Day: December 3, 2014

  • ทำความรู้จักกับ Web Map Application

    หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ

    ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน

    ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    01

    จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ

    ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์

    คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน?
    ตอบ : จัดทำขึ้นเองด้วยโปรแกรมด้าน GIS หรือหลายหน่วยงานจะมีให้ดาวน์โหลดฟรี หรือหากเป็นข้อมูลของภาคใต้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคใต้) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    คำถาม : เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง?
    ตอบ : ในทุกๆด้าน
    05

    ลักษณะการติดต่อกันระหว่างส่วนเครื่องแม่ข่ายและส่วนของผู้ใช้งาน02

    GIS Web App. จะเชื่อต่อผ่านระบบให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า WMS (Web Mapping Service) อ่านเพิ่มที่นี่ ฉะนั้น Web Map Server จะต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อรองรับการให้บริการ web map service ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ Geoserver (Freeware) และ ArcGIS Server (License) ** จริงๆแล้วมีหลากหลายค่ายให้เลือกมากมายแต่สองตัวนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

    04 03

    *** ในส่วนของการติดตั้งและความยากง่ายในการใช้งานของ Web Map Server ทั้งสองตัวนี้ จะมาเล่าให้ฟังคราวหน้านะครับ ^^

    สรุป
    Web Application ต่างจาก Web Map Application ตรงที่… ข้อมูลที่จะแสดงลงบนแผนที่นั้นมีความซับซ้อนของชั้นข้อมูล และรวมไปถึงข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางด้าน GIS แล้วนำเสนอในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ นั่นหมายถึงระบบแม่ข่าย(Server) ก็จะต้องใช้โปรแกรมที่รองรับด้าน web map service ด้วยเช่นกัน

    ตัวอย่าง Web Map App.

  • วิธีติดตั้ง Window Manager แบบน้อยที่สุดบน Ubuntu Server

    เนื่องจากต้องการสร้าง VirtualBox ขนาดเล็กสุดๆเพื่อใช้เตรียมทำ Workshop แต่จะไม่สะดวกสำหรับผู้อบรมที่ไม่คล่องเรื่องคำสั่งบน Linux มากนัก อยากให้ Copy-Paste ได้บ้าง จึงต้องหาวิธีลง Window Manager ให้พอใช้ได้

    เริ่มต้นจากติดตั้ง ubuntu server version ที่ต้องการ จะใช้พื้นที่ประมาณ 890 MB คราวนี้เลือก Window Manager ที่เล็กที่สุดแต่ใช้งานง่าย นั่นคือ LXDE หรือ lubuntu-desktop ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าลงแบบ Default มันจะลากเอาสิ่งที่ไม่ต้องการมามากมาย ทำให้ขนาดที่ใช้ขยายจาก 890 MB ไปถึง 2.5 GB ซึ่งใหญ่เกินไป

    จึงไปค้นหาวิธีดูพบว่าให้ทำดังนี้
    1. sudo apt-get install –no-install-recommends lubuntu-desktop
    2. เมื่อติดตั้งเสร็จ ให้ reboot เครื่องหนึ่งรอบ ก็จะเข้าสู่ lubuntu แบบน้อยที่สุด ใช้พื้นที่ไปเพียง 1.3 GB
    3. ปัญหาต่อมา หากใช้บน VirtualBox ก็จะติดปัญหาเรื่อง Screen Resolution ที่บีบบังคับไม่ให้เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ จึงต้อง ติดตั้ง Guest Additions ลงไป แต่ เนื่องจากเป็นการลงแบบเล็กที่สุด จึงไม่ติดตั้งพวก Build Tools มาด้วย จึงต้องใช้คำสั่งนี้ก่อน
    sudo apt-get install build-essential
    4. จากนั้น จึงติดตั้ง Guest Additions ต่อไป แล้วปรับ Screen Resultion ได้ตามต้องการ