Remote ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นด้วย Chrome Browser

การใช้งานเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลหรือการ remote จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง นับว่ามีความจำเป็นเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน ซึ่งตัวระบบปฏิบัติการเองก็มีเครื่องมือรองรับ เช่น ใน Windows จะมี Remote Desktop นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่รองรับการทำงานลักษณะนี้ เช่น TeamViewer หรือ AnyDesk ซึ่งบางซอฟต์แวร์หากใช้งานในลักษณะฟรี ก็อาจจะมีข้อจำกัดในการใช้งานบ้าง ดังนั้นในบทความนี้จะนำเสนอการใช้งาน remote ผ่าน chrome browser ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี และค่อนข้างจะรองรับการทำงานทั่ว ๆ ไปได้ โดยไม่จำกัดเรื่องการเข้าใช้งาน (บางซอฟต์แวร์อาจจะมีการจำกัดจำนวนครั้งในการใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น)

เตรียมการเบื้องต้นก่อนการใช้งาน

  1. ติดตั้ง chrome browser ทั้งฝั่งเครื่องต้นทางและฝั่งเครื่องปลายทาง
  2. เตรียมบัญชีผู้ใช้งานสำหรับ google หรือ google account เพื่อใช้สำหรับ remote

ขั้นตอนการติดตั้งและตั้งค่า Extensions “Chrome Remote Desktop”

  1. การใช้งาน remote ผ่าน chrome browser นั้น อันดับแรกจะต้องทำการติดตั้ง Extensions เพิ่มก่อน ซึ่งก็คือ Chrome Remote Desktop ซึ่งช่องทางการดาวน์โหลดสามารถทำได้จากเมนูที่อยู่ในหน้าจอ chrome ได้เลยดังรูป โดยการกดที่เมนู Apps

ถ้าไม่เจอเมนู Apps ให้ไปที่เมนู Bookmarks และเลือก Show bookmark bar ดังรูป

จะปรากฏแถบว่าง ๆ ใต้ช่อง URL ซึ่งแถบนี้ก็คือ bookmark bar นั่นเอง

คลิกขวาที่ bookmark bar จากนั้นเลือกเมนู Show apps shortcut

เมื่อกดเลือกเมนู Apps แล้ว ในหน้าจอ chrome จะปรากฏรายการดังนี้

เลือก Web Store เพื่อเข้าไปดาวน์โหลด Chrome Remote Desktop

2. ในช่อง Search the store พิมพ์ chrome remote desktop เพื่อค้นหา

กดเลือก Chrome Remote Desktop จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้ง extension นี้เพิ่มเติมให้กับ chrome browser

เมื่อกดปุ่ม Add to Chrome จะมีกล่องข้อความถามเพื่อยืนยันการติดตั้ง ให้กดปุ่ม Add extension เพื่อยืนยัน

เมื่อติดตั้งสำเร็จจะมีข้อความแจ้งดังรูป

สังเกตว่าหลังช่อง URL จะปรากฏไอคอน

ซึ่งมีไว้สำหรับแสดงและเรียกใช้งาน extensions ที่ติดตั้งไปนั่นเอง

3. ทำการติดตั้ง Chrome Remote Desktop ทั้งฝั่งเครื่องต้นทางและปลายทางที่ต้องการ remote

4. การเรียกใช้งานสามารถทำได้ดังรูป

จากนั้นเลือก Chrome Remote Desktop

5. ก่อนที่จะทำการ remote หรือตั้งค่าการ remote จะต้องทำการ login บน chrome browser ก่อนด้วยบัญขี google ที่ได้เตรียมไว้

6. เริ่มต้นการตั้งค่าครั้งแรกโดยเลือก Remote Access ซึ่งครั้งแรกสุดจะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมก่อน

กดตรงไอคอนดังรูป เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้งเพิ่มเติม

ไฟล์ติดตั้งชื่อ chromeremotedesktophost.msi

รันไฟล์นี้เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม หรือกดยอมรับและติดตั้งจากหน้าจอ chrome browser ดังรูป

ในขั้นตอนการติดตั้งจะมีให้ตั้งชื่อเครื่อง

จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนในการสร้างรหัส PIN โดย PIN นี้ใช้สำหรับให้เครื่องต้นทางที่ต้องการ remote เข้ามา ทำการกรอกเพื่อเชื่อมต่อ

เมื่อตั้งค่าเสร็จสิ้นทั้งเครื่องต้นทางและปลายทางแล้ว ในบัญชี google เดียวกัน จะเห็นเครื่องที่เราได้ตั้งค่า remote ไว้ดังรูป

