Year: 2016

  • การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

    จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ
    วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ

     

    WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น

    ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every hour)

     

    ตัวอย่างหน่วยงานที่เผยแพร่ WMS

     

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    *** ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

     

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/

    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    01

    3. เปิดโปรแกรม Google Earth

    4. เพิ่มเลเยอร์ ภาพซ้อนทับ โดยสามารถเพิ่มด้วยการ

    • คลิกไอคอนบน Tools bar หรือ
    • คลิกขวาที่สถานที่ชั่วคราว > เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ หรือ
    • คลิกที่เมนู เพิ่ม > ภาพซ้อนทับ ก็ได้เช่นกัน

    02

    5. แท็บ รีเฟรช > คลิกปุ่ม พารามิเตอร์ WMS

    03

    6. คลิกปุ่ม เพิ่ม… > วางลิงค์ที่คัดลอกมาจากเว็บ NASA จากข้อ 2 > คลิกปุ่ม ตกลง

    04

    7. เลเยอร์โปร่งใส จะแสดงรายการ ให้เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม เพิ่ม ->

    05

    8. รายการที่เลือกจะแสดงในส่วนของเลเยอร์ที่เลือก จากนั้นคลิกปุ่ม ตกลง

    06

    9. ใส่ชื่อชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม ตกลง

    07

    10. จะแสดงข้อมูล Google Earth ตามรูป

    08

    *** ทางตอนกลาง ตอนบน และอีสานของไทยเรา มีความหนาแน่นของจุดความร้อนมากๆเลยนะคับ #ภัยแล้ง

    จากรูปจะเห็นได้ถึงการกระจายตัวหรือจุดความร้อนที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ในด้านต่างๆ ต่อไป อาทิเช่น ภัยแล้ง จุดเสี่ยงการเกิดไฟป่า เป็นต้น

    ___จะเห็นได้ว่า การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลนั้นมากช่วยในการคิดและวิเคราะห์ ต่อยอดงานวิจัยต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น หน่วยงานท่านล่ะคับ มีอะไรที่อยากจะมาแชร์บ้าง? หรืออยากแชร์แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร? คราวหน้าจะมาเขียนวิธีการทำ WMS เพื่อการเผยแพร่ให้นะคับ ^^

     

    สวัสดี—-

  • มาใช้งาน letsencrypt กันเถอะ

    สำหรับใครก็ตามที่มีความจำเป็นที่จะต้องดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบัน ก็ดูเหมือนว่าจะหลีกไม่พ้นที่จะต้องรู้เรื่องของการเซ็ตอัพให้เซิร์ฟเวอร์ที่ต้อดูแล สามารถใช้งานผ่านโปรโตคอล https ได้ นอกเหนือไปจากการใช้งานผ่านโปรโตคอล http ซึ่งเป็นโปรโตคอลมาตรฐานดั้งเดิม สำหรับการให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์

    เอาล่ะ ถ้าจะว่ากันตามตรงแล้ว งานที่ต้องเพิ่มขึ้นมาสำหรับการที่จะทำให้ เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถใช้ https ได้ ถ้าทำให้มันใช้ http ได้แล้ว โดยทั่วไปก็ไม่ได้ยุ่งยากมากขึ้นเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับเซอร์ติฟิเคท (certificate) ที่ใช้ด้วย แต่ว่ากันโดยทั่วไป ระบบที่มีผู้ใช้งานเยอะ ตัวติดตั้งซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการ ก็มักจะจัดเตรียมวิธีการตรงนี้ไว้ให้แล้ว เหลือแค่การเรียกใช้งานเพิ่มแค่ไม่กี่คำสั่ง ก็สามารถใช้งานได้เลย
    ขอยกตัวอย่างเลยก็แล้วกัน สำหรับระบบปฏิบัติการเดเบียนลินุกซ์ (Debian Linux) รุ่น เจสซี่ (jessie) และ ใช้งาน apache เวอร์ชัน 2 เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์

