Author: ekaphon.t

  • 📸 How to Capture screen website แบบเก๋ๆ

             🙏สวัสดีครับ การเขียน Blog หรือการทำคู่มือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านหรือใช้งานระบบ ปกติแล้วเราก็จะใช้ปุ่ม print screen เพื่อ capture หน้าจอแล้วก็ save as image ออกมาเลย หรือเอารูปที่ capture มา ไปใช้กับโปรแกรมอื่นก็ได้ เช่น Photoshop, Illustrator หรือ Mockup Generator เพื่อที่จะได้รูปประกอบที่สวยงามและเหมาะแก่การนำเสนอให้น่าสนใจมากขึ้น


               เอาหละ จากที่เกริ่นมา เรามีเครื่องมือมานำเสนอทุกคน เครื่องมือที่จะไปช่วยเรา Capture หน้าจอออกมาแล้วนำมาใส่ในกรอบ Browser เก๋ๆให้เราเลย เราก็แค่ใส่ URL และกด Download ออกมาใช้งานได้เลย เครื่องมือที่ว่ามีชื่อว่า 🎊 “Screenshotr” 🎊 (คำว่า Screenshot + ตัวอักษร r)

                Screenshotr เป็นเครื่องมือจัดการ Capture screen และ Mockup ออนไลน์ เปิด Browser ขึ้นไป พิมพ์ที่แถบ URL ไปว่า ฉันจะไปที่  screenshotr.app  เข้าผ่านเว็บแบบนี้แสดงว่าาาาา น้องเป็น Online tool ไม่ต้องโหลดโปรแกรมใดๆ ใช้งานได้ทันที สะดวกมากมาย ที่สำคัญ ฟรี จ้าาา มาถึงตรงนี้แล้วคงสงสัยว่าหน้าตามาจะออกมาเป็นยังไง ไปดูกันเลยยย

               หน้าตาดู Professional ขึ้นมาเลยทันที 😎 อันนี้คือเลือกสีพื้นหลังมา ใส่เงาแล้ว Download รูปออกมาแล้ว ใช้เวลาประมาณ 45-60 วินาที ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถ Customize ส่วนต่างๆได้เช่น ขนาดของ Canvas, การแสดง URL, ประเภทของไฟล์, Scale ของภาพ

    หน้าตาของเจ้า Screenshotr จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ ส่วนของ Preview รูป, แถบด้านซ้ายสำหรับการปรับค่าต่างๆ, แถบข้างบนสำหรับการใส่ URL และ Upload รูปภาพ

    🌈 วิธีการใช้งาน

    1. ให้ใส่ URL เข้าไปที่แถบ URL ข้างบนและกดปุ่ม GO สีเขียวด้านขวาบน
      • Capture website ตรงๆ ใส่ URL ได้เลย
      • ใช้รูปที่ Capture ให้กดปุ่ม Upload Image ถัดจากปุ่ม GO มุมขวาบน
    2. หลังจากใส่ที่มาของภาพหน้าจอแล้ว ปรับค่าที่แถบด้านซ้ายต่อได้เลย
      • Desktop / Mobile : เลือก Device ที่จะแสดงผล
        • สามารถเลือก Device ของการแสดงผลได้หรือ Theme ของ browser
      • Background : สีพื้นหลัง สามารถใช้เป็น Transparent (ใส) ก็ได้หรือสี Solid, Gradient หรือ Image ก็ได้
      • Shadow : ไม่มี / เงาเล็กน้อย / เงาขนาดใหญ่
      • Address Bar : ไม่แสดง / URL แบบเรียบๆ (มีแต่ text) / URL แบบมี Icon (favicon) ของเว็บด้วย
      • Presets : ขนาดสำเร็จรูปที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไป เลือกมาใช้ได้เลย
      • Screenshot Resolution : ขนาดของหน้าจอที่จะ Capture
        • Tip: เพื่อความอ่านง่ายดูง่าย Size ประมาณ 1280×720 – 1366×768 จะได้ขนาดอักษรที่พอดี
      • Canvas Width x Height : ขนาดของรูปภาพที่จะได้ออกมาจากการ Download ออกมา
      • Browser Width : ขนาดความกว้างของ Browser ใน Canvas (อิงตาม Aspect ratio)
      • Browser Scale : ขนาดของแถบ Browser ข้างบน
      • File Name : ชื่อไฟล์
      • File Type : ประเภทของไฟล์ PNG / JPEG (รูปพื้นหลังใสต้อง PNG นะครับ อย่าลืม ไม่งั้นจะได้พื้นหลังขาวมา)
      • Scale : ความหนาแน่นของ pixel ของรูป Standard เหมาะกับการใช้งานทั่วไป ส่วนของ Retina เหมาะกับการใช้งานกับจอของ apple device
        • Retina จะให้ density ของ pixel ที่มากกว่า ดังนั้นขนาดไฟล์จะใหญ่กว่า
        • ทั้งนี้ขึ้นกับจุดประสงค์การใช้งานรูปภาพ
    3. กด Download มุมซ้ายล่างเพื่อ Save ภาพออกมา

               จบไปแล้วสำหรับวิธีใช้งาน มีแค่ 3 ขั้นตอนง่ายๆ ก็ได้ภาพออกมาแบบสวยงาม ยังมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอีกมากมาย ไว้มีโอกาสนะมา(แนะนำ)ขายของให้ใหม่อีก แล้วพบกันใหม่ สวัสดี 😘🥳🥳

  • ✏️ More than noting “Notion”

    ทุกวันนี้เวลาเราใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าเราไม่จดโน๊ต ทุกอย่างเราก็จะต้องจดจำทุกอย่างอยู่ในหัวสมองเราเอง แน่นอนการจดจำในหัวสมองเรานั้นมันก็ไม่ได้มีความถูกต้อง แม่นยำ 100% การจดโน๊ตก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยเตือนความจำ ระหว่างการจดก็จะเป็นส่วนช่วยในการจดจำได้ดียิ่งขึ้น

    จะดีไหมถ้ามีเครื่องสักตัวหนึ่งที่ เราสามารถจดโน๊ตของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว มันสามารถนำข้อมูลที่เราจดไป มาใช้งานต่อได้อีก เช่นการจดรายงานการประชุมโดยมีการแปะลิ้งค์ รูป ข้อความได้ลงในหน้ากระดาษ แล้วใช้การ mentions ผู้เข้าร่วมประชุมให้มา revise และ approve ได้ จุดไหนผิดถูกสามารถ comment ได้ เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็สามารถ Lock ไฟล์นั้นๆได้และ Export ออกไปเป็น PDF สำหรับการส่งรายงานก็ทำได้เช่นกัน

    🤔 What is Notion?


    Website: Notion – One workspace. Every team.

