รวมเทคนิคการออกแบบ UI ให้สวยงามสำหรับ Designer มือใหม่ (ตอนที่ 3 จบ)

สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านบทความก่อนหน้านี้ ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ:
รวมเทคนิคการออกแบบ UI ให้สวยงามสำหรับ Designer มือใหม่ (ตอนที่ 1)
รวมเทคนิคการออกแบบ UI ให้สวยงามสำหรับ Designer มือใหม่ (ตอนที่ 2)

มาถึงตอนสุดท้ายของบทความรวมเทคนิคการออกแบบ UI ให้สวยงามสำหรับ Designer มือใหม่ ตอนนี้มาช้าเนื่องจากผู้เขียนติดธุระทั้งวัน กว่าจะได้กลับมาเขียนก็ค่ำแล้ว ต้อขอโทษผู้อ่านด้วย เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปติดตามแนวคิดข้อถัดไปกันเลยครับ

แนวคิดที่ 21 : Try Exposing Options instead of hiding them.
_____แนวคิดนี้กล่าวถึงการนำเอา DropdownList มาใช้สำหรับให้ผู้ใช้เลือกตัวเลือกสำคัญๆในหน้าจอนั้น อาจทำให้ผู้ใช้เลือกตัวเลือกไม่ตรงตามที่ต้องการหรือเกิดข้อผิดพลาดจากการคลิก ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ตรงตามต้องการ หรือส่งผลให้เป็นการโน้มน้าวใจผู้ใช้ให้เลือกตัวเลือกที่ถูกตั้งค่าเริ่มต้นกรณีที่ผู้ใช้ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือในกรณีตัวเลือกที่มีให้เลือกนั้นมีจำนวนน้อย นอกจากการใช้ Dropdownlist ก็อาจเปลี่ยนมาใช้ Radio Button แทนได้ จะทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นตัวเลือกได้อย่างชัดเจน ลดขั้นตอนในการทำงานของผู้ใช้ได้อีกด้วย DropdownList จึงเหมาะกับกรณีที่มีตัวเลือกที่หลากหลายมากกว่าidea014

แนวคิดที่ 22 : Try Showing State instead of being state agnostic.
_____ในหัวข้อที่ผ่านมาได้มีการกล่าวถึงการออกแบบให้รองรับสำหรับการแสดงผลแบบตารางกรณีที่ไม่มีค่าข้อมูลหรือเท่ากับ 0 นั้นเอง ซึ่งในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการออกแบบสำหรับกรณีที่มีข้อมูลที่นอกจากจะนำข้อมูลมาแสดงผลแล้ว การแจ้งสถานะของข้อมูลในแต่ละรายการ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ใช้รับทราบถึงผลการทำงานได้ เช่นการแสดงผลของรายการอีเมล์พร้อมทั้งแสดงสถานะว่าอ่านแล้วหรือยังไม่อ่าน รายการเรียกเก็บภาษีพร้อมแสดงสถานะว่ารายการนี้ชำระแล้ว เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ใช้รู้ว่าควรจะดำเนินการส่วนไหนต่อ หรือสิ่งที่ได้กระทำลงไปนั้นได้ผลลัพธ์เป็นเช่นไรidea017

แนวคิดที่ 23 : Try Direct Manipulation instead of contextless menus.
_____ก่อนหน้านี้มีแนวคิดเกี่ยวกับการให้รวมเมนูต่างๆที่ซ้ำกัน มาไว้ในที่เดียวกันทั้งหมด เพื่อผู้ใช้จะสะดวกในการเรียกใช้เมนู แต่ในกรณีของแนวคิดนี้จะเป็นการให้เราแยกเมนูต่างๆลงไปยังรายการนั้นๆ เมื่อข้อมูลในแต่ละรายการ มีการเรียกใช้เมนูที่ไม่เหมือนกันหรือผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลแต่ละรายการได้มากน้อยไม่เท่ากัน การออกแบบให้เมนูอยู่คู่กับรายการจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้ไม่สับสนได้ว่าทำไมบางรายการถึงกดใช้เมนูในแถบเมนูไม่ได้ และลดขั้นตอนที่ผู้ใช้ต้องทำการเลือกรายการก่อนถึงจะไปเรียกใช้เมนูได้ ถามว่าแนวคิดไหนผิด ผู้เขียนขอตอบว่าไม่มีแบบไหนผิด แต่ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานมากกว่าครับidea019

