Month: February 2023

  • Zoom PSU (05) กรณีได้รับลิงก์ดาวน์โหลด 1 ลิงก์ แต่ไฟล์บันทึกมีเกิน 1 ไฟล์

    1 Download บน Web Browser

    1.1 คลิกลิงก์ ที่ได้รับ xxxxxxxxxxxxxxxx

    1.2 คลิก Forward >l

    1.3 คลิก ⭣ Download (xx files)

  • วิธีการติดตั้ง Chat GPT บน Windows

    ChatGPT คืออะไร มาจากไหน

    ChatGPT คือโปรแกรม AI ประเภทแชทบอท (Chatbot) หรือที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือโปรแกรมโต้ตอบที่มีการผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้าไปด้วย ซึ่งเจ้า ChatGPT นั้นถูกพัฒนาโดยองค์กร OpenAI ที่เคยฝากผลงาน AI เจ๋งๆ มาแล้วทั้ง DALL-E จิตรกร AI ที่เคยสร้างกระแส AI Art ในช่วงแรกๆ และ OpenAI Five เกมมิ่งบอทของ DOTA 2 ที่เคยล้มโปรเพลเยอร์ระดับโลกมานับไม่ถ้วน โดย ChatGPT คือผลงานชิ้นล่าสุดที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2022 นี้เอง ซึ่งเป้าหมายหลักของ ChatGPT นั้นคือการเป็นโปรแกรมแซตบอทที่เป็นมิตร เข้าถึงได้ และตอบโจทย์การทำงานของมนุษย์ให้มากที่สุด

    ChatGPT ใช้ทำอะไรได้บ้าง

    ถ้าให้นึกถึงโปรแกรมแชทบอทที่หลายๆ คนพอนึกภาพออกนั้น ก็คงจะไม่พ้น Simsimi แชทบอทที่เคยฮิตฮอตในบ้านเราเมื่อหลายสิบปีก่อน แล้วลองจินตนาการว่า Simsimi ผสมกับ Google แล้วจะออกมาเป็นอะไร นั่นแหละคือสิ่งที่ใกล้เคียงกับ ChatGPT มากที่สุด เพราะความเจ๋งของ ChatGPT นั้นไม่ใช้ความสามารถในการโต้ตอบประโยคพูดคุยทั่วๆ ไป แต่ความสามารถที่แท้จริงของ ChatGPT คือการตอบคำถามที่ซับซ้อนกว่านั้นหลายเท่า อย่างเช่นการสั่งให้เขียนบทความทั้งชิ้นขึ้นมา เขียนคำสั่งสำหรับงานโปรแกรมมิ่ง หาบัคในโค้ดโปรแกรม หาคำตอบให้กับการบ้านที่เรากำลังทำอยู่ การสรุปข้อมูลยากๆ เหล่านี้ให้กลายเป็นคำตอบที่เข้าใจได้ง่าย ใช้ภาษาที่มีความเป็นมิตร เสมือนกับมีมนุษย์ตัวเป็นมานั่งตอบคำถามอยู่ตรงหน้าเลยทีเดียว แถมยังใช้เวลาโต้ตอบเพียงมีกี่วินาทีเท่านั้น และด้วยความสามารถเหล่านี้เองที่ทำให้ ChatGPT นั้นกลายเป็นกระแสไวรัลในปัจจุบัน

    วิธีการติดตั้ง Chat GPT บน Windows

    1. ดาวน์โหลดโปรแกรม ChatGPT_0.11.0_windows_x86_64.msi 

    2. เป็น command line ด้วยการกด Windows+R หรือไปที่ช่อง Search แล้วพิมพ์ cmd 

    3. เปิด Directory อยู่ที่โปรแกรม ด้วยคำสั่ง

        cd %HOMEPATH%/Downloads

    4. ใช้คำสั่งในการติดตั้งโปรแกรม  โดยใช้คำสั่ง

          # install the latest version
          winget install –id=lencx.ChatGPT -e

                                หรือ

           # install the specified version
           winget install –id=lencx.ChatGPT -e –version 0.10.0

    5. หลังจากติดตั้งเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Login เข้าใช้งานด้วยอีเมล์ของตัวเอง

