การเข้ารหัส Password หรือข้อมูลส่วนบุคคลในฐานข้อมูล ด้วย Hash Function กับ Salt Value

การ Hashการ Hash หรือ Hashing ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Cryptographic Hash คือการสร้างข้อมูลที่เป็นตัวแทนของข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นรหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ และนำไปจัดเก็บในฐานข้อมูลหรือใน Text file หรือในที่อื่นๆ ซึ่งข้อดีของการทำ Hash คือจะไม่สามารถถอดรหัส หรือกระทำการใดๆ เพื่อที่จะ Reverse ให้ออกมาเป็นข้อความต้นฉบับ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการ Hash มากมาย เช่น MD5, SHA1, SHA256, SHA512, RipeMD, WHIRLPOOL, SHA3 เป็นต้น การเขียนโปรแกรมในแง่การเขียนโปรแกรมของแต่ละภาษา จะมี Library หรือเครื่องมือที่เอาไว้ใช้ทำ Hash อยู่แล้ว สามารถเปิดจากคู่มือ ได้เลยครับ MD5 Hashing & Crackingเป็นการทำ Hash ที่พื้นฐานที่สุด และเมื่อหลายปีที่ผ่านมามีข่าวออกมาว่ามีผู้ Crack ได้สำเร็จ ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆ ของเรื่องนี้คือ การทำ Hash ทุกชนิดจะมีการเกิดการซ้ำกันของค่า Hash เนื่องจากการมีคุณสมบัติแทนข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งค่า Hash ที่สร้างขึ้นจะมีความยาวที่เท่ากันเสมอ ซึ่งสำหรับ MD5 ก็จะมีความยาว 16 bytes (128 bits) ซึ่งค่า hash ที่เป็นไปได้ทั้งหมดก็จะมีค่า 256^16 (หรือ 2^128) ค่าเท่านั้น ในขณะนี้ที่ข้อมูลที่เราต้องการแทนตัวนั้นอาจเป็นข้อมูลอะไรก็ได้ที่มากกว่าค่า 256^16 (หรือ 2^128) แน่นอน จึงเป็นไปได้ที่จะพบข้อมูลมากกว่า 1 ชุดจะมีค่า Hash ที่ตรงกันความจริงแล้ว MD5 จะไม่สามารถถอดรหัสได้ เนื่องจาก Hash ทุกชนิดจะผ่านกระบวนการเข้ารหัสแบบทางเดียว ดังนั้นทางที่จะสามารถจะรู้ได้ว่าค่าตั้งต้นของ Hash นี้คืออะไร คือการพยายามสุ่มรหัสที่เป็นไปได้ จากนั้นเอาไปแปลงค่าเป็น MD5 และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบ (เรียกว่าเป็นการ Brute force นั่นเอง) ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลที่มีความยาวหรือมีความซับซ้อนมาก ก็จะต้องใช้เวลาที่นานขึ้น Rainbow Tableเป็นการเก็บข้อมูล Hash โดยมีข้อมูลต้นฉบับจากการ Brute Force เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ ซึ่งในปัจจุบัน GPU ระดับปานกลางหลายๆ รุ่นจะสามารถคำนวน Hash ได้ในระดับ 10 ล้าน Hash ต่อวินาที ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ยอมเสียเวลาเพียงครั้งเดียวเพื่อสร้าง Hash ที่มีควายาวมากๆ และมีความซับซ้อน เพื่อในครั้งต่อๆ ไปจะสามารถนำมาาใช้งานได้ทันที และมีให้ดาวน์โหลดได้ฟรีอีกด้วย ปัญหาของ Rainbow Table ในปัจจุบันคือ ยังไม่มีการสร้าง rainbow table ขึ้นมาสำหรับ hash ทุกชนิดหรือทุกความยาวของข้อมูลที่ต้องการ ถึงแม้จะมี CPU หรือ GPU ความสามารถสูงๆ แต่การทำ Hash ก็ยังคงใช้พลังในการประมวลผลมากเช่น SHA-2 ขนาด 256 bits ขึ้นไป เป็นต้น Saltingเป็นเทคนิคนึงสำหรับเพิ่มความปลอดภัยสำหรับข้อมูลตั้งต้นของเรา ซึ่งทำให้ใช้เวลาในการถอดรหัสมากขึ้น ดังตัวอย่างเช่น ข้อความที่ต้องการเข้ารหัสตั้งต้นคือ “ThisIsMyPassword” และเมื่อรวมเข้ากับ Salt (ซึ่งอาจมาจากข้อความที่สุ่มขึ้นมา) คือ “3gswgW09seh” จะได้เป็น “ThisIsMyPassword3gswgW09seh” จากนั้นนำข้อความนี้ไป Hasing ซึ่งถ้าคำนวนความน่าจะเป็นของข้อความ กรณีที่เป็นตัวอักษรตัวเล็ก ตัวใหญ่ และตัวเลข มีความเป็นไปได้ 62 แบบ จะเท่ากับว่าถ้ารหัสผ่านที่เราเก็บมีความยาว 16 ตัวอักษร ก็ต้อง Hash ถึง 16^62 แบบ แต่ถ้าเป็นข้อความที่รวมกับSalt แล้วข้างต้น เป็นความยาว 27 ตัวอักษร ผู้ไม่ประสงค์ดีต้อง Hash ถึง 27^62 ถึงจะได้ข้อความที่ถูกต้อง ซึ่งต้องใช้เวลามหาศาลมากกว่าเดิม แต่ข้อเสียของวิธี Salting จะต้องมีการเก็บ Salt Value ในลักษณะของ Plain Text หรือเก็บไว้ในโปรแกรมที่พัฒนา

