แชร์หน้าจอมือถือขณะ VDO Call ด้วย LINE

สำหรับ Blog ในวันนี้จะมาขอแชร์เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่หลายๆคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน (ถึงแม้จะใช้ LINE กันอยู่ทุกวันก็เถอะ) เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาทาง LINE ได้มีการ update version ล่าสุด คือ10.6.5 ซึ่งใน version นี้จะเน้นไปที่การเพิ่มคุณสมบัติขณะวิดีโอคอล เช่น สามารถดู YouTube ร่วมกันได้ หรือสามารถแชร์หน้าจอตัวเองได้ เป็นต้น จริงๆแล้ว เรื่องของการแชร์หน้าจอขณะ VDO Call เนี่ย เดิมบนคอมพิวเตอร์ก็ทำได้อยู่ก่อนแล้วนะ แต่ตอนนี้ update ให้สามารถแชร์ผ่าน application บน smart phone ได้ด้วย วิธีการก็ไม่ยากเลย ปะ ไปดูกันว่าเค้าทำกันยังไง !! Step1 : เริ่มจากเปิด LINE และเลือก VDO Call หาคนที่เราต้องการ Step2 : เมื่อเริ่มการ VDO Call เรียบร้อยแล้ว แตะหน้าจอเบาๆ 1 ครั้ง จากนั้นให้สังเกตุมุมบนด้านขวาของหน้าจอ จะปรากฏicon เล็กๆ ให้กดเลือกตรงจุด3จุด Step3 : หน้าจอจะแสดงเมนูให้เราเลือก ให้เลือก “Share screen” Step4 : เมื่อกดเลือกเรียบร้อยแล้วหน้าจอก็จะถามเราว่า “LINE will start capturing everything that’s displayed on your screen.” ให้เลือกว่าจะ cancel หรือ start now เลือกแบบไหนก็เลือกเลย หากไม่ต้องการให้รอบหน้าแสดงข้อความนี้อีกก็สามารถ Checkbox ด้านหน้าคำว่า Don’t show again ได้เลย Step5 : เมื่อเราเริ่มต้นการ Share screen เรียบร้อยแล้ว หน้าจอเราเปิดอะไรอยู่ เพื่อนที่เรา VDO Call ด้วยก็จะเห็นเหมือนกัน ตัวอย่างก็จะได้ดังรูป ^^ จะว่าไปก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อยเลยนะ ยิ่งช่วงนี้อะไรๆก็ออนไลน์ ทั้งเรียน ทั้งประชุม ทั้งพูดคุย ตัวคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาอันนี้ตอบรับนโยบาย social distancing ได้ดีมากๆ อย่างไรก็ตามผู้เขียนอยากให้ทุกคนไปลองเล่นดูนะ ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเหล่านี้ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม จริงมั้ย !! อ้างอิงhttps://www.rainmaker.in.th/line-update-video-call/

Read More »