    อ้างอิง : https://github.com/lencx/ChatGPT

  • เขียน JavaScript RegExp กับข้อมูล sensitive ให้แสดง 4 ตัวอักษรสุดท้าย

    เขียน JavaScript กับข้อมูลที่ sensitive โดยใช้ RegExp เพื่อแสดงบางส่วน เนื่องจากทางผู้เขียนได้รับ requirement ให้ปรับปรุงข้อมูลที่อ่อนไหว ให้แสดงบางส่วน อย่างเช่น เลขบัตรประชาชน

    โดยก่อนอื่นจะอธิบายความหมายสัญลักษณ์ RegExp ตัวอย่างเช่น

    สัญลักษณ์ความหมาย
    .หาตัวอักษรเดียวและยกเว้น newline หรือ line terminator
    เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /./ จะได้ผลลัพธ์ “T”
    n{X}นับจำนวนอักษรทั้งหมดตามจำนวน X ตัวอักษร
    เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.{4}/ จะได้ผลลัพธ์ “Thai”
    ?=nหาตัวอักษรทั้งหมดทีมี n
    เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.(?=land)/ จะได้ผลลัพธ์ “i”
    gหาตัวอักษรที่ตรงทั้งหมดและจะหยุดเมื่อเจอผลลัพธ์แรก
    เช่น คำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.(?=land)/g จะได้ผลลัพธ์ “i,n”

    จากตัวอย่างคำว่า “Thailand Finland” หากใช้ pattern /.(?=.{4})/g จะได้ผลลัพธ์ “T,h,a,i,l,a,n,d, ,F,i,n”

    จากตัวอย่างคำว่า “1234567890123” หากใช้ pattern /.(?=.{4})/g จะได้ผลลัพธ์ “1,2,3,4,5,6,7,8,9”

    จากนั้นใช้ function replace()

    Note: To replace all matches, use a regular expression with a /g flag (global match)

    จากรูป แสดงการเขียน JavaScript แสดงบางส่วนโดยที่แสดง 4 ตัวอักษรสุดท้าย ส่วนอักษรอื่นเปลี่ยนเป็น x
    ผลลัพธ์จากการใช้งานจริง

    หวังว่า km จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ

    ที่มา https://www.w3schools.com/jsref/jsref_obj_regexp.asp

  • PSU Internet was Affected by Submarine Cable

    NT คาดว่าจะแก้ไขกลับมาให้เป็นปกติได้ประมาณวันที่ 1 มี.ค. 2566
    PSU ยังคงมีการใช้ Internet ผ่าน อีก 2 ISP ได้แก่ UniNet และ True ซึ่งก็มีทางเชื่อม Internet ผ่าน NT-IIG วงรีทางซ้ายในแผนผัง

    http://internet.nectec.or.th/webstats/show_page.php?ZRXlBGci8PKBfyGoc7U+YUMy0Mxa4ePxBhBlnwqcod1s56C+MB1w8PH7zxtoDLTv3lyjGbqHqI3kpjAsGrb3Y0vlVN/aAcvDDim6ggNEPEVG0g7Tda6BWRbRQiS8DM5D

        สาเหตุการขัดข้อง

    o เกิดจากการขัดข้องของระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ ได้แก่ ระบบ AAG, AAE1 และ APG บริเวณน่านน้ำประเทศสิงคโปร์, ฮ่องกง และประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทับซ้อนพร้อมกันหลายระบบ ทำให้วงจร Trunk Internet Gateway เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆเกิดการ Congestion

    ผลกระทบการใช้งานบริการ International Internet Gateway

    oทำให้การใช้งาน Internet หรือ Application แบบ Real time โดยเฉพาะปลายทางประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ใช้งานได้ช้า (High latency/packet loss) ในบางช่วงเวลาที่การใช้งาน Traffic สูง

    oทั้งนี้ในการให้บริการ NT IIG ยังมี Traffic บางส่วนที่สามารถใช้งานได้จาก IIG Caching ซึ่งอยู่ภายใน IIG network เช่น Facebook, Google, Akamai, NETFLIX, Line ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบต่อการใช้งาน