    วิธีการติดตั้งตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็คือ

    $ sudo apt-get install apache2

    เพียงเท่านี้ เราก็สามารถใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ สำหรับให้บริการแบบสแตติกไฟล์ และสามารถใช้สคริปต์แบบ CGI ได้แล้ว
    แล้วถ้าต้องการให้มันรองรับแบบไดนามิก โดยใช้ภาษา php ได้ด้วยล่ะ? ก็ไม่ได้ยากอะไร ก็เพียงเพิ่มโมดูลของ php เข้าไป โดยใช้คำสั่ง

    $ sudo apt-get install libapache2-mod-php5

    ตัวโปรแกรมสำหรับติดตั้ง (apt-get) ก็จะตรวจสอบ แพกเกจที่จำเป็นต้องใช้และยังไม่ได้ติิดตั้งเอาไว้ เช่น php5 แล้วก็ติดตั้งแพกเกจเหล่านั้นให้ด้วยเลยโดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นเราก็สามารถสร้าง index.php ในไดเรคตอรี่ /var/www/html/ แล้วก็เขียนโปรแกรมภาษา php ให้บริการบนเว็บได้เลย

    ทีนี้ถ้าต้องการให้บริการเว็บ โดยใช้ https โปรโตคอลล่ะ เพื่อให้มีการเข้ารหัสข้อมูลที่มีการรับส่งระหว่าง ตัวเว็บเบราเซอร์ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ อันนี้ ไม่จำเป็นจะต้องติดตั้งโมดูลเพิ่มเติม เพราะตัว apache ติดตั้งให้โดยปริยายตั้งแต่แรกแล้ว แต่ ไม่ได้เปิดให้ใช้งานโดยอัตโนมัติ ผู้ดูแลระบบจะต้องสั่งเพิ่มว่า ให้เปิดบริการแบบ https ด้วย โดยใช้คำสั่งดังนี้

    $ sudo a2enmod ssl
    $ sudo a2ensite default-ssl

    และสั่ง restart ตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยใช้คำสั่ง

    $ sudo systemctl restart apache2

    เท่านี้ ก็จะสามารถใช้งาน https โปรโตคอลเพิ่มเติมขึ้นมาจากเดิม ที่ใช้งานได้เฉพาะ http โปรโตคอล

    แต่ … มันไม่ได้จบง่ายๆแค่นั้นน่ะสิ ถึงแม้ว่าการให้บริการจะโดยใช้ https โปรโตคอลจะมีการเข้ารหัสข้อมูลที่มีการรับส่งระหว่างตัวเบราเซอร์กับตัวเซิร์ฟเวอร์ แต่ เซอร์ติฟิเคท (certificate) สำหรับกุญแจที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลนั้น จะเป็นแบบที่เรียกว่า self-signed certificate ซึ่งตัวเบราเซอร์โดยทั่วไปจะ ไม่เชื่อถือ (un trusted) ว่าเป็นเซอร์ติฟิเคท ที่ออกให้กับเว็บไซท์ ที่ระบุว่าเป็นโดเมนนั้นๆจริง

    ในการใช้งานเว็บไซท์ที่ตัวกุญแจเข้ารหัสใช้ self-signed certificate ตัวเบราเซอร์ก็จะ “เตือน”, และสร้างความยุ่งยากในการใช้งานให้กับ ผู้ใช้ที่ต้องการเข้าใช้งานเว็บไซท์นั้นๆ

    นั่นอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อะไร สำหรับเว็บไซท์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้บริการภายในหน่วยงานกันเอง ซึ่งผู้ใช้งานในหน่วยงาน อาจจะใช้วิธีการอื่นๆ เช่นเดินไปถาม, โทรศัพท์ไปถาม, ส่ง e-mail ไปถาม … หรือในกรณีที่เป็นจริงส่วนใหญ่ ก็คือ ไม่ต้องถาม ก็แค่กดปุ่มยอมรับความเสี่ยง ให้ตัวเบราเซอร์จำเซอร์ติฟิเคทนั้นไว้ แล้วก็ใช้งานไปแค่นั้นเอง