Read More »

ติดตั้ง Let’s Encrypt Certificate สำหรับ SSL Sites บน IIS

หลังจากที่พี่หนุ่ม คณกรณ์ หอศิริธรรม  ได้เขียนเรื่อง วิธีติดตั้ง HTTPS ด้วย Certificate ของ Let’s Encrypt ไปแล้วนั้น ก็จะมาถึงทางฝั่ง Windows กันบ้าง ซึ่งจะติดตั้งผ่านเครื่องมือ บน Command Line ครับ ตัวอย่างนี้จะเป็นวิธีการติดตั้งโดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า WinACME ซึ่ง ดาวน์โหลดได้ที่นี่ (จริงๆ มีหลายตัวให้เลือกใช้ครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาผ่าน ACME API มีทั้งแบบเป็น Command Line, Power shell และเป็น GUI ครับ) หลังจากดาวน์โหลดไฟล์มาแล้ว ผม Extract ไปไว้ที่ C:\LetsEncryptSSL จากนั้นก็เปิด Command Prompt ด้วยสิทธิ Administrator(เปิดด้วยสิทธิ Administrator เพื่อให้มีการสร้าง Schedule Task ในการ Renew Cert. โดยอัตโนมัติครับ) จากนั้นทำการเรียกด้วยคำสั่ง letsencrypt จะพบกับเมนูดังภาพนี้ครับ ผมเลือกตอบตัว “n” จะพบกับเมนูให้เลือกด้านล่างนี้ (สำหรับผู้ที่มีความชำนาญ สามารถเลือก M เพื่อเปิด advanced option ได้ครับ) และเนื่องจากเครื่องที่แสดงอยู่นี้ เป็น multiple site และผมจะทำการติดตั้งลงไปเพียง 1 site ตามนี้ครับ เลือก site จากนั้นกด Enter จะพบว่าโปรแกรมเริ่มทำการ Generate SSL Cert. และ Assign ไปยัง Site ของเรา พร้อมทั้งกำหนด Schedule Task เรียบร้อยแล้ว ลองดูผลลัพธ์ใน II ลองเปิดเว็บดู ผ่าน Google Chrome ปรากฎว่ามีรูปกุญแจขึ้นแล้วและเป็น Cert. ของ Let’s Encrypt ตามที่ต้องการ กลับไปตรวจสอบ Schedule Task พบว่ามีการสร้าง Task เพื่อ Renew Cert. เอาไว้แล้ว จบปิ๊ง…

