Month: February 2023

วิธีการติดตั้ง Chat GPT บน Windows

ChatGPT คืออะไร มาจากไหน ChatGPT คือโปรแกรม AI ประเภทแชทบอท (Chatbot) หรือที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือโปรแกรมโต้ตอบที่มีการผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้าไปด้วย ซึ่งเจ้า ChatGPT นั้นถูกพัฒนาโดยองค์กร OpenAI ที่เคยฝากผลงาน AI เจ๋งๆ มาแล้วทั้ง DALL-E จิตรกร AI ที่เคยสร้างกระแส AI Art ในช่วงแรกๆ และ OpenAI Five เกมมิ่งบอทของ DOTA 2 ที่เคยล้มโปรเพลเยอร์ระดับโลกมานับไม่ถ้วน โดย ChatGPT คือผลงานชิ้นล่าสุดที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2022 นี้เอง ซึ่งเป้าหมายหลักของ ChatGPT นั้นคือการเป็นโปรแกรมแซตบอทที่เป็นมิตร เข้าถึงได้ และตอบโจทย์การทำงานของมนุษย์ให้มากที่สุด ChatGPT ใช้ทำอะไรได้บ้าง ถ้าให้นึกถึงโปรแกรมแชทบอทที่หลายๆ คนพอนึกภาพออกนั้น ก็คงจะไม่พ้น…

เขียน JavaScript RegExp กับข้อมูล sensitive ให้แสดง 4 ตัวอักษรสุดท้าย

เขียน JavaScript กับข้อมูลที่ sensitive โดยใช้ RegExp เพื่อแสดงบางส่วน เนื่องจากทางผู้เขียนได้รับ requirement ให้ปรับปรุงข้อมูลที่อ่อนไหว ให้แสดงบางส่วน อย่างเช่น เลขบัตรประชาชน โดยก่อนอื่นจะอธิบายความหมายสัญลักษณ์ RegExp ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ ความหมาย . หาตัวอักษรเดียวและยกเว้น newline หรือ line terminator เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /./ จะได้ผลลัพธ์ “T” n{X} นับจำนวนอักษรทั้งหมดตามจำนวน X ตัวอักษร เช่น คำว่า “Thailand…

PSU Internet was Affected by Submarine Cable

NT คาดว่าจะแก้ไขกลับมาให้เป็นปกติได้ประมาณวันที่ 1 มี.ค. 2566 PSU ยังคงมีการใช้ Internet ผ่าน อีก 2 ISP ได้แก่ UniNet และ True ซึ่งก็มีทางเชื่อม Internet ผ่าน NT-IIG วงรีทางซ้ายในแผนผัง http://internet.nectec.or.th/webstats/show_page.php?ZRXlBGci8PKBfyGoc7U+YUMy0Mxa4ePxBhBlnwqcod1s56C+MB1w8PH7zxtoDLTv3lyjGbqHqI3kpjAsGrb3Y0vlVN/aAcvDDim6ggNEPEVG0g7Tda6BWRbRQiS8DM5D     สาเหตุการขัดข้อง o เกิดจากการขัดข้องของระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ได้แก่ ระบบ AAG, AAE1 และ APG บริเวณน่านน้ำประเทศสิงคโปร์, ฮ่องกง และประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทับซ้อนพร้อมกันหลายระบบ ทำให้วงจร Trunk Internet Gateway…

Nessus Essentials

เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่ Nessus Essentials จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุดจึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ เช่น หากใช้ Ubuntu ก็ทำตาม วิธี https://sysadmin.psu.ac.th/2023/02/14/ubuntu-oval/ ที่ Ubuntu มีให้แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้ว เครื่องมือที่สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ diis.psu.ac.th มีใช้สำหรับตรวจสอบช่องโหว่คือNessus Professional ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรายปี และการใช้งาน ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถส่งอีเมลถึง itoc@psu.ac.thแจ้งความประสงค์ ขอให้ตรวจสอบช่องโหว่เว็บไซต์ URL…วันที่… เวลา… ซึ่งจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2…

Ubuntu OVAL

เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่สำหรับอูบุนตู เมื่อได้รับทราบข้อมูลช่องโหว่ของลีนุกซ์อูบุนตูที่ดูแลอยู่จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุดจึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ Ubuntu มีมาให้ด้วยคำสั่งsudo apt updatesudo apt dist-upgradeแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้วตามคำแนะนำของ Ubuntu ที่มีประกาศข่าวเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับอูบุนตูไว้ที่ https://ubuntu.com/security/notices อูบุนตูมี Ubuntu OVAL (Open Vulnerability and Assessment Language) ไว้ให้ใช้ตรวจสอบช่องโหว่ ซึ่งใช้โปรแกรมชื่อ OpenSCAP เพื่อทำรายงานช่องโหว่ให้ดูได้เอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ตัวอย่างการใช้งานจริงกับเครื่องบริการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต Ookla…