    แต่นั่น อาจจะเป็นปัญหาในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ถ้าเว็บไซท์ดังกล่าว เปิดให้บริการให้กับบุคคลภายนอกหน่วยงานด้วย

    ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวหน่อยก็แล้วกัน ถ้าเว็บไซต์ของภาควิชาใดภาควิชาหนึ่ง ในหลายๆคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดให้บริการแบบ https ขึ้นมา และบุคคลภายนอก ซึ่งบุคคลภายนอกนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น บุคคลภายนอกของมหาวิทยาลัย แม้กระทั่งบุคคลากรของมหาวิทยาลัย แต่อยู่ต่างคณะ หรือแม้ต่างภาควิชา การที่จะตรวจสอบว่า เว็บดังกล่าว เป็นเว็บของหน่วยงานนั้นจริงๆ ก็เริ่มเป็นเรื่องยุ่งยากขึ้นมาระดับนึงแล้ว ถ้าต้องให้บริการกับบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยด้วย การที่จะตรวจสอบว่าเป็นเว็บของหน่วยงานนั้นๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่ ยุ่งยากเกินเหตุ … แน่นอน ในทางปฏิบัติ ใครที่จำเป็นจะต้องเว็บไซท์เหล่านั้น ก็คงจะต้องใช้ต่อไป ก็เพราะจำเป็นที่จะต้องใช้ ไม่ว่าตัวเบราเซอร์จะเตือนให้ระวังอย่างไร

    มันเป็นสิ่งที่ไม่ดี ในทางหนึ่ง มันเป็นการฝึกให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ ยอมรับ ในความไม่ปลอดภัยที่อาจจะมี และ นำไปใช้งานกับเว็บไซท์อื่นๆด้วย

    ทางแก้ล่ะ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยาก “มาก” แต่อย่างใด ก็แค่หาเซอร์ติฟิเคทที่ยอมรับโดยตัวเบราเซอร์มาใช้งานแค่นั้นเอง

    อย่างไร? … ก็ … จ่ายตังค์ ซื้อ … 🙂

    นั่นอาจจะทำให้เป็นเรื่องยุ่งยาก “มาก” ขึ้นมาทันทีสำหรับ หลายๆหน่วยงาน (ฮา)

    สำหรับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจจะมีอีกหนึ่งทางเลือก นั่นคือว่า ถ้าเว็บไซท์ที่ผู้ดูแล มีโดเมนเป็น .psu.ac.th และไม่ได้เป็นโดเมนย่อยของ .psu.ac.th อีกที ตัวอย่างเช่น เว็บไซท์ www.psu.ac.th ถือว่าอยู่ในโดเมน .psu.ac.th แต่เว็บไซท์ www.coe.psu.ac.th จะอยู่ในโดเมนย่อย .coe ของ โดเมน .psu.ac.th อีกทีนึง

    สำหรับเว็บไซท์ ที่อยู่ภายใต้โดเมน .psu.ac.th และไม่ได้อยู่ในโดเมนย่อย ก็จะสามารถติดต่อทาง ผู้ดูแลระบบเครือข่ายของศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อขอใช้เซอร์ติฟิเคทสำหรับเว็บไซท์นั้นได้ เนื่องจากศูนย์คอมพิวเตอร์ จะซื้อเซอร์ติฟิเคทแบบที่เรียกว่า wildcard สำหรับโดเมน .psu.ac.th ซึ่งจะสามารถออกใบเซอร์ติฟิเคทสำหรับเว็บไซท์ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้โดเมนย่อยของ .psu.ac.th ให้ได้

    แล้วสำหรับผู้ดูแลของเว็บไซท์ ที่ไปขอเซอร์ติฟิเคทของศูนย์คอมพิวเตอร์มาใช้งานไม่ได้ล่ะ ไม่ว่าจะสาเหตุเนื่องจาก โดเมนที่ใช้อยู่เป็นโดเมนย่อยของ .psu.ac.th อีกที หรือ ใช้โดเมนอื่นอยู่ที่ไม่ใช่ .psu.ac.th ทำอย่างไรดี?