    แผนการแก้ไขเร่งด่วน

    oเปิดวงจร Trunk ผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำ TIS (TH-SG) + SJC (SG-HK)

    •ดำเนินการ : เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อ วันที่ 2 ก.พ. 2566

    •ผลลัพธ์ : ทำให้ Traffic ที่ผ่านไปยังปลายทางเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ใช้งานได้ดีขึ้นและลดการ Congestion ด้านสิงคโปร์ได้บางส่วน

    oเปิดวงจรเชื่อมต่อปลายทาง NT IIG POP Singapore เพิ่มเติมผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำ SMW4 ขนาด 100 GE เพื่อขยาย Capacity ของ IIG Trunk Singapore

    •ดำเนินการ : เปิดวงจรเชื่อมต่อไปยังสถานีเคเบิลใต้น้ำประเทศสิงคโปร์เป็นเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้รอการเชื่อมต่อวงจรเชื่อมโยงจากสถานีเคเบิลใต้น้ำในประเทศสิงคโปร์ไปยัง NT IIG POP โดย บ.SingTel แจ้งข้อมูลล่าสุด(20ก.พ.)คาดว่าจะสามารถดำเนินการเชื่อมต่อวงจรได้ประมาณวันที่ 1 มี.ค. 2566

    •ผลการลัพธ์ : ทำให้ Traffic ที่ผ่านไปยังปลายทางประเทศสิงคโปร์และปลายทางอื่นๆกลับสู่ภาวะปกติ

    แผนการแก้ไขระยะยาว

    oเพิ่ม Diversity วงจรเชื่อมต่อผ่านระบบ Submarine ADC (ประมาณ Q4 2566)

    •Singapore POP เป็น 5 ระบบ (SMW4/TIS/AAG/APG/ADC)

    •Hong Kong POP เป็น 5 ระบบ (AAG/APG/AAE1/TIS-SJC/ADC)

    ข้อมูล ข้อขัดข้อง NT IIG ที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ช่องทางหนึ่งแก่ PSU เนื่องจากเคเบิลใต้น้ำ 20Feb2023 ครับ 😢

    https://www.submarinecablemap.com/

  • Nessus Essentials

    เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่ Nessus Essentials

    จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุด
    จึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ เช่น หากใช้ Ubuntu ก็ทำตาม วิธี https://sysadmin.psu.ac.th/2023/02/14/ubuntu-oval/ ที่ Ubuntu มีให้
    แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้ว

    เครื่องมือที่สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ diis.psu.ac.th มีใช้สำหรับตรวจสอบช่องโหว่คือ
    Nessus Professional ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรายปี และการใช้งาน ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถส่งอีเมลถึง

    itoc@psu.ac.th
    แจ้งความประสงค์ ขอให้ตรวจสอบช่องโหว่เว็บไซต์ URL…
    วันที่… เวลา…

    ซึ่งจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2 ชั่วโมง itoc@psu จะส่งรายงานผลการตรวจสอบจาก Nessus ให้กับท่านตามอีเมล @psu.ac.th ที่แจ้งความประสงค์เข้ามา
    ตามลำดับคำขอ

    อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ผู้ดูแลไอทีส่วนงานต่างๆ สามารถสมัครใช้บริการ Nessus ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย
    Nessus Essentials
    https://www.tenable.com/products/nessus/nessus-essentials
    ซึ่งรองรับ 16 IP Address และตรวจสอบได้เพียงพอ ไม่ต้องถึงระดับ Compliance Checks แบบ Nessus Professional

    บทความที่เคยใช้ข้อมูลจาก Nessus มีอยู่ที่
    https://sysadmin.psu.ac.th/2019/08/13/nessus-scaned/

    ส่วน รายละเอียดการใช้งาน Nessus Essentials หากท่านใดมีเนื้อหาพร้อมแบ่งปัน สามารถแปะ URL ในช่องความเห็นมาได้เลยครับ

    ร่วมด้วยช่วยกัน เพิ่มความปลอดภัยไซเบอร์ ให้ ม.อ.

