การติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพ Server : Apache Jmeter บนเครื่อง Windows

โปรแกรม Jmeter เป็นโปรแกรมสารพัดประโยชน์ใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการรองรับโหลดจำนวนมาก โดยในเบื้องต้นผมยังจะไม่อธิบายรายละเอียดโปรแกรมมากนะครับ จะนำเสนอแค่วิธีติดตั้ง และการ Test ในส่วนที่เป็น Web Server แบบไม่มี Script อะไรพิเศษเป็นหลัก แล้ววันหลังค่อยมาเปล่าในส่วนอื่น ๆ เช่นการ Test Load Database, LDAP, FTP, WebService ฯลฯ ถ้ามีโอกาสครับ

ความต้องการพื้นฐานสำหรับโปรแกรม Jmeter
1. Java 6 ขึ้นไป
2. OS ซึ่งรองรับทั้ง Unix, Windows

วิธีการติดตั้งบน Windows 
Test OS : Windows 8.1
1. ติดตั้ง JAVA สามารถทำการ Download และติดตั้งได้จาก

http://www.java.com/en/download/index.jsp

2. ดาวน์โหลดโปรแกรม Jmeter ได้จาก

http://jmeter.apache.org/download_jmeter.cgi

3. Save file .zip ดังรูป
2014-05-22_202646

4. ทำการแตกไฟล์ออกมา และทำการรันไฟล์ ApacheMeter.jar ดังรูป (จะปรากฎเป็น icon java สามารถ double click รันได้เลย)
2014-05-22_203814

ตัวอย่างการสร้าง Test Plan เพื่อทดสอบ Web Server

1. ทำการสร้าง Thread Group ภายใต้ Test Plan ดังรูป
2014-05-22_204434

2. หลังจากนั้นจะปรากฎหน้าต่างให้ตั้งค่าได้ดังนี้
2014-05-22_205548

Number of Threads (users) : จำนวนผู้ใช้งานที่ต้องการ ณ เวลานั้น ๆ (concurrent users)
Ramp-up Period (in seconds) : เวลาหน่วงในการเพิ่มผู้ใช้งานจนถึงจำนวน Number of Threads ที่ตั้งไว้ เช่น Number of Threads = 300, Ramp-up Period = 60 แสดงว่า ภายใน 60 วินาทีจะมี จำนวนผู้ใช้เข้าสู่ระบบรวม 300 คน (ค่อย ๆ เพิ่มเข้าไปจนครบ 300 ใน 60 วินาที)
Loop Count : คือจำนวนรอบที่ทำ ถ้าติด Forever ก็แสดงว่าทำตลอดไป

*หมายเหตุ ระวังอย่างตั้งค่าเว่อร์จนเกินไป เครื่องผู้ที่สั่ง Test อาจจะทำงานไม่ไหว Hang ได้

3. จากนั้นทำการสร้าง Sampler ที่เป็น HTTP Request เพื่อกำหนดค่า config เบื้องต้นที่จำเป็นในการทดสอบ ดังรูป
2014-05-22_212211

4. จะปรากฎให้ตั้งค่า หลัก ๆ ถ้าต้องการยิงทดสอบธรรมดา ๆ ให้ใส่เฉพาะ Server Name หรือ IP และ Path เช่น /regist.php ถ้าต้องการยิงหน้าแรกก็ใส่ / เฉย ๆ ดังรูป

2014-05-22_212413

5. หลังจากนั้นทำการเพิ่มในส่วนของรายงานผล โดยแนะนำ 2 ตัวคือ View Results Tree และ Graph Results
2014-05-22_210512

6. ตัวอย่างผลลัพธ์จาก Results Tree (วิธีการรัน Test ให้กดที่ปุ่ม Play สีเขียว และปุ่ม Stop สีแดงเพื่อหยุด)2014-05-22_212755

7. ตัวอย่างผลลัพธ์ในรูปแบบ Graph Results2014-05-22_213206

Reference :
[1] http://www.narisa.com/forums/index.php?app=blog&blogid=9&showentry=3019
[2] http://www.narisa.com/forums/index.php?app=blog&blogid=9&showentry=2873

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 6 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More