App Analytics: เครื่องมือจัดเก็บวิเคราะห์สถิติและเฝ้าระวัง แอพลิเคชั่นบน iOS

นักพัฒนาหลายท่านโดยเฉพาะ นักพัฒนาเว็บ น่าจะคุ้นเคยกับบริการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ สกิติเว็บไซด์อย่างเช่น Google Analytic เป็นอย่างดี ซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความจำเป็นมากที่นักพัฒนาต้องบอกได้ว่า ผู้ใช้ของเรามีจำนวนเท่าไหร่ เกิดข้อผิดพลาดมากน้อยเพียงใด และช่วงเวลาใดที่มีการใช้งานเยอะ เพื่อเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการให้บริการ รวมถึงการกำหนดเวลาปิดระบบเพื่อบำรุงรักษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของ แอพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ iOS เองก็มีเครื่องมือที่ชื่อว่า App Analytics ให้ใช้งาน โดยที่นักพัฒนาไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม เพียงแค่แอพพลิเคชั่นของท่านอยู่ในสถานะ พร้อมให้ใช้งาน (Ready For Sale) ก็สามารถเข้าใช้งาน App Analytics ได้ทันที โดยมีขั้นตอน และการแปลผลดังนี้ เข้าไปยัง https://itunesconnect.apple.com ทำการ Login ด้วย Apple Developer Account เลือกเมนู App Analytics เมื่อเข้าไปยังหน้าแรกจะมีรายการแอพพลิเคชั่นของเราแสดงอยู่ พร้อมข้อมูลเบื้องต้น ในระยะเวลา 1 เดือนล่าสุด (สามารถเปลี่ยนช่วงเวลาได้) โดยข้อมูลที่แสดงอยู่ประกอบไปด้วย Impressions : จำนวนครั้งที่แอพพลิเคชั่นของเราปรากฏให้ผู้ใช้เห็นเช่น อยู่ในผลการค้นหา, แอพแนะนำ, Top Chart หรือเมื่อผู้ใช้เปิดดูหน้าข้อมูลแอพพลิเคชั่นของเรา เพื่อใช้ดูว่าจำนวนการดาวส์โหลด เมื่อเทียบกับจำนวน Impressions แล้ว ความสนใจในแอพของเรามีมากน้อยเพียงใด App Units: จำนวนเครื่องที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นของเราอยู่ Sales: จำนวนเงินรวม ที่ขายได้ Sessions: จำนวนการเปิดใช้งาน Crashes: จำนวนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน เมื่อคลิกเลือกที่รายการ แอพลิเคชั่น จะแสดงข้อมูล Impressions, Product Page Views, App Units, In-App Purchases, Sales, Sessions, Active Devices, Crashes ในรูปแบบกราฟ อยู่ส่วนบนสุด ถัดมาจะเป็น Info graphic แยกตามประเทศ โดยสามารถเลือกได้ว่าเป็นข้อมูล App Units, Sessions, Active Devices เป็นต้น ล่างสุดจะเป็นกราฟวงกลม แยกตามอุปกรณ์ โดยสามารถเลือกได้ว่าเป็นข้อมูล App Units, Sessions, Active Devices ได้เช่นกัน หากต้องการดูข้อมูลในมุมมองอื่นๆ หรือกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อดูในรูปแบบกราฟเส้น สามารถเลือกเมนู Metrics และกำหนดค่าต่างๆได้ตามต้องการ จากหน้าจอกราฟแบบ Metrics สามารถ Export ออกเป็น Excel ได้โดยกดปุ่ม

Read More »

