ASP.NET API Security

ปัจจุบันการพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบของ API นั้นแพร่หลายมาก เนื่องจากจะทำให้โปรแกรมยืดหยุ่น สามารถพัฒนา Interface ไปในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้ง Desktop, Mobile โดยเฉพาะการเรียก API ผ่าน http นั้น ถือว่าค่อนข้างที่จะยืดหยุ่นกับเกือบจะทุก platform ดังนั้น การรักษาความปลอดภัยให้กับ API เหล่านี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง บทความนี้จะพูดถึง 2 เรื่องหลักๆ ได้แก่ การ Authentication และการ Authorization ดังนี้ครับ   Authentication เปรียบเสมือนกับการตรวจสอบว่าใครเป็นผู้ร้องขอ (request) ซึ่งอาจจะเป็นในลักษณะของ username/password หรือเป็น API Key จากใน HTTP Request Header ในบทความนี้จะขอข้ามการพูดถึงการ authentication ด้วย username/password เพราะเชื่อว่าสามารถทำกันได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเขียน provider เองหรือใช้ provider ที่มีมาให้กับ .net framework ซึ่งได้แก่ MembershipProvider โดยจะขอเริ่มพูดในส่วนของ API Key ซึ่งจะใช้คลาส HttpMessageHandler (ทำงานใน http message level ดีกว่าไปทำใน controller แน่นอนครับ) วิธี implement คือ การสร้าง Class ที่ inherite มาจาก DelegatingHandler (ซึ่งมาจาก HttpMessageHandler อีกที) จะให้ override ส่วนของการตรวจสอบ HTTP Request โดยการทำ overriding method ชื่อ SendAsync และเพื่อให้ทำงานได้ จะต้องทำการ register handler ที่ Global.asax ใน Application_Start ด้วยครับ ด้วยคำสั่ง GlobalConfiguration.Configuration.MessageHandlers.Add(new MY_CLASS()); API Key Authentication เราจะต้องมี API Key โดยสามารถเก็บไว้เป็นค่าคงที่ หรือเก็บไว้เป็นข้อมูลในฐานข้อมูล จากนั้นทำการตรวจสอบ Request ที่เข้ามาด้วยคำสั่งต่อไปนี้ HttpRequestMessage.Headers.TryGetValues(“API_KEY”, out myHeader) (ต้องทำการสร้าง instance ของ HttpRequestMessage ก่อนนะครับ — myHeader เป็น type IEnumerable<string>) จากนั้นเรานำค่าในตัวแปรมาตรวจสอบกับ API Key ของเรา ที่เราเก็บไว้ เช่น ถ้าเก็บไว้เป็นค่าคงที่ ก็ตรวจสอบดังนี้ myHeader.FirstOrDefault().Equals(“MySecretAPIKeyNaJa”); หรือถ้าเก็บไว้ในฐานข้อมูล ก็ตรวจสอบดังนี้ db.API_KEY.Where(w => w.KEY == myHeader.FirstOrDefault()).Count() > 0 เป็นต้น หากเป็น API Key ที่ถูกต้อง สามารถ return response ดังนี้ได้ทันที await base.SendAsync(HttpRequestMessage, CancellationToken); ส่วนถ้าเป็น API Key ที่ไม่ถูกต้อง สามารถ return response ดังนี้ เพื่อให้ browser รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น HttpRequestMessage.CreateResponse(HttpStatusCode.Forbidden, “Invalid API Key”);   Authorization การทำ authorization นี้จะใช้งาน RoleProvider จาก .NET Framework ซึ่งจะต้องทำการ Implement role provider มาก่อน (รายละเอียด: https://msdn.microsoft.com/en-us/library/8fw7xh74.aspx) หลังจากการทำยืนยันตัวตน (Authentication) แล้ว ควรจะทำการตรวจสอบการอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรหรือการกระทำ (action) ด้วย ด้วยการใช้งาน AuthorizeAttribute ซึ่งเป็น filter attribute ด้วยวิธีการง่ายๆ

Read More »

การพัฒนา Unit Testing โดย MSTest test library (.NET Core)

