สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน Blog ปิดท้ายของเดือนพฤษภาคม ปี 64 นี้ ผู้เขียนขอเล่าในเรื่องของความรู้เพิ่มเติมในการใช้ Browser ละกันเนอะ
จากการใช้งานท่องเว็บของเราในแต่ละวัน คาดว่าผู้อ่านแต่ละท่าน คงจะคุ้นเคยกับคำว่า โหมดไม่ระบุตัวตนกันมาบ้างแล้ว
จริงๆ ในแต่ละ Browser เนี่ย ชื่อเรียกมันก็จะต่างกันนะ เช่น Incognito , Private หรือ Inprivate เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลมันก็คือ โหมดไม่ระบุตัวตนนั่นแหละ
โหมดไม่ระบุตัวตน คืออะไร ?
เอาแบบภาษาบ้านๆ พูดง่ายๆ ก็คือ เป็น Feature นึงที่มีอยู่ในทุกๆ Browser โดยโหมดนี้ จะทำให้ Browser ของเราจะไม่จัดเก็บข้อมูลของเว็บที่เราเข้า ไม่มีที่อยู่ ไม่มี cookie ไม่มีข้อมูลที่เราป้อนก่อนหน้า ก็คือไม่มีอะไรเลย ! มันก็คงคล้ายๆ กับการทำให้ Browser ของเราความจำเสื่อมชั่วคราวนั่นแหละนะ
คราวนี้มาขยายความแบบทางการกันหน่อย
- Browser จะไม่เก็บประวัติการเข้าใช้งานเว็บไซต์
- Browser จะไม่เก็บ cookie ของเว็บไซต์ และ ข้อมูลที่กรอกในฟอร์มต่างๆ
- แต่ถ้ามีการ bookmarks หรือดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างใช้งาน ข้อมูลเหล่านั้นก็จะยังคงอยู่ ถึงแม้จะเราจะปิดโหมดนี้ไปแล้ว
- ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตยังคงเห็นการเข้าใช้งานของเราตามปกติ
- IP ที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ ไม่ว่าจะโหมดปกติ หรือโหมดไม่ระบุตัวตน ยังเป็น IP เดียวกัน และโหมดไม่ระบุตัวตนมันไม่ได้ซ่อนที่อยู่ IP ของเราให้นะทุกคนนนน !!
- การใช้งานโหมดนี้ในเครื่องสาธารณะ หรือเครื่องที่มีความเสี่ยง โหมดนี้ไม่ได้ช่วยให้ความเสี่ยงเหล่านั้นลดน้อยลง
พออ่านไปอ่านมาจนถึงตรงนี้ หลายๆ ท่านคงรู้สึก เอ๊ะ ! แล้วนี่มันเป็นการท่องเว็บแบบส่วนตัวจริงเหรอ ทำไมรู้สึกเหมือนๆ จะไม่ส่วนตัวยังไงยังงั้นกันใช่มั้ย … เอาจริงๆ ผู้เขียนมองว่า เราก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องกันก่อน ว่าโหมดไม่ระบุตัวตนตัวนี้เนี่ย เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ขอบเขตการทำงานของมันเป็นยังไง
แล้วมันเหมาะ หรือไม่เหมาะ กับการใช้งานแบบใดกันละ ?
ถ้าตามความเข้าใจของผู้เขียน ผู้เขียนเข้าใจว่า
- เหมาะกับกรณีที่เราไปใช้งานตามร้าน Internet cafe หรือ เครื่องสาธารณะ ที่เราไม่ต้องการให้ Browser มีการเก็บประวัติการเข้าใช้งาน
- เหมาะกับกรณีที่เราต้องการเข้าใช้บริการต่างๆ พร้อมกันมากกว่า 1 account
- ข้อนี้ส่วนตัว แหะๆ ผู้เขียนคิดว่ามันเหมาะกับงานของผู้เขียน คือ ใช้สำหรับใช้ทดสอบระบบ หรือเว็บที่เราพัฒนา เนื่องจากจะไม่มีการจำ cache ใด ให้เราปวดหัว ^^
- ไม่เหมาะกับกรณีที่เราไปใช้งานในทางที่ไม่ดี เพราะมันยังสามารถโดนติดตามได้อยู่ … อย่าลืมระวังข้อนี้ด้วยนะ !!
- หากสิ่งที่ท่านผู้อ่านต้องการ ที่ไม่ใช่แค่ไม่เก็บประวัติ ไม่เก็บ cookie เหล่านี้ ทางผู้เขียนขอแนะนำให้ไปศึกษาใช้การ VPN หรือ Proxy ควบคู่ไปกับการใช้โหมดไม่ระบุตัวตน
สุดท้ายแล้ว เจ้าโหมดไม่ระบุตัวตนนี้ ก็ยังคงเป็นอีกตัวเลือกที่ง่าย และยังคงมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และสภาพแวดล้อมของแต่ละคน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะยังคงเพิ่มความเข้าใจ ให้ความกระจ่างกับผู้อ่านในเรื่องของ โหมดไม่ระบุตัวตน ได้ไม่มากก็น้อยแหละเนอะ
ขอบคุณแหล่งข้อมูลข่าวสาร และความรู้ >>> https://www.techhub.in.th/