    Notion เป็นเครื่องมือการจดโน๊ตที่เป็นได้มากกว่าการจด จดแล้วก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ในระหว่างการจดก็มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกเช่น การใส่ Heading1,2,3 List ประเภทต่างๆ Checkbox และอื่นๆอีกมากมาย และที่สำคัญ เราสามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Database ได้ ซึ่งเราก็จะสามารถเรียกใช้ซ้ำ ใส่ความเชื่อมโยงให้กับ Database หลายๆอันที่เราสร้างขึ้นมาได้ อันนี้แค่ยกตัวอย่างมาส่วนหนึ่งนะครับ ตัวเครื่องมือนี้เราสามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการใช้งานในชีวิตประจำวันของเราด้วยท่าทางไหนก็ได้ จะเห็นได้ว่ามีประโยชน์มากๆ ผมจึงอยากแนะนำให้ทุกคนมาใช้กัน

    Notion เป็น base on web-browser application สามารถทำได้จากอุปกรณ์ไหนก็ได้ แถมยังมีเวอร์ชั่น Windows/Mac OS iOS และ Android อีกด้วย

    Used cases of using Notion


    Note

    เป็นการจดบันทึกทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่น บันทึกการประชุม มีการคุยในหัวข้อต่างๆที่ลงรายละเอียดก็มีการใช้ sub-page เข้ามาแบ่งสัดส่วนให้อ่านง่าย สวยงาม หรือการจดบันทึกเตือนความจำ

    Work log

    เป็นการจดบันทึกการปฏิบัติงานโดยการใช้ส่วนของ Database มาเก็บข้อมูลและจัดการข้อมูลประเภทของ work log และรายละเอียดการทำงาน สามารถตั้งให้แสดงผลในรูปแบบของ Table หรือ List หรือ Calendar ก็ได้ด้วย เมื่อถึงรอบรายงานก็ Export ออกเป็น csv หรือทำการแชร์หน้าที่จดบันทึกไปยังผู้ประเมินได้โดยตรง

    Software Document

    เป็นการประยุกต์ใช้การจดบันทึก แต่เราสามารถสร้าง Template ให้กับเอกสารได้ซึ่งเราสามารถตั้งให้มี Layout แบบเฉพาะได้ ตั้งส่วนของ Header ส่วนต่างๆตั้งไว้ได้ ตั้งส่วนของตัวอย่างข้อมูลไว้ได้ เวลาเราจะสร้างเอกสารก็สามารถเลือก Template นั้นมาใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาสร้างใหม่ตั้งแต่ต้น


    จริงๆแล้วตัว Notion เองก็มี Template สำเร็จรูปมาให้เราใช้งานด้วยเช่นกัน มีเยอะมาก หลากหลายหมวด สามารถเลือกใช้มาตั้งต้นแล้วใช้งานต่อได้เลย

  • UX Design Processes

    สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของ การออกแบบสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์และดีต่อผู้ใช้ การสร้างสินค้าและบริการจะต้องประกอบไปด้วยการออกแบบทางด้านประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือ UX เพราะทุกสิ่งที่ถูกคิดค้นหรือสร้างขึ้นล้วนต้องผ่านการคิด วิเคราะห์ สร้างเพื่ออะไร ทำไปทำไม ตอบโจทย์อะไรกับผู้ใช้ ซึ่งการออกแบบมีด้วยกัน 6 ขั้นตอนหลักๆดังนี้

    รูปภาพแสดง design process โดย The Efficient Approach: How to Design a Lean UX MVP | Toptal

    Step 1 : Understanding Environment (Discovery phase)

    เป็น phase แห่งการทำความเข้าใจ การทำความเข้าใจในที่นี้หมายถึง การที่เราเข้าใจผู้ใช้, เข้าใจ brand, เข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะเอามาเป็นแนวทางในการทำ research ให้ phase ถัดไป

    • User การทำความเข้าใจผู้ใช้งานระบบ -> Pain Point discovery
      • การค้นหา Pain point ของผู้ใช้
      • เราต้องเข้าใจว่าปัญหาของผู้ใช้คืออะไรบ้าง
      • เราคิดว่าจะแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง
    • Brand เป้าหมาย/จุดประสงค์ขององค์กร
      • เราต้องรู้โปรเจคนี้มีความเกี่ยวข้องกับภารกิจหรือเป้าหมายขององค์กรเราอย่างไร ต้องพยายามยึดติดอยู่กับเป้าหมายขององค์กรเพราะมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
    • Clear Needs & Conditions ความต้องการและเงื่อนไขที่ชัดเจน
      • เราจะทำอะไร
      • เราต้องทำภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง

    Step 2 : Research (Infomation Gathering, Hypothesis phase)

    เมื่อเราทราบถึงเป้าหมายของการสร้างหรือพัฒนาสินค้าและทราบถึงปัญหาของผู้ใช้แล้ว ขั้นต่อไปคือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

    phase นี้จึงเป็น phase แห่งการค้นคว้า เก็บข้อมูลตั้งต้นเพื่อที่จะนำมาวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป การ research มีด้วยกันหลายวิธี

    Interview การสัมภาษณ์

    • 1:1 Interview การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับผู้ใช้
      • จะเป็นเหมือนการพูดคุยทั่วไปถึงเรื่องการใช้งานระบบ เคยเจอปัญหาอะไรมาบ้าง ยังคงติดปัญหาในจุดไหนอยู่ไหม ในการใช้งานระบบเขามองหาอะไรอยู่
      • การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทำให้ทราบถึงความจริงใจและอารมณ์ของผู้ใช้ สามารถนำมาเป็นตัววัดความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ของข้อมูลชุดนั้น
      • การสัมภาษณ์แบบนี้สามารถทำแบบพูดคุยตัวต่อตัวหรือทาง meeting/conference/telephone ก็ได้
    • Group Interview การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม
      • เป็นวิธีการที่ให้ข้อมูลได้แบบไม่ค่อยละเอียด แต่ได้จุดที่สำคัญ มีการกรองกันจากการพูดคุยภายในกลุ่ม ลักษณะการถามก็จะเป็นเหมือนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว
      • การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้อาจจะต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมา
      • กลุ่มของผู้ใช้ 3-5 คนก็เพียงพอไม่จำเป็นต้องไปเก็บจากผู้ใช้ 100-1000 คน (Rule of thumb)

    Surveys การทำแบบสอบถาม

    ในการสร้างแบบสอบถามขึ้นมา เราต้องรู้ถึงปัญหาของผู้ใช้ ปัญหานี้เกิดในผู้ใช้กลุ่มไหน แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ออกมาเป็นสมมติฐาน

    • หลักการสร้างแบบสอบถาม
      • แยกปัญหาออกมา โดยดูความสำคัญว่า ปัญหาอันไหนสามารถวัดและทำ Testing ได้แล้วนำมาทำให้เป็นคำถามแบบที่ Interactive ได้
      • พยายามตั้งคำถามปลายเปิดแต่ยังสามารถทำให้เรามองเห็นคำตอบได้
      • *ไม่ควรตั้งคำถาม Yes/No, Rating เนื่องจากไม่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้
    รูปภาพแสดงการทำ Heat map analysis
    • ตัวอย่างของการทำ survey ที่ดี
      • Hypothesis: สงสัยว่าหน้าแรกของระบบมันไม่จูงใจผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ออก (nothing grabs user’s attention)
        • วิธีถาม: 5seconds test นำหน้าเว็ปจริงๆมาและใช้ Heat map ในการวิเคราะห์โดยกำหนดโจทย์ว่า ให้ผู้ประเมินคลิกจุดแรกที่ผู้ใช้สนใจภายใน 5วินาที
        • คำตอบ: Heat map result ผู้ใช้สนใจตรงไหนมากที่สุด สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อได้
      • Hypothesis: ข้อสงสัยที่คิดว่าลูกค้าไม่เข้าใจว่าเค้าทำอะไรได้บ้างบนเว็ปไซต์ของเขา
        • วิธีถาม: 5seconds test ดูหน้าเว็ปแล้วถามว่า คิดว่าหน้านี้เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง
        • คำตอบ: ลำดับของความชัดเจนว่า ผู้ใช้สนใจอะไรเป็นอันดับแรก และอันดับตามๆมา
      • Hypothesis: สงสัยว่า content มันน่าจะไม่ดึงดูดผู้ใช้แน่ๆ
        • วิธีถาม: นำเว็ปไซต์คู่แข่งมาเปิดคู่กันกับเว็ปไซต์เราและทำในลักษณะของ A/B testing โดยทำ hot spot test ให้ผู้ประเมินเลือก section ของเว็ปตัวอย่าง 3 ชิ้นที่คิดว่าจำเป็นสำหรับเขา
        • คำตอบ: section ที่เขามองหาแต่เราไม่มี หรือจุดไหนที่มีเหมือนกัน หรือจุดไหนที่เรามีแต่คนอื่นไม่มี
    • ข้อดี:: Scale ได้, รวดเร็ว, วิเคราะห์ง่าย
    • ข้อเสีย:: คำตอบอาจจะมีการเอนเอียงได้ (Bias) ไม่สามารถอธิบายแทนสิ่งที่ผู้ใช้เจอมาได้ทั้งหมด คำตอบที่ได้ไม่หลากหลาย และมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลจากผู้ใช้ ถ้ามีการออกแบบแบบสอบถามไม่ดี ทำให้เกิดการพลาดโอกาส

    Usability Testing การสำรวจการใช้งานในกลุ่มเป้าหมาย

    การทำ Usability test จะทำให้เราทราบถึง pain point และ happy point ของระบบได้ชัดเจนมากขึ้น

    • User testing คือการทำ test โดยการเปิดหน้าจอให้ผู้ใช้ลองทำ Task บางอย่างแล้วเราสังเกตุการใช้งาน แล้วบันทึกวิธีการ Interact และ Reaction ของผู้ใช้ระหว่างการใช้งาน
    • A/B Testing คือการทำ test โดยมีการสร้างระบบขึ้นมา 2 เวอร์ชั่นขึ้นไปมา แล้วนำไปทำ user testing เพื่อวัดผลว่าเวอร์ชั่นไหน user happy ที่สุด
      • อาจจะทำเป็น Prototype ก็ได้ ไม่จำเป็นต้อง Coding ขึ้นมาจริงๆ
    • Click heat คือการดูว่าผู้ใช้กำลังคลิกตรงไหน บริเวณไหนที่มีการ Interact บ่อยๆหรือไม่มีการ Interact ทำให้เราได้ข้อมูลสมมติฐานไปคุยกับ user ต่อไปได้ (tool e.g. Hotjar)

    Contextual Inquiry การสำรวจโดยลงพื้นที่จริง ที่มีการใช้งานจริง

    การทำ CI เป็นการสังเกตุการณ์จากการใช้งานจริงว่าติดปัญหาอย่างไร เรียนรู้จากเรื่องราวของบุคคลนั้นๆ เป็นแนวสนทนาปลายเปิด บางกรณีผู้ใช้จะเปิดใจพูดได้โดยไม่ต้องกังวลไม่เหมือนการสัมภาสแบบกลุ่มหรือในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยก็จะเกิดความไม่ครบถ้วนของข้อมูลได้ มีการทำ/แก้ไข Prototype หน้างานแล้วทดสอบได้เลย

    • ข้อดี:: ได้ผลการสัมภาสที่เป็นประสบการณ์จากผู้ใช้เองโดยตรง, ผู้สัมภาสได้มีอารมณ์ร่วมกับผู้ให้ประเมิน รับรู้ครบถ้วนในด้านตั้งแต่ประสบการณ์ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความประทับใจเป็นต้น
    • ข้อเสีย:: ในกรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัวก็จะไม่สามารถติดตามวัดผลได้ ต้องถามความสะดวกใจของผู้ใช้ด้วย, ต้องมีการเดินทางไปในแต่ละสถานี ส่งผลถึงเรื่องงบประมาณ

    วิธีการทำ Research อื่นๆ ศึกษาต่อได้ที่ More Research Techniques


    Step 3 : Analyze (Brain Storming)

    เป็น phase แห่งการวิเคราะห์ กลั่นกรองข้อมูลออกมาให้เหลือแต่สิ่งที่สำคัญ ขั้นตอนนี้สามารถทำได้หลายกระบวนการ แต่เราจะยกตัวอย่างมาให้เล็กน้อยก่อน

    รูปภาพแสดง User Persona

    User Persona สร้างโปรไฟล์ตัวอย่างของผู้ใช้

    เป็นเหมือนเข็มทิศในการออกแบบ การตัดสินใจ การออกแบบจะแก้ปัญหาของผู้ใช้อย่างไร แล้วจะตอบสนองความต้องการของเขาได้อย่างไร ซึ่งจะประกอบไปด้วย

    • Bare necessities ข้อมูลจำเป็นเบื้องต้น
      • ชื่อ-นามสกุล อายุ เพศ ที่อยู่ อาชีพ และอื่นๆ
      • ประวัติโดยย่อ
      • แผนผังบุคลิก
    • User’s image รูปภาพของผู้ใช้
      • บางครั้งรูปภาพของผู้ใช้สามารถบ่งบอกได้ถึงหลายๆอย่าง มากกว่าการเขียนบรรยาย
      • การแต่งกายของผู้ใช้ก็สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกได้
    • Personality แถบที่บ่งบอกถึงนิสัยของผู้ใช้
      • สามารถทำเป็นแถบค่าพลังบ่งบอกความเป็นบุคลิกต่างๆได้เช่น Extroverted ⇔ Introverted, Passive ⇔ Active, Analytical ⇔ Creative เป็นต้น
    • Goals and Motivations เป้าหมายและแรงบรรดาลใจ
      • เป้าหมายของผู้ใช้ ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไปตอบโจทย์เป้าหมายของผู้ใช้
      • แรงบรรดาลใจของผู้ใช้ ก็สามารถนำมาเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาวิเคราะห์ก่อนออกแบบ
      • ยกตัวอย่าง การซื้อของออนไลน์ผ่านระบบ e-commerce
        • เป้าหมายของผู้ใช้คือ อยากได้สินค้าที่มีราคาถูกที่สุด คุ้มค่าที่สุด
        • แรงบรรดาลใจของผู้ใช้คือ ต้องการการเปรียบเทียบสินค้าในเรทราคาเท่าๆกัน
        • เราสามารถนำข้อมูลทั้ง 2 มาวิเคราะห์ออกแบบระบบให้รองรับได้เช่น การแนะนำสินค้าใกล้เคียงกับสินค้าที่ผู้ใช้กำลังดูอยู่ มีการแนะนำร้านที่แนะนำโดย platform หรือเรียงตามเรทของสินค้า
    • Pain points จุดที่ผู้ใช้ไม่ชอบ หรือ ข้อเสียของระบบที่ต้องแก้
      • เป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ออกมาจากการสัมภาสหรือได้มาจากการสัมภาสโดยตรง ข้อมูลส่วนนี้คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ ระบบที่สร้างขึ้นมาจะต้องแก้ไข pain points เหล่านี้ให้ได้
      • แก้ได้ = User happy

