เคล็ดไม่ลับแบบฉบับการใช้ Line

มาถึงยุคนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จัก Application Line เพราตั้งแต่รุ่นเล็ก รุ่นใหญ่  ใคร ๆ ต่างก็ใช้ Line ในการส่งข้อความหากัน  แต่ใช่ว่าใน Line จะทำได้แค่การส่งข้อความเท่านั้นนะคะ ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายฟังก์ชันเลยค่ะ ว่าแล้วอย่ารอช้า เราไปดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

1. Line Meeting

เราสามารถใช้ Line ในการประชุมได้เช่นเดียวกันกับ Application อื่นๆ ที่ใช้ในการประชุม เช่น  Zoom, Microsoft Team, Google Meet เป็นต้น โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาโหลด App การประชุมอื่น ๆ มาเพิ่มเติม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.1 เข้ามาที่หน้าจอแชทของ Line กดปุ่ม ….

1.2 เลือก Meeting

1.3 เลือก Create Meeting เพื่อสร้างห้องประชุม

1.4 ปรากฏ Link ของการประชุม โดยเราสามารถแก้ไขหัวข้อในการประชุมได้โดยการกดที่สัญลักษณ์ของการแก้ไข

1.5 แก้ไขหัวข้อในการประชุมแล้วกดปุ่ม Save

1.6 Copy link เพื่อส่งให้คนที่ต้องการให้มาร่วมประชุม  หรือ Invite เพื่อเลือกเพื่อนได้ หากเชิญเรียบร้อยแล้วก็กดปุ่ม Start เพื่อเริ่มต้นประชุมได้เลย

สำหรับฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไฟล์ หรือ แชร์หน้าจอ ต่าง ๆ สามารถทำได้เหมือน กันกับ App อื่นๆ  ที่ใช้ในการประชุมเลยค่ะ โดย Link ในการประชุมจะมีอายุการใช้งาน 14 วัน และ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้สูงสุด 500 คน  ใช้ได้ทั้ง App Line บนมือถือ และ Line PC เวอร์ชัน 6.2.0 ขึ้นไป ถ้าใครใช้ไม่ได้ก็อย่าลืมไป Update เวอร์ชันกันก่อนนะคะ

2. Keep

เคยไหมคะที่บางครั้งเพื่อนส่งรูปหรือส่งไฟล์อะไรมาให้ทางแชท เราก็มีเวลาดูแค่แว้บเดียว แล้วด้วยความที่ทำแต่งาน และ งาน ^_^ อ้าว !! พอมาเปิดดูอีกทีไฟล์หมดอายุไปแล้วซะงั้น ไม่เป็นไรค่ะ เราก็แค่เก็บทุกอย่างไว้ใน Keep กันไปก่อน โดยสามารถเก็บข้อความ รูปภาพ วิดีโอ Link  และ ไฟล์ต่าง ๆ ได้ค่ะ ยกตัวอย่างการเก็บไฟล์ภาพนะคะ มีขั้นตอนดังนี้

2.1 กดค้างที่ภาพ เมนูจะแสดงฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เลือก Keep

2.2 สามารถเลือกภาพอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีกโดยทำเครื่องหมาย ถูก หน้าภาพที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Save

2.3 ระบบจะแสดงข้อความแจ้ง Save in Keep

2.4 เวลาที่ต้องการดูข้อมูลให้มาที่หน้า Home แล้วกดที่สัญลักษณ์ Keep ด้านบน

2.5 ก็จะเจอข้อมูลต่างๆ  ที่เราเก็บไว้ใน Keep

2.6 หากต้องการส่งข้อมูลจาก Keep ในขณะที่กำลังแชทไลน์กับผู้อื่นก็สามารถทำได้ค่ะ โดยกดที่เครื่องหมาย +

2.7 จะเจอกับสัญลักษณ์ Keep

2.8 เมื่อกดเข้าไปก็จะเลือกข้อมูลที่เราเก็บไว้ใน Keep มา Share ต่อให้กับเพื่อน ๆ ได้เลยค่ะ

เพียงเท่านี้ เรามีเวลาว่างตอนไหนก็สามารถมาดูข้อมูลที่เรา Keepไว้ได้เลยค่ะ แต่การใช้งาน Keep มีข้อจำกัดดังนี้นะคะ

  • เก็บข้อมูลได้สูงสุด 1 GB
  • เก็บความยาวของวิดีโอสูงสุด 5 นาที
  • จำกัดข้อความสูงสุด 10,000 ตัวอักษร
  • เก็บได้ไม่จำกัดระยะเวลาแต่ไฟล์ที่มีขนาดเกิน 50 MB เก็บได้ไม่เกิน 30 วัน

3. Keep Memo

ส่วนใครที่เป็นประเภทเวลาไปเจอรูปภาพ  Link  หรือไฟล์ต่าง ๆ ที่อยากจะเก็บไว้อ่านหรือดูภายหลัง โดยจะต้องส่งข้อมูลเหล่านี้ไปที่แชทของเพื่อนก่อน แล้วบอกว่า ฝากรูปไว้ด้วย  ฝาก Link ไว้หน่อย  ฝากไฟล์ไว้ก่อน ^_^ เราก็ไม่ต้องทำเช่นนั้นให้เพื่อนรำคาญหรือลำบากใจค่ะ ส่งมันไปไว้ใน Keep Memo ดีกว่า ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยากค่ะ ขั้นตอนดังนี้

3.1 ไปที่หน้าแชท แล้วค้นหา Keep Memo ในช่องค้นหา ก็จะเจอกับ Keep Memo

3.2 เมื่อกดเข้าไป จะแสดง Keep Memo ที่สามารถส่งข้อความ Link  ไฟล์ หรือ วิดีโอ ที่เราต้องการมาในห้องแชทของตัวเราเองได้เลย

3.3 หากจะดูข้อมูลที่อยู่ในแชท Keep Memo สามารถกดดูที่สัญลักษณ์ Keep จากหน้าแชทได้เลย

3.4 ข้อมูลก็จะถูกจัดเก็บเข้าไปในฟังก์ชัน Keep โดยอัตโนมัติ

มาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านส่งสัยกันไหมคะว่าแล้ว Keep กับ Keep Memo ต่างกันอย่างไร สำหรับความแตกต่างมีดังนี้ค่ะ

  • Keep คือการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud ของ Line คล้ายกับการจัดเก็บข้อมูลบน Google Drive แต่จะแยกหมวดหมู่ให้ชัดเจนว่าเป็นข้อมูลประเภทใดบ้าง เช่น รูป วิดีโอ ลิงค์ ข้อความ เป็นต้น
  • Keep Memo เก็บข้อมูลในลักษณะแชท เหมือนกันที่เราแชทกับเพื่อนๆ  เพียงแต่เป็นการแชทกับตัวเราเองและมีเพียงแต่เราคนเดียวที่เห็นข้อความ

เป็นยังไงกันบ้างคะ  คิดว่าจากการที่เราจะใช้ไลน์แค่การพูดคุยกันเพียงอย่างเดียว เราน่าจะใช้ประโยชน์จากไลน์ในฟังก์ชันอื่นๆ ได้มากขึ้นนะคะ สำหรับ Blog หน้าจะเป็นการใช้ฟังก์ชันอะไรเพิ่มเติม อย่าลืมติดตามกันนะคะ ^_^

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 10 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 37 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More