ระบบสารสนเทศ (5/5) : ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF) ระบบ Health Insurance for Foreigners หรือมีชื่อย่อว่า ระบบ HIF เป็นระบบน้องใหม่ของทางทีมพัฒนาสารสนเทศนักศึกษา เป็นระบบที่เปิดใช้สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไปโดยระบบนี้จะมีการเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศนักศึกษา ระบบ HIF เป็นระบบที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาบันทึกข้อมูลการพำนักว่าขณะนี้นักศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าหากนักศึกษาต่างชาติคนใดที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย นักศึกษาคนนั้นจำเป็นต้องมีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งคำว่าประกันสุขภาพคือ ประกันที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทุกกรณี ซึ่งประเภทของประกันที่มีผลกับข้อมูลว่าประกันสมบูรณ์หรือไม่ ได้แก่ เมื่อนักศึกษาต่างชาติดำเนินการซื้อประกันตามที่ต้องการ นักศึกษาจะต้องมาบันทึกข้อมูลในระบบ HIF เพื่อแจ้งรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ ชื่อประกัน รูปถ่ายกรมธรรม์ และช่วงวันที่ของประกัน และดำเนินการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล หน้าหลักของระบบ HIF เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันตามที่นักศึกษาบันทึกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Pass” และหากไม่ถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น…

ระบบสารสนเทศ (4/5) : ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.) ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ หรือเรียกสั่น ๆ ว่า ระบบ Course Spec. เดิมมีชื่อว่าระบบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกสั่น ๆ ว่าระบบ มคอ.ออนไลน์ หรือ TQF Online ระบบ Course Spec. ระบบ Course Spec. เป็นระบบที่เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2564 ทั้ง 5 วิทยาเขต โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ Course Spec. ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้…

ระบบสารสนเทศ (3/5) : ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission) ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เป็นระบบที่ให้ผู้สมัคร (นักเรียน/นักศึกษา) สมัครเข้ามาเพื่อศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า “ม.อ.” ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์เป็นระบบที่อยู่ในการรับผิดชอบของศูนย์รับนักศึกษาและการทดสอบ ซึ่งพัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่จะมาถึงระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่ เรามีการปรับปรุงมากี่ครั้ง ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือระบบ E-Admission (URL : https://e-admission.psu.ac.th/) ในปัจจุบันเริ่มใช้สำหรับรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา โดยเป็นการพัฒนาใหม่จากระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เวอร์ชั่นเดิม โดยมีการพัฒนาปรับปรุงการใช้งาน ได้แก่ เว็บไซต์ปัจจุบันของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ดังรูป เมนูต่าง ๆ ของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ที่ผู้สมัครทุกคนจะต้องดำเนินการขึ้นอยู่กับโครงการที่เลือก ดังรูป *** กว่าจะมาเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันเราก็มีการปรับปรุงระบบ เสริม เติม…

ระบบสารสนเทศ (2/5) : ระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS)

ระบบทะเบียนนักศึกษา และระบบสารสนเทศนักศึกษา (SIS) ระบบสารสนเทศนักศึกษา มีตัวย่อคือ SIS มีนักศึกษาหลายคนจะเรียกว่า S I S (อ่านว่า เอส ไอ เอส) แต่บางคนจะเรียกกว่าระบบ SIS (อ่านว่า ซิส) ซึ่ง SIS ในที่นี้ไม่ได้มาจากคำว่า sister ที่แปลว่าน้องสาวหรือพี่สาวนะคะ แต่ย่อมาจากคำว่า Student Information System ระบบจะเกิดขึ้นมาใช้งานจนถึงปัจจุบันก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ความเป็นมาของระบบลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนในปัจจุบันก็สามารดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้ แม้ว่าช่วงลงทะเบียนจะมีบางหน้าจอที่แสดงผลเนื่องจากมีการเข้าใช้งานที่เกินกว่าที่เครื่องแม่ข่าย (Server) จะรับได้ แต่ทางทีมพัฒนาระบบฯ ได้ตรวจสอบและวางแผนรับมือทุกครั้งในช่วงการลงทะเบียนเรียน คุณทั้งหลายอาจจะมีเสียงบ่นว่าระบบช้า ระบบไม่เสถียร หรือระบบไม่ทันสมัย แต่กระบวนการทำงานที่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม…