Day: November 24, 2020

  • การส่งภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือระบบ Android ไปยัง PC (Windows 10) โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

    ในการนำเสนอข้อมูลจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง Projector บางครั้งอาจจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษในการส่งข้อมูลภาพ แต่มีอีกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้หากมี PC ที่ติดตั้ง Windows 10 นั่นคือ การส่งข้อมูลหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือไปยัง PC จากนั้นจึงส่งภาพจากหน้าจอ PC ขึ้นไปยัง Projector อีกต่อหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้ผู้นำเสนอก็จะสามารถนำเสนอได้ทั้งข้อมูลจากหน้าจอมือถือ และข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่บน PC ด้วย

    สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการดังกล่าว โดยจะเป็นการส่งภาพหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือระบบ Android ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มบนโทรศัพท์มือถือ หรือบน PC

    สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตั้งค่า

    • เนื่องจากวิธีการนี้เป็นการส่งผ่านข้อมูลถึงกันผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi ดังนั้นทั้งอุปกรณ์ Android และ PC ควรเชื่อมต่อผ่าน WiFi บน Access Point ชื่อเดียวกัน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดจากการที่อุปกรณ์ทั้งสองหากันไม่เจอ

    ขั้นตอนการตั้งค่าบน Windows 10

    1. บน PC ไปที่ Setting

    2. เลือก System จะปรากฏเมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นเลือก Projecting to this PC

    3. การตั้งค่าลำดับแรก “Some Windows and Android devices can project this PC when you say it’s OK” จะมี 3 ตัวเลือก

    ให้ตั้งค่าเป็นตัวเลือก Available everywhere on secure networks หรือ Available everywhere ส่วนตัวเลือก Always Off เป็นการเลือกที่จะไม่ให้มีการเชื่อมต่อเข้ามา

    4. การตั้งค่า “Ask to project to this PC”

    เป็นการตั้งค่าให้มีข้อความแจ้งบน PC เมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามาจากโทรศัพท์มือถือ โดยบนฝั่ง PC จะเป็นการเลือกว่าจะยอมรับการเชื่อมต่อหรือไม่

    โดยเมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามายัง PC จะมีกล่องข้อความแจ้งเตือนดังรูป

    ส่วนตัวเลือกในการยอมรับการเชื่อมต่อจะมีสี่ตัวเลือกดังรูป

    ตัวเลือก First time only เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนครั้งแรกที่ขอเชื่อมต่อเข้ามาเท่านั้น หากมีการขอเชื่อมต่อหลังจากนี้ครั้งต่อไปจะสามารถทำการเชื่อมต่อได้เลย (ตอนยอมรับการเชื่อมต่อต้องเลือก Always allow ด้วย หลังจากนี้หากมีการขอเชื่อมต่ออีกก็จะไม่มีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาอีก)

    ตัวเลือก Every time a connection is requested เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกครั้ง เมื่อมีการเชื่อมต่อ

    5. การตั้งค่า Require PIN for pairing

    เป็นการกำหนดว่าเมื่อมีการเชื่อมต่อกัน จะต้องมีการยืนยันรหัส PIN หรือไม่ โดยฝั่ง PC จะออกรหัส PIN ให้ และฝั่งโทรศัพท์มือถือต้องกรอกรหัส PIN นี้เพื่อยืนยัน

    ตัวเลือกการตั้งค่ามี 3 ตัวเลือก คือ

    ตัวเลือก Never เลือกตัวเลือกนี้หากไม่ต้องการใช้รหัส PIN ในการยืนยัน

    ตัวเลือก First Time ใช้สำหรับยืนยันรหัส PIN ครั้งแรกครั้งเดียว

    ตัวเลือก Always ต้องมีการยืนยันรหัส PIN ทุกครั้ง

    ตัวอย่างรหัส PIN

    6. การตั้งค่า “This PC can be discovered for projection only when it’s plugged into a power source”

    ถ้าเลือกเป็น On สามารถเชื่อมต่อได้เฉพาะกรณีที่ PC ต่อเข้ากับสาย power adapter ที่ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเท่านั้น

    ส่งภาพจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง PC

    1. บนโทรศัพท์มือถือ ให้ไปที่ Setting และหาเมนู Wireless Display (อยู่ในหมวด WIRELESS & NETWORKS)

    จากตัวอย่าง เลือก More จะเจอเมนู Wireless Display

    2. แตะที่เมนู Wireless Display แล้วเปิดการใช้งาน Wireless Display จะปรากฏรายการ PC ที่เปิดให้สามารถเชื่อมต่อได้

    3. แตะเลือก PC ที่ต้องการเชื่อมต่อ หากบน PC มีการตั้งค่าให้ยืนยันรหัส PIN จะมีหน้าต่างให้ป้อนรหัส PIN บนโทรศัพท์มือถือ

    4. เมื่อป้อนรหัส PIN แล้วกด Accept ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับ PC เพื่อส่งหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือไปยัง PC ได้ดังรูป

  • การติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET บน IIS

    สำหรับนักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ที่จะต้องทำหน้าที่ครบวงจร (Full Stack Programer) สิ่งที่ต้องทำหลังจากพัฒนาเว็บขึ้นมาเสร็จแล้ว คือการติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ (Deploy) ในบทความนี้จะเล่าขั้นตอนหลักๆ ในการติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET (ไม่ว่าจะพัฒนาด้วย .Net Framework เวอร์ชันไหนก็ขั้นตอนเดียวกัน เปลี่ยนแปลงแค่ .Net Runtime ที่ใช้งาน) บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ IIS (Internet Information Services) ซึ่งหน้าตาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวอร์ชันของ IIS แต่ขั้นตอนการตั้งค่ายังคงคล้ายคลึงกัน

    Publish เว็บไซต์ (กรณีใช้ Visual Studio)

    1.คลิกขวาที่ชื่อโปรเจ็ค เลือก Publish

    2.จะได้หน้าจอเลือกประเภทในบทความนี้เลือกเป็น Folder เพื่อใช้วิธีการ Deploy แบบนำไฟล์ไปวางที่ Server เอง ดังรูป

    3. เลือกที่ตั้งไฟล์ กด Finish

    4. ตั้งค่าการ Publish จากในรูปคือให้ลบไฟล์ที่มีอยู่ก่อน และใช้รูปแบบ Release ในการ Compile

    5. ตัวอย่างไฟล์ที่ทำการ Publish เสร็จแล้ว

    6. ทำการ Copy ไฟล์ทั้งหมดไปวางใน wwwroot บน Server

    ติดตั้ง Component ต่างๆ

    1.ในบทความนี้ใช้ Windows Server 2016 Datacenter เป็นตัวอย่าง ซึ่งการติดตั้ง Component ต่างๆ สามารถทำได้ผ่าน Server Manager > Manage > Add Roles and Features ได้เกือบทั้งหมด ยกเว้น Runtime อื่นๆที่เว็บไซต์มีการนำมาใช้งานเพิ่มเติม

    2. ติดตั้ง IIS , ASP.NET และ Component ที่เกี่ยวข้อง โดยไปที่ Server Role > Web Server (IIS) และทำการเลือก Component ต่างๆดังรูป จากนั้นกด Next

    3. ติดตั้ง .Net Framework เวอร์ชันที่เว็บไซต์ใช้งาน ในตัวอย่างใช้ .Net Framework 4.6 โดยสามารถเลือกจาก เมนู Features ดังรูป

    4. เท่านี้ก็จะมี Component ที่จำเป็นในการติดตั้งเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย ASP.NET แล้ว

    สร้าง และตั้งค่า Application Pool

    1.เปิดโปรแกรม IIS โดยไปที่ Start > Windows Administrative Tools > Internet information Services (IIS) จะได้หน้าจอดังรูป

    2. เลือกเมนู Application Pool จากนั้นคลิก Add Application Pool จะได้หน้าจอการตั้งค่าดังรูป โดยที่ .Net CLR Version จะแยกเป็น 2.0.xxx และ 4.0.xxx โดยหากต้องการใช้งาน .Net Runtime 3.5 – 4.x สามารถเลือกเป็น 4.0.x ได้ทั้งหมด

    3. เมื่อสร้างสำเร็จ จะมีรายการ Application Pool ที่เราสร้างดังรูป

    สร้าง และตั้งค่าเว็บไซต์ ทดสอบเรียกใช้งาน

    1.ในการสร้างไซต์นั้น หากบน Server นั้นยังไม่มีเว็บไซต์ใดๆ สามารถใช้ Default Web Site ได้เลย แต่ถ้ามีเว็บไซต์อื่นๆอยู่ก่อนแล้ว จะต้องพิจารณาว่าจะให้บริการในแบบใด เป็น Application ที่อยู่ภายใต้เว็บไซต์เดิม หรือแยกออกมาเป็นอีก URL ในส่วนนี้ บทความจะไม่ลงรายละเอียด โดยจะแสดงวิธีการเพิ่ม ไซต์ใหม่ภายใต้ URL เดิมที่มีอยู่แล้วโดยเลือกเมนู Add Website จะได้หน้าจอการตั้งค่าดังรูป

    2. จากนั้นทำการตั้งค่า Default Document โดยคลิกเลือกที่ชื่อเว็บไซต์ เลือกไฟล์ที่ต้องการกำหนดเป็นหน้าแรกของเว็บไซต์

    3. ตั้งค่าต่างๆของเว็บไซต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละเว็บไซต์ว่ามีการใช้งาน Feature ใดบ้าง ดังรูป (อีกช่องทางนึงคือการแก้ไขไฟล์ web.config โดยตรง)

    4. ทำการทดสอบเรียกใช้งาน โดยคลิกที่เมนู Browse เพื่อเรียกดูแบบ Localhost หรือหากมี URL อยู่แล้วสามารถเรียกดูผ่าน URL/ApplicationName ดังรูป

    ในขั้นตอนติดตั้งชิ้นงานจริง แน่นอนว่าอาจมีขั้นตอนเพิ่มเติมตามแต่ละเว็บไซต์ และอาจพบปัญหาต่างๆ แตกต่างกันไปตามเวอร์ชันของวินโดวส์, IIS, .Net Runtime แต่อย่างไรก็ดีหวังว่าบทความนี้จะเป็นไกด์ไลน์ ให้เห็นภาพขั้นตอนคร่าวๆในการติดตั้งเว็บไซต์หนึ่งๆ สำหรับผู้เริ่มต้นครับ