สวัสดีครับ หลังจากใช้เวลานานในการคิดว่าจะเขียนอะไรดี ก็คิดได้ว่านำเอาความรู้ที่ได้จากการไปเรียนทบทวนเรื่องวิศวกรรมซอฟต์แวร์มาเล่าสู่กันฟังดีกว่า เรื่องที่จะเล่านี้ก็คือ การเขียน Specification ในรูปแบบหนึ่งซึ่งอาจจะใหม่สำหรับบางคน เรียกว่า Algebraic Specification (ชื่อภาษาไทยว่าอะไร ไปหาเอาเองนะครับ) Algebraic Specification เป็นรูปแบบหนึ่งของ Formal Specification (อย่าเพิ่งงงนะครับ) ในการเขียน specification รูปแบบนี้จะใช้คณิตศาสตร์เข้ามาช่วยเพื่อให้เห็นการติดต่อระหว่าง module หรือ component ที่ชัดเจน แล้วมันต่างจากที่เขียนอยู่ยังไง? ถ้าคุณเขียน specification พรรณนาด้วยภาษามนุษย์ยาวเป็นหน้า ๆ อันนั้นเรียกว่า form-based specification ครับ เป็นวิธีการเขียนที่มนุษย์อ่านแล้วเข้าใจมากกว่า แต่ในการใช้ภาษาเขียนนั้น อาจจะเกิดความกำกวมได้ครับ ประเภทที่คนอ่าน อ่านแล้วงง อ่านแล้วรู้สึกว่ามีหลายความหมายหรือเข้าใจไม่ชัดเจนซึ่งอาจเป็นผลมาจาก…
Day: July 15, 2015
Icon Font
บทความนี้จะพูดถึงคำ 2 คำ คือ Icon และ Font ที่ใช้งานบนเว็บ ซึ่งทุกคนคงจะรู้จัก Web Icon กันดีอยู่แล้วว่ามันคือรูปภาพขนาดเล็กที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ เช่น รูปแว่นขยายมีความหมายถึงการค้นหาข้อมูล รูปแผ่นดิสก์ใช้แทนความหมายของการบันทึกข้อมูล เป็นต้น รูปภาพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์นามสกุล .png ซึ่งสามารถทำเป็นรูปที่มีพื้นหลังโปร่งใสได้ ในส่วนของการใช้งาน Font บนเว็บไซต์นั้นสามารถอ่านได้จากบทความ @font-face ครับ กล่าวโดยสรุปแบบง่ายๆ คือ Font เป็นข้อความที่ใช้นำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ครับ และการพัฒนาเว็บไซต์ในปัจจุบันนี้ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น เมื่อมีการนำ Icon และ Font มารวมกัน คือการทำ Icon…
@FONT-FACE
การใช้ฟอนต์นำเสนอข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ หรือ Web Typography ในยุคแรก นั้น Browser จะเป็นตัวกำหนดว่าจะนำเสนอด้วยฟอนต์อะไร ทำให้การแสดงผลในแต่ละ Browser ไม่เหมือนกัน ต่อมาใน HTML2 ได้มีการเพิ่มแท็ก <font> เข้ามา และใน CSS2 ก็อนุญาตให้เราสามารถกำหนดฟอนต์ได้เอง แต่ปัญหาที่เจอคือฟอนต์ที่เราเลือกใช้จะต้องถูกติดตั้งบนเครื่องฝั่งผู้ใช้ด้วย ดังตัวอย่างการกำหนดรูปแบบ font ด้วย CSS2 ดังนี้ body { font-family: Gill, Helvetica, sans-serif } เมื่อ Web Browser อ่านเจอ CSS ดังกล่าว อันดับแรกก็จะดูว่าฟอนต์ที่ชื่อ Gill…
ASP.NET MVC Part2: เริ่มต้นสร้างเว็บด้วย MVC with Bootstrap
สวัสดีค่ะ จากบทความที่แล้ว ASP.NET MVC Part 1 : ทำความรู้จักกับ ASP.NET MVC ได้กล่าวถึง ASP.NET MVC ไปบ้างแล้วว่าคืออะไร ในส่วนของบทความนี้จะแนะนำการเริ่มต้นสร้าง Project เพื่อพัฒนา Web Application ด้วย Microsoft Visual Studio 2013 โดยใน MVC5 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุด ได้มีการติดตั้ง Bootstrap มาให้ในตัว ช่วยให้การพัฒนาในส่วนของ View สามารถเรียกใช้งาน Bootstrap class ร่วมกับ Razor syntax(จะกล่าวถึงในบทความถัดไป) ในการแสดงผลหน้า View…
ASP.NET MVC Part 1 : ทำความรู้จักกับ ASP.NET MVC
สวัสดีค่ะ วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำให้รู้จักกับแนวทางการพัฒนา Web Application ด้วย ASP.NET MVC ก่อนหน้านี้ผู้เขียนจะพัฒนา Web Application ด้วย ASP.NET Web Forms มาตลอด และช่วงที่ผ่านมา ผู้เขียนเองมีโอกาสได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับ ASP.NET MVC มาซักระยะหนึ่ง จึงมาเขียนบทความเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ การพัฒนา Web Application ด้วย ASP.NET MVC ซึ่งในบทความนี้ อ้างอิงและแปลมาจากบทความ WebForms vs MVC ซึ่งจะประกอบไปด้วย ASP.NET คืออะไร? ASP.NET Web Forms คืออะไร? MVC คืออะไร?…