แนวคิดที่ 24 : Try Opt-Out instead of opt-in.
_____ในการออกแบบเงื่อนไขแบบ 2 ตัวเลือกนั้น ปัจจุบันส่วนใหญ่นักออกแบบจะใช้ Checkbox มาใช้ในการเลือกเงื่อนไขกันอย่างแพร่หลาย เช่น ให้ติ๊กยอมรับผล หรือให้ติ๊กถ้าต้องการอีเมล์ตอบรับจากระบบ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่เราออกแบบโดยใช้ Checkbox จะทำให้ผู้ใช้เสียโอกาสต่างๆพอสมควรและเป็นการแสดงตัวเลือกได้ไม่ชัดเจนนักเนื่องจากบางครั้งผู้ใช้อาจลืมไม่ได้เลือกติ๊กรายการต่างๆ การเปลี่ยนมาใช้ Radio Button เราจะสามารถทราบถึงผลลัพธ์ ที่แน่นอนกว่าและลดกรณีที่ผู้ใช้ลืมไม่ได้ติ๊กเลือกรายการที่ต้องการได้ และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้อีกด้วยidea026

แนวคิดที่ 25 : Try Smart Defaults instead of asking to do extra work.
_____มาตั้งค่าเริ่มต้นกันเถอะ เมื่อพูดถึงค่าเริ่มต้นในการกรอกข้อมูลแล้ว อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก ยิ่งเป็นระบบที่กลุ่มผู้ใช้หลากหลาย การกำหนดค่าเริ่มต้นจึงทำได้ยากมาก โดยส่วนใหญ่จะยึดค่าเริ่มต้นตามกลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ซึ่งค่าเหล่านี้ต้องได้มาจากการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มผู้ใช้และใช้ประสบการณ์ของผู้ออกแบบมากพอสมควร ซึ่งข้อนี้ผู้เขียนคิดว่าต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าออกแบบมาดีตรงตามกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่ ก็จะส่งผลให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการกรอกข้อมูลยิ่งขึ้นไปด้วย แถมเป็นการลดเวลาในการใช้งานระบบไปในตัว แต่ถ้าออกแบบมาไม่ดี จะส่งผลให้ผู้ใช้เสียเวลามากขึ้นตามไปด้วยเช่นกันidea028

แนวคิดที่ 26 : Try Inline Validation instead of delaying errors.
_____การกรอกข้อมูลมักจะมาคู่กับการออกแบบเงื่อนไขเพื่อรองรับความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล ซึ่งผู้ออกแบบสามารถใช้เครื่องมือ Validater มาช่วยในการตรวจสอบข้อมูลตามเงื่อนไขที่เราต้องการได้ และเมื่อผู้ใช้งานกรอกข้อมูลไม่ตรงตามเงื่อนไข ก็ควรที่จะแจ้งเตือนความผิดพลาดทันทีเมื่อจบการทำงานในส่วนของการกรอกข้อมูลช่องนั้นๆ แทนการแจ้งเตือนความผิดพลาดทั้งหมดภายหลัง เพื่อผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการย้อนกลับมาตรวจสอบข้อมูลว่าส่วนไหนของรายการที่ผิดพลาดไป และลดความกลัวหรือกังวลให้กับผู้ใช้ได้กรณีที่ผู้ใช้ทราบผลการแจ้งเตือนของข้อมูลที่ผิดพลาดหลายรายการพร้อมๆกันidea033