บทความนี้นำเสนอขั้นตอนการพัฒนา Unit Test อย่างง่ายโดยแสดงให่้เห็นการพัฒนาทีละขั้นตอน สำหรับระบบที่พัฒนาบน .NET Core โดยใช้ MSTest เพื่อทำความเข้าใจการพัฒนาแบบ test-driven development (TDD) ซึ่งในขั้นแรก เริ่มต้นด้วยการสร้าง source project ชื่อ “CalcTool” ใช้สำหรับการทดสอบ อยู่ภายใต้ folder “TestSample” ซึ่งขั้นตอนการสร้าง project สามารถดูได้จาก บทความ การพัฒนา Unit Testing โดย xUnit test library (.NET Core) ซึ่งจะได้ class “Calc” ซึ่งประกอบไปด้วย method “AbsAddByOne(int value)” ที่ยังไม่ได้เขียน code การทำงาน สร้าง test project ที่ใช้ MSTest library โดยเปิด command prompt เข้าไปที่ folder “TestSample” และสร้าง sub folder ชื่อ “CalcTool.MSTests” จากนั้นเข้าไปที่ folder “CalcTool.MSTests” ทำการสร้าง .NET Core project โดยใช้คำสั่ง dotnet new mstest โดยคำสั่งนี้จะทำการสร้าง test project ที่ใช้ MSTest test library และกำหนดค่า test runner <ItemGroup> <PackageReference Include=”Microsoft.NET.Test.Sdk” Version=”15.0.0″/> <PackageReference Include=”MSTest.TestAdapter” Version=”1.1.11″/> <PackageReference Include=”MSTest.TestFramework” Version=”1.1.11″/> </ItemGroup> เพิ่ม reference ไปยัง project ที่ต้องการทดสอบซึ่งในที่นี้คือ CalcTool project โดยใช้คำสั่ง dotnet add reference ../CalcTool/CalcTool.csproj จากนั้นให้ execute คำสั่ง dotnet restore เพื่อ restore NuGet package ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละ project เริ่มพัฒนา unit testing โดยลบ file “UnitTest1.cs” และสร้าง file ใหม่โดยใช้ชื่อว่า “CalcTest.cs” และเขียน code ดังนี้ using System; using Microsoft.VisualStudio.TestTools.UnitTesting; namespace CalcTool.MSTest { [TestClass] public class CalcTest { [TestMethod] public void AbsAddByOneTest() { var c = new Calc(); var result = c.AbsAddByOne(5); Assert.AreEqual(result, 6); } } } *[TestClass] attribute ใช้เพื่อบอกว่ามี unit test อยู่ใน class นั้น *[TestMethod] attribute ใช้เพื่อกำหนดว่า method นั้นๆเป็นแบบ single test ทำการทดสอบโดยการ execute dotnet test ซึ่งจะทำการ build และ start MSTest test runner ซึ่งพบว่าผลการทดสอบ fail เนื่องจากยังไม่ได้ implement code ใน method “AbsAddByOne” ของ class “Calc” ดังนั้นกลับไปที่ method

Read More »

การพัฒนา Unit Testing โดย xUnit test library (.NET Core)

บทความนี้นำเสนอขั้นตอนการพัฒนา Unit Test อย่างง่ายโดยแสดงให่้เห็นการพัฒนาทีละขั้นตอน สำหรับระบบที่พัฒนาบน .NET Core โดยใช้ xUnit เพื่อทำความเข้าใจการพัฒนาแบบ test-driven development (TDD) ซึ่งในขั้นแรก เริ่มต้นด้วยการสร้าง source project ที่จะใช้สำหรับการทดสอบ สร้าง folder “TestSample” และ sub folder ชื่อ “CalcTool”  จากนั้นเปิด command prompt เข้าไปที่ folder “CalcTool” เพื่อทำการสร้าง .NET Core project โดยใช้คำสั่ง dotnet new classlib rename class1.cs เป็นชื่อ calc.cs และเขียน code ดังนี้ using System; namespace CalcTool { public class Calc { public int AbsAddByOne(int value) { throw new NotImplementedException(“Not implemented”); } } } สร้าง test project โดยกลับไปที่ folder “TestSample” และสร้าง sub folder ชื่อ “CalcTool.Tests” จากนั้นเปิด command prompt เข้าไปที่ folder “CalcTool.Tests” เพื่อทำการสร้าง .NET Core project โดยใช้คำสั่ง dotnet new xunit โดยคำสั่งนี้จะทำการสร้าง test project ที่ใช้ xunit test library และกำหนดค่า test runner ไว้ใน CalcTool.Tests.csproj file : CalcTool.Tests.csproj <Project Sdk=”Microsoft.NET.Sdk”> <PropertyGroup> <TargetFramework>netcoreapp1.1</TargetFramework> </PropertyGroup> <ItemGroup> <PackageReference Include=”Microsoft.NET.Test.Sdk” Version=”15.0.0″/> <PackageReference Include=”xunit” Version=”2.2.0″/> <PackageReference Include=”xunit.runner.visualstudio” Version=”2.2.0″/> </ItemGroup> </Project> เพิ่ม reference ไปยัง project ที่ต้องการทดสอบซึ่งในที่นี้คือ CalcTool project โดยใช้คำสั่ง dotnet add reference ../CalcTool/CalcTool.csproj ก่อนที่จะ build CalcTool project หรือ CalcTool.Tests project ต้อง execute คำสั่ง dotnet restore เพื่อ restore NuGet package ที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละ project เริ่มพัฒนา unit testing โดยลบ file “UnitTest1.cs” และสร้าง file ใหม่โดยใช้ชื่อว่า “CalcTest.cs” และเขียน code ดังนี้ using System; using Xunit; using CalcTool; namespace CalcTool.Tests { public class CalcTest { [Fact] public void AbsAddByOneTest() { var c = new Calc(); var result = c.AbsAddByOne(5); Assert.Equal(result, 6); } } } *[Fact]

Read More »

