วิธีการติดตั้ง Windows HPC Cluster
โดยใช้ Windows HPC Server 2008 R2
1. Hardware ที่ใช้ในการติดตั้ง
สำหรับ hardware ที่ใช้ในการทำ Windows Hpc Cluster มีดังนี้ pc จำนวน 2 เครื่อง โดย pc เครื่องหนึ่งต้องมี Network Interface Card จำนวน 2 card จำลองเป็นเครื่อง frontend ส่วนอีกเครื่องเป็นเครื่องสำหรับการ compute มี Network Interface Card 1 card และมี switch 1 ตัว
2. ติดตั้งซอฟต์แวร์บน Head Node (Frontend) สำหรับ Windows HPC Cluster
การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับ Head Node ของ Windows HPC Cluster ประกอบด้วย การติดตั้งWindows Server 2008 R2, Active Directory Domain Services, และ Microsoft HPC Pack 2008 R2
2.1 การติดตั้ง windows server 2008 R2
การติดตั้ง Windows Server 2008 R2 บน Head Node ของ Windows HPC Cluster ในที่นี้ได้เลือกการติดตั้ง Windows Server 2008 R2 บน Head Node โดยใช้ Enterprise Edition ซึ่งทำการติดตั้งแบบ Full Installation และได้แบ่ง Disk Partition 2 Partition คือ Partition C: สำหรับติดตั้ง Windows Server 2008 R2 กับ Partition D: สำหรับใช้แชร์ข้อมูลให้กับเครื่องอื่นๆ บน Windows HPC Cluster
หลังจากการติดตั้ง Windows Server 2008 R2 บน Head Node เสร็จสิ้น ให้ตั้งค่าของ WindowsServer 2008 R2 บน Head Node ดังนี้
1. Full computer name โดยเข้าไปที่ Start -> Control Panel -> System and Security -> System ในหัวข้อ Computer name, domain, and workgroup settings กดเลือก Change settings ปรากฏหน้าต่าง System Properties ในหัวข้อ Computer Name กดปุ่ม Change โดยตัวอย่างของ Fullcomputer name เช่น headnode เป็นต้น
2. Configure Network โดยเข้าไปที่ Start -> Control Panel -> Network and Internet -> Networkand Sharing Center -> Change adapter settings ในที่นี้ กำหนดให้ Head Node มี 2 Networkadapter สำหรับ Public Network และ Private Network โดยให้ทำการคอนฟิกส์รายละเอียดของทั้งPublic และ Private Network ในส่วนของ IP, Subnet mask, Gateway, และ DNS server (ในส่วนของ Private Network อาจระบุเพียง IP และ Subnet mask)
3. Activate Windows
4. Set Date and Time โดยเข้าไปที่ Start -> Control Panel -> Clock, Language, and Region ในหัวข้อ Date and Time ให้เซ็ต time and date และ time zone
5. Turn On Windows Automatically Update โดยเข้าไปที่ Start -> Control Panel -> System andSecurity -> Windows Update แล้วกดปุ่ม Turn On Windows Update
6. Install/Update Drivers แนะนำว่า ควรติดตั้ง/อัพเดท Driver สำหรับ Hardware ต่างๆ ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด และตรงกับระบบปฏิบัติการที่ใช้ โดยเฉพาะ Driver ในส่วนของ Network Card
2.2 ติดตั้ง Active Directory Domain Services
การติดตั้ง Active Directory Domain Services (เป็น Server Roles ตัวหนึ่ง) บน Head Node และเป็นการตั้งค่าให้ Head Node เป็น Active Directory Domain Controller พร้อมทั้งสร้าง Domain ที่ใช้สำหรับการทำงานในส่วนของ Windows HPC Cluster โดยเฉพาะ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Server Manager โดยเข้าไปที่ Start -> Administrative Tools -> Server Manager ให้เลือกRoles -> Add Roles แล้วกด Next
