ในการพัฒนาระบบที่ต้องมีการอ่านข้อมูลจากเครื่องสแกนบาร์โคดแบบสองมิติ (แบบแท่งหรือแบบเส้น) รูปแบบในการทำงานมักจะเป็นการอ่านข้อมูลจากตัวบาร์โคด จากนั้นตามด้วยอักขระ Enter หรือ Tab เพื่อเป็นการระบุว่าให้ส่งข้อมูลที่อ่านได้จากบาร์โคดให้กับฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่งเพื่อนำไปใช้งานต่อ แต่ในบางครั้งอาจจะเคยเจอปัญหาว่าทำไมเมื่อสแกนบาร์โคดแล้วไม่มีการ Enter หรือ Tab โดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องกดปุ่ม Enter หรือ Tab เองทุกครั้งจากคีย์บอร์ด หรือต้องปรับแต่ง code เพื่อเพิ่มอักขระ Enter หรือ Tab ต่อหลังข้อมูลที่อ่านได้จากเครื่องสแกนบาร์โคด
หนึ่งในแนวทางสำหรับการแก้ปัญหานี้อยู่ที่ตัวคู่มือสำหรับเครื่องสแกนบาร์โคดแต่ละรุ่นนั่นเอง โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างกรณีที่เคยพบดังนี้
ตัวอย่างการตั้งค่าเครื่องอ่านบาร์โคด Honeywell รุ่น Xenon Model 1900
- หาคู่มือการตั้งค่าตามรุ่น ซึ่งรุ่นนี้ คือ Xenon Model 1900 (ถ้าไม่มีคู่มือที่ให้มาพร้อมกับอุปกรณ์ อาจจะสามารถค้นหาคู่มือได้จากทาง internet โดยค้นตามรุ่น หรือตามบริษัทผู้ผลิต)
- ในคู่มือที่เกี่ยวกับการตั้งค่าเพื่อแก้ปัญหานี้ จะมีรหัสบาร์โคดที่ให้เราทำการสแกนเพื่อตั้งค่าอุปกรณ์ดังนี้
กรณีต้องการให้ลงส่งอักขระ Enter หลังสแกนบาร์โคด สามารถทำได้โดยการสแกนบาร์โคดด้านล่าง
กรณีต้องการให้ลงส่งอักขระ Tab หลังสแกนบาร์โคด สามารถทำได้โดยการสแกนบาร์โคดด้านล่าง
สรุปควรแก้ปัญหาด้วยการเขียน Code หรือตั้งค่าอุปกรณ์
จากการเปรียบเทียบจะเห็นว่าหากใช้วิธีการเขียน code น่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่าในการแก้ปัญหานี้ เพราะเป็นวิธีการที่ไม่ขึ้นกับเครื่องสแกนบาร์โคด ไม่ต้องลำบากหาคู่มือ แต่วิธีการตั้งค่าอุปกรณ์นั้น อาจจะเหมาะสมในกรณีที่ต้องการอ่านข้อมูลบาร์โคดจำนวนมากลงไฟล์ เช่น อ่านลง text file หรืออ่านลง excel เพื่อนำไฟล์นี้เตรียมไว้เป็นข้อมูลสำหรับทดสอบนำเข้าระบบใดระบบหนึ่งอีกที เป็นต้น
ถือว่าเป็นสิ่งที่รู้ไว้เป็นแนวทางนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ได้