ในโลก Web 2.0 มีการสร้างเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากมาย และหนึ่งในนั้นคือการแชร์ URL ข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน URL จะมีความยาวมาก เช่นจากการสร้าง Link แชร์เอกสาร แบบฟอร์ม ที่เก็บไฟล์ต่างๆ
ซึ่งใน ม.อ. คุณ อัษฎายุธ ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชุมชนผู้ใช้ไอที ม.อ. ได้ใช้ Shorten URL กันตามข่าว แทนที่จะไปใช้บริการจากนอก ม.อ. เช่น bit.ly tiny.cc
และในอีกทางหนึ่ง ทางด้านมืด สายมาร เหล่ามิจฉาชีพ ก็นำไปใช้ด้วยเช่นกัน ทำให้เหล่าผู้ใช้ น่าจะรู้สึกกังวลเวลาได้ลิ้งค์ย่อ กังวลว่ากดคลิกต่อไปแล้วจะนำไปสู่หน้าเว็บไซต์ไหน เจออะไร หรือเจอสายมืดก็เปิดเข้าไปเจอเว็บไซต์ประสงค์ร้าย มีแฝงมัลแวร์ มาพร้อมรอต้อนรับผู้ใช้ ที่ยังไม่ตระหนักรู้ ผู้ใช้สาย คลิก “ต่อไป”
วิธีลดความเสี่ยง ในวันนี้ จึงขอเสนอว่าให้นำ Shorten URL นั้นไปแปะให้ Virus Total ช่วยตรวจสอบความปลอดภัยเบื้องต้นให้ก่อน
https://www.virustotal.com/gui/home/url
และฝากเพิ่มเติมสำหรับ สายแชร์ ที่สร้าง URL ลิ้งค์ ที่นำไปสู่เอกสารภายในของกลุ่ม ขององค์กร ของส่วนงาน หรือกลุ่มทำงาน ให้ตรวจสอบการตั้งค่า Share ของสิ่งนั้นให้ดี “ให้เป็นเฉพาะกลุ่ม” เพราะหากเปิดเป็นสาธารณะแล้ว หากผู้รับได้นำ Link ไปใช้ Virus Total ตรวจสอบ ก็อาจจะเป็นการเรียกทัวร์มาลง มาเยี่ยมเยียน ไฟล์ข้อมูลที่เปิดไว้เป็นสาธารณะแบบผิดๆ ไว้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะ URL ต่างๆ ที่ส่งไปตรวจสอบ Virus Total ก็จะถูกเผยแพร่ไปยังระบบตรวจสอบกลางของ Virus Total ที่ใช้ร่วมกันระหว่างบริษัทที่บริการเครื่องมือความปลอดภัยต่างๆ จำนวนมาก เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบความปลอดภัยร่วมกัน
ก่อนจะกดที่ ลิ้งค์ย่อ Shorten URL อย่าลืมใช้ Virus Total ตรวจสอบกันก่อนนะครับ
ขอขอบพระคุณ คุณชยา ลิมจิตติ ที่ได้แนะนำเครื่องมือ Virus Total ให้ได้รู้จักกันครับ
Month: September 2022
-
Virus Total เครื่องมือตรวจสอบ Shorten URL (ช่วยย่อ URL, ย่อ Weblink, ลิ้งค์ย่อ)
-
Zoom PSU (04) การดาวน์โหลดไฟล์วีดีโอ บน Cloud Storage
1 Download บน Web Browser
1.1 คลิกลิงก์ https://psu-th.zoom.us >> กด Sign in >>กรอกบัญชีผู้ใช้ด้วย PSU Passport
1.2 คลิก Recordings >> เลือกการประชุมที่ต้องการ >>กด Download
1.3 ระบบจะ Download วิดีโอ มาเก็บที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
2 Download บนโปรแกรม Zoom
2.1 คลิก Meetings >> คลิก Recorded >> เลือกการประชุมที่ต้องการ >>คลิก View
2.2 เปิดเบราว์เซอร์ให้อัตโนมัติ คลิก Download
2.3 ระบบจะ Download วิดีโอ มาเก็บที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
3 Recover วิดีโอ บน Cloud Storage >> ต้องทำบน Web Browser