ไม่มีเวลา, ไม่มีเงิน, ไม่มีปัญหา: ต้นไม้ต้นแรกแห่งความสำเร็จ

สวัสดีครับวันนี้ผมมีเรื่องราวที่จะมาช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในช่วงวิกฤตโควิท-19 ให้กลับมาลุกขึ้นมาสู้อีกครั้งและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่มีความฝันที่อยากจะสร้างเกม แรงบันดาลใจเรื่องนี้ถูกถ่ายทอดมาจากเรื่องราวของคุณเดวิดนักสร้างเกมอินดี้คนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมากบน Steam โดยใช้ความมุมานะพยายามและความใฝ่ฝันในวัยเด็กที่อยากจะสร้างเกมเป็นของตัวเอง ทั้งที่ตัวเองนั้นไม่ชอบการเขียนโปรแกรมเลยแต่อาศัยการฝึกฝนเรียนรู้ด้านศิลปะและการออกแบบช่วยทดแทน จุดเริ่มต้นมาจากมีเพื่อนคนนึงได้แนะนำการใช้งานโปรแกรม Unity (โปรแกรมสำหรับสร้างเกม) เมื่อเดวิดเห็นครั้งแรกก็พูดกับตัวเองว่า “ฉันรู้ว่าฉันจะต้องสร้างเกม” จึงเริ่มฝึกฝนการใช้งานโปรแกรมและทำงานอย่างหนักจนกระทั้งได้ปล่อยเกมแรกบน Steam ที่ชื่อว่า Home is Where One Starts…  ผลปรากฏว่าได้รับคำวิจารณ์จากเหล่าเกมเมอร์อย่างล้นหลามว่าเป็นเกมที่ “ห่วย” สิ้นดี แต่อย่างน้อยมันก็ทำให้ความฝันของเดวิดกลายเป็นจริงและได้มีอาชีพเป็น Unity technical artist ที่บริษัท The VOID ได้รับหน้าที่ในการสร้างงาน VR ให้กับเกมดังๆ มากมาย อาทิเช่น  Ghostbusters Dimension, Avengers: Damage Control, และ Star Wars: Secrets of the Empire. ถึงแม้ว่าผลงานของเค้าจะเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมแต่ก็ไม่ได้ติดอันดับชาร์ตเกมที่ขายดีที่สุดบน Steam เดวิดรู้ตัวว่ากำลังทำเกมของตัวเองเดินผิดทาง ซึ่งเค้าต้องการทำให้มันถูกต้อง วันนึงในขณะทำอาหารจึงเกิดไอเดียหัว เดวิดมองเห็นภาพสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งกำลังมองหาต้นไม้ต้นแรกบนโลกเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและความตาย เกม The First Tree จึงถือกำเนิดขึ้น เดวิดจึงเริ่มสร้างเกมตามแนวทางของตัวเอง… แต่แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเค้าต้องทำงานประจำและต้องเลี้ยงดูลูกคนใหม่ เค้าเริ่มจัดตารางเวลาและทำมันถึงแม้จะไม่ชอบก็ตาม ทุกคืนที่ทำงานเกมของตัวเองก็เกือบจะยอมแพ้หลายครั้ง แต่ติดตรงที่เดวิดต้องการให้ผลงานนี้บอกเล่าเรื่องราวและแบ่งปันบนโลกใบนี้  เค้าจึงทำการตลาดทุกในสัปดาห์ เพราะรู้ตัวว่าถ้าไม่มีทำการเปิดตัวเกมจะทำให้เกมเค้าล้มเหลว 100% จนในที่สุดในเดือนกันยายน ปี 2560 เกม The First Tree ก็ปล่อยบน Steam ได้สำเร็จ เดวิดแทบจะไม่อยากจะเชื่อสายตาตัวเองว่าเกมที่เป็นงานอดิเรกชิ้นเล็กๆ ที่ทำหลังเลิกงานจะประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ เกมของเค้าติดอันดับหน้าแรกของ Steam 5 วัน ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ชีวิตของเค้าเปลี่ยนแปลงไปทันที เดวิดลาออกจากงานประจำแล้วมาเริ่มทำเกมอินดี้แบบเต็มเวลา พร้อมเริ่มสร้างเว็บไซต์  Game Dev Unlocked เพื่อถ่ายทอดเทคนิคและความรู้การสร้างเกม การทำการตลาด ให้กับเหล่านักสร้างเกมที่มีความฝันแบบเดียวกัน ปิดท้ายด้วยคลิปเรื่องราวชีวิตของเดวิดที่บอกกับเราว่า ไม่มีเวลา, ไม่มีเงิน, ไม่มีปัญหา เพราะถ้าเรามี passion ทำในสิ่งที่เรารักก็จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ

Read More »

ข้อมูลใน DropdownList แรกจนถึง DropdownList สุดท้ายกับค่าที่เหลืออยู่ของเขา ด้วย LINQ

ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาระบบโดยมีการนำ LinQ มาใช้นิด ๆ หน่อย ๆ (มือใหม่หัดใช้ >< ) ซึ่งมีอยู่ฟังก์ชันนึงที่เกี่ยวกับ การ Bind ค่า DropdownList กรณีที่มี DropdownList หลาย ๆ ตัวและไม่อยากให้ค่าที่เคยเลือกจาก DropdownList ก่อนหน้าไปแสดงใน DropdownList ถัดไปอีก น่าสนใจทดลองใช้แล้วทำงานได้ดี ผู้เขียนจึงนำมาเขียนเพื่อไว้เตือนความจำ จะได้กลับมาอ่าน แนวคิดและวิธีการดังนี้ค่ะ ในขั้นตอนแรก สร้าง Data ที่ชื่อว่า MyList เก็บข้อมูล id และชื่อ เพื่อเตรียมเป็น DataSource สำหรับ Bind ให้กับ DropdownList1 ดังนี้ ต่อมากำหนดค่าให้กับ MyList เพื่อผูกให้กับ DropdownList1 ผลลัพธ์ของ DropdownList1 ได้ดังนี้ ID Name1 name12 name23 name35 name510 name10 ต่อมา กำหนดว่า DropdownList1 เลือกค่าเป็น ID = ‘2’ จากนั้น ที่ Event SelectedIndexChange ของ DropdownList1 ให้ใส่ Code ดังนี้ จากนั้นผูก myDataSource ให้กับ DropdownList2 ค่าล่าสุดใน DropdownList2 จะแสดงดังด้านล่าง โดยที่ ID = ‘2’ จะหายไป เนื่องจากถูกเลือกไปแล้ว ดังนี้ ID Name 1 name1 3 name3 5 name5 10 name10 กรณีที่มี DropdownList3 ก็ให้ทำเหมือนขั้นตอนก่อนหน้า ตัวอย่างกำหนดค่าการเลือกของ DropdownList1 = ‘2’ และ DropdownList2 = ‘5’ ดังนี้ จากนั้น ที่ Event SelectedIndexChange ของ DropdownList2 ให้ใส่ Code แบบเดิม จากนั้นผูก myDataSource ให้กับ DropdownList3 ค่าล่าสุดใน DropdownList3 จะแสดงดังด้านล่าง โดยที่ ID = ‘2’ และ ‘5’ จะหายไป เนื่องจากถูกเลือกไปแล้ว ดังนี้ ID Name 1 name1 3 name3 10 name10 จะเห็นได้ว่าเราใช้ Query เดียวกันในหลาย ๆ DropdownList ดังนั้นสามารถทำ Query นี้ให้เป็นฟังก์ชันเพื่อเรียกใช้งานได้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่านนะคะ \(@^0^@)/

Read More »

