สร้าง Barcode แบบง่ายๆ ด้วย Word

ถ้าพูดถึงการสร้าง Barcode ในปัจจุบันก็จะมีมากมายหลายวิธี แล้วแต่เราจะเลือกใช้ แต่สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำการสร้าง Barcode แบบง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน โดยที่เราไม่ต้องเพิ่มโปรแกรมเสริม หรือใช้โปรแกรมอื่นๆ เข้ามาช่วยเลย ขอแค่มี Microsoft Word version 2013 หรือ 2016 ในเครื่อง … เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว 🙂   มาทำความรู้จัก ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) กันหน่อย  ระบบบาร์โค้ด หมายถึงการใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร และประยุกต์ต่อยอด โดยการนำตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้นบ่งชี้ไปยังสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า (Product), วันหมดอายุ (Expiration date), บุคคล (Person), URL Website เป็นต้น ซึ่งจะมี 2 ประเภทหลักคือ 1 Dimension และแบบ 2 Dimension   *สำหรับคำสั่งในการสร้างบาร์โค้ด DISPLAYBARCODE ใน Blog นี้ที่เราจะพูดถึงนั้น จะรองรับบาร์โค้ดแบบต่างๆ ดังนี้ … Read more

Oracle / PLSQL: LISTAGG Function

LISTAGG เป็นฟังก์ชันการรวมสตริงของ Oracle ที่นำค่าข้อมูลในคอลัมภ์ที่ระบุมาเรียงต่อกัน และดำเนินการจัดเรียงลำดับของข้อมูลที่นำมาต่อกันตามคอลัมภ์ใน order_by_clause ซึ่งฟังก์ชัน LISTAGG สามารถแสดงผลได้หลายรูปแบบดังนี้ Single-set aggregate function : LISTAGG เป็นฟังก์ชันที่ดำเนินการกับข้อมูลแล้วคืนค่ากลับมาเพียงเร็คคอร์ดเดียว Group-set aggregate function : LISTAGG เป็นฟังก์ชันที่ดำเนินการกับข้อมูลและคืนค่ากลับมาหลายเร็คคอร์ดตามกลุ่มที่กำหนดในเงื่อนไข GROUP BY  Analytic function : LISTAGG เป็นฟังก์ชันที่ดำเนินการจัดแยกผลการค้นหาออกเป็นกลุ่มตามเงื่อนไขที่กำหนดใน query_partition_clause Syntax LISTAGG (measure_column [, ‘delimiter’]) WITHIN GROUP (order_by_clause) [OVER (query_partition_clause)] โดยที่  measure_column คือ คอลัมภ์ที่ต้องการนำค่าข้อมูลมาเรียงต่อกัน โดยจะดำเนินเฉพาะค่าที่ไม่เป็น null เท่านั้น delimiter คือ ตัวเลือกที่ให้สามารถระบุตัวคั่นระหว่างค่าข้อมูลที่จะนำมาเรียงต่อกัน order_by_clause คือ ค่าที่นำมาเรียงต่อกันจะเรียงตามค่าในคอลัมภ์ที่กำหนดใน order_by_clause   ตัวอย่างการใช้งาน  สมมติเรามีข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่ซึ่งประกอบด้วย 6 ฟิลด์ข้อมูลแสดงดังตัวอย่างด้านล่าง ข้อมูล: ตาราง … Read more

Oracle : ROLLUP Extension to GROUP BY

การจัดกลุ่มข้อมูลด้วย GROUP BY เมื่อต้องการจัดกลุ่มข้อมูล เราสามารถใช้ประโยค GROUP BY เพื่อทำการแบ่งออกเป็นรายการย่อย ๆ การคิวรีที่รวมประโยค GROUP BY จะเรียกว่าการคิวรีแบบกลุ่ม เพราะว่ามันจะรวมกลุ่มข้อมูลจากคำสั่ง SELECT แล้วสร้างเป็นเร็คคอร์ดสรุปเพียงเร็คคอร์ดเดียวให้กับแต่ละกลุ่ม  ส่วนขยาย ROLLUP  ในการคิวรีข้อมูลเราสามารถค้นหาแถวข้อมูลผลรวมของแต่ละกลุ่ม รวมถึงสรุปผลรวมที่มาจากผลลัพธ์ทั้งหมดในตอนท้ายของการคิวรีอีกทีได้ โดยใช้ส่วนขยายที่เรียกว่า ROLLUP ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ ROLLUP Syntax SELECT…GROUP BY ROLLUP(grouping_column_reference_list) ตัวอย่างการใช้งาน สมมติเรามีข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่ซึ่งประกอบด้วย 6 ฟิลด์ข้อมูลแสดงดังตัวอย่างด้านล่าง ข้อมูล: ตาราง TEST_NEW_STUDENT เป็นตัวอย่างข้อมูลคะแนนภาษาอังกฤษของนักศึกษาใหม่จำนวน 16 รายการ โจทย์ เราต้องการนับจำนวนนักศึกษาใหม่แยกตามคณะที่นักศึกษาสังกัด และรหัส สน.ที่สอบได้ เราสามารถใช้ประโยค GROUP BY เพื่อแก้ปัญหาข้อนี้ ดังตัวอย่างคิวรีต่อไปนี้ SELECT fac_id, sn_code, COUNT (*) NUM_STUDENT FROM test_new_student GROUP BY fac_id, sn_code … Read more