Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress

ในบทความนี้ จะแสดงวิธีการใช้ Juju เพื่อติดตั้ง WordPress พร้อมแสดงวิธีการเฝ้าระวังด้วย Nagios และ การ Scale Out

  1. เริ่มต้นจากคลิกที่ รูปเครื่องหมายบวก (+) สีเขียว
    2559-12-02-13_55_33
  2. ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า “wordpress” แล้วคลิก Enter2559-12-02-13_56_04
  3. จะปรากฏผลการค้นหา สิ่งนี้เรียกว่า Charm ซึ่งเป็น Image ของระบบปฏิบัติการ พร้อมทั้งการ Setup สิ่งที่เราต้องการมาให้เลย ในภาพให้คลิกที่คำว่า WordPress ด้านซ้ายมือ
    2559-12-02-13_56_19
  4. จากนั้น คลิก Add to canvas
    2559-12-02-13_56_34
  5. ต่อไป ทำซ้ำ โดยการค้นหาสิ่งต่อไปนี้
    haproxy, mysql, nagios
    แล้วจัดระเบียบให้สวยงามตามต้องการ
    2559-12-02-13_58_18
  6. จากนั้น ลากเส้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน Juju จะสร้างการเชื่อมต่อต่างๆให้เองอัตโนมัติ ในภาพ จะเป็นการตั้งค่าให้ haproxy ทำหน้าที่เป็น Load Balance ให้ WordPress ซึ่งจะเกิดขึ้นอีกหลายเครื่องในอนาคต และ WordPress ก็จะเชื่อมต่อกับ MySQL นอกจากนั้น ก็มี Nagios ที่จะเฝ้าระวัง WordPress และ MySQL
    เมื่อลากเส้นเชื่อมโยงเสร็จแล้ว คลิก Commit Changes ด้านขวามือล่าง
    2559-12-02-13_58_58
  7. จากนั้นคลิกปุ่ม Deploy
    2559-12-02-13_59_21
  8. หลังจากนั้น Juju จะไปเรียก Image มาติดตั้ง และสร้างความสัมพันธ์ของระบบที่เราออกแบบไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะได้ผลดังภาพ2559-12-02-14_08_57
  9. ต่อไปคลิกที่ haproxy แล้วคลิกคำว่า Expose เพื่อบอกให้ระบบนี้สามารถเข้าถึงจากภายนอกได้
    2559-12-02-14_09_30
  10. ใน Expose ให้เลือก On ระบบจะแสดง IP Address ให้ ในที่นี้คือ 10.107.107.215 ซึ่งจะเข้าถึงโดยใช้ TCP Port 80
    2559-12-02-14_09_49
  11. ที่ Nagios ก็เช่นกัน ให้ Expose เป็น On แล้วจะเข้าถึงได้จาก IP 10.107.107.95
    จากนั้น คลิก Commit Changes
    2559-12-02-14_10_07
  12. ที่ IP Address 10.107.107.215 ก็จะพบการเริ่มต้นใช้งาน wordpress ทันที
    เริ่มจาก เลือกภาษา แล้วคลิก Continue
    2559-12-02-14_15_03
  13. จากนั้น ตั้ง Site Title, Username ที่จะเข้าใช้, Password, email address แล้วคลิก Install WordPress
    2559-12-02-14_17_39
  14. แค่นี้ก็ใช้ wordpress ได้แล้ว
    2559-12-02-14_18_17
  15. ที่ Nagios ก็จะสามารถใช้งานได้ที่ IP 10.107.107.95 (วิธีการเข้าใช้งาน มี Username/Password ที่กำหนดไว้แล้ว)
    2559-12-02-14_21_15
  16. ใน Nagios คลิก Service เพื่อเฝ้ารายละเอียดของ Service ต่างๆ
     2559-12-02-14_22_42
  17. ใน Nagios คลิกที่ Map เพื่อดูผังการเชื่อมต่อ
    2559-12-02-14_22_54
  18. เมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มเครื่อง WordPress เพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากขึ้นได้ โดยใน Juju คลิกที่ WordPress แล้วคลิก Scale จากนั้นให้เพิ่มเครื่องไปอีก 1 เครื่อง แล้วคลิก Confirm
    จากนั้นคลิก Commit Changes
    2559-12-02-14_23_39
  19. รอสักครู่
    2559-12-02-14_24_14
  20. ก็จะพบว่า ใน Nagios ก็จะเพิ่มเครื่องใหม่ในการเฝ้าระวังให้เองอัตโนมัติด้วย
    2559-12-02-14_29_53

จะง่ายไปไหน?