2. เลือก Active Directory Domain Services แล้วกด Next และ Next และ Install (ขั้นตอนที่ 1 และ 2 นี้จะเป็นการติดตั้ง AD DS binary)
3. หลังจากการติดตั้ง AD DS binary เสร็จสิ้น ให้ทำการรัน AD DS Installation Wizard โดย Start ->Run แล้วระบุคำสั่ง dcpromo เพื่อทำการเซ็ตให้ Head Node เป็น Active Directory Domain Controller พร้อมทั้งสร้าง Domain ที่ใช้สำหรับการทำงานในส่วนของ Windows HPC Cluster โดยเฉพาะ โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.1 เมื่อปรากฏ “AD DS Installation” wizard ให้กด Next (ไม่ใช้ Use advanced mode installation)
3.2 ในหัวข้อ “Choose a Deployment Configuration” ให้เลือก “Create a new domain in a new forest” (เป็นการระบุว่า จะมีการสร้าง Domain ใหม่ และเครื่องที่รันนี้ จะเป็น Domain Controller) แล้วกด Next
3.3 ระบุ “fully qualified domain name (FQDN)” (ของ Domain ที่ต้องการสร้างใหม่ (จากที่ระบุในข้อ 3.2) ซึ่งในที่นี้ คือ Domain สำหรับการทำงานในส่วนของ Windows HPC Cluster) แล้วกด Next ตัวอย่างเช่น winhpc.myorg.org เป็นต้น โดย FQDN นั้น ถือว่าเป็น ชื่อของ Domainซึ่งทำให้สามารถแยก Domain ต่างๆ ออกจากกัน และเมื่อมีเครื่อง Join เข้ามาสู่ Domain นั้นFull computer name ของเครื่องนั้น (ซึ่งจะปรากฏให้เห็นบน Domain) จะถูกระบุเป็น[Traditional Full computer name].[FQDN] เช่น headnode.winhpc.myorg.org เป็นต้น
3.4 ระบุ “Forest functional level” เป็น Windows Server 2008 R2 แล้วกด Next
3.5 ในหัวข้อ “Additional Domain Controller Options” ที่ปรากฏ จะมีการเลือก DNS Serverเพิ่มเติม สำหรับการติดตั้งไว้ให้อยู่แล้ว ก็ให้กด Next ต่อไปได้เลย (เมื่อปรากฏคำถามให้ตอบ yes)3.6 ในหัวข้อ “Location for Database, Log files, and SYSVOL” ให้ระบุตาม Defaults ที่ปรากฏคือ Database กับ Log files folder คือ C:\Windows\NTDS และ SYSVOL folder คือC:\Windows\SYSVOL
3.7 ระบุ “Directory Services Restore Mode Administrator Password” (ใช้เมื่อ “This domain controller is started in Directory Services Restore Mode”) แล้วกด Next
3.8 ปรากฏ “Summary” ให้กด Next เมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้น ให้กด Finish แล้วทำการ Restart
2.3 ติดตั้ง Microsoft HPC Pack 2008 R2
ในที่นี้ เลือกการติดตั้ง Microsoft HPC Pack 2008 R2 Enterprise ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. รัน “setup.exe” จาก HPC Pack 2008 R2 installation media เพื่อรัน “the HPC Pack 2008 R2 installation” wizard
2. ปรากฏหน้า “Getting Started” ให้กด Next
3. ปรากฏหน้า “Select Installation Edition” ในที่นี้ เลือก “HPC Pack 2008 R2 Enterprise and HPC Pack 2008 R2 for Workstation” แล้วกด Next
4. ปรากฏหน้า “Microsoft Software License Terms” ให้เลือก Accept แล้วกด Next
5. ปรากฏหน้า “Select Installation Type” ในที่นี้ เลือก “Create a new HPC cluster by creating a head node” แล้วกด Next
6. ปรากฏหน้า “Select Installation Location for HPC Databases” ในที่นี้ กำหนดให้ HPC Databases ทั้งหมด (Cluster management, Job scheduling, Reporting, Diagnostics) ถูกติดตั้งบน Head Node แล้วกด Next
7. ปรากฏหน้า “Instance for Local HPC Databases” สำหรับในกรณีการติดตั้งครั้งแรกนี้ จะปรากฏข้อความขึ้นว่า “No SQL Server 2008 SP1 instances were detected on this computer” จึงทำให้ Installation wizard ปรากฏข้อความว่า “A new SQL Server 2008 instance, named COMPUTECLUSTER, will be installed on this computer” ให้กด Next ต่อไป (SQL Server 2008 Instance ที่ชื่อ COMPUTECLUSTER ที่จะถูกสร้างนั้น จะถูกใช้เป็น Instance for Local HPC Databases นั้นเอง)
8. ปรากฏหน้า “Specify Folders for Local HPC Database” ในที่นี้ กำหนดให้ “Install all databases in the same folders: ” โดยเก็บที่ “C:\Program Files\Microsoft HPC Pack 2008 R2\SQLDB” ทั้งในส่วนของ Database และ Database log (ตาม Default ที่ปรากฏ) แล้วให้กด Next
9. ปรากฏหน้า “Select Installation Location” สำหรับ Microsoft HPC Pack 2008 R2 ในที่นี้ จะระบุตาม Default ที่ปรากฏ คือ “Files: C:\Program Files\Microsoft HPC Pack 2008 R2\” และ “Data: C:\Program Files\Microsoft HPC Pack 2008 R2\Data\” แล้วให้กด Next
10. ปรากฏหน้า “Select Method for Updates” ในที่นี้ เลือก “Use Microsoft Update when I check for updates (recommend)” แล้วให้กด Next
11. ปรากฏหน้า “Customer Experience Improvement Program” ในที่นี้ เลือก “Yes, I want toanonymously participate in the program (recommended)” แล้วให้กด Next
12. ปรากฏหน้า “Install Required Components” จะปรากฏ “The following is a list of components that must be installed with Microsoft HPC Pack 2008 R2” ให้กด Install กับทุก Components ที่ปรากฏ ประกอบด้วย
12.1 Microsoft .Net Framework 3.5 SP1
12.2 Microsoft Report Viewer 2008 SP1
12.3 Routing and Remote Access Service
12.4 DHCP Server
12.5 Windows Deployment Services (Transport)
12.6 Microsoft SQL Server 2008 SP1
12.7 Message Queuing
12.8 Microsoft HPC Pack 2008 R2 MS-MPI Redistributable Pack
12.9 Microsoft HPC Pack 2008 R2 Client Components
12.10 Microsoft HPC Pack 2008 R2 Server Components
12.11 Microsoft HPC Pack 2008 R2 Services for Excel 2010
13. เมื่อปรากฏหน้า “Installation Complete” ให้กด Finish (แนะนำให้ทำการ Restart สักครั้ง หลังจากเสร็จสิ้น)
3. การตั้งค่า Head Node สำหรับ Windows HPC Cluster
หลังจากติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็นบน Head Node สำหรับ Windows HPC Cluster เสร็จสิ้น ขั้นตอน ต่อไป คือ การตั้งค่ารายละเอียดพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็น บน Head Node สำหรับใช้ในการสร้าง Windows HPC Cluster ซึ่งประกอบด้วย Configure the HPC Cluster Network, Provide Installation Credentials, Configure the Naming of New Nodes และ Create a Node Template โดยการตั้งค่าสามารถทำได้ผ่านทาง HPC Cluster Manager ซึ่งได้จากการติดตั้ง Microsoft HPC Pack 2008 R2 โดยสามารถเรียก HPC Cluster Manager ได้จาก Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 -> HPC Cluster Manager
3.1 Configure the HPC Cluster Network
HPC Cluster Manager กำหนดรูปแบบของการตั้งค่า HPC Cluster Network ที่ใช้สำหรับ WindowsHPC Cluster ไว้อยู่ 5 Topology (แต่ละ Topology มีผลต่อ จำนวน Network Interface Card (NIC) ที่ใช้ทั้งของHead Node และ Compute Nodes) คือ
Topology 1: Compute Nodes Isolated on a Private Network
Topology 2: All Nodes on Enterprise and Private Network
Topology 3: Compute Nodes Isolated on Private and Application Networks
Topology 4: All Nodes on Enterprise, Private, and Application Networks
Topology 5: All Nodes on an Enterprise Network
ในที่นี้ จะเลือกรูปแบบของการตั้งค่า HPC Cluster Network ในแบบ Topology 1: Compute NodesIsolated on a Private Network (Head Node ต้องมี NIC อย่างน้อย 2 การ์ด และ Compute Nodes ต้องมี NIC อย่างน้อย 1 การ์ด) โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Configuration”
2. ในหัวข้อ “Deployment To-do List” ในส่วนของ “Required deployment tasks” ให้กดเลือก“Configure your network” จะปรากฏ “Network Configuration Wizard” สำหรับการตั้งค่าHPC Cluster Network
3. ปรากฏหน้า “Network Topology Selection” ในที่นี้ เลือกแบบ “1. Compute nodes isolated on aprivate network” แล้วกด Next
4. ปรากฏหน้า “Enterprise Network Adapter Selection” ให้เลือก Network Adapter ที่ต้องการใช้สำหรับ Connect to the enterprise network แล้วกด Next (ในกรณีที่ Network Adapter ที่เลือก เป็นNetwork Adapter ที่ใช้สำหรับ Public Network พร้อมทั้งมีการตั้งค่ารายละเอียด เช่น IP,Subnet mask, Gateway, DNS servers เป็นต้น ไว้อยู่ก่อนแล้วนั้น ในการตั้งค่า HPC ClusterNetwork ก็จะไม่ปรากฏส่วนของ “Enterprise Network Configuration” เนื่องจาก มีรายละเอียดอยู่แล้วนั้นเอง)
5. ปรากฏหน้า “Private Network Adapter Selection” ให้เลือก Network Adapter ที่ต้องการใช้สำหรับConnect to the private network แล้วกด Next
6. ปรากฏหน้า “Private Network Configuration” ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องตั้งค่าดังนี้
6.1 ระบุ “a static IP address for the head node on the private network” ตัวอย่างเช่น ถ้า
กำหนดให้ Private Network ที่ใช้ คือ 10.100.96.80 / 28 (28 คือ Subnet mask:255.255.255.240) ซึ่งมี Range ของ IP ที่สามารถใช้ได้ คือ 10.100.96.81 – 10.100.96.94 และBroadcast IP คือ 10.100.96.95 ดังนั้น ตัวอย่างนี้ จะกำหนดให้ A Static IP address for the head node on the private network ที่ใช้ คือ 10.100.96.81 และมี Subnet mask คือ 255.255.255.240 เป็นต้น
6.2 เลือก “Enable network address translation (NAT) on the head node” ซึ่งเป็นการระบุว่า ให้ทำ NAT บน Head Node เพื่อทำให้ Compute Nodes สามารถสื่อสารออกไปยัง Internet ได้
6.3 เลือก “Enable DHCP and define a scope” เพื่อเป็นการระบุว่า ใช้การ DHCP สำหรับการระบุIP ให้กับ Compute Nodes ของ Windows HPC Cluster พร้อมทั้งระบุรายละเอียดของการDHCP ประกอบด้วย Starting IP address, Ending IP address, Gateway, และ DNS server ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการกำหนด Private Network และ Static IP address for the head node on the private network ดังตัวอย่างที่ใช้ในข้อ 6.1 ในรายละเอียดของการ DHCP จะปรากฏ Starting IP address คือ 10.100.96.82, Ending IP address คือ 10.100.96.94, Gateway คือ 10.100.96.81,และ DNS server คือ 10.100.96.81 (รายละเอียดของการ DHCP จะถูกคำนวณโดยอัตโนมัติจากข้อมูลการระบุ Static IP address for the head node on the private network ในข้อ 6.1 และ Gateway กับ DNS server ที่ถูกระบุให้กับ Compute Nodes ก็คือ Static IP address for the head node on the private network นั้นเอง)