  • Ubuntu OVAL

    เครื่องมือตรวจสอบช่องโหว่สำหรับอูบุนตู

    เพิ่มเติม สำหรับ Ubuntu 24.04 10Jun2024

    เมื่อได้รับทราบข้อมูลช่องโหว่ของลีนุกซ์อูบุนตูที่ดูแลอยู่จากเว็บไซต์ให้บริการตรวจสอบช่องโหว่ในระบบได้ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น https://www.shodan.io/ ซึ่งบริการฟรี สถานะ Last Seen แสดงวันที่ Shodan แวะเวียนมาตรวจสอบให้ล่าสุด
    จึงเกิดคำถามว่า ถ้าเราได้อัพเดตส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ Ubuntu มีมาให้ด้วยคำสั่ง
    sudo apt update
    sudo apt dist-upgrade
    แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ช่องโหว่ต่างๆ ได้ถูกปิดให้ปลอดภัยขึ้นแล้วตามคำแนะนำของ Ubuntu ที่มีประกาศข่าวเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับอูบุนตูไว้ที่ https://ubuntu.com/security/notices

    อูบุนตูมี Ubuntu OVAL (Open Vulnerability and Assessment Language) ไว้ให้ใช้ตรวจสอบช่องโหว่ ซึ่งใช้โปรแกรมชื่อ OpenSCAP เพื่อทำรายงานช่องโหว่ให้ดูได้เอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้

    1. Login เข้าไปที่เครื่องอูบุนตูที่ใช้อินเทอร์เน็ตได้
    2. Download ด้วยการใช้คำสั่ง
    wget https://security-metadata.canonical.com/oval/com.ubuntu.$(lsb_release -cs).usn.oval.xml.bz2

    หรือเลือก Download ให้ตรง Ubuntu Version จากตัวเลือกที่
    https://security-metadata.canonical.com/oval/
    โดยให้เลือกแบบ CVE เพื่อจะได้เปรียบเทียบรายการช่องโหว่กับรายงาน Nessus ที่แสดงด้วย CVE เช่นกัน
    1. คลายไฟล์ที่ถูกบีบอัดลดขนาดที่ Download มาได้ ด้วยการใช้คำสั่ง
    bunzip2 com.ubuntu.$(lsb_release -cs).usn.oval.xml.bz2
    1. ใช้โปรแกรม OpenSCAP เพื่ออ่านเงื่อนไขการตรวจสอบช่องโหว่ต่างๆ บนเครื่อง และสร้างไฟล์รายงานผลชื่อ report.html ด้วยการใช้คำสั่ง
    oscap oval eval --report report.html com.ubuntu.$(lsb_release -cs).usn.oval.xml
    1. เพิ่มเติม จากคุณ เกรียงไกร 15Feb2023 => บางเครื่องต้องติดตั้ง libopenscap8 ก่อนด้วยคำสั่ง sudo apt install libopenscap8 ไม่งั้นใช้ oscap ไม่ได้
    2. เพิ่มเติม สำหรับ Ubuntu 24.04 10Jun2024 => ต้องติดตั้ง openscap-scanner ด้วยคำสั่ง sudo apt install openscap-scanner ไม่งั้นใช้ oscap ไม่ได้
    3. ใช้โปรแกรม เว็บบราวเซอร์ เพื่อเปิดอ่านไฟล์รายงานผลชื่อ report.html

    ตัวอย่างการใช้งานจริงกับเครื่องบริการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต Ookla Server ซึ่งใช้เป็นตัวอย่างแสดง

    1. Ubuntu Server 20.04 5.4.0-121#137 15Jun2022 ก่อนจะใช้คำสั่ง sudo apt dist-upgrade เพื่อปรับปรุงความปลอดภัย
      ในรายงานแสดงจำนวน 14 #X ที่ยังมีช่องโหว่ พร้อมด้วยรายการช่องโหว่หมายเลข USN และ CVE ต่างๆ โดยละเอียดตามรูป
    2. Ubuntu Server 20.04 5.4.0-137#154 5Jan2023 เมื่อได้ใช้คำสั่ง sudo apt dist-upgrade ปรับปรุงความปลอดภัยและรีบูทเครื่องแล้ว
      ในรายงานแสดงจำนวน 2 #X ที่ยังมีช่องโหว่ พร้อมด้วยรายการช่องโหว่หมายเลข USN และ CVE ต่างๆ โดยละเอียดตามรูป
    3. เนื่องจากส่วนการปรับปรุงความปลอดภัยอีก 2 รายการที่ยังเหลืออยู่นั้นทาง Ubuntu จะมีบริการให้เฉพาะกับสมาชิก Ubuntu Pro https://ubuntu.com/pro เท่านั้น (จะเขียนคำแนะนำเพิ่มให้ครับ)
      ซึ่งหลังจากทำตามขั้นตอนใส่ คีย์ ของ Ubuntu Pro ลงบน เครื่องอูบุนตูของเราเรียบร้อย และอัพเดตความปลอดภัยเพิ่มจากสิทธิ์ Ubuntu Pro ในรายงาน OVAL จะได้รับการอัพเดตปิดกั้นช่องโหว่อย่างครบถ้วน ตามรูป
    4. ถึงแม้ว่าวันนี้ อูบุนตู ของท่านจะได้รับการอัพเดตล่าสุดแล้ว แต่ด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ก็อย่าลืมติดตามอ่านข่าวสารเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์ และหมั่นปรับปรุง อัพเดต อยู่เป็นประจำครับ
  • ระบบสารสนเทศ (5/5) : ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

    ระบบประกันสุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (HIF)

    ระบบ Health Insurance for Foreigners หรือมีชื่อย่อว่า ระบบ HIF เป็นระบบน้องใหม่ของทางทีมพัฒนาสารสนเทศนักศึกษา เป็นระบบที่เปิดใช้สำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไปโดยระบบนี้จะมีการเชื่อมโยงการระบบสารสนเทศนักศึกษา

    ระบบ HIF เป็นระบบที่ให้นักศึกษาต่างชาติเข้ามาบันทึกข้อมูลการพำนักว่าขณะนี้นักศึกษาอยู่ในประเทศไทย หรืออยู่ต่างประเทศ โดยมีข้อกำหนดว่าหากนักศึกษาต่างชาติคนใดที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย นักศึกษาคนนั้นจำเป็นต้องมีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งคำว่าประกันสุขภาพคือ ประกันที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลทุกกรณี ซึ่งประเภทของประกันที่มีผลกับข้อมูลว่าประกันสมบูรณ์หรือไม่ ได้แก่

    1. ประกันสุขภาพ ⇒ ครอบคลุม
    2. ประกันสุขภาพ + ประกันอุบัติเหตุ ⇒ ครอบคลุม
    3. ประกันอุบัติเหตุ ⇒ ไม่ครอบคลุม

    เมื่อนักศึกษาต่างชาติดำเนินการซื้อประกันตามที่ต้องการ นักศึกษาจะต้องมาบันทึกข้อมูลในระบบ HIF เพื่อแจ้งรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ ชื่อประกัน รูปถ่ายกรมธรรม์ และช่วงวันที่ของประกัน และดำเนินการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล

    หน้าหลักของระบบ HIF

    เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูลประกันตามที่นักศึกษาบันทึกว่ามีความถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Pass” และหากไม่ถูกต้องให้ปรับสถานะเป็น “Fail” เพื่อแจ้งให้นักศึกษาดำเนินการแก้ไข

    เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลรายงาน ได้แก่ รายงานนักศึกษาทั้งหมด รายงานนักศึกษาต่างชาติไม่ได้พำนักในประเทศไทย รายงานประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุม/หรือหมดอายุกรณีนักศึกษาอยุ่ในประเทศไทย และรายงานประกันสุขภาพที่ใกล้หมดอายุ ซึ่งรายงานเหล่านี้สำหรับให้เจ้าหน้าที่ติดตามนักศึกษาในความรับผิดชอบของตนเองได้