Crystal Report : Suppress การซ่อน/แสดง Section

ปกติแล้วการจัดรายงานใน Crystal Report จะมีการแบ่งเป็น 5 ส่วนดังนี้ค่ะ Report Header Section เป็นส่วนที่อยู่บนส่วนหัวรายงาน แสดงแค่หน้าแรกเพียงหน้าเดียวเท่านั้น Page Header Section เป็นส่วนที่แสดงต่อจากส่วน Report Header Section แสดงอยู่ทุกหน้า Details Section ส่วนแสดงรายละเอียดที่ต้องการ สามารถจัดกลุ่มข้อมูล แบ่งรายงานเป็น 2 ส่วนและอื่น ๆ ได้ Page Footer Section เป็นส่วนที่แสดงในรายงานทุกหน้าอยู่บนส่วนท้ายของรายงาน Report Footer Section เป็นส่วนที่อยู่ส่วนท้ายสุดของรายงานจะแสดงแค่หน้าสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งในแต่ละ Section นั้นสามารถมี Section ย่อย ๆ ได้มากกว่า 1 Section ย่อยดังภาพ ซึ่งเราสามารถแสดงหรือซ่อน Section ย่อย ๆ เหล่านี้ได้ตามเงื่อนไขที่เราต้องการ โดยใช้เมนู “Suppress” จัดการ ดังนี้ค่ะ คลิกขวาที่ Section ใดก็ได้ เลือกเมนู “Section Expert” จะพบกับหน้าจอ Section Expert ดังภาพโดยหน้าจอจะแบ่งเป็น 2 ส่วน 👈 ซ้ายมือ เป็นส่วนแสดงรายการ section ทั้งหมดของเราที่มีสามารถเพิ่ม ลบ หรือย้าย Section ขึ้นและลงตามที่ต้องการได้ 👉 ขวามือ จะแบ่งเป็น Tab ย่อย ๆ ในวันนี้ส่วนที่ผู้เขียนต้องการนำเสนออยู่ที่ Tab “Common” ที่ Tab “Common” หาบรรทัดที่ชื่อว่า “Suppress (No Drill-Down)” ดูที่ด้านขวา ถ้าสัญลักษณ์ “x-2” เป็น สีฟ้า แสดงว่า เรา ไม่ได้ มีการเขียนคำสั่งให้ซ่อนตามเงื่อนไข ถ้าสัญลักษณ์ “x-2” เป็น สีแดง แสดงว่า มี การเขียนคำสั่งให้ซ่อนตามเงื่อนไข จากรูปด้านล่างสามารถอธิบายได้ว่า ให้ซ่อน Page Header a โดยไม่มีเงื่อนไข ส่วนรูปด้านล่างสามารถอธิบายได้ว่า ให้ซ่อน Page Header l โดยมีเงื่อนไข ซึ่งสามารถกดเข้าไปดูเงื่อนไขที่เขียนไว้ได้ ส่วนของคำสั่งที่เขียนไว้ สามารถอธิบายได้ดังนี้ เงื่อนไขคือ ถ้า Formula Field “@hdLang” มีค่าเป็น “E” และ ไม่ใช่รายงานหน้าแรก ผลลัพธ์ที่ต้องการ ✅ถ้าตรงตามเงื่อนไข ให้แสดง Page Header l ❌ถ้าไม่ตรงตามเงื่อนไข ให้ซ่อน Section นี้ เพียงเท่านี้ ก็สามารถจัดการการซ่อนหรือแสดง Section ตามเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ตามต้องการ o(*°▽°*)o d=====( ̄▽ ̄*)b

Read More »

Crystal Report : Grid กับการจัดรูปแบบรายงาน

ปกติแล้วการจัดรายงานใน Crystal Report ตัวหน้ากระดาษหรือหน้าจอนั้น จะเป็นหน้ากระดาษสีขาวปกติ ทำให้การจัดข้อความที่มีระยะเยื้องนั้นจัดได้ค่อนข้างยาก ตรงกันรึยังนะ หรือยังไม่ตรง นี่คือ 1 ในปัญหาของผู้เขียนเช่นกัน 🤣 ดังนั้นวันนี้ ผู้เขียนจะมาแนะนำการตั้งค่า Grid เพื่อให้การขยับ Object ในรายงานของเราง่ายขึ้น ขั้นตอนดังนี้ค่ะ 1️⃣ คลิกขวาพื้นที่โล่ง ๆ เลือกเมนู “Design” 2️⃣ ต่อด้วยเมนู “Default Setting” 3️⃣ ใน Tab “Layout” สังเกตส่วนด้านขวาที่ชื่อว่า “Grid” 👀 จะพบ Checkbox “Show Grid” ให้ ✅ ไว้ 👀 ในส่วนของ Grid Size เราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ตัวกระดาษรายงานของเราแสดง Grid ถี่แค่ไหน ในที่นี้ผู้เขียนให้ความละเอียดมากสุดเลยกำหนดไว้ที่ 0.157 4️⃣หลังจากกำหนดค่าทุกอย่างเสร็จแล้วกลับมาหน้ารายงานเดิมจะพบว่า หน้าจอเราดำมืด ไม่ต้องตรงใจค่ะ เป็นเพราะค่า Grid ที่เรากำหนดไว้ถี่มาก หน้าจอเลยกลายเป็นท่านเปา วิธีการก็คือ ไปขยายหน้าจอค่ะ โดยไปที่เมนูบาร์ด้านบน จะพบค่าที่ Default อยู่ที่ 200% ให้ขยายเป็น 400% หรือตามที่ต้องการเลยค่ะ ✨หน้าจอหลังจากขยายก็จะเห็นดังภาพนะคะ เราสามารถจัด Object ให้ตรงตามที่เราต้องการได้เล้ย ^^

Read More »