การเชื่อมต่อกับ WSUS (Windows Server Update Services) บน Windows 11/10

“ทำยังไงให้โหลด Windows Update ได้เร็วขึ้นบ้าง แถมยังไม่เปลืองแบนวิชมหาลัยอีกต่างหาก”          กลับมาอีกครั้งในปี 2022 จากการเปิดบริการ WSUS ก่อนหน้าพบปัญหาเรื่อง Database Corrupt และ เนื้อที่เต็ม มารอบนี้จึงปรับไปใช้เครื่อง Physical (ของเดิม VM) ถึงแม้เครื่องจะเก่าหน่อยแต่แรมเยอะและ Disk ก็เยอะเช่นเดียวกัน จึงมีความคิดว่าจะรวม Windows Server มาให้บริการด้วย เพราะหลัง ๆ Update ใหญ่จริง ๆ  โดยใช้ Server เป็น Windows 2022 พร้อมการ Tunning รับโหลดที่ได้มากขึ้น โดยบริการคร่าว ๆ มีเบื้องต้นดังนี้ Windows 10/11 ทุก Version 32,64 bit (ไม่มี Windows XP/7/8/8.1) Windows Server 2016/2019 Windows Subsystem for Linux (Kernel Update) Microsoft Office 2013,2016,Microsoft 365 Apps/Office 2019 Microsoft Visual Studio 2015/2017/2019/202 Microsoft Edge Microsoft Defender Antivirus วิธีการติดตั้งบน Windows 11 (Version 22H2) กดปุ่ม Windows+R สั่งคำสั่ง gpedit.msc ใน Run หรือ Cmd ก็ได้ครับ เลือก Local Computer Policy -> Administrative Templates -> Windows Components จากนั้นเลือก Windows Update -> เลือกหัวข้อ Specify intranet Microsoft update service location เลือก Edit policy setting -> ติก Enabled ตั้งค่าดังนี้Set the intranet update service for detecting updates: EnabledSet the intranet statistics server : https://wsus.psu.ac.thSet the alternate download server : https://wsus.psu.ac.th จากนั้นทำการ Windows Update ตามปกติ Note :* สามารถเลือก Update จากข้างนอกได้ (ในกรณีอยู่นอกมหาวิทยาลัย หรือเชื่อมต่อเครื่อง WSUS ไม่ได้) แค่คลิก Check online for updates from Microsoft Update **  ถ้าต้องการ Update Product อื่น ๆ ของ Microsoft เช่น Microsoft Office ให้เลือก Give me updates for other Microsoft products when I update Windows. ในหน้า Advanced Option *** และถ้าต้อง Update Driver ด้วยก็สามารถเลือกได้ Receive updates for other Microsoft product และ

Read More »

วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server บน Windows

อยาก ssh เข้า Windows Server เพื่อเข้าไปรัน PowerShell หรือรัน script cmd ต้องทำอย่างไร(โดยปกติ Windows ปัจจุบันมี OpenSSH Client ติดตั้งมาโดย Default ถ้าใครต้องการแค่จะใช้ ssh/scp command ข้ามบนความนี้ได้เลยครับ) Reference : – https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/administration/openssh/openssh_install_firstuse Installation of OpenSSH For Windows Server 2019 and Windows 10 Environment : – Windows Server 2019 หรือ Windows 10 1809 ขึ้นไป วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server ผ่าน GUIเปิด Settings > Apps > Apps and Features > Manage Optional Features (Windows 10 ใช้คำว่า Optional Features) วิธีการติดตั้ง OpenSSH Server ผ่าน PowerShell (Run as Administrator) – ตรวจสอบ Version ของ OpenSSH ที่จะลงก่อน – ทำการติดตั้งตาม Version ล่าสุด วิธีการสร้าง Service ให้ Start OpenSSH Server โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่องผ่าน PowerShell Run as Administrator และทำการเปิด Firewall ให้เข้าถึงได้ ทดสอบเข้าใช้งาน (สำหรับเครื่องที่ join office365 แนะนำให้เข้าผ่าน local account ครับ) การใช้งานต้องใช้คำสั่งของ powershell นะครับ ไม่ใช่ shell script ของ linux ดังนั้นการกดออกต้องใช้คำสั่ง exit ในแง่เดียวกันสามารถทำ ssh tunnel ไปมาระหว่าง Windows และ Linux ได้นะครับ แต่คงจะไม่ได้เขียน Blog ในส่วนนี้ครับ แต่จะไม่มี command ssh-copy-id ใน windows ให้ใช้คงต้อง ssh-keygen แล้ว copy key ไปสร้างในเครื่อง linux เองครับ

