Big Data Framework

ออกตัวไว้ก่อนนะครับบทความนี้เป็นการย่อความหรือถอดสาระสำคัญมาจาก หนังสือกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งจะนำเสนอในส่วนของการตั้งทีมเพื่อพัฒนา Big Data แนวทางการพัฒนาทั้งข้อมูลและกลุ่มคนที่จะดำเนินการพัฒนาระบบให้บริการข้อมูล เพื่อประยุกร์ใช้กับการนำข้อมูลไปประกอบการพัฒนามหาวิทยาลัยของเราในรูปแบบ (Data Driven Organization)

ภาพที่ 1 กลุ่มเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่

1) กลุ่มผู้ใช้ข้อมูล (Business Domain) ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ มีหน้าที่กำหนดโจทย์หรือประเด็น ที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล และนำสารสนเทศที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล มาใช้ประกอบการดำเนินงาน

2) กลุ่มผู้วิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และนักนิทัศน์ข้อมูล (Data Visualizer) มีหน้าที่ในการนำข้อมูลมาจัดกลุ่ม วิเคราะห์และประมวลผล พร้อมทั้งพัฒนาภาพแบบ แสดงผลข้อมูลหรือ Dashboard สำหรับการนำเสนอข้อมูล

3) กลุ่มผู้สร้างและพัฒนาระบบ ได้แก่ วิศวกรข้อมูล (Data Engineer) สถาปนิก ข้อมูล(Data Architect) นักวิเคราะห์ธุรกิจ(Business Analyst)ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) และเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Corporate Security IT Operator) มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล รวมทั้งดูแลและบริหารจัดการข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

นอกจากกรอบเรื่องของคนแล้วก็ยังมีกรอบเรื่องระยะเวลาด้วย

ภาพที่ 2 กรอบระยะการดำเนินการ 3 ระยะ

ระยะสั้น :  การพัฒนาแพลตฟอร์ม (Platform) เสริมสร้างทักษะที่เรียกว่า Sandbox สำหรับการพัฒนาบุคลากรในระยะสั้น เริ่มตั้งแต่การกำหนดโจทย์การพัฒนาโครงสร้าง และระบบข้อมูล การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเชิงประจักษ์ ตลอดไปจนถึงการนำสารสนเทศและองค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์และประมวลผลมาใช้ ประกอบการตัดสินใจและการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆแพลตฟอร์มดังกล่าวเน้นการพัฒนา บุคลากรผ่านหลักสูตรที่นำรูปแบบการพัฒนาแบบการเรียนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) มาปรับใช้เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถ “ทำได้ ทำเป็น” มากกว่า เรียนรู้จากทฤษฎีโดยการดำเนินงานร่วมกับหลักสูตรนักบริหารภาครัฐเพื่อการบูรณาการ การพัฒนาประเทศไทย ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้าง ความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สกพ.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) (สพร.)และสถาบันสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ ภาครัฐ (GBDi) 

ระยะกลาง : การวางแผนการบริหารจัดการกำลังคนเพื่อการใช้ประโยชน์ข้อมูล ขนาดใหญ่ที่มีความคล่องตัว สามารถสนับสนุนการพัฒนานโยบาย การตัดสินใจ การบริหาร จัดการ การให้บริการ และการพัฒนานวัตกรรมภาครัฐ มีกรอบการดำเนินงานดังนี้ 

  • วางระบบการบริหารจัดการกำลังคนแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
    1) กลุ่มหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่สามารถดูแลบริหารจัดการระบบข้อมูลและมีบุคลากรที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ประมวลและแสดงผลข้อมูล แต่ยังคงมีความต้องการการสนับสนุนเชิงเทคนิคหรือการดำเนินการในบางประการ

    2) กลุ่มหน่วยงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนามีบุคลากรที่มีความเข้าใจและสามารถให้ข้อมูลความต้องการได้ชัดเจน       ระดับหนึ่ง ต้องการการสนับสนุนเชิงเทคนิคในการสร้างและพัฒนาระบบและการวิเคราะห์ ประมวลและแสดงผลข้อมูล