    User Journey mapping แผนผังแสดง Interaction ของผู้ใช้

    รูปภาพแสดง User Journey mapping

    การทำ user journey จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของระบบ ในขั้นตอนต่างๆว่า ผู้ใช้รู้สึกอย่างไร จุดไหนที่ต้องมีการปรับปรุงอีก

    User journey จะประกอบด้วย Flow การทำงานของระบบที่ผู้ใช้จะต้องเจอ ข้อมูล Emotions หรืออารมณ์ที่ผู้ใช้จะต้องเจอในแต่ละหน้าแต่ละขั้นตอน ข้อมูลความคิดของผู้ใช้ ณ ขณะนั้นซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลอารมณ์ของผู้ใช้ ข้อมูลโอกาสที่เราวิเคราะห์ออกมาว่า ณ ขณะนั้น เราสามารถ Offer อะไรให้กับผู้ใช้ได้บ้าง ข้อมูลประสบการณ์ มีความง่ายในการใช้งานมากแค่ไหน น่าเบื่อหรือไม่ และข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้

    **นอกเหนือจากการทำ User persona และ User journey ที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีวิธีการทำ Analyze อีกหลายวิธีเช่น การทำ Storyboard, Card Sorting, SWOT Analysis, Use cases และอื่นๆ More Analyze Techniques


    Step 4 : Design (Experiment phase)

    หลังจากได้ผ่านขั้นตอนแห่งการวิเคราะห์มา ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้เกิดขึ้นมา ทำให้ Test ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Wireframe หรือ Prototype ขั้นตอนนี้เป็น phase แห่งการทดลอง ลองผิดลองถูก อ้างอิงจาก use case ต่างๆ นำข้อมูลที่ได้จากการ Analyze มาสร้างเป็นสิ่งที่สามารถทดสอบได้ ในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วยการออกแบบในหลายๆส่วน ส่วนหลักๆจะประกอบไปด้วย

    รูปภาพแสดง Wireframe low-fidelity
    • Site map แผนผังของระบบ
      • ไม่ซับซ้อน
      • หน้าต่างๆอยู่ถูกที่ ถูกลำดับชั้น
    • User flow แผนผังการดำเนินการของผู้ใช้ หน้าไหนไปหน้าไหน
    • Information Architechture ออกแบบโครงสร้างของข้อมูลเช่น จัดหมวดหมู่ให้กับข้อมูล
    • Design system แกนหลักในการออกแบบ ประกอบด้วย
      • Typography ชุดตัวอักษร
      • Color Scheme ชุดโทนสี (Primary, Secondary, Accent, Success, Danger, Warning, Default)
      • Icon ชุด Icon
      • Image โทนการใช้รูปภาพภายในระบบ (Photos, Vertor Images, 3D)
      • (optional) Component สำเร็จรูป
    • Wireframe low-fidelity ต้นแบบของระบบ ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูล โครงแบบร่างในกระดาษหรือโปรแกรมที่สามารถบอกได้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างหน้าและรูปแบบของหน้าจอ
      • แสดงข้อมูลต่างๆ ที่ต้องแสดงในแต่ละหน้า
      • เป็นตัวตีกรอบโครงสร้างของแต่ละหน้าได้
      • แสดงให้เห็น Flow การทำงานและเป็นตัวอธิบาย Interface ในหน้าต่างๆ
    • Prototype การนำ Wireframe มาลงรายละเอียดจริง และนำมา mockup บนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการทดสอบและประเมินผล

    Loop : Design > Test > Validate > Design > Test > …

    เมื่อมีการออกแบบเสร็จสิ้น เราจะต้องทำการทดสอบ ประเมินผล ถ้าไม่ผ่านการทดสอบก็ต้องวนกลับมาขั้นตอนเดิมคือ ออกแบบใหม่ ทดสอบ วนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะผ่านไป phase ต่อไปได้


    Step 5 : Build & Launch (Make it real phase)

    เมื่อผ่านขั้นตอนของการออกแบบมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนของการสร้างมันขึ้นมาให้เหมือนกับที่ออกแบบไว้ ในขั้นตอนนี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาหรือขั้นตอนที่ต่างจากการออกแบบได้เนื่องจากปัจจัยทางการสร้างหรือ coding ซึ่ง ณ ขั้นตอนนี้ก็ควรปรึกษาผู้ออกแบบและช่วยกันหาทางออกร่วมกันได้ ผลที่ได้จากการสร้าง เช่น

    รูปภาพแสดง Wireframe Hi-fidelity

    Prototype หรือ Wireframe Hi-fidelity

    Prototype เป็นการนำ Wireframe มาต่อยอด มีการลงรายเอียดส่วนของสัดส่วน สี ตัวอักษร รวมถึง Icon และรูปภาพ ลงรายละเอียด Content จริงๆ มีการเชื่อมโยงปุ่มกับหน้าต่างๆหรือเรียกว่า Prototyping ให้เป็น Flow การทำงานจริงๆขึ้นมา เราสามารถนำผลงานมาขึ้น Mockup เป็น device จริงไปให้ผู้ใช้ได้ทดสอบแทนการเปิดหน้าจอ application ให้ดูผ่านจอก็ได้เช่นกัน ในส่วนนี้สามารถทำได้จากหลากหลายโปรแกรมเช่น Figma, Adobe XD และโปรแกรมอื่นๆเป็นต้น

    Implement an actual application

    เป็นการพัฒนา application หรือ feature นั้นๆขึ้นมาจริงๆจะต้องมีการประเมินความสำคัญของ feature หรือความสำคัญถึงการที่จะต้องทดสอบกับการใช้งานจริงๆด้วยเช่นกัน เพราะจะส่งผลต่อการลงแรงของหลายๆฝ่ายและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นมาได้ (เรียกได้ว่า มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน)

    Make sure your product is perfect! :: Do you trust in your research and analysis?

    ถ้าคิดว่าการ Launch Feature ใหม่หรือสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดหรือออกสู่ public ยังไม่กล้าเสี่ยงลองนำผลงานที่ได้ไป

    • ทำ User testing นำไปให้ผู้ใช้ทดสอบเหมือนขั้นตอนการทำ Usability test ในขั้นตอน Research
    • ทำ Internal testing ทดสอบและรีวิวกันเองภายในทีม
    • ทำ Beta Launch ปล่อยระบบให้กับกลุ่มคนเล็กได้ทดสอบ เก็บ Feedback แล้วนำกลับมาแก้ไข

    สุดท้ายแล้วเมื่อปรับปรุงแก้ไขจนคิดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ก็ถึงเวลา Launch ปรับ Version ตัวโปรแกรมจริงๆให้ผู้ใช้ได้ใช้