Read More »

Raspberry Pi 3 [Automated Relay Controller]

ตอนที่แล้วเราได้ทดลองทำการสั่งงานรีเลย์แบบ Manual ผ่านหน้าเว็บไปแล้ว ครั้งนี้เราลองสั่งให้รีเลย์ทำงานโดยผ่านการประมวลผลค่าที่ได้จากเซนเซอร์ เพื่อให้ก้าวไปอีกขั้นของ IoT   โดยเราจะใช้เซนเซอร์ที่เคยได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว นั่นคือ DHT22 Temperature & Humidity Sensor (ต่อที่ PIN: 32 [GPIO 12]) และรีเลย์ 4 Channel ซึ่งสามารถนำไปต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ต่อ PIN เดิมจากตอนที่แล้ว   ความต้องการเบื้องต้นคือ 1. เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าหรือเท่ากับ 28 องศา ให้เปิดพัดลมระบายอากาศ 1 (ที่ต่ออยู่กับ Relay 1) 2. เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 28 องศา ให้ปิดพัดลมระบายอากาศ 1 และเปิดพัดลมระบายอากาศ 2 (ต่ออยู่กับ Relay 2) 3. เมื่อความชื้นต่ำกว่า 50% ให้เปิดเครื่องสร้างความชื้น (Humidifier) (ต่ออยู่กับ Relay 3)  โดยไม่ต้องสนใจอุณหภูมิ เริ่มเขียนโค้ดเพื่อทำการประมวลผลกันเลย (โค้ดบางส่วน ได้อธิบายไว้ในตัวอย่างบทความก่อนหน้านี้แล้ว)   ทำการติดตั้ง Library Adafruit จากบทความก่อนหน้านี้ Raspberry Pi 3 [Temperature & Humidity Sensor] จากนั้นทำการเขียน python ด้วยคำสั่ง sudo nano automated_relay.py ด้วยโค้ดต่อไปนี้   import os import time import datetime while True :  temperature = os.popen(‘sudo /home/pi/sources/Adafruit_Python_DHT/examples/AdafruitDHT.py 2302 12 | cut -c 6-7’).read()  humidity = os.popen(‘sudo /home/pi/sources/Adafruit_Python_DHT/examples/AdafruitDHT.py 2302 12 | cut -c 22-23’).read()  now = datetime.datetime.now()  print ”  print ”  print now.strftime(“%d-%m-%Y %H:%M:%S”)  print ‘Temperature: ‘ + temperature + ‘Humidity: ‘ + humidity  if int(temperature) <= 28:   os.popen(‘sudo python /var/www/html/relay_off.py 2’).read()   os.popen(‘sudo python /var/www/html/relay_on.py 1’).read()   print ‘Temperature below 28C ==> Relay 1: ON. Relay 2: OFF’  else:   os.popen(‘sudo python /var/www/html/relay_off.py 1’).read()   os.popen(‘sudo python /var/www/html/relay_on.py 2’).read()   print ‘Temperature above 28C ==> Relay 1: OFF. Relay 2: ON’  if int(humidity) < 50:   os.popen(‘sudo python /var/www/html/relay_on.py 3’).read()   print ‘Humidity below 50% ==> Relay 3: ON’  else:   os.popen(‘sudo python /var/www/html/relay_off.py 3’).read()   print ‘Humidity above 50% ==> Relay 3: OFF’  time.sleep(5)     จากนั้นเซฟและทดลองรันด้วยคำสั่ง

Read More »

Raspberry Pi 3 [Relay Control via Web Interface]

