Cloud Computing การบริการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย Internet

“อะไรคือ Cloud Computing และมันน่าใช้ยังไง แล้วต้องเลือกแบบไหนถึงจะเหมาะกับองค์กร” ขอขอบคุณข้อมูล Sipa จากการอบรม Cloud Computing รุ่นที่ 1 และขอขอบคุณข้อมูลจากท่านวิทยากร ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาส ม.เกษตรศาสตร์   แนวคิดและความหมายของ Cloud Computing Cloud Computing เป็นบริการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงการ ใช้งานทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัด โดยสามารถเลือกปรับแต่งการใช้งานได้ตามต้องการ และสามารถเข้าถึงได้จากที่ใดก็ได้ ซึ่งสามารถสรุปคุณสมบัติเป็นข้อ ๆ ตามคำนิยามของ NIST (National Institute of Standards and Technology) * ได้ดังนี้ On-demand self-service – สามารถใช้งานทรัพยากรได้ตามที่ต้องการ Broad network access – สามารถเข้าถึงจากที่ใดก็ได้ Resource pooling – สามารถนำทรัพยากรหลาย ๆ อย่างมารวมกันเพื่อใช้งานร่วมกัน Rapid elasticity – สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ Measured Service – สามารถวัดปริมาณการใช้งานได้ทุกบริการ (เพื่อสามารถนำไปคิดค่าใช้จ่ายได้ด้วย) Reference : * The NIST Definition of Cloud Computing, http://nvlpubs.nist.gov/nistpubs/Legacy/SP/nistspecialpublication800-145.pdf สถาปัตยกรรม Cloud Ecosystem ตามคำนิยามของ NIST ได้มีการกำหนด Cloud Ecosystem หรือเรียกว่า Cloud Service Model ได้ 3 รูปแบบดังนี้ Software As A Service (SAAS) เป็นบริการใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application) ที่ผู้ให้บริการจัดหาให้ โดยสามารถเข้าถึงได้จาก Web Browser รวมถึง Application ทั้งที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มือถือ การบริการรูปแบบนี้ผู้ใช้จะไม่สามารถจัดการเครื่องหรือระบบปฏิบัติการได้ ทุกอย่างผู้ให้บริการจัดการให้ทั้งหมด Platform As A Service (PAAS) เป็นบริการเครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบ โดยผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ ได้ เช่นระบบเครือข่าย เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ระบบปฏิบัติการ โดยผู้ให้บริการจะจัดการให้ทั้งหมด Infrastructure As A Service (IAAS) เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถจัดการระบบปฏิบัติการ ระบบเครือข่าย รวมถึงจัดหาโปรแกรมประยุกต์ เพื่อสามารถดูแลควบคุมการปรับแต่งระบบให้สามารถรองรับความต้องการที่หลากหลาย แต่การจัดหาทรัพยากร รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานยังเป็น หน้าที่ของผู้ให้บริการจัดหาให้ตามความต้องการของผู้ใช้ รูปแบบของการให้บริการ สามารถแบ่งรูปแบบการให้บริการ (Deployment Models) ออกแบบ 4 รูปแบบได้ดังนี้ Private cloud เป็นการใช้งานระบบภายใต้โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ผู้ใช้อาจเป็นผู้ดูแลด้วยตนเอง หรือจ้างบุคคลที่สามดูแลก็ได้ อุปกรณ์อาจจะติดตั้งภายในสำนักงานหรืออยู่ภายนอกทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ Community cloud เป็นการใช้งานระบบภายใต้การร่วมการของกลุ่มสมาชิก โดยมีข้อปฏิบัติร่วมกัน ตามเงื่อนไขของรัฐ หรือขององค์กร โดยสมาชิกดูแลบริหารจัดการโครงสร้างด้วยสมาชิกเอง หรือทำผ่านบุคคลที่สาม โดยอุปกรณ์อาจจะติดตั้งภายในสถานที่ของชุมชน หรือนอกสถานที่ก็ได้ Public cloud เป็นการใช้งานระบบร่วมกันกับสาธารณะชน องค์กรทั่วไปและกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไอทีและระบบซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด Hybrid cloud เป็นการใช้งานผสมผสานระหว่าง Private cloud, Public cloud หรือ Hybrid cloud โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการต้องการด้านใด โดยอาจจะทำงานเป็นอิสระ หรือมีการเชื่อมโยงเข้าหากัน แต่จะต้องสามารถทำงานร่วมกันในระดับข้อมูลและระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ โดยการใช้งานทั่วไปมักจะใช้ Private cloud ก่อน จนเมื่อต้องการเพิ่ม Capacity ชั่วคราวจึงใช้ Public cloud เพิ่มเติม โครงสร้างของระบบ Cloud โดยมีการแบ่งออกเป็น Front End และ Back End เชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต โดยแบ่งอุปกรณ์พื้นฐาน ได้ดังนี้ 1) Server 2) Storage 3) Network 4) Cloud runtime ซึ่งจะเป็น

Read More »