    ก็ … จ่ายตังค์ซื้อสิ … เฮ่ย ไม่ใช่!
    งั้น … ใช้ self-signed certificate ต่อ … เฮ้ย! … แล้วจะเขียนมาหาพระแสงของ้าว อะไร …

    โอเค อีกทางเลือกนึง ก็ตามที่เขียนไว้ในหัวข้อบทความน่ะแหละครับ มันมีทางเลือกที่เราจะใช้เซอร์ติฟิเคทที่รองรับโดยเบราเซอร์ทั่วไป และ ไม่ต้องจ่ายตังค์ นั่นคือใช้บริการของ letsencrypt ซึ่ง … ยังมีเรื่องที่ต้องพูดถึงกันอีกยาวพอสมควร และ โดยความขึ้เกียจของผู้เขียน ถ้าจะรอให้เขียนเสร็จเป็นบทความเดียวแล้วค่อยตีพิมพ์เลย ก็เดาได้ว่า คงจะไม่เสร็จแหละ สำหรับใครๆที่สนใจจะอ่านก่อนว่าขั้นตอนที่จะเอามาใช้งานทำได้อย่างไรบ้าง ก็เริ่มต้นจาก ที่นี่ https://letsencrypt.org/getting-started/ ได้ครับ

    ผมขอจบบทความนี้ ไว้แค่นี้ก่อน แล้วค่อยมาต่อ ภาค 2 (หวังว่า) ในเวลาอีกไม่นาน 🙂

  • รีวิวทดลองใช้ฟรี Google Cloud Platform สร้าง Web Server (LAMP)

    1. ไปที่  https://cloud.google.com/ คลิกลงชื่อเข้าใช้และล๊อกอินด้วย gmail (หรือ @psu.ac.th ก็ได้)

    image001

    (more…)

  • Spam 2/3/59

    จดหมายหลอกลวง สังเกตุ from และ to
    และการหลอกถามรหัสผ่านแบบ …. สิ้นคิด

    2016-03-02 08_42_09-PSU __ Webmail

    ส่วนอันนี้จากคุณสงกรานต์แจ้งมาครับ หลอกให้คลิกไฟล์แนบ ข้างใน Trojan ครับ คอยดักเก็บข้อมูลจากเครื่องของท่าน

    ใครเจอให้ลบทิ้งทันที ไม่ต้องลองเปิดนะครับ

    12804831_10204291062435780_4470881441801361379_n

  • file checksum integrity verifier

    Microsoft มี file checksum integrity verifier เป็น command line สามารถดาวน์โหลดมาใช้เพื่อตรวจสอบ file.iso ที่ดาวน์โหลดมาว่ามี md5sum ตรงกับที่หน้าเว็บไซต์แจ้งไว้หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่หยิบเอา file.iso ที่อาจโดนใส่โปรแกรมไว้เนื่องจากเว็บไซต์ที่วางไฟล์ไว้อาจโดยแฮก ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://www.microsoft.com/en-us/download

    และค้นด้วยคำว่า file checksum integrity verifier

    fciv-website

    แตกไฟล์ออกมาไว้ใน Folder ที่ต้องการ เช่น Downloads

    นำมาใช้โดยเปิด Command Prompt และพิมพ์คำสั่ง fciv.exe file.iso ดังตัวอย่าง

    fciv-example

     

  • Spam 18/2/59

    จดหมายหลอกลวง

    Phishing Email

    2016-02-18 16_37_24-[Sysadmin] report phist Fwd_ เราปรับเพียงเซิร์ฟเวอร์ของคุณที่จะให้บริการคุณดีขึ้

    2016-02-18 16_25_28-[Sysadmin] report phish[Fwd_ Warning & Very Urgent] - kanakorn.h@psu.ac.th - Psu