Test Flight: อัพโหลดแอพลิเคชั่นขึ้นทดสอบบน App Store โดยผู้ใช้จริง

ไม่ว่าจะพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วยวิธีการใดก็ตาม เมื่อพัฒนาเสร็จเรียบร้อย และผ่านการทดสอบจากผู้พัฒนาเองโดยการใช้ Simulator หรืออุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้ เรียบร้อยแล้ว สำหรับแอพพลิชั่น ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และต้องรองรับกับความหลากหลายของอุปกรณ์ทั้งรุ่นของระบบปฏิบัติการ ขนาดหน้าจอ และฮาร์ดแวร์ จำเป็นต้องมีการทดสอบ โดยผู้ใช้จริงจำนวนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ในการลดข้อผิดพลาด เมื่อเปิดให้ใช้งานจริง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ เข้าไปยัง https://itunesconnect.apple.com ทำการ Login ด้วย Apple Developer Account เลือกเมนู My Apps จะเข้าสู่หน้าจอจัดการ หากยังไม่มี Application Record ต้องทำการสร้างก่อน โดยคลิกที่ปุ่ม จากนั้นจะได้หน้าจอสำหรับป้อนข้อมูลแอพพลิเคชั่นของเรา กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน จากนั้นกรอกข้อมูลอื่นๆ อัพโหลดภาพตัวอย่างตามข้อกำหนดของ Apple ให้ครบถ้วน (รายละเอียดในส่วนนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมจาก https://developer.apple.com/app-store/review) เมื่อสร้าง Application Record เรียบร้อย เลือกที่ไอคอนแอพลิเคชั่นของเรา จะได้หน้าจอดังรูป เลือกเมนู TestFlight จะแสดงหน้าจอรายการ Build (ไฟล์ ipa ของแอพลิเคชั่น) ที่เราได้อัพโหลดไว้กรณีไม่ปรากฏดังตัวอย่าง แสดงว่าไม่มี Build ที่อยู่ในสถานะที่จะใช้งาน TestFlight ได้ให้ทำการอัพโหลดใหม่ เมื่ออัพโหลดไฟล์ IPA เรียบร้อยแล้ว จะปรากฏ Build ที่สามารถเปิดให้ทดสอบได้ ดังรูป จัดการข้อมูลผู้ทดสอบโดยเลือกเมนู All Testers ด้านซ้ายมือ ในส่วนนี้สามารถทำการลบรายการผู้ทดสอบได้ โดยการกดปุ่ม Edit เลือกรายการที่ต้องการลบ จะปรากฏเมนูปุ่ม Remove ให้สามารถลบได้ หากต้องการเพิ่มผู้ทดสอบจะต้องเลือกเมนู iTunes Connect Users (อีเมลที่ได้รับการเพิ่มเป็นสมาชิกของทีมใน Apple Developer Account) หรือ External Testers (อีเมลอื่นๆ) โดยสามารถกดปุ่ม จากนั้นสามารถเลือกได้ว่าจะเพิ่มรายบุคคล หรือโหลดจากไฟล์ CSV เมื่อมีรายการผู้ทดสอบครบถ้วนแล้วให้กลับไปที่เมนู Build คลิกเลือก จะปรากฏหน้าจอสำหรับเลือกผู้ทดสอบที่ต้องการให้ทดสอบ Build นี้ โดยสามารถเพิ่มจากชื่อกลุ่ม หรือ รายบุคคลก็ได้ จากนั้นกรอกข้อมูลสำหรับทำ External Testing โดยคลิกที่เมนู Test Information กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เมื่อเสร็จกระบวนการข้างต้น ผู้ทดสอบที่เป็นสมาชิกภายใน (อีเมลที่ลงทะเบียนเป็น Member ของ Apple Developer Account) จะได้รับอีเมล Invite สามารถทดสอบได้ทันที ส่วนผู้ทดสอบภายนอกจะต้องรอให้ผ่านกระบวนการรีวิวจากทาง Apple  จากนั้นแจ้งให้ผู้ใช้ดาวส์โหลด TestFlight App เพียงเท่านี้ก็สามารถโหลดแอพของเรา และทดสอบการใช้งานแอพบนเครื่องที่ใช้งานจริงได้แล้วครับ    

Read More »

Fixed Table Header Scrolling

ในปัจจุบันในการพัฒนา website  เราจะเห็นว่า Table เกือบจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาของแต่ละหน้า  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงผลของการค้นหาข้อมูลต่างๆของเมนูหรือหัวข้อในแต่ล่ะเรื่อง บ้างก็อาจจะมีข้อมูลน้อย บ้างก็อาจจะมีข้อมูลเยอะ ทำให้การแสดงผลมีความยาวล้นหน้าเพจ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการนำ paging มาใช้แต่ในบางกรณีอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลในการค้นหาทั้งหมดในหน้าเดียวกัน  แต่ปัญหาที่ตามมาในการแสดงผลทั้งหมดในหน้าเดียวกันก็คือเมื่อเรา scroll ลงมาข้างล่างสุด Header ของตัวตารางจะไม่ Fixed ไว้ และเลื่อนหายไปข้างบน ทำให้ยากลำบากในการตรวจสอบข้อมูล เนื่องจากผู้ใช้งานอาจจะลืมว่าคอลัมภ์ที่กำลังตรวจสอบอยู่นั้นคือคอลัมภ์อะไร จึงต้อง scroll ขึ้นไปดู Header อีกครั้ง ทำให้มีความล่าช้าในการตรวจสอบข้อมูล วันนี้จึงนำวิธีการ Fixed Header ของตาราง โดยใช้ css มาเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากับผู้อ่าน ดังนี้ค่ะ   ตัวอย่างที่1 (CSS ในหน้า Html เดียวกัน)) tbody { display:block; height:400px; overflow:auto; } thead, tbody tr { display:table; width:100%; table-layout:fixed; } thead { width: calc( 100% – 1em ) } ตัวอย่างที่1(การเรียกใช้ CSS ในหน้า Html เดียวกัน) <table id=”tableSearch” class=”table table-responsive table-hover” style=”border-collapse:collapse;border:1px solid #C0C0C0;table-layout:auto;width:1500px;”> <thead> <tr class=”filters” style=”background-color:#C0C0C0″> <th align=”left”>Order</th> <th align=”left”>Name</th> </tr></thead> <tbody><tr> <td colspan=”14″ style=”text-align:center;color:#808080 “>Order</td> <td colspan=”14″ style=”text-align:center;color:#808080 “>Name</td> </tr></tbody> </table> ตัวอย่างที่2 (CSS) html, body{ margin:0; padding:0; height:100%; } section { position: relative; border: 1px solid #000; padding-top: 37px; background: #500; } section.positioned { position: absolute; top:100px; left:100px; width:800px; box-shadow: 0 0 15px #333; } .container { overflow-y: auto; height: 200px; } table { border-spacing: 0; width:100%; } td + td { border-left:1px solid #eee; } td, th { border-bottom:1px solid #eee; background: #ddd; color: #000; padding: 10px 25px; } th { height: 0; line-height: 0; padding-top: 0; padding-bottom: 0; color: transparent; border: none; white-space: nowrap; } th div{ position: absolute; background: transparent; color: #fff; padding: 9px 25px; top: 0; margin-left: -25px; line-height: normal;

Read More »