การตั้งค่า IPV6 ให้กับ Apache Web Server สำหรับ Ubuntu Linux

“อยากตั้งค่า Apache Web Server ให้เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน Apache จะขอยกตัวอย่างบน Ubuntu ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถตั้งเป็น IPv6 only ก็ได้ แต่ในที่นี่จะตั้งให้สามารถใช้ได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เปิดไฟล์ /etc/apache2/ports.conf sudo vim /etc/apache2/ports.conf ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (xxx yyy ไปหามาใส่เอาเองนะครับ เป็นแค่ค่าสมมุติ) Listen 192.168.xxx.yyy:80 Listen [2001:xxxxxx:101]:80 สั่ง Restart Web Service เป็นอันเรียบร้อยครับ sudo /etc/init.d/apache2 restart สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง netstat ได้ดังนี้ครับ netstat -na | grep “:80” การทดสอบในกรณียังไม่ได้จด DNS6 เราไม่สามารถพิมพ์ URL เป็น IPv6 ตรง ๆ บน Browser ได้ ถ้าจดแล้วสามารถทดสอบผ่าน http://ipv6-test.com/validate.php ดูได้ครับ สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »

การตั้งค่า IPV6 ให้กับ Nginx Web Server สำหรับ Ubuntu Linux

“อยากตั้งค่า Nginx Web Server ให้เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน Nginx จะขอยกตัวอย่างบน Ubuntu ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถตั้งเป็น IPv6 only ก็ได้ แต่ในที่นี่จะตั้งให้สามารถใช้ได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เปิดไฟล์ /etc/nginx/site-available/[site-file] sudo vim /etc/nginx/site-available/psu-v6 ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (เพิ่มเฉพาะตัวสีแดงนะครับ) server { listen [::]:80; … } สั่ง Restart Web Service เป็นอันเรียบร้อยครับ sudo /etc/init.d/nginx restart สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง netstat ได้ดังนี้ครับ netstat -na | grep “:80” การทดสอบในกรณียังไม่ได้จด DNS6 เราไม่สามารถพิมพ์ URL เป็น IPv6 ตรง ๆ บน Browser ได้ ถ้าจดแล้วสามารถทดสอบผ่าน http://ipv6-test.com/validate.php ดูได้ครับ สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »

การตั้งค่า IPV6 ให้กับ Lighttpd Web Server สำหรับ CentOS Linux

“อยากตั้งค่า Lighttpd Web Server ให้เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน Lighttpd จะขอยกตัวอย่างบน CentOS 6.7 ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถตั้งเป็น IPv6 only ก็ได้ แต่ในที่นี่จะตั้งให้สามารถใช้ได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เปิดไฟล์ /etc/lighttpd/lighttpd.conf sudo vim /etc/lighttpd/lighttpd.conf ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (แทนที่ [web-path] ด้วย location จริง ๆ เช่น “/var/www”) $SERVER[“socket”] == “[::]:80” { accesslog.filename = “/var/log/lighttpd/ipv6.access.log” server.document-root = [web-path] } *หมายเหตุ : server.use-ipv6 = “disable” ไม่ต้องแก้ไขนะครับ เพราะ ด้วยชื่อ domain เดียวกันจะไม่สามารถเปิด port 80 สอง port ได้พร้อมกัน ทำได้แค่เพิ่ม SERVER Socket config เข้าไปอย่างที่เห็นข้างบนครับ (จะใช้ก็ตอนที่จะเปิดเฉพาะ IPv6 only ครับ) สั่ง Restart Web Service เป็นอันเรียบร้อยครับ sudo service lighttpd restart สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง netstat ได้ดังนี้ครับ netstat -na | grep “:80” การทดสอบในกรณียังไม่ได้จด DNS6 เราไม่สามารถพิมพ์ URL เป็น IPv6 ตรง ๆ บน Browser ได้ ถ้าจดแล้วสามารถทดสอบผ่าน http://ipv6-test.com/validate.php ดูได้ครับ สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »

การตั้งค่า Interface IPv6 สำหรับเครื่อง CentOS/Redhat Server

“อยากให้ CentOS/Redhat Server เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน CentOS/Redhat จะขอยกตัวอย่าง CentOS 6.7 โดยทำการตั้งค่า Interface ในส่วนของ IPv6 ดังนี้ เปิดไฟล์ /etc/sysconfig/network-scripts/[interface-setting-file] sudo vim /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth0 ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (xxx คือ censor นะครับ) IPV6INIT=”yes” IPV6ADDR=2001:xxxxxxx:34 IPV6_DEFAULTGW=2001:xxxxxxx::1 สั่ง Restart เครื่องเป็นอันเรียบร้อยครับ (ในกรณีที่เป็น CentOS 6 สั่ง sudo service network restart ก็ได้ครับ) sudo reboot สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง ifconfig ได้ดังนี้ครับ ifconfig อย่าลืมตรวจสอบ Firewall ด้วยนะครับ แต่โดยปกติ CentOS จะมี Firewall ตั้งแต่เริ่มติดตั้ง ในกรณีที่ไม่ได้ Disable Firewall ให้เข้าไปแก้ได้ที่ sudo /etc/sysconfig/ip6tables ในกรณีที่ใช้ Shorewall ลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับว่าต้องแก้ไขอย่างไร สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »