ซ่อน/แสดง คอลัมน์ใน ASP.NET GridView ด้วย jQuery

การแสดงผลข้อมูลใน Gridviews ในบางสถานการณ์เราต้องการซ่อนข้อมูลบางคอลัมน์ออกไปก่อนตามเงื่อนไขใดๆ และเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนเราก็จะแสดงข้อมูลในคอลัมน์ที่ถูกซ่อนนั้นออกมา ในบทความนี้ผู้เขียนจะแสดงตัวอย่างการ ซ่อน/แสดง คอลัมน์ใน ASP.NET GridView ด้วยชุดคำสั่ง jQuery โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มโค้ด HTML ดังตัวอย่างด้างล่าง ซึ่งเป็นโค้ดที่แสดง Checkbox เพื่อใช้เลือกแสดงคอลัมน์ CallNo และ ASP.NET GridView ที่มีข้อมูล 5 คอลัมน์ 2. เพิ่มโค้ดใน event Page_Load ในหน้า code behind เพื่อจำลองข้อมูลที่จะใช้แสดงใน GridView เนื่องจากโค้ดตัวอย่างมีการใช้งาน class DataTable และ DataColumn ซึ่งอยู่ใน namespace System.Data เพราะฉะนั้นจะต้อง Import namespace นี้ด้วย 3. เพิ่มโค้ด jQuery เพื่อควบคุมการแสดง/ซ่อน คอลัมน์ เมื่อมีการคลิก เลือก/ยกเลิก เช็คบ๊อก … Read more

กำหนด Lexer สำหรับ Full Text Search บน ฐานข้อมูล Oracle เพื่อค้นหาภาษาไทยให้ถูกต้อง

เนื่องจากระบบสืบค้นที่ดูแลอยู่เจอปัญหาค้นหาเลขไทย “๑ ๒ ๓ …” ไม่เจอ หลังจากตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าก่อนจะส่งคำสั่ง Query ไปยังฐานข้อมูลไม่ได้เผลอตัดเลขไทยออกที่ขั้นตอนไหน จึงทำการตรวจสอบคำสั่งที่ใช้ในการค้นหา พบว่าใช้ฟังก์ชัน SELECT * FROM THAI_LIBRARY WHERE CONTAINS(BOOK_NAME, ‘๑๐๐ ปีชาติไทย’, 1) > 0; จากคำสั่ง (ที่สมมุติขึ้น) ด้านบนจะเห็นได้ว่าใช้ CONTAINS ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่อยู่ในกลุ่ม Oracle Text ซึ่งฟังก์ชันนี้จะค้นหาคำใกล้เคียงจาก Index แล้วคืนค่า Score มาให้เราเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขพิจารณาว่าจะใช้ข้อมูลรายการนั้นหรือไม่ ที่มาภาพ ภาพด้านบนแสดงขั้นตอนการสร้าง Oracle Text Index เนื่องจากระบบจัดเก็บข้อมูลเป็น Text อยู่แล้วจึงไม่มีการกำหนด Fillter, Sectioner ทำให้จุดที่ต้องตรวจสอบว่า เลขไทยเราหายไปจาก Index ได้ยังไงเหลืออยู่คือ Lexer ที่จะเป็นตัวกำหนด Wordlist, Stoplist ในการทำ Index ต่อไป … Read more

Bootstrap Modal Full Screen

หลายๆ ท่านที่เคยใช้งาน Bootstrap เป็น Frontend Framework น่าจะเคยใช้ modal กันมาบ้าง ซึ่ง modal เป็นจาวาสคลิปต์ปลั๊กอิน มีไว้สำหรับการแสดงผลข้อมูล ทั้งรูปภาพ ข้อความ หรือแบบฟอร์มรับข้อมูล ( html input form ) ในลักษณะป๊อปอัพ ซึ่ง modal ของ bootstrap สามารถแสดงผลได้หลายขนาด ทั้งแบบปกติ แบบเล็ก และแบบใหญ่ ขึ้นอยู่กับ class ที่เราสามารถระบุเพิ่มเข้าไปว่าต้องการให้แสดงผลเป็นแบบไหน ตัวอย่างโค้ด modal dialog และปุ่มสำหรับเปิด modal จะได้ผลลัพธ์ดังรูป ถ้าต้องการให้ modal แสดงผลใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ให้ระบุ modal-lg modal-sm หลัง modal-dialog ดังตัวอย่าง ถ้าเราต้องการให้ modal สามารถแสดงผลแบบเต็มจอ (full screen) จะไม่สามารถทำได้ (อ้างอิงจากเวอร์ชัน … Read more

จะทำอย่างไรให้สามารถดึงข้อมูลมาแสดงผลด้วย Progress bar โดยใช้ .Net (C#)

          จากบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับ Progress bar และวิธีการใช้งานเบื้องต้นกันไปแล้ว ซึ่งใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ มาถึงในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอนำความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงที่มีการดึงข้อมูลตอน Runtime มาแสดงผลด้วย Progress bar โดยผู้เขียนจะไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนของการสร้างสไตล์ชีทและการกำหนดค่าต่างๆแล้ว แต่จะเน้นในส่วนของการดึงข้อมูลมาแสดงแทน โดยผู้เขียนจะพยายามยกตัวอย่างให้เห็นหลายแนว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพในการนำไปใช้มากขึ้น ซึ่งแต่ละแบบจะต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ แบบแถบละสี ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และจัดเตรียม Tag Html ที่จะใช้ในการแสดงผล 2. เมธอดในการแปลงค่าสไตล์ชีทเพื่อปรับสีตามจำนวนที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ จากโค้ดข้างต้นจะเป็นการกำหนดสไตล์ชีทที่จะใช้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนค่า % ที่ส่งมาเป็นพารามิเตอร์ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง สีแดง ช่วงตั้งแต่ 0 – 25 % สีส้ม ช่วงตั้งแต่ 26 – 50 % สีฟ้า ช่วงตั้งแต่ 51 – 75 % สีเขียว ช่วงตั้งแต่ … Read more

มาทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งาน Progress bar ในเบื้องต้นกันเถอะ

          โดยปกติแล้วในการพัฒนาเว็บไซต์ของเรา คงมีบางเวลาที่เราอาจจะอยากแสดงผลข้อมูลของเราในรูปแบบของ Progress bar ซึ่งเป็นแถบของข้อมูล เพื่อเพิ่มมุมมองให้กับการแสดงผลให้ไม่น่าเบื่อจำเจแทนที่จะเป็นเพียงการแสดงผลตัวเลขเฉยๆ โดยเจ้า Progress bar นี้จะทำให้เราเห็นภาพได้ว่า ข้อมูลของเราได้ดำเนินการใกล้ถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำวิธีการใช้งาน Progress bar แบบเบื้องต้น โดยจะมีขั้นตอนง่ายๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนสไตล์ชีท โดยเราจะใช้สไตล์ชีทเหล่านี้ เพื่อช่วยให้การแสดงผลของ Progress bar ของเราสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งการกำหนดสไตล์ชีทสามารถทำได้ 2 วิธี คือแบบที่กำหนดในไฟล์เลย หรือแยกเป็นไฟล์สไตล์ชีทต่างหากได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้ทำเป็นแบบแยกไฟล์สไตล์ชีทออกมาต่างหากแล้วอ้างถึงจากไฟล์ที่เรียกใช้แทน เพื่อง่ายต่อการปรับปรุง และใช้งานในครั้งต่อไปค่ะ ไฟล์ Progress.css เพิ่มเติม : การอ้างอิงไฟล์สไตล์ชีทจากภายนอก โดยที่อยู่ของไฟล์ก็ขึ้นกับการระบุของแต่ละท่าน 2. การกำหนดพื้นที่ในการแสดงผล Progress bar ในส่วนของแท็ก body ในไฟล์ html คำอธิบาย : จากตัวอย่าง จะเห็นว่าเราสามารถปรับแต่งและใส่ข้อมูลให้กับ Progress bar … Read more