Itextsharp #3 คู่มือเทคนิคพื้นฐานการใช้งาน PdfTable สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1

บทความนี้ผู้เขียนจะพูดถึงส่วนที่มีการทำงานในรูปแบบ Table สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใหม่สามารถอ่านบทความ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 เพื่อความเข้าใจต่อเนื่องกันนะครับ ก่อนที่ผู้เขียนจะไปพูดถึงส่วนของการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้เขียนอยากอธิบายเพื่อทำความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้เห็นภาพได้ชัดเจนเกี่ยวลักษณะการทำงานของ Table ใน Itextsharp ต่อจากตอนที่แล้ว ที่ได้พูดถึงไว้แบบคร่าวๆ ตอนนี้เราจะลงรายละเอียดมากขึ้น ว่ามีการทำงานอย่างไร จากรูปตัวอย่างจะเป็นการแสดงส่วนของการทำงานในการสร้างTable ของโปรแกรม Itextsharp โดยเมื่อเราได้ทำการเพิ่ม pdfCell ลงไปใน pdfTable Itextsharp จะทำการนำ pdfCell มาเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ และทำการอ้างอิงว่าในแต่ละ Row มีได้กี่ Collumn ตามที่ได้ระบุไว้ตอนสร้าง Table เมื่อมี Cell ครบตามกำหนดจะขึ้นRowใหม่ให้อัตโนมัติ แต่สิ่งที่ควรระวังคือ กรณีที่Rowนั้นๆมี Collumn ไม่ครบตามที่กำหนด โปรแกรมอาจไม่แสดงผลของส่วนนั้นได้ ซึ่งในตัวอย่างผู้เขียนได้กำหนดไว้ 3 Collumn ต่อ Row และได้เพิ่ม pdfCell ไปทั้งหมด 9 อันด้วยกันครับ เมื่อทำการแสดงผลจะได้ Table ที่มีขนาด 3×3 นั้นเอง PdfPTable PdfTable = new PdfPTable(3);//#1 float[] tbwidths = { 50f, 50f, 50f}; PdfTable.SetWidths(tbwidths); PdfTable.WidthPercentage = 100; PdfPCell PdfCell = null; PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“1”, bold)));//#2 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“2”, bold)));//#3 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“3”, bold)));//#4 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“4”, bold)));//#5 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“5”, bold)));//#6 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“6”, bold)));//#7 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“7”, bold)));//#8 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“8”, bold)));//#9 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); PdfCell = new PdfPCell(new Phrase(new Chunk(“9”, bold)));//#10 PdfCell.HorizontalAlignment = Element.ALIGN_CENTER; PdfTable.AddCell(PdfCell); จาก code ด้านบนผู้เขียนได้ทำการสร้าง Table ขึ้นมาโดยกำหนดขนาด Collumn ไว้เท่ากับ 3 (#1)และทำการกำหนดขนาดความกว้างของ Collumn ในบรรทัดถัดมา เมื่อทำการสร้าง Table เรียบร้อยแล้วผู้เขียนก็ทำการสร้างและเพิ่ม Cell ลงใน Table ไล่ลงมาตามลำดับใน Code (#2-#10) แค่นี้เราก็ได้ Table ตามรูปตัวอย่างแล้วครับ

Read More »

ภาพสวยประกอบบน office ด้วย Pickit

ในการนำเสนองานต่างๆ สิ่งที่ช่วยให้การนำเสนอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น คือ รูปภาพและรูปแบบการจัดวาง ซึ่งใน office จะมี Add-in ที่ชื่อว่า Pickit ซึ่งเป็นเป็นเครื่องมือที่ช่วยการค้นหาภาพตามที่เราต้องการนำมาใช้ในงานนำเสนอของเราได้ มาดูขั้นตอนการใช้งานกันเลยค่ะ  1.เริ่มต้นเราต้องทำการติดตั้ง Add-in ซึ่งสามารถติดตั้งได้ใน Microsoft office (Word, excel, power point) ในที่นี้จะนำเสนอในส่วนของ power point ไปยังแท็บ INSERT > Store   2.เป็นหน้าจอ Apps for Office ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า “Pickit” เมื่อเจอรายการ “Picket Free Images” ให้กดปุ่ม Add 3.เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อย โปรแกรมจะปรากฎอยู่ด้านขวาของหน้าจอ 4.หากโปรแกรมไม่ขึ้นมาสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้ที่ INSERT> My Apps > Pickit Free Images 5.จากนั้นพิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการหรือเลือกภาพตามหมวดหมู่ต้องการได้ ในตัวอย่างนี้ข้อยกตัวอย่าง คำว่า “network” ระบบก็จะแสดงรายการภาพ 6.จากนั้นเลือกภาพที่ต้องการ ก็กดปุ่ม Insert เพื่อดึงภาพมาใช้ในงานของเรา   เพียงเท่านี้เราก็ได้ภาพสำหรับตกแต่งให้งานนำเสนอของเรา น่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ภาพดังกล่าว ยังเป็น “ภาพฟรี” อีกด้วย

Read More »