport อยู่ภายใต้เครื่องหมาย ” ” password=hash: มาจากการคำนวณ hash ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ echo -n ‘YOUR_PASSWORD‘ | iconv -t utf16le | openssl md4 จากนั้นเอาค่ามาใส่แทนที่ xxxxxxxx ตามตัวอย่างข้างบน 3.เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ restart service networking ซักครั้งหนึ่งด้วยคำสั่ง sudo service networking restart 4.หากไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร ให้ reboot ซักครั้ง sudo reboot 5.เมื่อ reboot กลับมาแล้ว ท่านจะพบว่ามีการเชื่อมต่อ SSID ตามที่ท่านได้เซ็ตเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ดังรูปด้านล่างนี้ ** คำสั่งที่ท่านพิมพ์ผ่าน Terminal จะถูกเก็บ History เอาไว้ รวมทั้งรหัสผ่านที่ท่านได้สร้างเป็น hash เอาไว้ ท่านจะต้องทำการเคลียร์ออก ด้วยคำสั่ง history -c (เพื่อเคลียร์ทั้งหมด) หรือ history | tail เพื่อดูหมายเลขบรรทัด เช่น 300 จากนั้นใช้คำสั่ง history -d 300 เพื่อลบเฉพาะบรรทัดนั้น เมื่อเสร็จเรื่องการเชื่อมต่อแล้ว จากนั้นควรทำการเซ็ตอัพวันเวลา / timezone ให้เรียบร้อย เปิด Terminal จากนั้นพิมพ์คำสั่ง sudo dpkg-reconfigure tzdata เลือก Asia และเลือก Bangkok กด Enter เป็นอันเสร็จสิ้นครับ จากนั้นควรทำการ sync