     

    เว็บไซต์หลอกลวง

    Phishing Website

    2016-02-18 16_26_30-psuac

  • การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server

    จากกระแสไฟไหม้พื้นที่ทางการเกษตรทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลในการเตรียมพื้นดินสำหรับการเพาะปลูกทั้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดวิกฤตหมอกควันไฟครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ผู้เขียนจึงได้จัดทำแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (Hotspot) แบบ Real Time (มีการอัพเดทข้อมูลจุดความร้อนทุกๆชั่วโมง) โดยใช้การนำเข้าข้อมูล WMS (Web Map Service) จากเว็บไซต์ NASA

    มาดูวิธีการสร้างเว็บแผนที่(Web Map Application) ด้วยการนำเข้า WMS บน ArcGIS Server 10 กันนะคับ

    2016-02-14_17-51-55

    ขั้นตอนหลักๆ จะมี 3 ส่วนคือ

    1. การสร้างไฟล์นำเข้า WMS ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop
    2. การสร้าง Services บน ArcGIS Server
    3. การสร้าง Web Map Application บน ArcGIS Server

    โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/
    2. คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link address

    00

    3. เปิดโปรแกรม ArcGIS Desktop > เปิด Catalog > คลิก GIS Server > Add WMS Server

    01

    4. วางลิงค์ที่ได้จากเว็บ ที่ช่อง URL แล้วคลิกปุ่ม Get Layer

    http://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/wms/c6/?SERVICE=WMS&VERSION=1.1.1&REQUEST=GetMap&LAYERS=fires24&width=1024&height=512&BBOX=-180,-90,180,90&&SRS=EPSG:4326

    02

    5. จะปรากฏชั้นข้อมูล > คลิกปุ่ม OK

    03

    6. Catalog จะแสดง WMS จากนั้นลากข้อมูลวางไว้ตรงพื้นที่งาน

    04

    7. แสดงจุดความร้อน โดยมีชั้นข้อมูลแบบ 24 ชม. และ 48 ชม.

    05

    8. เปลี่ยนชื่อชั้นข้อมูล เพื่อเข้าใจง่ายต่อการแสดงผ่านเว็บ

    06

    9. เพิ่มข้อความในแผนที่เพื่อให้เครดิตเจ้าของข้อมูล โดยคลิกที่เมนู Insert > Text

    07

    10. พิมพ์ Power by Firms Group of NASA แล้วปรับแต่งขนาดและตำแหน่งของข้อความ

    08

    11. จากนั้นทำการ Save ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    12. ต่อไปเป็นขั้นตอนการสร้าง web map application โดยเปิด ArcGIS Server Manager

    13. ทำการสร้าง Services โดยคลิกที่ Services > Manager Services > Publish a GIS Resource

    09

    14. แท็บ General ใส่ชื่อ service ตรงช่อง Name :  ในที่นี้ใช้ชื่อ hotspot2016

    10

    15. แท็บ Parameters ตรง Map Document: ให้คลิกเลือกไฟล์ที่ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้ในโปรแกรม ArcGIS ในที่นี้ไฟล์ชื่อ hotspot2016.mxd

    11

    16. แท็บ Capabilities กำหนดค่าตาม default

    12

    17. แท็บ Pooling ปรับตัวเลขให้เป็น 10 ตรงช่อง Maximum number of instances > คลิกปุ่ม Save and Restart

    13

    18. เมื่อได้สร้าง Services แล้ว ต่อไปทำการสร้างเว็บ ด้วยการคลิกที่ Applications >
    Create Web Application

    14

    19. ตั้งชื่อเว็บเป็น Fire ซึ่งจะเป็นชื่อเว็บสำหรับการเผยแพร่

    15

    20. แท็บ Layer เพื่อเลือก Services ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ คือ hotspot2016 > คลิกปุ่ม Add

