Post Views: 622
ต่อจาก Spark #01: Standalone Installation
Apache Spark ทำงานแบบ Master – Slave โดย Spark Cluster Component ดังภาพ
ภาพจาก http://spark.apache.org/docs/latest/img/cluster-overview.png
การใช้งาน Apache Spark จะใช้ผ่านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Scala, Java, Python หรือ R แล้วสั่งการผ่าน “Driver” ซึ่งจะทำการส่งการไปยัง “Worker” เพื่อให้ Execute ตามที่ต้องการ การสร้าง Cluster จะมี Cluster Manager เป็น Standalone, Apache Mesos และ Hadoop YARN [1]
ในบทความนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะ การติดตั้ง Apache Spark Cluster แบบ Standalone คือใช้ Apache Spark เองเป็น Cluster Manager
- ติดตั้ง Ubuntu 16.04 อีกเครื่องหนึ่ง แล้วติดตั้งตามขึ้นตอนที่กล่าวใน Spark #01: Standalone Installation ข้อ 1-2 เท่านั้น (ไม่ต้อง Start Master ขึ้นมา)
- ตอนนี้จะมีเครื่อง Master และ เครื่อง Slave ซึ่งแนะนำให้ทำ Password-less SSH จากเครื่อง Master ไปยัง Slave เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน
- ที่เครื่อง Master ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อสร้างไฟล์ spark-env.sh ซึ่งเป็นตัวกำหนดการทำงานต่างๆของ Spark Cluster โดยในที่นี้ จะ SPARK_MASTER_HOST เป็น IP ของเครื่อง Master (แทนที่ 192.168.XXX.YYY ด้วย IP ของ Master )
cp conf/spark-env.sh.template conf/spark-env.sh echo "SPARK_MASTER_HOST=192.168.XXX.YYY" >> conf/spark-env.sh
- ที่เครื่อง Master ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อสร้างไฟล์ slaves ซึ่งจะกำหนดว่า เครื่องใดบ้างจะเป็น Slave ของ Cluster นี้ (หากมี Slave หลายเครื่อง ก็ใส่ IP ลงไปในไฟล์ conf/slaves ให้หมด)
cp conf/slaves.template conf/slaves echo "192.168.XXX.ZZZ" >> conf/slaves
- ที่เครื่อง Master ใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อเชื่อมต่อ Cluster
sbin/start-all.sh
หมายเหตุ: หากไม่ได้ทำ Password-less SSH ก็จะต้องใส่ Password ทีละเครื่องจนเสร็จ
- เมื่อเสร็จเรียบร้อย ก็จะสามารถดูสถานะได้ที่ http://192.168.XXX.YYY:8080 ดังภาพ
ประมาณนี้
บทความต่อไป จะลงรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียน Program เพื่อทำงานบน Spark Cluster
Reference: