Month: March 2023

  • การใช้/พิมพ์ สระ เอ แอ ในระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์

    เด็กสมัยนี้….คนที่เอ่ยถึงว่าเด็กสมัยนี้อายุอานามก็น่าจะประมาณ 30 ปีขึ้นไปละ มาดูซิว่าเด็กสมัยนี้มีอะไรบ้างที่คนรุ่นก่อนไม่เข้าใจบ้าง

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ( E-Admission )

    จากการใช้งานระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือ E-Admission ในปีการศึกษา 2566 อายุผู้สมัครประมาณ 17 – 19 ปี เกิด พ.ศ. 2546 – 2547 ประมาณนี้ ซึ่งเมื่อก่อนจะมีบางส่วนที่เคยเรียนพิมพ์ดีดมา แล้วมันผลอย่างไรกันนะเหรอ เข้าเรื่องเลยแล้วกันค่ะ

    ประชากรในประเทศไทยน่าจะเกือบทั้งหมดมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บางรายอาจจะมีอุปกรณ์มากกว่า 1 ชิ้น แล้วใครทราบหรือไม่ว่าตัวอักษรไทยมีบางตัวที่มีปัญหากับระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยฯ ของเรา คือ สระเอ และสระแอ บางท่านอ่านถึงตรงนี้เข้าใจบ้าง หรือบางท่านอาจจะยังงงว่า แล้วมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ขอยกตัวอย่างระบบ E-Admission ค่ะ

    ระบบ E-Admission เป็นระบบที่ต้องเชื่อมต่อ API จาก TCAS ซึ่งจะต้องตรวจสอบเลขบัตรประชาชน ชื่อ และนามสกุล หากกรอกข้อมูลครบถ้วน ตรงกัน ระบบ E-Admission จะดึงข้อมูลเหล่านี้จาก TCAS มาให้ทันที….แต่ปัญหาก็เกิดจากตรงส่วนนี้ค่ะ เมื่อผู้สมัครกรอกข้อมูลแล้วแต่ระบบมีข้อความแจ้งเตือนว่า “ชื่อ นามสกุล ไม่ตรงกับเลขบัตรประชาชน ไม่สามารถตรวจสอบการยืนยันสิทธิ์ได้” ผู้สมัครก็จะส่งข้อความแจ้งเตือน กับข้อมูลชื่อ และนามสกุลมาให้ตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบพบว่าส่วนใหญ่ที่เกิดข้อความแจ้งเตือนจะมีชื่อ หรือนามสกุลประกอบด้วย “สระแอ” เมื่อสอบถามพบว่าผู้สมัครใช้ สระเอ 2 ตัว

    วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนหน้านี้โดยการให้ผู้สมัครแก้ไขชื่อ หรือนามสกุลให้ถูกต้อง

    กรณีที่สมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว หากเกิดไปแก้ไขข้อมูล เมื่อสมัครเข้าโครงการจะมีข้อความแจ้งเตือน “ไม่สามารถสมัครโครงการได้” เช่นเดียวกัน

    การใช้งานผ่าน Notepad

    ส่วนของสระเอ และสระแอ ที่ใช้งานผ่าน Notepad จะเห็นว่าได้ชัดเจนว่าช่องไฟมีความแตกต่างกัน ดังรูป

    *** วิธีการตรวจสอบว่าเป็นสระเอ หรือสระแอ ให้ทุกท่านลองกดปุ่ม Backspace ว่าลบแล้วจะลบทีละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว

    การใช้งานผ่าน Microsoft Word

    ส่วนของสระเอ และสระแอ ที่ใช้งานผ่าน Micorsoft Word จะเห็นว่าช่องไฟมีความเหมือนกัน เนื่องโปรแกรม Microsoft Word จะทำการปรับปรุงให้อัตโนมัติ และเมื่อลบสระแอ จะกดปุ่ม Backspace แค่ครั้งเดียว ดังรูป

    *** วิธีการตรวจสอบว่าเป็นสระเอ หรือสระแอ ให้ทุกท่านลองกดปุ่ม Backspace ว่าลบแล้วจะลบทีละ 1 ตัว หรือ 2 ตัว

    แนวทางแก้ไขของระบบ E-Admission

    ทีมพัฒนาฯ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบฯ ให้มีการตรวจสอบว่าหากผู้สมัครกรอกชื่อ หรือนามสกุล ที่มีสระแอ หากผู้สมัครกรอกสระเอ 2 ตัว ระบบจะทำการปรับปรุงระบบให้อัตโนมัติเป็นสระแอให้ทันที

    ดังนั้น ขณะนี้หากผู้ใช้งานพิมพ์สระเอ 2 ตัวมาในระบบฯ ก็จะไม่เกิดข้อความแจ้งเตือนอีกแล้ว

