ต่อจาก Cassandra #01 เริ่มต้นใช้งาน

ความสามารถที่สำคัญของ Cassandra คือสามารถทำการ Scale Out หรือขยายความสามารถของระบบได้โดยการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับ Commodity Hardware [1] เข้าไปใน Cluster

ในบทความนี้ จะแสดงวิธีการสร้าง Cassandra Cluster ที่ประกอบไปด้วย 3 Node ชื่อ cassandra01, cassandra02 และ cassandra03 โดยมีชื่อ Cluster ว่า PSUCluster และกำหนดให้ cassandra01 เป็น Seed Node (ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานสำหรับ Node ใหม่ๆเข้าร่วม Cluster)

ขั้นตอนการขยายระบบแบบ Scale Out ไปยังหลายๆ Node แต่ละ Node ทำดังนี้

  1. ติดตั้ง Cassandra ตามขั้นตอนใน Cassandra #01 เริ่มต้นใช้งาน
  2. แก้ไขไฟล์ /etc/cassandra/cassandra.yaml ดังนี้
    # กำหนดชื่อ Cluster ที่ต้องการ
    cluster_name: 'PSUCluster'
    
    # กำหนด Seed Node ซึ่งมีไว้ให้ node ใหม่ประกาศตัวเองเพื่อเข้าร่วม Cluster
    # ควรมีไม่เกิน 3 Node ต่อ Data Center
    # ในที่นี้ กำหนดไว้เพียงตัวเดียว 
    seed_provider:
     parameters:
     - seeds: "192.168.107.111"
    
    # กำหนด listen_address เป็นค่าว่าง
    listen_address:
    
    # กำหนด endpoint_snitch เป็น GossipingPropertyFileSnitch
    # เพื่อให้สามารถมี Cluster แบบข้าง Data Center ได้
    endpoint_snitch: GossipingPropertyFileSnitch
    
  3. ในการเริ่มใช้งานครั้งแรก ให้ลบข้อมูลใน /var/lib/cassandra/data/system ออกก่อน
    sudo rm -rf /var/lib/cassandra/data/system/*
  4. ในการใช้ Endpoint Snitch แบบ GossipingPropertyFileSnitch ต้องลบไฟล์ cassandra-topology.properties ออกไปก่อน
    sudo rm /etc/cassandra/cassandra-topology.properties
  5. จากนั้นก็ Start Cassandra Service
    sudo service cassandra restart

วิธีดูสถานะของระบบ

sudo watch nodetool status

ในตอนแรกจะเป็นแบบนี้

เมื่อ cassandra02 เข้ามา

และเมื่อครบ 3 Node

วิธี Debug ว่าเกิดอะไรขึ้น

sudo tail -f /var/log/cassandra/debug.log

 

Reference

[1] http://docs.datastax.com/en/landing_page/doc/landing_page/planning/planningHardware.html

[2] http://docs.datastax.com/en/cassandra/3.0/cassandra/architecture/archIntro.html

[3] https://docs.datastax.com/en/cassandra/3.0/cassandra/initialize/initSingleDS.html

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 17 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 41 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More