7. สามารถแก้ไขชื่อเครื่องและตั้งค่ารหัส PIN ใหม่โดยเลือกที่ไอคอน

จะเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่าดังรูป

8. การปิดการเชื่อมต่อระยะไกล สามารถทำได้โดยการเลือกที่ไอคอน

เมื่อปิดการเชื่อมต่อแล้วสามารถกลับมาเปิดใหม่ได้อีกครั้งดังรูป

9. เริ่มต้นการ remote โดยเลือกรายการที่เป็น อุปกรณ์ระยะไกล

จากนั้นจึงใส่รหัส PIN ที่ได้ตั้งค่าไว้สำหรับเครื่องนั้น ๆ (เครื่องปลายทาง) ก็จะสามารถ remote เข้าไปที่เครื่องปลายทางได้

เมื่อ remote สำเร็จแล้ว สามารถควบคุมการทำงานจากเครื่องต้นทางได้เสมือนไปทำงานอยู่ที่เครื่องปลายทาง

ส่วนด้านขวาของหน้าจอจะมีสัญลักษณ์คล้ายหัวลูกศร สำหรับใช้เพื่อเรียกเมนูสำหรับปรับแต่งและควบคุมการทำงานของหน้าจอ remote

การตั้งค่าการควบคุมระยะไกล หรือ Remote Support

การตั้งค่าการควบคุมระยะไกล หรือ Remote Access ที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ เป็นการตั้งค่าสำหรับการรีโมต โดยอาศัยบัญชี google บัญชีเดียวกันเพื่อ remote ไปมาระหว่างเครื่องสองเครื่องหรือมากกว่า แต่หากต้องการ remote โดยใช้บัญชี google อื่นสามารถตั้งค่าได้ในส่วนของ Remote Support ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้เหมาะกับการที่จะให้ผู้ที่ทำงานอยู่อีกเครื่องทำการ remote เข้ามาช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาที่หน้าจอของอีกฝ่าย เช่น ผู้ดูแลระบบ remote ไปช่วยดูปัญหาที่เครื่องของผู้ใช้ โดยทั้งผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ต่างก็มีบัญชี google เป็นของตัวเอง

  1. ลักษณะการใช้งาน Remote Support จะเป็นการสร้างรหัส PIN สำหรับการเข้าถึงเป็นครั้ง ๆ ไป
  2. หน้าจอการใช้งาน จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ฝั่งรับการสนับสนุน และฝั่งให้การสนับสนุน

3. ฝั่งเครื่องที่ที่ต้องการรับการสนับสนุน ต้องทำการสร้างรหัสสำหรับให้เครื่องที่จะเข้ามาสนับสนุนทำการกรอกดังรูป

4. ฝั่งเครื่องที่จะเข้ามาสนับสนุน หรือ remote เข้ามาช่วยเหลือ จะต้องได้รับแจ้งรหัสตัวเลขที่ทางฝั่งเครื่องปลายทางแจ้งมา เพื่อนำมากรอกในส่วนของ ให้การสนับสนุน

จากนั้นกดปุ่มเชื่อมต่อ

5. เมื่อฝั่งเครื่องที่จะเข้ามาสนับสนุนกรอกรหัสและกดปุ่มเชื่อมต่อ ฝั่งเครื่องที่ขอรับการสนับสนุน จะปรากฏข้อความให้ยืนยันว่าจะยอมรับการเชื่อมต่อหรือไม่

เมื่อตอบ Share แล้ว ฝั่งเครื่องที่จะ remote เข้ามาก็จะสามารถเชื่อมต่อเข้ามาที่เครื่องที่ขอรับการสนับสนุนได้

และฝั่งผู้รับการสนับสนุนสามารถหยุดการเชื่อมต่อได้โดยเลือก Stop Sharing จากแถบเมนูด้านล่าง

เบื้องหลังการทำงาน

สำหรับการทำงานเบื้องหลัง จะมี Service ที่ชื่อ Chrome Remote Desktop Service ที่คอยตรวจสอบและจัดการเรื่องการเชื่อมต่อ

ดังนั้น หากมีปัญหาเชื่อมต่อไม่ได้อาจจะตรวจสอบว่า service นี้ยังทำงานอยู่หรือไม่

อ้างอิง สามารถดูข้อมูลการตั้งค่าและการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่

https://support.google.com/chrome/answer/1649523?co=GENIE.Platform%3DDesktop&hl=en