    หน้าหลักของระบบ HIF ส่วนของเจ้าหน้าที่

    ส่วนในระบบสารสนเทศนักศึกษาจะมีข้อความแจ้งเตือนให้กับนักศึกษาต่างชาติทราบว่า ขณะนี้นักศึกษาได้เลือกสถานะการพำนักในประเทศไทย หรือต่างประเทศ และข้อมูลประกันที่มีอยู่ในปัจจุบันครอบคลุมหรือไม่ค่ะ

    🎯 ** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับทีมพัฒนาระบบสารสนเทศนักศึกษาขอนำเสนอระบบสารสนเทศเพียงเท่านี้ก่อนค่ะ

    ขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ ^^

  • ระบบสารสนเทศ (4/5) : ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

    ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ (Course Spec.)

    ระบบรายละเอียดรายวิชาและรายงานผลดำเนินการ หรือเรียกสั่น ๆ ว่า ระบบ Course Spec. เดิมมีชื่อว่าระบบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุมศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกสั่น ๆ ว่าระบบ มคอ.ออนไลน์ หรือ TQF Online

    ระบบ Course Spec.

    ระบบ Course Spec. เป็นระบบที่เริ่มใช้งานในปีการศึกษา 1/2564 ทั้ง 5 วิทยาเขต โดยแต่ละวิทยาเขตจะมี URL ที่แตกต่างกัน เนื่องจากทีมพัฒนาได้แยกฐานข้อมูล ดังนั้นปัจจุบันระบบ Course Spec. ยังต้องเข้าใช้งานแยกวิทยาเขต โดยมี URL ดังนี้

    • วิทยาเขตหาดใหญ่ : https://course.psu.ac.th
    • วิทยาเขตปัตตานี : https://course.pn.psu.ac.th
    • วิทยาเขตภูเก็ต : https://course.phuket.psu.ac.th
    • วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี : https://course.surat.psu.ac.th
    • วิทยาเขตตรัง : https://course.trang.psu.ac.th

    ระบบ Course Spec. สาเหตุที่มีการปรับปรุงจากระบบ มคอ.ออนไลน์ เนื่องจากมีการปรับปรุงรูปแบบต้นแบบจาก มคอ.3 และ มคอ. 4 มาเป็น “แผน” และต้นแบบจาก มคอ.5 และ มคอ. 6 เป็น “ผล” โดยมีการปรับเพิ่ม/ลด รายละเอียดที่จำเป็น/ไม่จำเป็นออกจากระบบ เพื่อให้อาจารย์ได้บันทึกข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น

    ส่วนของเจ้าหน้าที่คณะ/ภาควิชา

    เมื่อเริ่มต้นการใช้งานระบบเจ้าหน้าที่จะดำเนินการ ซึ่งในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นมาได้ยกเลิกการบันทึก ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) พร้อมด้วยกลยุทธ์/วิธีการสอน กลยุทธ์/วิธีการวัดผล และ Curriculum Mapping ออก แต่ตั้งแต่ปีการศึกษา 3/2565 เป็นต้นไป จะนำส่วนของ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) พร้อมด้วยกลยุทธ์/วิธีการสอน กลยุทธ์/วิธีการวัดผล และ Curriculum Mapping กลับมาใช้งานดังเดิม ดังนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องจัดทำข้อมูลส่วนนี้ให้ครบถ้วนก่อน อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์จึงจะสามารถดึงข้อมูลไปดำเนินการต่อได้

    ส่วนของอาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำแผน

    การจัดทำแผน เมื่อเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลตั้งต้นให้แล้ว อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำแผน และส่งต่อให้แก่ ประธานหลักสูตร ผู้อนุมัติระดับคณะ อนุมัติแผน หากไม่ผ่านขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง จะย้อนกลับมาให้อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์แก้ไขแผนอีกครั้ง

    ส่วนของอาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ จัดทำผล

    การรายงานผล เมื่ออาจารย์ดำเนินการส่งผลการเรียนในภาคการศึกษานั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์ รายงานผล และส่งต่อให้แก่ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประธานหลักสูตร ผู้อนุมัติระดับคณะ อนุมัติการรายงานผล หากไม่ผ่านขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง จะย้อนกลับมาให้อาจารย์/ตัวแทนอาจารย์แก้ไขการรายงานผลอีกครั้ง

    หน้าหลักของระบบ Course Spec.