    Step 6 : Analyze Validation (Collect Feedback) aka ตรวจการบ้าน

    เมื่อเราได้ผ่านขั้นตอนของการสร้างมาแล้ว ผู้ใช้ได้เจอกับสิ่งที่เราปรับปรุงหรือสร้างขึ้นมาใหม่ สิ่งที่เรา research analyze design ไปนั้นมันถูกต้องแล้วใช่หรือไม่ ตอบโจทย์ปัญหา pain point ของผู้ใช้หรือไม่ ดึงดูดให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานระบบไหม และแน่นอนสิ่งที่ต้องเกิดคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงคือ ผลตอบรับหรือ feedback เราจะต้องมีการเก็บข้อมูล feedback มาวิเคราะห์ อาจจะมีจุดที่เราพลาดไป ทดสอบไม่เจอในกลุ่มการทดสอบ beta ก็จะได้แก้ไข ปรับปรุง feature ให้ตอบโจทย์กว่าเดิม หรือคิดว่าการปรับปรุงระบบไปในแนวทางอื่นๆอาจจะส่งผลได้ดีกว่านี้ ข้อมูลตรงนี้ก็จะไปเป็นสารตั้งต้นของการขึ้นรอบการออกแบบและพัฒนาในรอบถัดๆไป


    Loop Step 1-6 > Step 2-6 > … > Perfect** Product! (at that time)

    การที่เราทำ loop แบบนี้ไปเรื่อยๆทำให้ระบบหรือสินค้าที่เราสร้างขึ้นมีการพัฒนาอย่างตรงจุด ตอบโจทย์ผู้ใช้ เป็นระบบที่เข้าใจผู้ใช้ อาจจะมีการปรับปรุงไปในแนวใหม่เพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้ที่หมุนเปลี่ยนไปในทุกๆครั้งที่กลับมาทำ research ก็ไม่ผิดแปลกไป

    ปล. การวน loop ในแต่ละครั้งเราสามารถตัดขั้นตอนบางอย่างไปได้เช่น รอบที่ 2 อาจจะเป็นผู้ใช้คนเดิมก็ข้ามไปทำ research ได้เลย หรือมีข้อมูลจาก loop เก่าก็สามารถนำข้อมูลนั้นมา Design & Test ได้เลย การกระทำแบบนี้เราเรียกว่าการ Lean UX Process

    **Perfect มันไม่มีอยู่จริง ไม่ต้องไป keep perfect but ทำให้ใกล้คำว่า perfect ที่สุดจะดีกว่า เราไม่สามารถออกแบบหรือสร้างอะไรสักอย่างที่มันตอบโจทย์คนทั้งโลกได้ แต่ทำให้ดีที่สุดของเราได้

    Summary

    จบแล้วขั้นตอนการออกแบบ UX Design process เบื้องต้น ยาวหน่อยแต่รายละเอียดเกือบครบ จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วขั้นตอนทาง UX design process ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกๆส่วนของชีวิตประวันและของรอบตัว มันมีวิธีการต่างๆหลากหลายรูปแบบ ขึ้นกับมุมมองของผู้ทำ แต่ทุกวิธี base on problem แน่นอน ถ้าเราวิเคราะห์ได้ว่าคนๆนั้นไปเจอปัญหาอะไรมา แล้วเราแก้ไขให้เขาได้ ทำไมเขาจะไม่ซื้อ/ใช้สินค้าของคุณ ที่สำคัญคือ Keep doing research, keep developing.

    Thanks for references:
    The UX design process in 6 stages | Inside Design Blog (invisionapp.com)
    What is user research? | Inside Design Blog (invisionapp.com)
    หลงไปในงาน UX Research at Agoda. เอะนั่นเห็นมี Event UX Research at… | by Dark_Spirit (Warm) | WIP team | Medium
    UX Process – UX Mastery

  • UX, everything related!

    เรามักได้ยินคำว่า UI เป็นประจำเมื่อเราพัฒนาระบบแต่ รู้หรือไม่ว่านอกจาก UI แล้วมันมีอีกหนึ่งอย่างที่ควรรู้และสำคัญยิ่งกว่าแต่ถูกมองข้ามไปคือ UX (ย่อมาจาก User experience) หลายๆคนมักจะสับสนว่า UI และ UX มันคือสิ่งเดียวกัน จริงๆแล้วมันคือคนละอย่างกันเลย วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง

    รูปภาพจาก UX vs. UI Design: What’s the Difference? – louelledesignstudio

    UI :: User Interface

    User Interface คือหน้าตาของระบบที่ผู้ใช้ได้เห็น ได้ตอบสนอง ไม่ใช่ระบบในทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียวที่มี UI ถ้าเทียบกับขวดซอสมะเขือเทศ ขวดก็คือหนึ่งใน UI เช่นกันหรืออาหาร 1 จาน หน้าตาของอาหารก็ถือว่าเป็น UI ด้วย

    UI เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้หรือจับต้องได้


    UX :: User Experience

    User Experience คือ Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ที่เราได้ส่งมอบให้ มากกว่า Interface ที่ผู้ใช้งานได้ตอบสนอง เราจะไป focus ที่ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วได้บรรลุวัตถุประสงค์ของเราหรือไม่

    “UX คือสิ่งที่อยู่กับความรู้สึก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่วัดประเมินผลได้”

    ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพ การออกแบบ UX ของการรับประทานอาหารจานหนึ่ง เราอยากให้ผู้ใช้รู้สึก fresh ก่อนตามด้วยความแน่นของรสชาติที่ตั้งใจปรุงตามมา ก็ต้องออกแบบจานอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบ หรือการให้กินคู่กับเครื่องดื่มบางอย่าง จะช่วยส่งเสริม/เติมเต็มให้ผู้กินได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ได้

    จริงๆแล้ว นอกจาก website หรือ application ที่ต้องมี UX ที่ดีเป็น 1 ในองค์ประกอบแล้ว ทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวันก็ต้องมี UX ที่ดีเช่นกัน

    รูปภาพจาก Why people need to stop obsessing over UI design | by Zameel Kainikkara | Zartek | Medium

    Why should we have to care on UX?

    UX เรียกได้ว่าเป็นสารต้นต้นของสินค้าก็ว่าได้ การทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีมักจะเป็น 1 ในวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบสินค้าและบริการ เพราะถ้าทำออกมาแล้ว ผู้ใช้ไม่ enjoy ใช้แล้วลำบากกว่าเดิม แล้วใครจะมาใช้งาน? สินค้าบางอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นซอสมะเขือเทศออกแบบขวดซอสแบบทั่วไป เวลาใช้ผู้ใช้จะต้องเคาะ/เขย่าขวด ซอสจึงจะออกมา การออกแบบขวดให้เป็นแบบคว่ำ บีบแล้วซอสออกเลย เป็นการแก้ปัญหาของผู้ใช้ เมื่อผลิตออกมาจึงขาย ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้ ผู้ใช้ก็ happy, win win ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ


    แล้วเราจะไปหาข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์หละ แน่นอน

    UX = Research

    Research เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม การสัมภาส การสังเกตการใช้งาน การลงพื้นที่จริง หรือการอิงข้อมูลทางสถิติหรือข้อมูล log ยิ่งทำเยอะยิ่งทำให้เกิด UX ที่ดี

    การมี user experience ที่ดีมาจากการทำ Research หรือการค้นความหาข้อมูล ถามว่าการตามหาข้อมูลจะทำได้อย่างไรหละ

    User Research

    การ research ข้อมูลของผู้ใช้งาน/กลุ่มผู้ใช้งาน จะได้ออกแบบได้ตรงจุด

    • ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เช่น อายุ เพศ ที่อยู่ เป็นต้น
    • ผู้ใช้ที่เราขายคือใคร กลุ่มไหนบ้าง ทำงานอะไร
    • ผู้ใช้สินค้าเรามีบุคลิกอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร รวมไปถึง
    • รูปภาพของผู้ใช้ ควรเป็นรูปที่สามารถสื่อถึง Lifestyle ของคนๆนั้นได้ จะดีมากๆ

    ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวแปรตั้งต้นที่เราจะต้องมาออกแบบระบบอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่เราเก็บข้อมูลมา จะเห็นได้ว่า ยิ่งเราทำ research มาเท่าไหร โอกาสของการสร้างสินค้ามาให้ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้ จะทำให้สินค้าเราขายออกได้ง่ายกว่าเช่น การออกแบบระบบสารสนเทศที่กลุ่มผู้ใช้ระบบ 90%เป็นผู้มีอายุ การทำระบบให้เขาใช้งานก็ควรมีตัวอักษรที่ใหญ่กว่าทั่วไป มีการทำ Shortcut เมนูที่ง่าย ไม่สับซ้อน

    Brand Research

    คนที่ว่าจ้างหรือว่าง่ายๆคือเจ้าของระบบคือใคร Brand หรืออัตลักษณ์ของเขาเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ขององค์กร สีขององค์กร design token ขององค์กร ก็เป็นอีก 1 อย่างที่ต้องมีการศึกษาข้อมูลด้วยเช่นกัน

    Problem Research

    นอกจากการ research ผู้ใช้แล้ว เราก็ควรศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะอะไรผู้ใช้ถึงเลิกใช้ ทำไมผู้ใช้ถึงไม่ใช้ feature นี้ ทำไมผู้ใช้สับสนในการใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งสารตั้งต้นที่จะทำไปออกแบบและพัฒนาสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถสำรวจปัญหาเหล่านี้ได้จากการให้ผู้ใช้ทำแบบสอบถาม การลงพื้นที่จริงไปสังเกตการใช้งานระบบ


    What’s good UX?

    (ยกตัวอย่าง) ในการสร้างสินค้าขึ้นมาสักชิ้นที่จะทำให้ผู้ใช้รู้สึก win แล้วนั้น อีก 2 สิ่งที่ต้อง win ด้วยคือ Brand/Business win ด้วยไหม เสียผลประโยชน์รึเปล่าและ Team หรือคนสร้างสินค้า win ด้วยหรือไม่ ถ้าทั้ง 3 อย่างนี้ win ถือว่าเป็น UX ที่ดี

    ทั้งนี้การมี UX ที่ดีข้างต้นอาจเป็นเพียงสมมติฐานเบื้องต้น อาจจะมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องอีก หรืออาจจะใช้ปัจจัยอื่นมาเป็นตัววัดก็ได้เช่น Happiness, Usability เป็นต้น


    Summary

    จะเห็นได้ว่า UX หรือ User experience ได้เข้าไปอยู่ในทุกๆส่วนในชีวิตประจำวันในหลายๆอย่าง นอกจากการออกแบบระบบสารสนเทศหรือ website เพียงอย่างเดียว ตั้งแต่การออกแบบสินค้าต่างๆที่เป็นมิตรต่อการใช้งาน การออกแบบบริการที่ตอบโจทย์คน การทำ marketing ที่สามารถส่งเสริมการขายได้ดี และอื่นๆอีกมากมาย

    โอกาาสหน้าไว้จะมาอธิบายการทำ UX Research ด้วยวิธีการต่างให้ดูเป็นแนวทางในการสร้างสินค้าและบริการให้ฟังกันครับ

  • สร้างเงาให้กับวัตถุด้วย SmoothShadow

    ปัจจุบันเทรนการออกแบบเว็ปไซต์ต่างๆมักจะมีการใช้เงามาเป็นส่วนประกอบ ทำให้วัตถุชิ้นนั้นมีความโดดเด่น สร้างจุดสนใจของเว็ปไซต์ได้ หรือเพื่อความสวยงาม ดูมีมิติ แต่การที่เราใส่เงาให้กับวัตถุนั้นๆ เราก็จะต้องมาตั้งค่า Box-shadow หลาย parameter กว่าจะได้เงาสวยๆออกมาสักแบบหนึ่ง นั่งสุ่มตัวเลขความเบลอ ความเข้มของเงา หรือระยะห่างของเงา เว้นแค่ไหนดี ตัวเลขแค่นี้เพียงพอแล้วหรือยัง วันนี้ผมจะมาแนะนำ SmoothShadow เครื่องมือหนึ่งตัวที่มีประโยชน์และช่วยลดเวลาในการเขียน code ของเราได้มาก Smooth Shadow เป็นเว็ปไซต์ที่เราสามารถเข้าไปปรับแต่งเงาผ่าน UI บนเว็ปไซต์และสามารถ copy ออกมาใช้งานได้เลย
    หน้าตาของ SmoothShadow จะประกอบไปด้วยกล่องสี่เหลี่ยมอันหนึ่งกลางหน้าจอ ส่วนนี้จะแสดงรูปแบบเงาที่จะแสดงจริงๆบนเว็ปไซต์ โดยจะแสดงเงาตามการตั้งค่าจากแถบข้างขวา และมี CSS box-shadow แสดงไว้สำหรับการ copy ไปใช้งาน และส่วนของแถบข้างขวาจะแสดงแถบ customize เงา เราสามารถปรับแต่งเงาได้โดยการลาก adjustment bar ตามค่าต่างๆได้หรือลากปรับเส้นกราฟการไล่แสงเงาได้ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆ

    Layer of shadows คือจำนวนชั้นของเงา ปกติโดยทั่วไปเราจะใช้งานกันประมาณ 1-2 layer ซึ่งจำนวนของชั้นเงานี้จะสัมพันธ์กับตัวปรับแต่งด้านล่าง เช่นในรูปตั้งไว้ที่ 4 layers หรือเงา 4 ชั้น เราก็จะสามารถปรับกราฟการไล่เงาซึ่งจะแบ่งไว้ 4 ช่วงของแสงไล่ตั้งแต่ขาวไปดำ 4 ระดับ ถ้าปรับเป็น 7 layers ระบบก็จะซอยช่วงเทาเพิ่มมามากขึ้น ก็จะไล่จากขาวไปดำ 7 ระดับ

    Final transparency คือความเข้ม/ความโปร่งใสของเงา ค่ายิ่งน้อยเงาของเราจะยิ่งโปร่งแสง(จางขึ้น) ค่ายิ่งมากเงาของเราก็จะยิ่งทึบแสง(เข้มขึ้น) ส่วนของกราฟจะแสดงถึงการไล่แสงของเงา โดยเราจะสามารถดึงจุดวงกลมสีชมพูได้ เพื่อปรับความโค้งของกราฟ เงาก็จะมีการไล่แสงที่ต่างกันออกไป และส่วนของ Reverse alpha คือการกลับกันของเงา ไล่จากขาวไปดำ

    Final vertical distance คือการไล่แสงในแนวตั้ง ซึ่งจะสามารถไล่แสงได้แค่ทิศทางเดียวคือ แสงจากบนลงล่าง เงาด้านล่างของวัตถุ ยิ่งเพิ่มค่ามากเงาก็จะเพิ่มมาด้านล่างมากขึ้น ค่าลดลงเงาในแนวตั้งก็จะน้อยลง ส่วนกราฟจะแสดงปริมาณของเงาในแต่ละ layer สามารถดึงวงกลมสีชมพูเพื่อปรับแต่งได้

    Final blur strength คือระดับความเบลอของเงา ยิ่งเพิ่มค่าเบลอ เงาของเราก็จะเบลอ ดูนวลตา กลมกลืนมากขึ้น ถ้าลดค่าความเบลอ เงาก็จะยิ่งชัดขึ้นจะเป็นสี่เหลี่ยม แสงแข็ง เห็นชัดเจน ส่วนกราฟจะความเบลอในแต่ละ layer สามารถดึงวงกลมสีชมพูเพื่อปรับแต่งได้เช่นกัน

    Reduce spread คือ ระดับการแผ่กระจายของเงา ยิ่งเพิ่มมาก เงาก็จะมีความใหญ่ มีการเกลี่ยแสงที่มาก ดูกลมกลืน ยิ่งลดค่า เงาก็จะยิ่งหดอยู่ใกล้วัตถุ ทำให้วัตถุมีความชัดเจนมากขึ้น

    ทั้งนี้ทั้งนั้น เราปรับแสงเงาที่กล่าวมาสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสถานการณ์ อยากได้เงาสไตล์แบบเข้มๆ หรือแบบจางๆอ่อนๆ ก็สามารถปรับได้ในเบื้องต้น การปรับเอียงเงาไปซ้าย-ขวา หรือขึ้นข้างบน หรือการปรับสีของเงาคงต้องปรับผ่าน CSS ครับ

    อ้างอิง Smoother & sharper shadows with layered box-shadows | Tobias Ahlin , @brumm (@funkensturm) / Twitter

  • งานกราฟฟิกฟรี ถูกลิขสิทธิ์มีอยู่จริง

    ปัจจุบันงานกราฟฟิกได้เข้ามามีบทบาทมากมายในด้านการโฆษณา การขาย การออกแบบและดีไซน์ผลงานต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้พัฒนาระบบ หรือ แอพพลิเคชันต่างๆมากมายโดยมาจากการใช้ชุดอักขระ (Font) หรือรูปภาพ Vector ต่างๆมาเป็นส่วนประกอบ เราจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นงานลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น การที่จะนำมาใช้งานได้ต้องมีการซื้อ License การใช้งานหรือการขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน

    จะทำยังไงหละถ้าเราอยากใช้งานแบบถูกลิขสิทธิ์แถมไม่ต้องจ่ายเงินสักบาท

    เว็ปไซต์ Creative Market https://creativemarket.com/ เป็นอีกหนึ่งเว็ปไซต์ที่รวบรวมงานศิลปะ, งานกราฟฟิก Vector, Font, Template สำหรับงานออกแบบ, Template สำหรับการสร้างเว็ปไซต์, รูปถ่าย หรือจะเป็น Brush หัวพู่กันในโปรแกรมต่างๆ มารวมไว้เป็น Market ของนักออกแบบหลายๆคนรวมอยู่ในเว็ปไซต์ เราสามารถเข้าไปกดซื้อ แล้วนำมาใช้งานได้เลย สะดวกรวดเร็ว เชื่อถือได้

    แต่ แต่ แต่ ไหนบอกว่าฟรีหละ

    ทาง Creative Market ได้มีการทำระบบ Free Goods of the Week https://creativemarket.com/free-goods ซึ่งจะนำงานกราฟฟิกต่างๆในระบบแจกฟรีๆ สัปดาห์ละ 6 รายการ โดยการเข้าไปที่เมนู Get Inspired แล้วเลือก Free Goods (ที่ไม่ได้แปลว่าถูกดีนะ แต่แปลว่า สินค้าฟรีนั้นเองครับ) ให้เราทำการ Sign Up สมาชิกกับทางระบบก่อน เพื่อที่จะใช้ในการเก็บสินค้าที่แจกฟรีเข้าไปไว้ใน Account ของเราเอง สามารถกลับมาโหลดไปใช้งานได้ในอนาคตครับ

    เมื่อเราเข้ามาในหน้า Free Goods แล้วก็จะมีในส่วนของ เวลาที่นับถอยหลัง ตรงนี้คือเวลาที่จะแจกสินค้า จะเริ่มนับจากต้นสัปดาห์ เราต้องเข้ามากด Free Download ให้ทันก่อนเวลาจะหมดเพื่อที่จะเก็บเข้า Account ของเรา ถัดมาจะเป็นหลอด Progress bar ถ้าเราซื้อครบ 15$ เราจะสามารถ Download สินค้าฟรีที่เป็น Extra ของสัปดาห์นั้นได้ และสุดท้ายคือรายการสินค้าที่แจกฟรี ซึ่งเราสามารถกด Sync to Dropbox ก็ได้ถ้ามีการเชื่อมต่อเอาไว้ หรือจะกด Free Download เพื่อดาวน์โหลดมาเก็บไว้ก็ได้

    เพียงเท่านี้เราก็จะได้งานกราฟฟิกต่างๆมาแบบฟรีๆ มีลิขสิทธิ์โดยการเข้ามากดรับสินค้าทุกๆสัปดาห์ สะสมไว้เรื่อยๆ นำมาใช้ได้ในทุกๆโอกาส ทั้งนี้ทั้งนั้น การนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ กรุณาอ่านและศึกษา License เพิ่มเติมจากหน้ารายละเอียดสินค้าเนื่องจากบางครั้งก็ให้ License แบบ Personal Use ไม่ใช่ Commercial จะได้ไม่โดนฟ้องจากเจ้าของผลงานนะครับ

    กด Download แล้ว ไปตรวจสอบได้จากที่ไหนหละ ว่าสินค้านั้นเข้าตัวเราแล้ว

    ให้เราไปที่มุมขวา จะมีรูปโปรไฟล์ของท่านอยู่ ให้ทำการ Hover ไว้ จะมีเมนูโผล่ขึ้นมาแล้วเลือกเมนู My Purchases ก็จะมาในหน้าที่ชื่อว่า Purchases หรือสินค้าที่เคยซื้อไปแล้ว ตรงนี้ก็จะเป็นคลังที่เคยกดสะสมไว้ สินค้าที่เคยกด Download จากหน้า Free Goods ก็จะมีอยู่ที่หน้านี้ ซึ่งสามารถมากด Download ย้อนหลังได้เลยครับ

    Tips เล็กๆน้อยๆ

    ในการกด Free Download เพื่อเก็บสินค้าเข้า Account เรา ไม่จำเป็นต้อง Download ลงเครื่องเราจริงๆ เพียงแค่กด Free Download จะมีหน้าต่าง Browse File ขึ้นมาให้เลือกสถานที่บันทึกไฟล์ให้กด Cancel หรือยกเลิกออกมาได้เลย เท่านี้ระบบก็เข้าใจแล้วว่าเราได้ทำการซื้อสินค้าชิ้นนั้นไปแล้วจริงๆ (ตรวจสอบได้จาก Email แจ้งเตือนว่ามีการกดสินค้าชิ้นนั้นๆไป)

    จริงๆแล้วใน Creative Market ยังมีระบบ Blog แชร์เทคนิคการออกแบบและระบบ Community นักออกแบบด้วย ครบจบทุกอย่างเรื่องการออกแบบและดีไซน์ในเว็ปเดียว

    นอกจากกดของฟรีกันแล้ว ถ้ามีโอกาสอยากให้กดซื้อ ช่วยกันอุดหนุน นักออกแบบถ้ามีสินค้าที่ถูกใจเพื่อเป็นกำลังใจ เป็นค่าความคิดสร้างสรรค์ ค่าอุปกรณ์และอีกหลายๆอย่างนะครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ ไว้เจอกันโอกาสหน้าครับ 😀
  • [Adobe XD Tips] How to สร้าง Prototype จาก UI ที่ออกแบบไว้แล้ว

    สวัสดีเพื่อนๆชาว IT/Graphic ทุกท่าน วันนี้เราเคล็ดลับง่ายๆในการสร้าง Prototype ระบบด้วยการนำรูปภาพ User Interface(UI) ที่มีอยู่หรือออกแบบไว้แล้วด้วยเครื่องมือฟรีและดีนั้นคือ Adobe XD

    Prototype คืออะไร

    Prototype คือ การทำ Interactive User Interface หรือหน้าตาของระบบที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ โดยไม่ต้องเขียน code เลย เช่น การคลิกปุ่มใดปุ่มหนึ่งในหน้า UI ทำให้มีการเปลี่ยนหน้าหรือเปลี่ยนสถานะของ object ในหน้านั้นๆ

    การทำ Prototype นั้นจะทำให้ Developer สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น รู้ Flow การทำงานของระบบ อีกทั้งยังสามารถทำเพื่อใช้ในการนำเสนอระบบงานกับลูกค้าได้โดยไม่ต้อง coding

    ถึงเวลาลงมือทำกัน ลุยยย!!

    ขั้นตอนแรกเราจะต้องเตรียมไฟล์รูป UI ที่ออกแบบไว้แล้วไม่ว่าจะทำด้วย Microsoft Powerpoint, Adobe Photoshop, Adobe Illustrator หรือโปรแกรมอื่นๆ

    ขั้นตอนต่อไป เปิดโปรแกรม Adobe XD ขึ้นมาและสร้างหน้าว่างๆขึ้นมา โดย Adobe XD จะมี template ให้เลือกหลักๆเป็น mobile, tablet และ หน้า website ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการสร้าง Prototype สำหรับ Device ประเภทไหนหรืออิงจากขนาดจาก UI ที่ออกแบบไว้เดิมก็สามารถเลือกในส่วนของ Custom Size ได้เช่นกัน

    หลังจากเลือก blank template มาแล้ว ณ ที่นี้ได้เลือก Web 1920 นั้นคือหน้าจอ website ขนาด 1920×1080 ก็จะได้หน้าต่างมาหน้าตาแบบนี้

    เราจะเริ่มจากการทำงานใน Tab แรกกันก่อนนั้นคือ Tab ของ Design เลือกได้จาก Menu Bar ข้างบน

    หลักการของขั้นตอนนี้ คือการนำรูป UI ที่ทำไว้แล้วมาวางลงในตัว Artboard สีขาว 1 หน้า UI จะถูกวางใน Artboard เพียง 1อันและขยายให้เต็ม

    หลังจากนำรูปมาวางแล้ว เราเพิ่มหน้า Artboard ยังไงหละ?? เราจะใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Artboard Tool จากแถบเครื่องมือด้านซ้าย เมื่อคลิกใช้เครื่องมือแล้วตัว Curser ของเราจะเปลี่ยนไปเป็นรูป + เราสามารถคลิกตรงพื้นที่สีเทาเพื่อสร้างหน้าใหม่ขึ้นมาได้เลย (แค่คลิกนะ ไม่ต้องลาก เพราะถ้าลากจะเป็นการสร้างแบบกำหนดขนาดเอง)

    สร้างไปให้จำนวนหน้าว่างเท่ากับจำนวนไฟล์ภาพ UI ที่เรามนำภาพ UI มาวางจนครบ

    ขั้นตอนต่อไปสำคัญมากๆ นั้นคือ การสร้างการเชื่อมโยงระหว่าง Artboard ของเรา โดยปกติแล้วถ้าเราเริ่มออกแบบระบบด้วย Adobe XD ตั้งแต่เริ่ม เราสามารถเลือกได้ว่าวัตถุชิ้นไหนในหน้านี้ที่สามารถคลิกแล้วมีผลอะไรตามมาบ้างได้เลย แต่เราออกแบบมาแล้ว ได้วัตถุมาแค่ชิ้นเดียวนั้นก็คือรูป

    ” เราจะทำการสร้างสี่เหลี่ยมล่องหนขึ้นมาแทน แล้วปรับขนาดให้เท่ากับปุ่มในรูป UI และไม่ต้องใส่สีเข้าไป “ โดยใช้เครื่องมือ Rectangle จากแทบเครื่องมือด้านซ้าย

    เมื่อเราสร้างสี่เหลี่ยมขึ้นมาจะมีแทบ Properties ด้านขวา ให้ทำการเอาติ๊กถูกหน้าช่องของ Fill และ Border ออก สี่เหลี่ยมสีขาวก็จะกลายเป็นสี่เหลี่ยมล่องหนไปทันใด เราจะทำแบบนี้กับปุ่มทุกปุ่มที่เราต้องการจะให้คลิกได้

    และขั้นตอนสุดท้าย นั้นคือการตั้งให้การคลิกสี่เหลี่ยมล่องหนนี้ทำอะไร เราจะทำผ่าน Tab ที่2 ชื่อ Prototype จากแถบ Menu Bar ข้างบน

    เมื่อกดเข้ามาใน Prototype Tab เราจะเห็นสี่เหลี่ยมล่องหนของเราถูก Highlight ด้วยสีฟ้าและมีลูกศรที่ด้านขวาของสี่เหลี่ยม ให้เราคลิกที่ลูกศร แล้วจะมีแถบด้านขวาขึ้นมาให้ตั้งค่าการ Interact

    ในส่วนของ Trigger ให้เลือกเป็น Tap นั้นก็คือการคลิกกล่องสี่เหลี่ยมดังกล่าว Type ให้เลือกเป็น Transition ในกรณีของการเปลี่ยนหน้า หรือเลือก Auto-Animate ในกรณีที่คลิกวัตถุนั้นแล้วมีการเปลี่ยนสถานะ

    Destination คือปลายทางที่จะไปนั้นก็คือ Artboard ที่เราวางรูปหน้า UI เอาไว้ เราสามารถเลือกได้จาก dropdown ได้เลย และอันสุดท้ายนั้นคือ Animation โดยทั่วไปจะเลือกเป็น Dissolve นั้นคือการสลับหน้าทั่วไปๆ มีหลายโหมดให้เล่น ลองดูได้ครับ

    เมื่อเชื่อมเสร็จก็จะมีลูกศรจากวัตถุของเราชี้ไปหา Artboard ปลายทาง เป็นอันเสร็จสิ้น

    แถม!! ในขั้นตอนการเชื่อมโยง Artboard เราสามารถคลิกค้างที่ลูกศรแล้วลากไปยัง Artboard ปลายทางได้เลย ไม่ต้องไป set จากแถบด้านขวาก็ได้

    จบกันไปที่เรียบร้อยสำหรับการทำ Prototype เบื้องต้นจากไฟล์ภาพ UI ที่มีอยู่แล้ว ยังมี Adobe Tips อื่นๆอีกมากมายให้ติดตามเร็วๆนี้ สำหรับบทความนี้หวังว่าทุกท่านจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไม่มากก็น้อย สวัสดีครับ