ตอนนี้เราจะมาสร้างหน้าเว็บสำหรับดูสถานะและควบคุมรีเลย์อย่างง่ายๆ   ก่อนอื่น ผมได้ทำการเปลี่ยน PIN ของ GPIO บน Raspberry Pi 3 เพื่อให้เป็นระเบียบมากขึ้นจากครั้งที่แล้ว โดยผมได้เลือกใช้ PIN: 12 (GPIO 18), PIN: 16 (GPIO 23), PIN: 18 (GPIO 24) และ PIN: 22 (GPIO 25) สำหรับสั่งงานรีเลย์ตัวที่ 1-4 ตามลำดับ ดังรูปด้านล่างนี้   หลังจากการทดสอบการทำงานของรีเลย์ทุกตัว (ในบทความที่แล้ว) จากนั้นเราจึงเริ่มขึ้นตอนการติดตั้ง Apache Web Server, PHP และเขียนหน้าเว็บ ดังขั้นตอนต่อไปนี้ครับ   ติดตั้ง Apache Web Server และ PHP ดังนี้ ใช้คำสั่ง sudo apt-get install apache2 เพื่อติดต้ัง apache web server (หากขึ้นว่า Package apache2 is not available ให้ใช้คำสั่ง sudo nano /etc/apt/sources.list  จากนั้น uncomment บันทัดสุดท้าย เซฟไฟล์และใช้คำสั่ง sudo apt-get update เมื่อเรียบร้อยแล้วให้ลองใช้คำสั่งด้านบนอีกครั้ง) จากนั้นทดสอบเปิดเว็บด้วย http://localhost/ หรือ http://{RASPBERRY_IP}/   จากนั้นติดตั้ง PHP5 Module สำหรับ Apache sudo apt-get install php libapache2-mod-php   เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้ cd /var/www/html เนื่องจากไฟล์ index.html จะมีเจ้าของเป็น root ทำให้ไม่สามารถแก้ไขหรือลบได้ ให้ใช้คำสั่งเปลี่ยน owner ดังนี้ sudo chown pi: index.html จากนั้นทำการลบไฟล์ index.html เพราะเราไม่ใช้ ใช้คำสั่ง sudo nano index.php เพื่อสร้างไฟล์และเขียนโค้ดต่อไปนี้ เพื่อทดสอบการทำงานของ php <?php phpinfo(); ?> และลองเปิดหน้าเว็บดู จะพบกับหน้านี้ ถือว่าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว   จากนั้นเพิ่ม user ของ apache นั่นคือ www-data ให้สามารถใช้คำสั่ง sudo ได้ ด้วยวิธีการต่อไปนี้ sudo nano /etc/sudoers จากนั้นเพิ่มบันทัดต่อไปนี้ลงไปท้ายสุด www-data ALL=(ALL) NOPASSWD: ALL และเพื่อความสะดวก ทุกท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่ผมได้ทำเอาไว้แล้ว ==> relay_control_via_web.zip (สามารถแก้ไขรูปแบบการแสดงผลให้สวยงามขึ้นได้ในภายหลังได้ด้วยตัวท่านเอง) และทำการ copy file ไปไว้ที่ /var/www/html   โดยหลักการทำงานคือ เมื่อมีการเปิดหน้าเว็บขึ้นมา จะเรียกไฟล์ index.html และจะทำการ post ajax firstcheck.php เพื่อทำการตรวจสอบสถานะของรีเลย์ (ซึ่งภายใน firstcheck.php จะเป็นการเรียกคำสั่ง python firstcheck.py และส่งค่ากลับเป็น json) เมื่อมีการสั่งงานรีเลย์ จะทำการ post ajax changestate.php โดยที่ไปเรียกคำสั่ง relay_off หรือ relay_on (มี parameter คือชุดของรีเลย์ ที่ได้ทำการเซฟค่า BCM GPIO ID เอาไว้ในไฟล์ .py ดังกล่าวแล้ว) เพื่อเป็นการสั่งให้รีเลย์ดังกล่าว ทำงาน (เพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่ท่านต้องการแยกไฟล์ .py ออกจาก web root directory

Read More »

Raspberry Pi 3 [Relay Control]

