เดี๋ยวนี้จะเห็นบน Facebook มีการแชร์เนื้อหาจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วโปรยหัวข้อข่าวให้แบบว่า น่าคลิกมาก อยากอ่านเนื้อหาต่อ จนทำให้คนต้องคลิกไปอ่าน พวกนี้เรียกว่า “Clickbait” — bait แปลว่า เหยื่อ
และบางเว็บ ก็ช่างหน้าไม่อาย เอาเนื้อหาเก่ามานำเสนอ เพื่อให้คนคลิกไม่พอ ยังแอบอ้างว่า ผลงานการหาข่าวเป็นของตัวเองอีกต่างหาก เช่น
http://www.bigza.com/news-175102
เนื้อหาบอกว่าเป็นการเขียนว่า ข่าววันที่ 9 ก.ค 58 แถม “ผู้สื่อข่าว” BigZa อีกต่างหาก (แล้วมาเลี่ยงภายหลังว่ารับข่าวจาก Social Media)
โดยบอกว่า คนนี้เป็นต้นโพสต์ … ต้องการเลือด ?? ไม่ระบุว่า ที่ไหน ให้ใคร เมื่อไหร่ (บางแหล่งให้เบอร์โทรญาติ ซึ่งบางทีเขาได้รับเลือด ได้รับความช่วยเหลือไปแล้ว ยิ่งโทรไป ทำให้เขาเดือดร้อนรำคาญอีก)
พวกนี้ มันทำอย่างนี้ ทำไม ???? ตอบ เพราะทุกครั้งที่เรา “คลิก” อ่าน มันจะได้อันนี้ … โฆษณา …
เอาหล่ะ แล้วจะตรวจสอบอย่างไร ว่า เป็นข่าวจริงหรือไม่ บน Google Chrome สมัยนี้ สามารถคลิกขวาที่ภาพ แล้ว เลือก “Search Google for this image”
ผลที่ได้คือ ภาพข่าว และ รายละเอียดว่า เป็นข่าวที่เผยแพร่มาแล้ว เมื่อไหร่
เมื่อลองคลิกเข้าไปในสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ ก็พบว่า ข่าวดังกล่าว เกิดขึ้นตั้งแต่ 25 เมษายน 58
เรียนมาเพื่อพิจารณา …