7. ปรากฏหน้า “Firewall Setup” ในที่นี้ เลือก “Automatically apply firewall settings to thenetworks and nodes in the cluster (recommended)” โดยกำหนดให้ “Enterprise network : ON” และ “Private network : OFF” แล้วกด Next
8. ปรากฏหน้า “Review” ให้กด Configure
9. ปรากฏหน้า “Configuration Summary” ให้กด Finish
3.2 Configure Provide Installation Credentials
ขั้นตอนนี้ เป็นการระบุ username และ password ในการตั้งค่าเมื่อมีการเพิ่ม node ใหม่ในWindows HPC Cluster โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Configuration”
2. ในหัวข้อ “Deployment To-do List” ในส่วนของ “Required deployment tasks” ให้กดเลือก“Provide installation credentials” จะปรากฏ “Installation Credentials” dialog box
3. ระบุ “User name” รวมถึง “Domain” (Domain\User) พร้อมทั้งใส่ “Password” ของ Domain UserAccount ที่ต้องการใช้สำหรับ “Deploy compute nodes and to run diagnostic tests” แล้วกด OKตัวอย่างเช่น ถ้ากำหนดให้ Domain ที่ใช้สำหรับ Windows HPC Cluster มี Full Qualified Domain Name (FQDN) คือ winhpc.myorg.org ในการระบุ Domain User Account ภายใต้ Domain นี้สามารถทำได้ ในรูปแบบ WINHPC\User เช่น WINHPC\Administrator เป็นต้น โดยในที่นี้เลือกใช้ Domain User Account สำหรับ Provide Installation Credentials คือ [Domain]\Administrator
3.3 Configure the Naming of New Nodes
Windows HPC Server 2008 R2 กำหนดรูปแบบของการ Deploy Compute Nodes เข้าสู่ Windows HPCCluster ไว้อยู่ 3 แบบ คือ
1. From bare metal
2. Add preconfigured compute nodes.
3. Import a node XML file.
ในที่นี้จะเลือกรูปแบบของการ Deploy Compute Nodes เข้าสู่ Windows HPC Cluster เป็นแบบ Form bare metal ซึ่งรูปแบบนี้ Windows HPC Server 2008 R2 จะระบุ Computer Name ให้กับ Compute nodes ใหม่ที่ถูก Deploy โดยอัตโนมัติ ซึ่ง Computer Names ที่ใช้ในการระบุนั้น จะถูกตั้งค่าไว้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Configuration”
2. ในหัวข้อ “Deployment To-do List” ในส่วนของ “Required deployment tasks” ให้กดเลือก“Configure the naming of new nodes” จะปรากฏ “Specify Node Naming Series” dialog box
3. ระบุ “Naming Series” แล้วกด OK ตัวอย่างเช่น compute-%0000% เป็นต้น
3.4 Create a Node Template
ในที่นี้ จะกล่าวถึงการ Create a Node Template ในประเภท Computer node template โดยใช้รูปแบบ Deploy compute nodes from bare metal using an operating system image โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Configuration”
2. ในหัวข้อ “Deployment To-do List” ในส่วนของ “Required deployment tasks” ให้กดเลือก“Create a node template” จะปรากฏ “Create Node Template Wizard”
3. ปรากฏหน้า “Choose Node Template Type” ในที่นี้ เลือกระบุการสร้างประเภท “Compute node templates” แล้วกด Next
4. ปรากฏหน้า “Specify Template Name” ให้ระบุ “Template name” ที่ต้องการ เช่น DefaultCompute Node Template เป็นต้น แล้วกด Next