    📢 สำหรับวิธีการนี้เป็นการแก้ไขปลายเหตุ เป็นการแก้ไขที่ระบบฯ แต่ยังไม่ใช้การแก้ไขที่ต้นเหตุ ดังนั้น Blog นี้ขอเป็นหนึ่งกระบอกเสียงที่หวังให้คนไทยทุกคนเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักการของภาษาไทยค่ะ

  • Patch Your Website NOW

    เรียนท่านผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ภายใต้โโเมน psu.ac.th

    เนื่องด้วยเว็บไซต์หลายส่วนงานไม่ได้มีการปรับปรุงซอฟแวร์บริการเว็บไซต์และระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยล่าสุดปิดกั้นช่องโหว่

    ส่งผลให้เว็บไซต์จำนวนมากมีช่องโหว่ พร้อมให้ถูกโจมตีได้ง่ายมาก ไม่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงในการเจาะระบบ

    หากท่านยังไม่ได้เคยตรวจสอบปรับปรุงเว็บไซต์ก็ขอให้ใช้เครื่องมือที่

    1. ตรวจสอบ Public IP Address ของเว็บไซต์ที่ท่านดูแล ยกตัวอย่าง www.psu.ac.th
      โดยใช้ URL
      https://bgp.he.net/dns/www.psu.ac.th/
      และแก้ไข www.psu.ac.th เป็นชื่อเว็บไซต์ที่ท่านดูแล
      ซึ่งตัวอย่าง www.psu.ac.th
      ได้ Public IP Address 192.100.77.111
    2. ตรวจสอบช่องโหว่ของเว็บไซต์ที่ท่านดูแลจาก Shodan
      โดยใช้ URL
      https://www.shodan.io/host/192.100.77.111
      และแก้ไข Public IP Address เป็น Public IP Address ของเว็บไซต์ที่ท่านดูแล

    หากด้านซ้ายล่างมีข้อความ
    Vulnerabilities และแสดง
    CVE เลบต่างๆ

    ท่านผู้ดูแลเว็บไซต์ งานเข้าเร่งด่วน ให้ ปรับปรุง ปิดกั้น ช่องโหว่ เว็บไซต์ที่ท่านดูแล
    โดยเร็วที่สุด

    ซึ่งหากท่านดูแลเว็บไซต์เองไม่ได้ก็ขอให้ย้ายเนื้อหามาใช้บริการที่
    https://webhost.psu.ac.th/
    ที่ท่านจะดูแลเฉพาะส่วนเนื้อหาในเว็บไซต์

    ในที่สุด เว็บไซต์ ที่ดูแลไม่ต่อเนื่อง มีช่องโหว่ ก็จะถูกโจมตี แบบเบาๆ ก็จะถูกวาง Link การพนัน ลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่น
    ค้นหาด้วย Google ใช้คำว่า

    slot site:*.psu.ac.th

    ก็จะปรากฎชื่อเว็บไซต์ต่างๆ ภายใต้โดโเมน psu.ac.th ที่ถูกโจมตี จากช่องโหว่ที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่ปรับปรุงป้องกัน
    ซึ่งตัวอย่างนี้ฝัง Link ที่ไปสู่ เว็บไซต์ การพนัน ตามคำค้นว่า slot

    ย้ำอีกครั้ง อย่าปล่อยรอไว้ จนถึงวันที่ ผู้บริหารส่วนงานท่านได้รับหนังสือจาก DiiS.PSU ว่าทาง สกมช. ได้ส่งหนังสือเรียนท่านอธิการบดี แจ้งเตือนเว็บไซต์ต่างๆ ที่ท่าน “ต้องดูแล” รับผิดชอบ ภายใต้โดโเมน psu.ac.th ถูกโจมตี

    ไม่ต้อง รอ นะครับ

  • Zoom PSU (06) การกู้ไฟล์วิดีโอ บน Cloud Storage

    1. คลิกลิงก์ https://psu-th.zoom.us >> คลิก Sign in >> กรอกบัญชีผู้ใช้ด้วย PSU Passport
    2. คลิก Recordings >> คลิก Trash

    3. คลิก Recover ด้านหลังไฟล์ที่ต้องการกู้คืน >> ไฟล์จะกลับไปอยู่ใน Cloud Recordings เพื่อให้ Share หรือ Download ได้

    หมายเหตุ  1. ไฟล์บันทึก จะสามารถกู้คืนได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลบไฟล์ (Delete Time)  หลังจากนั้นระบบจะลบถาวร
              2. ไฟล์บันทึก ที่ถูกลบจะไม่นับรวมกับพื้นที่เก็บข้อมูลบน Cloud Storage