วิธีการตรวจสอบราคาเครื่องที่ให้บริการบนระบบ Public Cloud

“จะมีวิธีคิดราคา Public Cloud แต่ละเจ้าได้อย่างไรว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ต่อเดือน”

ในปกติแล้ว Cloud แต่ละเจ้าจะมีให้ทดสอบเลือกเครื่อง spec ที่ต้องการและคิดค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ซึ่งตัวเครื่องโดยมากคิดเป็นรายเดือน แต่ส่วนที่คิดตามการใช้งานจริงจะเป็น IOP ของการใช้งาน Storage และการส่งข้อมูลออก หรืออาจจะเป็นจำนวน Traffic สำหรับให้บริการ (นำเข้าข้อมูลไม่เสียตังค์) โดยขอสรุปเป็นบทความดังนี่้ครับ
Target : ต้องใช้เครื่องประมาณ CPU 4 Core, RAM 4-8GB, HDD 100GB รัน Windows Server เพื่อรันระบบที่เขียนด้วย .NET Framework

  • ราคา ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2559

AWS Pricing Calculator
https://calculator.s3.amazonaws.com/index.html

price1 price2 price3
จะเห็นว่าใช้เงินประมาณ $193.98 ต่อเดือน คิดเป็นเงิน 6799.75 บาทต่อเดือน ซึ่งจากการประเมินราคาใน Private Cloud ปัจจุบันที่มหาลัยให้บริการจะคิดที่ 3200 บาทต่อเดือน (4 CPU,8 GB,SAS 100G (Multi-Site Raid 5-Network RAID 1 ราคานี้ไม่รวมค่า OS) แต่ทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีบริการ Storage ที่เป็น SSD ซึ่งถ้าเอาตามการใช้งานจริงที่ไม่ใช่ Database Server, File Server ยังไม่จะเป็นต้องใช้ถึง SSD แต่ในปัจจุบันราคา SSD ของ Server ก็ลดลงมาเยอะมาก โดยที่การจัดซื้ออนาคตคงจะเปลี่ยนเป็น ซื้อ SSD สำหรับทำ Private Cloud แทน ซึ่งราคานี้ยังไม่รวม EBS ที่ไว้สำหรับทำ Snapshot สำรองข้อมูล, Data Transfer ซึ่งดูแล้วที่จะขึ้นได้ในตอนนี้น่าจะมีแค่ Web Server ที่เป็นพวก CMS เพราะการโอนข้อมูลขึ้นลงไม่มากนัก (ยกเว้นที่เว็บที่เน้นการใช้งาน CMS Document Sharing ที่ใช้งานหนัก ๆ อาจจะไม่เหมาะ เพราะใช้ Traffic ขาออกเยอะจากการดาวน์โหลด)

Azure Pricing Calculator
https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/calculator/
price4 price5

จะเห็นได้ว่าราคาใกล้เคียงกับ AWS แต่ได้เนื้อที่น้อยกว่า
price6 price7
ถ้าเพิ่ม Storage อีก 16G จะต้องเพิ่มเงินอีก $1..28 ต่อเดือน รวมเป็น $191.74

Google Cloud Platform Pricing Calculator
https://cloud.google.com/products/calculator/

price8 price9 price10 price11
จะเห็นได้ว่าถูกที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับอีก 2 เจ้า

Digital Ocean Pricing Calculator
https://www.digitalocean.com/pricing/

price12 price13

ขอยกมาอีกเจ้าที่ใช้งานกันเยอะเนื่องจากราคาถูกจะเห็นว่าถูกที่สุด แต่สำหรับเจ้านี้จะไม่มี Windows ให้ใช้งาน

สรุปค่าใช้จ่าย

price14
จากที่เขียนไว้ข้างต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเจ้าไหนดีกว่า เพราะมีปัจจัยอีกเยอะที่ไม่ได้ยกมาเช่น Data Transfer, ราคา Discount ซึ่งเหมือน Google จะมีส่วนลดสำหรับเครื่องที่สอง, Downtime, Speed จึงยกมาเป็นตัวอย่างวิธีพิจารณาคร่าว ๆ ส่วนถ้าซื้อจริงก็คงต้องเตรียมแผนให้สามารถย้ายได้ด้วยในกรณีที่ Cloud ที่ใช้อยู่บริการได้ไม่ตรงกับความต้องการ

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 10 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 39 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More