3.1 คลิก Recordings >> คลิก Trash3.2 คลิก Recover ด้านหลังไฟล์ที่ต้องการกู้คืน >> ไฟล์จะกลับไปอยู่ใน Cloud Recordings เพื่อให้ Share หรือ Download ได้
หมายเหตุ 1. ไฟล์บันทึก จะสามารถกู้คืนได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลบไฟล์ (Delete Time) หลังจากนั้นระบบจะลบถาวร
2. ไฟล์บันทึก ที่ถูกลบจะไม่นับรวมกับพื้นที่เก็บข้อมูลบน Cloud Storage
-
Zoom PSU (03) สร้างห้องประชุม (Meeting ID) และส่งให้ผู้เข้าร่วม
1 สร้างบน Web Browser
1.1 คลิกลิงก์ https://psu-th.zoom.us >> คลิก Sign in >> กรอกบัญชีผู้ใช้ด้วย PSU Passport
1.2 คลิก Meetings >> กด Schedule a Meeting
1.3 กรอกรายละเอียดการประชุม กด SaveOptions แนะนำให้กดเลือก
Allow participants to join anytime >> ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าประชุมได้ตลอดเวลา ไม่ต้องรอ Host เริ่มการประชุม
Mute participants upon entry >> ปิดเสียงไมโครโฟนของผู้เข้าร่วม เมื่อเข้าสู่ห้องประชุม
1.4 ตรวจสอบข้อมูล หากต้องการแก้ไขคลิก Edit1.5 คลิก Copy Invitation >> Copy Meeting Invitation ส่งให้ผู้เข้าร่วม
2 สร้างบนโปรแกรม Zoom
2.1 กด Schedule >> กรอกรายละเอียดการประชุม กด Save
2.2 แถบเมนูด้านบนคลิก Meetings >> Copy Invitation ส่งให้ผู้เข้าร่วม
-
Zoom PSU (02) วิธี Sign In ด้วย SSO บน Web Browser
1. คลิกลิงก์ https://psu-th.zoom.us >> คลิก Sign in
1.1 กรอกบัญชีอีเมล >> คลิก Next
1.2 กรอกรหัสผ่าน >> คลิก Sign In
1.3 แสดงเลขเพื่อยืนยันตัวตน
1.4 นำเลขที่ได้ ไปกรอกใน App Authenticator
คู่มือการตั้งค่า App Authenticator ตามลิงก์ https://sysadmin.psu.ac.th/2022/11/04/microsoft-authenticator/ หรือ ถ้าโทรศัพท์ ไม่ขึ้นเตือนให้ใส่เลข กรุณาติดต่อ 087 633 8332
2. กรณีไม่เคยมีบัญชี Zoom
2.1 กด Confirm your email address
2.2 ตรวจสอบอีเมล Please activate your Zoom account (From: no-reply@zoom.us) >> กด Activate Account
3. กรณีมีบัญชี Zoom อยู่แล้ว แต่ไม่เข้าสังกัด PSU3.1 กด Confirm your email address
3.2 ตรวจสอบอีเมล Confirm the requested change to your Zoom account (From: no-reply@zoom.us)
>> กด Switch to the new account
4. เข้าใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ได้สำเร็จ >> ตรวจสอบสถานะ (มุมขวาบน)
4.1 สถานะ BASIC สามารถเข้าใช้งานได้ แต่จำกัดเวลา 40 นาที
4.2 สถานะ LICENSED สามารถเข้าใช้งานได้ไม่จำกัดเวลา
หมายเหตุ
1. ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พ.ย. 67 หากผู้ใช้งาน ต้องการจองใช้งาน Zoom แบบ Licensed สามารถจองได้ที่เว็บ vcs.psu.ac.th
หลังจากวันที่ 1 ธ.ค. 67 บุคลากรที่มี PSU Passport จะได้รับ Licensed โดยไม่ต้องจอง
2. หากเบราว์เซอร์จำ PSU Passport ของท่านอื่น ให้ Sign Out จากโปรแกรม Zoom >>ปิดเบราว์เซอร์ และเปิดเบราว์เซอร์ใหม่ -
Zoom PSU (01)วิธี Sign In ด้วย SSO แบบติดตั้งโปรแกรม Zoom บน PC
1. เปิดโปรแกรม Zoom
2. คลิก Sign In >> คลิก SSO
3. ช่อง Company Domain กรอก psu-th >> คลิก Continue
4. เปิดเบราว์เซอร์ให้อัตโนมัติ
4.1 กรอกบัญชีอีเมล >> คลิก Next
4.2 กรอกรหัสผ่าน >> คลิก Sign In
4.3 แสดงเลขเพื่อยืนยันตัวตน
4.4 นำเลขที่ได้ ไปกรอกใน App Authenticatorคู่มือการตั้งค่า App Authenticator ตามลิงก์ https://sysadmin.psu.ac.th/2022/11/04/microsoft-authenticator/ หรือ ถ้าโทรศัพท์ ไม่ขึ้นเตือนให้ใส่เลข กรุณาติดต่อ 087 633 8332
5. กรณีไม่เคยมีบัญชี Zoom
5.1 กด Confirm your email address
5.2 ตรวจสอบอีเมล Please activate your Zoom account (From: no-reply@zoom.us)
>>กด Activate Account6. กรณีมีบัญชี Zoom อยู่แล้ว แต่ไม่เข้าสังกัด PSU
6.1 กด Confirm your email address
6.2 ตรวจสอบอีเมล Confirm the requested change to your Zoom account (From: no-reply@zoom.us)
>>หากยืนยันย้ายมา PSU ให้กด Switch to the new account7. คลิก Open Zoom Meetings
8. เข้าใช้งานผ่านโปรแกรม Zoom ได้สำเร็จ
9. ตรวจสอบสถานะ คลิกมุมขวาบน > คลิกอีเมล > คลิก My profile
เปิดเบราว์เซอร์ให้อัตโนมัติ > คลิกมุมขวาบน
สถานะ BASIC สามารถเข้าใช้งานได้ แต่จำกัดเวลา 40 นาที
สถานะ LICENSED สามารถเข้าใช้งานได้ไม่จำกัดเวลา
หมายเหตุ
1. ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พ.ย. 67 หากผู้ใช้งาน ต้องการจองใช้งาน Zoom แบบ Licensed สามารถจองได้ที่เว็บ vcs.psu.ac.thหลังจากวันที่ 1 ธ.ค. 67 บุคลากรที่มี PSU Passport จะได้รับ Licensed โดยไม่ต้องจอง
2. หากเบราว์เซอร์จำ PSU Passport ของท่านอื่น ให้ Sign Out จากโปรแกรม Zoom >>ปิดเบราว์เซอร์ และเปิดเบราว์เซอร์ใหม่
-
หาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตารางด้วย LAG Function
LAG Function
เป็นฟังก์ชันที่ให้เราสามารถเข้าถึงแถวข้อมูลก่อนหน้าของตารางได้โดยที่ไม่ต้องทำการ self-joinรูปแบบการใช้งาน
LAG ( expression [, offset [, default] ] )
OVER ( [ query_partition_clause ] order_by_clause )โดยที่
- expression : ฟิลด์ข้อมูลที่ต้องการแสดง
- offset : ระบุว่าต้องการแถวข้อมูลลำดับที่เท่าไหร่ก่อนแถวปัจจุบัน เช่น 2 คือต้องการข้อมูลลำดับที่สองก่อนหน้าแถวปัจจุบัน กรณีไม่ระบุ จะหมายถึงข้อมูลแถวที่1
- query_partition_clause : ใช้สำหรับการจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามกลุ่มที่ต้องการ
- order_by_clause : ใช้เพื่อจัดลำดับข้อมูลภายในแต่ละ partition
ตัวอย่าง : การใช้งานฟังก์ชัน LAG
Query ข้างต้นเป็นการหาผลการเรียนของภาคการศึกษาก่อนหน้าของรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน โดยที่