Read More »

การเชื่อมต่อ Dell EMC SC Series (SAN Storage) กับ Windows 2019 ด้วย iSCSI Microsoft MPIO

ทำไมต้องเชื่อมต่อ SAN Storage ด้วย MPIO มีข้อดีอย่างไร ต้องตั้งค่าอย่างไรให้ถูกต้อง Reference : – https://www.youtube.com/watch?v=hsXtfab-xNM Dell EMC SC Series Storage : Microsoft Multipath I/0 (MPIO) Best Practice– https://downloads.dell.com/manuals/all-products/esuprt_software/esuprt_it_ops_datcentr_mgmt/general-solution-resources_white-papers3_en-us.pdf Dell EMC SC Series Storage and Microsoft Multipath I/O– https://www.youtube.com/watch?v=Z2ICF8yzFkU How-to: Configure iSCSI MPIO on Windows Server 2012 R2– https://www.starwindsoftware.com/blog/lacp-vs-mpio-on-windows-platform-which-one-is-better-in-terms-of-redundancy-and-speed-in-this-case-2 ISCSI: LACP vs. MPIO Environment : – Dell EMC SC5020 – Windows Server 2019 Standard Edition MPIO ย่อมาจาก Multipath Input/Output เป็น Feature ของการเชื่อมต่อไม่ว่าจะเป็น iSCSI หรือ Fiber Channel ที่ต้องการให้ Server ไม่สับสนเมื่อมีการคุยกับ Storage หลายเส้นทาง (Storage ต่อเน็ตหลายเส้น และ Server ก็ต่อเน็ตหลายเส้น รวมถึงมีหลาย IP ไม่ได้ทำแบบหลายเส้นรวมเป็น Link เดียว) ซึ่งถ้าไม่ใช้ความสามารถนี้ จะทำให้ Server เห็น Volume หรือ LUN บน Storage เป็นหลาย ๆ อันทั้งที่เป็นอันเดียวกัน นอกจากนี้ MPIO ยังสามารถทำ Load Balance โดยการกระจายการเชื่อมต่อโดยมีหลายวิธีให้เลือกใช้งานเช่น Round Robin (ไล่ลำดับไปเรื่อย ๆ แล้วกลับมาเริ่มที่ connection ที่ 1 เช่น 12341234) ยกตัวอย่างในกรณีไม่ได้ทำ MPIO ได้ดังรูป หลังจากทำ MPIO จะได้ดังรูป MPIO ไม่ได้ติดตั้งโดย Default บน Windows Server โดยสามารถติดตั้งได้จาก Server Manager GUI โดยการ Add Feature ดังรูป หรือติดตั้งผ่าน PowerShell ดังนี้ หลังจากติดตั้งเสร็จให้ Restart Server สำหรับ Dell EMC SC Series ต้องทำการแก้ไข Registry ของ Windows ด้วย PowerShell Script ดังนี้ หลังจากรัน Script PowerShell ให้ Restart Server อีกรอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นสามารถยกตัวอย่างการใช้งาน Multipath ได้ดัง Diagramในรูป ตัวอย่างการตั้งค่าใน SAN Storage (Dell SC5020) โดยจะมีทั้งหมด 2 Controller ซึ่งแต่ละ Controller จะมี 4 Port ซึ่งเมื่อตรวจสอบในฝั่ง Windows จะเห็นว่ามี Connection ที่เกิดจากการ Discovery โดยใส่ IP ของ ISCSI ปลายทาง จำนวน 8 Connection ซึ่งต้องเข้าไปตั้งค่าใน Target ให้มีการใช้งานแบบ multi-path ด้วยทุก Connection ซึ่งเราสามารถเลือกใน Advance ได้อีกว่าจะให้เชื่อมต่อไปยัง

Read More »