5. ปรากฏหน้า “Select Deployment Type” ในที่นี้ ระบุ “With operation system” แล้วกด Next
6. ปรากฏหน้า “Select Operating System Image” ในกรณีที่มี Operating system image ที่ต้องการใช้ในการ Deploy ปรากฏอยู่ใน “Image Name” list แล้วนั้น ก็ให้เลือก image ที่ต้องการ แล้วข้ามไปข้อ 7. แต่ในกรณีที่ยังไม่มี Operating system image เลย หรือต้องการใช้ Operating system image ที่ไม่มีใน “Image Name” list ก็ให้ทำการ Add Image ก่อน โดยกด “Add Image” จะปรากฏ “Add Operating System Image” dialog box ให้เลือก “Create a new operating system image” แล้วระบุ “Windows setup file location” ที่ต้องการใช้ และระบุ “Name for the new WIM file” (ชื่อที่ระบุจะไปปรากฏใน “Image Name” list โดย Windows Image file (.WIM) ซึ่งเป็น OS image ที่สร้างจะถูกเก็บไว้ที่ [Installation Directory of Microsoft HPC Pack 2008 R2]\Data\InstallShare\Images เช่น C:\Program Files\Microsoft HPC Pack 2008 R2\Data\InstallShare\Images เป็นต้น) แล้วกดOK หลังจากการ Add Image เสร็จสิ้น ก็ให้ทำการเลือก Image ที่ต้องการใช้กับ Template นี้ จาก“Image Name” list ที่ปรากฏ
7. ขั้นตอนนี้ เป็น Optionally ในส่วนของการระบุว่า ต้องการ “Multicast the operation system image during deployment” หรือไม่ โดยในที่นี้ ระบุ ไม่ต้องการ (ไม่เลือก)
8. ขั้นตอนนี้ เป็น Optionally ในส่วนของการระบุว่า ต้องการ “Include a product key to activate the operating system on the nodes” หรือไม่ โดยในที่นี้ ระบุ ไม่ต้องการ (ไม่เลือก) (เนื่องจาก ในกรณีนี้ เลือกใช้ OS image ที่ไม่ใช่ตัว Trial ซึ่งจะไม่มีการถาม Product key ในระหว่างการติดตั้ง โดยจะให้ Activate หลังจากการติดตั้ง ซึ่งทำให้สามารถ ไม่ต้องเลือก “Include a product key to activate the operating system on the nodes” ได้ โดยไปดำเนินการเอง ภายหลังการ Deploy เสร็จสิ้น แต่ในกรณีที่เลือกใช้ OS image แบบ Trial นั้น ในระหว่างการติดตั้ง จะมีการถาม Product key ซึ่งถูกระบุสำหรับ Trial version โดยเฉพาะ ทำให้ในกรณีที่ใช้ OS image แบบ Trial นั้น จำเป็นต้องเลือก“Include a product key to activate the operating system on the nodes” พร้อมทั้งระบุ Product key ไม่เช่นนั้นแล้ว การ Deploy จะเกิดข้อผิดพลาด ในระหว่างการติดตั้ง OS)
9. เมื่อระบุรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการ ในหน้า “Select Operating System Image” เสร็จสิ้นแล้ว ให้กด Next
10. ปรากฏหน้า “Specify Local Administrator Password for Node” ให้เลือก “Use a specific password” และระบุ Password ที่ต้องการใช้ แล้วกด Next
11. ปรากฏหน้า “Specify Windows Updates” ในที่นี้ ไม่เลือกทั้งในส่วน “Include a step in the template to download and install updates for my cluster using Microsoft Update or the Enterprise Windows Server Update Services (WSUS)” และ “Add specific updates to the template” โดยให้กด Next ผ่านเลย
12. ปรากฏหน้า “Review” กด Create
3.5 Add Drivers for the Operating System Images
โดยการ “Add Drivers for the Operating System Images” โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Configuration”