- expression : ข้อมูลผลการเรียนคือฟิลด์ GRADE
- offset : กรณีไม่ระบุหมายถึงลำดับที่หนึ่งก่อนแถวปัจจุบัน และ ตัวเลข 2 หมายถึง ลำดับที่สองก่อนแถวปัจจุบัน
- query_partition_clause : จัดกลุ่มข้อมูลตามฟิลด์ SUBJECT_ID
- order_by_clause : จัดเรียงข้อมูลภายใน SUBJECT_ID ด้วยฟิลด์ EDU_YEAR แล้วตามด้วยฟิลด์ EDU_TERM
ผลลัพธ์จาก Query
✔ ฟิลด์ GRADE_BEFORE_1 = ผลการเรียนภาคการศึกษาก่อนหน้า
✔ ฟิลด์ GRADE_BEFORE_2 = ผลการเรียนของ 2 ภาคการศึกษาก่อนหน้า
กรณีรายวิชาไหนมีค่าเป็น NULL หมายความว่านักศึกษาลงทะเบียนเรียนเพียงครั้งเดียว ไม่เคยลงทะเบียนเรียนซ้ำ
รายวิชาในกรอบสีแดงคือรายวิชาที่นักศึกษามีการลงทะเบียนเรียนซ้ำ ตัวอย่างเช่น
🎯 รายวิชา 0006343 มีการลงทะเบียนเรียน 2 ครั้ง
🎯 รายวิชา 0007615 มีการลงทะเบียนเรียน 5 ครั้ง
สามารถดูข้อมูลผลการเรียนของภาคการศึกษาก่อนหน้าได้ที่ฟิลด์ GRADE_BEFORE_1 และ GRADE_BEFORE_2คราวนี้เรามาประยุกต์ใช้งานฟังก์ชัน LAG กันค่ะ
ตัวอย่าง : การประยุกต์ใช้ฟังก์ชัน LAG เพื่อหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนในตาราง
เรามีตารางข้อมูลชื่อ V3_PLAN_SEC2_1_PLO ซึ่งประกอบด้วยฟิลด์
PLAN_SEC2_1_PLO_ID (🔑) , PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC
โดยเงื่อนไขของระบบกำหนดไว้ว่าจะต้องมี PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC เพียงรายการเดียวเท่านั้น📌จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ามีข้อมูลที่มีรายการซ้ำซ้อนของข้อมูล PLAN_REPORT_ID และ PLO_DESC
เช่นที่ PLAN_REPORT_ID = C2933F24A525 และที่ PLAN_REPORT_ID = C29482CB6553 เป็นต้น📌วิธีการหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนเราสามารถหาได้หลายวิธีแต่วันนี้จะขอนำเสนอการประยุกต์ใช้ฟังก์ชัน LAG เพื่อหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันค่ะ
ตามคำอธิบายข้างต้น LAG Function เป็นฟังก์ชันที่ให้เราสามารถเข้าถึงแถวข้อมูลก่อนแถวปัจจุบันได้โดยที่ไม่ต้องทำการ self-join
ดังนั้นเราก็จะประยุกต์ใช้ความสามารถนี้ในการหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนก้นโดยมีขั้นตอนด้งนี้- ใช้ฟังก์ชัน LAG ในการดึงค่าข้อมูล PLO_DESC ก่อนหน้า ของ PLAN_REPORT_ID ปัจจุบัน
- ทำการเปรียบเทียบค่า PLO_DESC กับ PLO_DESC ก่อนหน้า
- กรณี PLO_DESC มีค่าเท่ากับ PLO_DESC ก่อนหน้า แสดงว่าข้อมูลรายการปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนกับข้อมูลก่อนหน้า
สามารถเขียนเป็น Query ได้ดังนี้
ผลลัพธ์จาก Query
😊😊เราได้ข้อมูลรายการที่ซ้ำซ้อนกันเรียบร้อยแล้วค่ะ ก็ไม่ยากแล้วใช่มั้ยคะที่จะลบรายการที่ซ้ำซ้อนออกจากตารางข้อมูลต่อไป
^_^ หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