การติดตั้ง Android Emulator : MuMu เพื่อใช้งานร่วมกับ Expo CLI

กำลังพัฒนา Mobile Apps อยากได้ Android EMU สักตัวที่กินแรมน้อย ๆ เปิดโปรแกรมได้เป็น Tab เปิด ๆ ปิด ๆ โปรแกรมบ่อยไม่ต้องกดเมนูเข้าออกให้เหนื่อยต้องลอง MuMu (สาวกเกมส์ Ragnarok M ข้ามการติดตั้งได้เลยครับ คงชำนาญกันอยู่แล้ว) Installation Version MuMu App Player V1.1.0.2 ติดตั้ง MuMu App Player (เมื่อก่อนตัวติดตั้งเป็นภาษาจีนล้วนเดี๋ยวนี้มีแบบภาษาอังกฤษแล้ว)https://mumu.163.com/global/download/en/index.html การติดตั้งจะใช้ VirtualBox ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้วย เปิด Play Store จากนั้น Login เหมือนมือถือ Android ปกติ (จะเห็นว่าเห็นเป็น Tab สามารถปิดโปรแกรมโดยกดกากบาทด้านบนได้เลย หรือจะสลับ App ไปมาได้อย่างง่ายดาย โดย App ไม่หยุดทำงาน) ติดตั้งโปรแกรม Expo เปิดโปรแกรม ไปที่ Tab Profile เพื่อ Login ใครยังไม่มี Account ให้สร้างได้ที่นี่ ทำการ Login บน expo cli start console ด้วย ปิดโปรแกรม บน MuMu เปิดใหม่อีกครั้งจะเห็น Recenly in development ขึ้น Project ที่เราพัฒนาอยู่ (Emulator อื่นอาจจะเปิด USB Debug ได้ แต่ MuMu ยังไม่รองรับ จากการทดสอบเปิดแล้วไม่ขึ้น จึงใช้วิธี Login ให้เห็น Project แทน) อย่าลืมว่าต้องอยู่ Network วงเดียวกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับ Mobile Apps อื่นที่ต้องการนำไปใช้ทดสอบด้วยนะครับ

Read More »

วิธีติดตั้ง Expo CLI สำหรับพัฒนา Mobile App ด้วย React Native

สำหรับผู้พัฒนาที่ต้องการพัฒนา Mobile App แต่รู้สึกว่ายังไม่พร้อมศึกษา React Native แบบจริงจัง สามารถใช้งาน Expo Framework โดยสามารถใช้ได้ทั้งในการพัฒนา หรือ Build ขึ้น Store ได้เลยทั้ง iOS/Android ด้วยภาษา JavaScript/TypeScript โดยวันนี้จะเริ่มด้วยแนะนำวิธีติดตั้ง Tools สำหรับพัฒนาชื่อ Expo CLI ครับ Reference : https://docs.expo.io/versions/latest/ Installation Version windows 10 version 1909 64 bit npm 12.14.0 LTS python 3.8 Expo SDK 36 ติดตั้ง Node Js (โหลดติดตั้งแบบ LTS)https://nodejs.org/en/ ถ้ามีแจ้งไฟล์ไม่ปลอดภัยกดข้ามไป จะมีให้เลือกว่าจะลง Chocolatey หรือเปล่า เพื่อติดตั้ง Module เพิ่มเติม และแนะนำติดตั้ง Node-Gyp ซึ่งจะต้องติดตั้งเองภายหลัง ติดตั้ง Python ก่อนติดตั้ง Node-Gyp ผ่าน Windows Store (หลังกด Get ไม่ต้อง Sign In ก็ได้) เปิด windows cmd (Run as Administrator หรือไม่ก็เลือก Start->Node.js command prompt) ติดตั้ง node-gypnpm install -g node-gyp ติดตั้ง Expo CLI ด้วย npmnpm install -g expo-cli ทดสอบสร้างโปรเจ๊คใหม่ดังนี้ expo init สั่งรัน Web สำหรับ Debug จะพบว่า Error สำหรับ Expo SDK 36 ต้องแก้ \node_modules\metro-config\src\defaults\blacklist.js ดังนี้var sharedBlacklist = [ /node_modules[\/\\]react[\/\\]dist[\/\\].*/, /website\ /node_modules\/.*/, /heapCapture\/bundle\.js/, /.*\/__tests__\/.*/ ]; สามารถทดสอบเปิดได้ผ่านโปรแกรม Expo ใน Android/IOS หรือ Emulator Android หรือจะผ่าน USB Debug Android ก็ได้ครับ โดยได้ทั้ง QR-Code หรือ Exp URL Copy ไปแป๊ะในโปรแกรมได้ครับ (ต้องอยู่ในวง Network เดียวกันยกเว้นทดสอบโดยใช้ Tunnel)

Read More »