    16

    21. เพิ่ม Layer แผนที่ฐาน (Basemap) เพื่อเป็นพื้นหลังของแผนที่ โดยมี 2 Layers ที่แสดงเป็นแบบ Roads และ Aerial with labels > จากนั้นคลิกปุ่ม Add

    17

    22. จะปรากฏชั้นข้อมูล (Layers) ตามที่ได้เลือกไว้ โดยทำการเปลี่ยนชื่อ Layer เพื่อให้เข้าใจง่ายในการแสดงผล

    18

    23. ทำการตั้งค่าการแสดง scale ของแผนที่ด้วยการคลิกปุ่ม Define… ตามรูป

    19

    24. ปรับขนาดการแสดงผลหน้าจอตามต้องการ ในที่นี้ปรับให้พอดีกับประเทศไทย > คลิก OK

    20

    25. ปรับแต่งชื่อเรื่องเว็บและ web links > คลิกปุ่ม Finish

    21

    26. จะปรากฏ web application ที่ได้ทำการสร้างไว้ ในที่นี้จะเป็น http://servername/fire

    22

    27. คลิกที่เว็บลิงค์ จะปรากฏหน้าต่างเว็บขึ้นมา ดังรูป

    23

    28. หากเผยแพร่แล้วจะเป็น http://slb-gis.envi.psu.ac.th/fire

    2016-02-14_17-51-55

    *** ยาวนิดนะคับ พอดีทำรายงานเลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่สนใจเรื่อง Web Map Application และสำหรับใครหลายๆคนที่อาจจะยังมองไม่ออกว่า เอ??? GIS Web Map นี่เขาทำกันอย่างไร?

    *** ข้อดีของ WMS (Web Map Service) คือ จะเป็นการเชื่อต่อข้อมูลจากต้นทางมายังเว็บไซต์เรา โดยหากต้นทางมีการ update ข้อมูล ก็จะทำให้แผนที่ของเรา update ไปด้วยแบบอัตโนมัติ

    ข้อเสีย คือ หากเว็บต้นทางล่ม หรือยกเลิกการใช้งาน เว็บเราก็จะล่มไปด้วย (ไม่มีการแสดงผลทางหน้าเว็บ)

    *** ข้อดีของ ArcGIS Server คือ สะดวก มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน แต่การปรับแต่งความสวยงามของเว็บ ยังคงด้อยกว่า Geoserver + OpenLayer ซึ่งเป็น Open source อยู่นะคับ ที่สำคัญคือ ต้องซื้อ license ในราคาที่ค่อนข้างสูงอยู่

    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • วิธีนำไฟล์ iso Linux Mint ลง USB Flash Drive ด้วยโปรแกรม Rufus for Windows

    วิธีนำไฟล์ iso Linux Mint ลง USB Flash Drive ด้วยโปรแกรม Rufus for Windows

    เป็นการทำให้เราสามารถ boot Linux Mint ด้วย USB Flash Drive แทนการ Boot จากแผ่น DVD

     

    ขั้นตอน

    1.ดาวน์โหลด Linux Mint ISO file จากที่นี่ http://www.linuxmint.com/ (หรือในม.อ.ที่นี่ https://licensing.psu.ac.th)

    2.ดาวน์โหลดโปรแกรม Rufus จากที่นี่ https://rufus.akeo.ie/

    Rufus : Create bootable USB drives the easy way

    3.นำไฟล์มาวางไว้ที่ Desktop ใช้ได้โดยไม่ต้องทำขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม

    rufus

    4.เสียบ USB Flash Drive

    5.เปิดโปรแกรม Rufus

    rufus02

    5.คลิกเลือก ISO file ที่ดาวน์โหลดมา และคลิก Start

    rufus03

    6.คลิก OK ยืนยันการใช้ค่าที่แนะนำ

    rufus04

    7.รอจนเสร็จ

    rufus05

  • Spam 22/1/59

    จดหมายหลอกลวง ห้ามคลิก Link ลบทันที

    2016-01-22 12_59_52-PSU __ Webmail

    2016-01-22 13_01_01-Program Manager