Day: May 28, 2022

  • Blazor Server Application : วิธีการ Export ข้อมูลเป็นไฟล์ XML

    แนะนำวิธีการ Export ข้อมูลเป็นไฟล์ XML

    วิธีการเขียน Code
    1) สร้าง Folder xml สำหรับเก็บไฟล์ xml ในกรณีนี้อยู่ใน (wwwroot/files/xml)

    2) สร้าง Razor Component ชื่อ ExportXML.razor ในกรณีนี้อยู่ใน (Pages/ExportXML.razor)
    3) จากนั้นเขียน Code ดังนี้

    4) ผลลัพธ์จากการ Export ข้อมูลเป็นไฟล์ XML

    4.1) กรอกข้อมูล และกดปุ่ม Export XML

    4.2) จะได้ไฟล์ person.xml

    4.3) เมื่อเปิดไฟล์ person.xml จะแสดงข้อมูล ดังนี้

  • Blazor Server Application : การสร้างรูปภาพลายเซ็นโดยวิธีการพิมพ์ข้อความ

    แนะนำวิธีการสร้างรูปภาพลายเซ็นโดยวิธีการพิมพ์ข้อความ

    วิธีการเตรียมฟอนต์
    1) เข้าเว็บไซต์ https://www.f0nt.com/release/worasait/
    2) ดาวน์โหลด ฟอนต์ Worasait (worasait.ttf)

    วิธีการเขียน Code
    1) ติดตั้ง NuGet ชื่อ System.Drawing.Common
    2) สร้าง Folder ชื่อ files สำหรับเก็บไฟล์ฟอนต์ ในกรณีนี้อยู่ใน (wwwroot/files/worasait.ttf)

    3) สร้าง Razor Component ชื่อ SignatureType.razor ในกรณีนี้อยู่ใน (Pages/SignatureType.razor)
    4) จากนั้นเขียน Code ดังนี้

    5) ผลลัพธ์จากการสร้างรูปภาพลายเซ็นโดยวิธีการพิมพ์ข้อความ

    หมายเหตุ: วิธีการเปลี่ยนสีภาพลายเซ็น
    1) graphics.DrawString(Txt, oFont, Brushes.Black, 0, 0);
    2) เปลี่ยนจาก Brushes.Black เป็นสีที่ต้องการ เช่น Brushes.Red เป็นต้น

  • มาลองสร้าง Website ด้วย Google Site แบบง่ายๆกันดีกว่า

    ใครจะไปคิดว่าการสร้าง Website จาก Google Site จะง่ายขนาดนี้ ถ้าอยากรู้ว่าต้องเริ่มยังไงมาดูกันเลย

    ขั้นตอนที่ 1. เริ่มจากไปที่ https://sites.google.com จะมี Template ให้เลือกใช้หรือ จะสร้างหน้า Website ขึ้นมาเองก็ได้นะ มาลองดูกันเลย

    ในตัวอย่างนี้ ได้เลือกใช้ Template ที่ชื่อว่า “โครงการ” มาสร้าง Website

    ขั้นตอนที่ 2. หลังจากที่เราได้โครงสร้างของ Website ของเรามาแล้ว เราต้องทำการตั้งชื่อ Website ของเราก่อน โดยสามารถเปลี่ยนชื่อได้จากรูปเอกสารมุมซ้ายบน

    นอกจากการเปลี่ยนชื่อ Website แล้วนั้น เรายังสามารถเปลี่ยนโลโก้ได้อีกด้วย

    แต่ข้อสำคัญของการจะเผยแพร่ / publish Website ของคุณนั้น ต้องมีหน้า Website 2 หน้าขึ้นไป

    ขั้นตอนที่ 3. หลังจากที่เราแก้ไขชื่อ และโลโก้ แล้วเรายังสามารถปรับแก้ไขเนื้อหาที่เราต้องการจะมานำเสนอ หรือเพิ่มลงบน Website ได้เองอีกด้วย โดยใช้เครื่องมือทางด้านขวามือที่ Google Site ได้มีไว้ให้

    ลากสิ่งที่ต้องการใช้มาวางในพื้นที่ที่ต้องการได้เลย

    ตัวอย่างการนำ “บล็อกเนื้อหา” มาวางบน Website

    ขั้นตอนที่ 4. หลังจากที่เราสร้างหน้า และใส่เนื้อหาที่ต้องการจะแสดงบน Website แล้ว เรายังสามารถสร้างหน้าเพิ่มเติมได้จากการเลือกเมนู “หน้าเว็บ” ทางด้านขวามือ

    แถบเมนูจะแสดงหน้า Website ทั้งหมดที่เรามีในตัว Website นี้ โดยการสร้างหน้าเว็บเพิ่มสามารถกดได้จาก ปุ่ม + ที่มุมด้านล่าง

    ความพิเศษของ Google Site คือ ตัวช่วยเหล่านี้ เราสามารถสร้างหน้าใหม่ได้ถ้าเกิดต้องการจะวางโครงหน้า เนื้อหน้าให้เหมือนหน้าอื่น โดยกดที่ “ทำซ้ำหน้าเว็บ” จากหน้าที่เราต้องการจะให้เป็นต้นแบบ

    ขั้นตอนที่ 5. การกำหนดแถบเมนู ต้องการจะให้แสดงด้านบน หรือต้องการให้แสดงด้านข้างสามารถจัดได้โดยการที่ กดที่รูปฟันเฟือง หรือการตั้งค่าดังรูป

    สามารถตั้งค่าได้ที่คำสั่ง “โหมด” ว่าต้องการจะให้อยู่ด้านบน หรือด้านข้าง นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดสีแถบเมนูได้อีกด้วยนะ

    ตัวอย่างเมนูที่อยู่ข้างบน

    ตัวอย่างเมนูที่อยู่ด้านข้าง

    และในที่สุด เราก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการเผยแพร่ Website เพียงแค่คุณ กด เผยแพร่/Publish หากคุณมี Domain เป็นของตัวเองสามารถนำมาใช้ได้เลย

    ถ้าหากชื่อที่คุณต้องการตั้งซ้ำกับคนอื่น จะมีขึ้นแจ้งเตือนให้คุณเปลี่ยน หากเสร็จสิ้นแล้วกดเผยแพร่ได้เลย

    จบกันแล้วการสร้าง Website ไม่ได้อยากเหมือนที่คิดใช่ไหม ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