รู้จักเอแจ๊กซ์ (AJAX) และการใช้งาน

AJAX ย่อมาจากคำว่า Asynchronous JavaScript and XML ซึ่งหมายถึงการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่ประมวลผลในเบื้องหลังเป็นเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ความรู้สึกการใช้งานโปรแกรมเหมือนกับเดสก์ท็อปแอปพลิเคชัน ปกติแล้วในภาษาสคริปต์ที่ใช้งานกับเว็บไซต์จะมีการทำงานประมวลผลแบบเป็นลำดับ (synchronous) โดยที่คำสั่งแรกจะต้องประมวลผลให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วถึงจะทำงานในคำสั่งถัดไป แต่กระบวนการทำงานแบบเอแจ๊กซ์เมื่อบราวเซอร์ (Browser) ร้องขอข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ (Server) บราวเซอร์จะไปทำงานคำสั่งถัดไปทันที (asynchronous) โดยที่ไม่ต้องรอการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ก่อน ทำให้การตอบสนองต่อผู้ใช้งานดูรวดเร็วขึ้น และเมื่อเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลเสร็จแล้วถึงจะส่งข้อมูลกลับมาที่เอแจ๊กซ์และให้เอแจ๊กซ์ทำงานกับข้อมูลที่ส่งกลับมาอีกทีซึ่งสามารถเขียนโค้คการทำงานดังนี้ ตัวอย่างโค้คการทำงาน AJAX ของโดยใช้ jQuery และปัจจุบันในการเขียน JavaScript เพื่อเรียกใช้งาน AJAX นั้นเราไม่จำเป็นต้องพึ่งพา jQuery อีกต่อไปแล้วซึ่งสามารถเขียนโค้ดการทำงานได้ดังนี้ วิธีที่ 1  ใช้ XMLHttpRequest [1] วิธีที่ 2 ใช้ Fetch API [2] อ้างอิง: https://tutorialzine.com/2014/06/10-tips-for-writing-javascript-without-jquery [1] https://developers.google.com/web/updates/2015/03/introduction-to-fetch [2] https://www.javascripttutorial.net/javascript-fetch-api/   วิดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=F1TECaRf-uA&feature=youtu.be&t=2375

รู้จักการจัดการข้อมูล JSON และการใช้งาน

รูปแบบข้อมูล JSON เป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเซิฟเวอร์และไคลเอนต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันซึ่งได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายเช่นการเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคนิค AJAX, RESTFul, เขียนคอนฟิกไฟล์ หรือการพัฒนา API เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติของ JSON ที่เป็นไฟล์ประเภทข้อความ (Text based) ขนาดเล็กน้ำหนักเบา เป็นมาตรฐานกลางทุกภาษาสามารถใช้งานได้ง่ายทั้งการอ่านและเขียนที่มนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย อักขระมาตารฐานของ JSON เครื่องหมาย “:” ใช้สำหรับแยกค่า name และ value เครื่องหมาย “,” ใช้สำหรับแยกข้อมุล name-value ในแต่ละคู่ เครื่องหมาย “{” และ “}” ระบุว่าข้อมูลเป็นออบเจ็ค เครื่องหมาย “[” และ “]” ระบุว่าข้อมูลเป็นอาเรย์ เครื่องหมาย “” (double quotes) ใช้เขียนค่า name-value ใน JSON ตัวอย่างการเขียนค่า Json – จำนวน 1 คู่ – หากมีมากกว่า … Read more