    3) กลุ่มหน่วยงานที่ขาดแคลนบุคลากรด้านข้อมูล แต่มีความจำเป็นต้องนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย หรือการบริหารจัดการต่าง ๆ
  • นำบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหน่วยงานต่าง ๆ       มารวมไว้ภายในหน่วยงานเดียว เช่นพัฒนารูปแบบการทำงานในลักษณะเป็น “ทีมที่ปรึกษา” (Agile Team) เพื่อให้บริการหน่วยงานภาครัฐโดยอาจนำที่ปรึกษาภายนอกหรือหน่วยงานเอกชนมาร่วมดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ หรือให้มีการพัฒนารูปแบบการจ้างงานใหม่นอกเหนือจาก “ข้าราชการ/พนักงานราชการ” เพื่อดึงดูด/จูงใจ และอาจมีการเพิ่ม “สายงานเฉพาะทาง” สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล มีการดูแลความก้าวหน้าในอาชีพ มีการสร้างโอกาสการพัฒนาที่ต่อเนื่อง มีการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม มีการปรับกรอบอัตรากำลังให้สอดคล้องกับลักษณะงานที่มีความซับซ้อนและความต้องการบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงและมีความเป็นมืออาชีพ ทั้งนี้อาจมีการนำ       วุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานหรือสมรรถนะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการกำลังคนด้วย
  • พัฒนาขีดความสามารถของผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มต่างๆได้แก่ผู้บริหารระดับสูงผู้อำนวยการกอง ผู้ทำงานด้านนโยบายและวิชาการ และผู้ทำงานด้านบริการให้สามารถกำหนดโจทย์หรือประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลและนำสารสนเทศที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลมาใช้ประกอบการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยกระดับศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน โดยอย่างน้อยให้มีความสามารถในการกำกับควบคุมงานจ้างที่ปรึกษา (Project Management) และในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล (Data Governance) 
  • นำกลไกการให้ทุนรัฐบาลมาใช้สนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคนด้านการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • วางระบบการบริหารองค์ความรู้และเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

ระยะยาว : การต่อยอดขยายผลโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและสร้าง ประโยชน์ในทรัพยากรข้อมูลของทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับระบบเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงให้กับสังคม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาพันธมิตรธุรกิจระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและ ระหว่างประเทศภายใต้เจตจำนงค์ร่วมกัน โดยร่วมสร้าง Open Government DataPlatform for Business and Citizen ให้ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และการนำข้อมูลเปิดภาครัฐ มาใช้เพื่อพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม

ภาพที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงการบิ๊กดาต้า

โดยรวมแล้ว Big Data จะเกิดมาได้จากโจทย์ที่ต้องการใช้ข้อมูลจากผู้บริหารหรือโจทย์ทางเป้าหมายขององค์กร แต่เท่าที่ได้ยิน รับรู้และประสบมาองค์กรเช่น มหาวิทยาลัยมีโจทย์หลายด้านไม่เหมือนภาคเอกชนที่โจทย์จะชัดเจนมากและถูกกำหนดมาโดยผู้บริหารอย่างชัดเจน ดังนั้นการที่จะเกิดการเอาข้อมูลมาใช้งานในองค์กรเพื่อการบริหารเช่น มหาวิทยาลัยนั้น อาจจะต้องอาศัยอีกทางเลือกนึ่งมาเสริมแรงเข้าไปคือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรงฝึกมองข้อมูลที่มีอยู่ในมุมมองใหม่ๆ การเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบให้หลากหลายแบบ จนเจอข้อมูลอะไรที่น่าสนใจ เรื่องมุมมองที่แตกต่างนี้ถ้าได้คุยกับคนหลากหลายอาชีพก็จะได้มุมมองที่กว้างขึ้นได้และจะช่วยเปิดแนวคิดในการดูข้อมูลแบบใหม่ๆขึ้นมาก็เป็นไปได้ อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางโดยภาพรวมที่องค์กรพึ่งดำเนินการถ้าต้องการพัฒนาเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินงาน Data Driven Organization และต้องการมี Big Data เพื่อการพยากรณ์ความเป็นไปได้ในอนาคตและเพิ่มทางเลือกที่อาจจะซ่อนอยู่ในข้อมูลที่มีแต่ยังมองไม่เห็น ขอบคุณครับ