    🎯 นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ

  • ระบบสารสนเทศ (3/5) : ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ (E-Admission)

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เป็นระบบที่ให้ผู้สมัคร (นักเรียน/นักศึกษา) สมัครเข้ามาเพื่อศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า “ม.อ.”

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์เป็นระบบที่อยู่ในการรับผิดชอบของศูนย์รับนักศึกษาและการทดสอบ ซึ่งพัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่จะมาถึงระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่ เรามีการปรับปรุงมากี่ครั้ง

    ระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ หรือระบบ E-Admission (URL : https://e-admission.psu.ac.th/) ในปัจจุบันเริ่มใช้สำหรับรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา โดยเป็นการพัฒนาใหม่จากระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ เวอร์ชั่นเดิม โดยมีการพัฒนาปรับปรุงการใช้งาน ได้แก่

    1. รองรับการสมัครนักศึกษาทุกคณะ ทุกวิทยาเขตในเว็บไซต์เดียว ซึ่งแบบนี้ทำให้ผู้สมัครรู้จักแค่เว็บไซต์เดียวก็สามารถสมัครเข้าเรียนใน ม.อ. ได้ทุกคณะ และทุกวิทยาเขตที่ต้องการได้
    2. มีการสมัครสมาชิกด้วยเลขบัตรประชาชน และต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมล ซึ่งจะทำให้เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยมีการตรวจสอบกับระบบ TCAS ของส่วนกลางเพื่อยืนยันข้อมูลเลขบัตรประชาชน ชื่อ สกุล ที่ถูกต้อง
    3. การค้นหา เลือก และสมัครเข้าโครงการที่ง่ายต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ใส่ข้อมูลรายละเอียดที่ครบถ้วน เช่น รายละเอียดของโครงการ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น
    4. การจัดส่งเอกสารอ้างอิง ระบบก็มีให้เลือกว่าแต่ละโครงการจะให้ผู้สมัครส่งเอกสารแบบใด เช่น การอัปโหลดเอกสารที่สมัคร หรือจะให้ส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งปัจจุบันจะมีการอัปโหลดเอกสารออนไลน์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้สมัคร และผู้ตรวจสอบที่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติจากที่ใดก็ได้ แถมประหยัดทั้งกระดาษ และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
    5. การชำระเงินที่เป็นแบบออนไลน์ โดยคลิกผ่านหน้าจอผู้สมัครสามารถหยิบมือถือเปิดแอปธนาคารมาชำระเงิน หรือจะไปชำระเงินที่ Couter Service ของ 7-eleven พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบผลการชำระเงินได้ทันที
    6. ใบเสร็จในรูปแบบดิจิทัล เมื่อผู้สมัครชำระเงินรียบร้อยแล้วสามารถพิมพ์ใบเสร็จในรูปแบบดิจิทัลได้ทันที
    7. มีการเชื่อมต่อ API กับ TCAS กลางเพื่อตรวจสอบสถานะการยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาต่อจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

    เว็บไซต์ปัจจุบันของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ดังรูป

    เมนูต่าง ๆ ของระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ ที่ผู้สมัครทุกคนจะต้องดำเนินการขึ้นอยู่กับโครงการที่เลือก ดังรูป

    *** กว่าจะมาเป็นระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ในปัจจุบันเราก็มีการปรับปรุงระบบ เสริม เติม แต่งจนมีความสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อย ๆ หากมีส่วนใดของระบบที่ยังไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ทางทีมพัฒนาระบบ ฯ พร้อมที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

    *** นี่เป็นแค่ระบบหนึ่งของระบบสารสนเทศทั้งหมด ที่ทางฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะมีระบบสารสนเทศอื่น ๆ ที่จะมาแนะนำในครั้งต่อไปค่ะ