2. ในหัวข้อ “Deployment To-do List” ในส่วนของ “Optional deployment tasks” ให้กดเลือก“Manage Drivers” จะปรากฏ “Manage Drivers” wizard
3. Add Drivers โดยกด “Add” จะปรากฏ “Open” wizard ให้ทำการเลือก Device Driver ที่ต้องการแล้วกด “Open” จะพบว่า ปรากฏ Device Driver (ไฟล์ “.inf” ขึ้นมา)
4. ตรวจสอบ Environment ของการคอนฟิกส์ Head Node ก่อน Deploy Nodes เข้าสู่ Windows HPC Cluster
ในกรณีที่ใช้การ Deploy Nodes แบบ From bare metal นั้น สิ่งหนึ่งที่แนะนำว่า ควรต้องทำก่อนการDeploy Nodes เข้าสู่ Windows HPC Cluster คือ “Run a set of diagnostic tests that can help you find common problems that can affect node deployment” โดยสามารถทำได้ ตามขั้นตอนดังนี้ (แนะนำว่าควรทำการ Restartก่อนสักครั้ง)
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Configuration”
2. ในหัวข้อ “Deployment To-do List” ในส่วนของ “Optional deployment tasks” ให้กดเลือก“Validate your environment before deploying nodes” จะปรากฏ “Connect to diagnostic service” dialog box
3. ระบุ “the domain credentials that you want to use for running diagnostic tests” ในที่นี้ เลือกระบุ [Domain Name]\Administrator เช่น WINHPC\Administrator เป็นต้น พร้อมทั้งระบุ Password ของ Domain credential ที่ใช้ แล้วกด OK
5. เพิ่ม Nodes เข้าสู่ Windows HPC Cluster
Windows HPC Server 2008 R2 มีวิธีการเพิ่ม Nodes เข้าสู่ Cluster อยู่ 3 วิธี คือ
1. Deploy nodes from bare metal
2. Add nodes by importing a node XML file
3. Add preconfigured nodes
ในที่นี้ได้ใช้วิธีการเพิ่ม nodes ใหม่โดยใช้วิธี Deploy nodes from bare metal ซึ่งจะง่ายต่อการเพิ่ม nodes เพราะเครื่องที่นำมาในการเพิ่ม nodes นั้นไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก่อนโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เปิด HPC Cluster Manager โดย Start -> All Programs -> Microsoft HPC Pack 2008 R2 ->HPC Cluster Manager กดเลือกหัวข้อ “Node Management”
2. ปรากฏหน้า “Node Management” ใน “Actions” pane กด “Add Node” จะปรากฏ “Add Node Wizard”
3. ปรากฏหน้า “Select Deployment Method” เลือก “Deploy nodes from bare metal using an operating system image” แล้วกด Next
4. ปรากฏหน้า “Select New Nodes” ให้เลือก “The name of a node template that includes a step to deploy an operating system image” ที่ต้องการ (ตามหัวข้อ 3.4) ใน “Node template” list
5.กำหนดให้คอมพิวเตอร์ที่ต้องการนำมาทำเป็น compute node boot ผ่าน Ethernet “Select New
6.หน้า “Select New Nodes” ในเครื่องheadnode ให้เลือกselect all กด deploy
7. หน้า Completing the Add Node Wizard เลือก “Continue responding to all PXE requests”. (เลือกสำหรับกรณี Nodes ใหม่ ซึ่งไม่เคยมีอยู่ใน Cluster มาก่อน) ถ้าเป็น Nodes ที่เคยมีการเอาออกแล้วต้องการเพิ่มเข้าไปใหม่ให้เลือก “Respond only to PXE requests that come from existing nodes”.จากนั้นกด finish
ในส่วนของการสร้าง Windows Cluster นี้สามารถนำไปใช้ในการประมวลผลสมรรถนะสูง เช่นเดียวกับ Rocks Cluster
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามcredit ครับ
Credit http://technet.microsoft.com/en-us/library/ee783547%28WS.10%29.aspx