แนวคิดที่ 27 : Try Forgiving Inputs instead of being strict with data.
_____แนวคิดนี้ต่อเนื่องมาจากข้อก่อนหน้านี้ที่พูดถึงการตั้งค่าเงื่อนไขเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกเข้าสู่ระบบ ซึ่งควรออกแบบให้มีความหลากหลายในการกรอกข้อมูลแทนที่การจำกัดเงื่อนไขในการกรอกแบบตายตัว ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่เป็นมิตรกับระบบได้ แต่การออกแบบให้รองรับการกรอกข้อมูลหลายรูปแบบนั้น ค่อยข้างจะทำได้ยากและเสียเวลาในส่วนของการพัฒนาโปรแกรม เช่นการกรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ รูปแบบในการกรอกค่อนข้างมีหลากหลาย ไม่ว่าจะใส่วงเล็บ ใส่เครื่องหมายขีดกลาง แม้กระทั้งเว้นวรรคระหว่างกลุ่มตัวเลข ในด้านการเขียนโปรแกรมอาจเขียนได้ยากพอสมควร แต่สำหรับด้านการใช้งานถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกและลดเวลาในการกรอกข้อมูลแก่ผู้ใช้ได้เช่นกัน idea034

แนวคิดที่ 28 : Try Progressive Disclosure instead of overwhelming.
_____ในการออกแบบแบบสอบถามผ่านระบบนั้น ผู้ออกแบบไม่ควรสร้างแบบสอบถามที่แสดงคำถามทั้งหมดให้ผู้ใช้ตอบถึงแม้บางเงื่อนไข ผู้ใช้ไม่จำเป็นที่จะตอบคำถามในข้อนั้นๆ หรือคำถามดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้เลย การออกแบบให้การตอบคำถามข้อนั้นๆเป็นการนำไปสู่คำถามข้อถัดไปจะช่วยลดคำถามที่ไม่จำเป็นกับผู้ใช้ได้ ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่เกิดความสับสนหรือรู้สึกไม่ดีกับการตอบแบบสอบถามidea043

แนวคิดที่ 29 : Try Useful Calculations instead of asking to do math.
_____แนวคิดนี้เป็นตัวช่วยที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้คล้ายๆกับกรณีที่ให้มีการแจ้งเตือนสถานะของรายการข้อมูล โดยจะกล่าวถึงการคำนวนค่าต่างๆที่สามารถทำได้ในระบบให้ผู้ใช้ทราบได้ เช่นการแจ้งเตือนหมดอายุการเป็นสมาชิกในรายการต่างๆ การบอกระยะเวลาของอีเมล์ที่ได้รับแทนการบอกเป็นวันเวลาแบบตรงๆซึ่งผู้ใช้ต้องเสียเวลาในการคิดคำนวนว่าอีเมล์ดังกล่าวมาถึงนานแล้วหรือไม่ เราอาจนำเอาแนวคิดก่อนหน้านี้มาใช้ร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้นidea053

แนวคิดที่ 30 : Try Responsive Layouts instead of static ones.
_____เนื่องด้วยปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมถึงในปัจจุบันได้มีเครื่องมือสื่อสารหลายขนาดและรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ Tablet หรือแม้แต่โทรทัศน์เองก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เช่น ความกว้าง ความสูง ความละเอียดหน้าจอ เป็นต้น ทำให้การออกแบบหน้าจอต้องคำนึงถึงการแสดงผลที่รองรับกับอุปกรณ์ต่างๆเช่นกันแทนการออกแบบให้หน้าจอแสดงผลได้เพียงบนคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายในการใช้งานไม่ว่าจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ก็ตามidea070

สรุปส่งท้าย
_____สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนจบทั้ง 3 ตอน ซึ่งจริงๆแล้วยังมีอีกหลายแนวคิดที่ผู้เขียนไม่ได้นำเอามาเขียนในชุดบทความนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ GoodUI.com เลยครับ และขออภัยถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือผู้เขียนแปลความหมายผิดไปจากต้นฉบับ และถ้าต้องการเสริมในหัวข้อไหน สามารถมา Comment บอกกันได้ครับ จะรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง สุดท้ายนี้หวังว่าชุดบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอบคุณครับ

Comments are closed.