จากตอนที่แล้ว เราได้ลองต่อเซนเซอร์ภายนอก ซึ่งเซนเซอร์จะเป็นประเภท Input เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลต่อตามที่เราต้องการ ยังมีอุปกรณ์บางตัวที่เราสามารถต่อเป็น Output จาก Raspberry Pi ได้ด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นอุปกรณ์หลักที่นำมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย นั่นคือ รีเลย์ (Relay) – (ไม่ใช่ Delay นะครับ กรุณาอย่าสับสน)   Relay คืออะไร Relay ถ้าให้พูดจากความเข้าใจคือ สวิตซ์ ประเภทหนึ่งครับ ที่จะทำงานตามกระแสไฟ นั่นคือ เมื่อมีกระแสไฟไปเหนี่ยวนำภายใน สวิตซ์ก็จะทำงาน (Energize) (พูดให้เข้าใจอีกครั้งหนึ่งคือ เหมือนสวิตซ์ตามผนังนี่แหละครับ แต่แทนที่จะเอามือไปกด เราก็ใช้กระแสไฟเข้าไปให้มันทำงานแทนนั่นเอง) และในบางครั้ง ในระบบไฟฟ้ากำลัง อาจจะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า Magnetic Contactor ซึ่งเป็นหลักการทำงานแบบเดียวกันครับ (ขออภัย หากรูปจะไม่ถูกต้องตามหลักการเป๊ะๆ เพราะวาดจากความเข้าใจ) จากในรูปด้านบนนี้ DC+, DC- คือ ไฟที่เราจะจ่ายให้ขดลวดแม่เหล็ก (ตาม spec ของ relay) เพื่อจะไปทำให้สวิตซ์ Relay ทำงาน โดยที่ขา C = Common ขาที่ต้องการให้กระแสไฟมารออยู่ หรือ กระแสไหลกลับ NC = Normal Close เมื่อไม่มีไฟจ่ายที่ขดลวดแม่เหล็ก ขา C และ NC จะเชื่อมต่อถึงกันอยู่ NO = Normal Open จะทำงานเมื่อมีไฟจ่ายมาที่ขดลวดแม่เหล็ก จะทำให้ขา C และ NO นั้น เชื่อมถึงกัน และทำให้ขา C ขาดการเชื่อมกับ NC วิธีการอ่านสเปครีเลย์ (ตัวสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินในรูปด้านบน) – 5VDC คือไฟที่เราจ่ายเพื่อให้รีเลย์ทำงาน (Energize) – 10A 250VAC คือ หน้าคอนแทคทนกระแสได้ 10A ที่ 250V AC – 15A 125VAC คือ หน้าคอนแทคทนกระแสได้ 15A ที่ 125V AC   รีเลย์ที่จะเอามาใช้กับ Raspberry Pi ควรจะเป็นรีเลย์ที่ทำงานด้วยไฟ 5V เพราะจะได้ต่อ +5V และ GND ออกจากบอร์ดของ Raspberry Pi ได้เลย ซึ่งรีเลย์ก็จะมีด้วยกันสองแบบคือ Active Low และ Active High นั่นคือ… – Active Low รีเลย์จะทำงานเมื่อมีการจ่าย Logic Low เข้ามา (จ่าย GND เข้ามา) – Active High รีเลย์จะทำงานเมื่อมีการจ่าย Logic High เข้ามา (จ่าย +5V เข้ามา) รีเลย์บางรุ่นรองรับทั้งสองแบบ แต่จะมี Jumper ให้เซ็ตว่าต้องการทำงานในแบบไหน   ** ถ้าหากไม่รู้จริงๆ ก็ลองเขียนโปรแกรมตามด้านล่าง เพื่อทดสอบได้ครับ ไม่พัง จ่ายผิด รีเลย์ก็แค่ไม่ทำงานครับ ** ** รุ่นที่ผมนำเอามาใช้งาน จะเป็น Active Low นั่นคือจ่าย GND หรือ Logic 0 (เลขศูนย์) เพื่อให้รีเลย์ทำงาน **   การเชื่อมต่อนั้นไม่ยากครับ GND ต่อกับ GND ของ Raspberry Pi VCC ต่อกับ +5V ของ Raspberry Pi IN1…4 ต่อกับ GPIO ขาที่ว่างอยู่ โดยดูจาก Pinout ของ Raspberry Pi ครับ

Read More »