Day: May 23, 2014

  • การทดสอบประสิทธิภาพ Web Server ประเภท Static Page : Apache2 vs Lighttpd บนเครื่อง Ubuntu 14.04 LTS

    เครื่องมือในการทดสอบ
    Web Server OS : Ubuntu 14.04 LTS
    Client OS : Windows 8.1
    Software : Apache Jmeter 2.11

    Environment :
    Web Server
    Ubuntu Server (Oracle VM VirtualBox)
    Intel Haswell 1.6GHz (2.30GHz) 4 core RAM 512G
    Client
    Windows 8.1 (Physical Notebook)
    Intel Haswell 1.6GHz (2.30GHz) Intel Haswell 4 core RAM 8G
    – รันอยู่บนเครื่องเดียวกัน
    – ใช้ค่า Default ไม่มีการ Tuning เพิ่มเติม

    วิธีการทดสอบ

    1. ทำการตั้งค่า Apache ให้อยู่คนละ Port กับ Lighttpd2014-05-23_063514

    2. ทำการสร้าง Static Page โดยมีตำแหน่ง และ HTML Code (index.html) ดังนี้

    Apache : /var/www/html/index.html
    สำหรับ Apache ให้ rename ไฟล์เดิมก่อนเนื่องจากมีไฟล์อยู่แล้วด้วยคำสั่งดังนี้

    sudo mv /var/www/html/index.html /var/www/html/index.html_bak
    

    Lighttpd : /var/www/index.html

    <!DOCTYPE HTML PUBLIC -//W3C//DTD HTML 4.0 Transitional//EN">
    <html>
    <head>
    <title>Webserver test</title>
    </head>
    <body>
    This is a webserver test page.
    </body>
    </html>

    3. เปิดโปรแกรม Jmeter ทำการ Add Thread Group, HTTP Request, View Results Tree และ Graph Results
    2014-05-23_063658

    4. ทำการทดสอบโดยชี้ไปที่ Web Site ของ Web Server ที่ต้องการ โดยมีตัวอย่างดังรูป
    (จะสังเกตุว่ามีการตั้งค่า Timeout = 1500 ms เพื่อป้องกันโปรแกรมค้าง เนื่องจาก Web Server ไม่ยอมตอบ)
    2014-05-23_105637

    *หมายเหตุ ระหว่างรัน Test สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่อง Web Server โดยติดตั้งโปรแกรมชื่อ htop ดังนี้

    sudo apt-get install -y htop
    

    พิมพ์คำสั่ง htop จะปรากฎหน้าจอดังรูป2014-05-23_065732

    การตั้งค่าทดสอบ

    Number of Threads (users) : 500,1000,2000,2500,3000
    Ramp-Up Period (in seconds) : 1
    Loop Count : 1

    ตัวอย่างการทดสอบ

    จำนวน Users ที่เปิด Page ไม่สำเร็จ

    Number of Threads (users) 500 1000 2000 2500 3000
    Apache2 0 28 424 2232 Jmeter Hang
    Lighttpd 0 0 3 1418 Jmeter Hang

    ซึ่งการทดสอบแบบไม่มีการ Tuning อาจจะไม่ Fair สำหรับแต่ละ Web Server (แม้ผลจะออกมาชัดว่า Lighttpd เหนือกว่า) เพราะยังไม่ได้มีการดึงประสิทธิภาพหรือตั้งค่า Limit Connection ให้รองรับได้สูงสุด และยังมีในส่วนของ Cache หลาย ๆ แบบที่จะช่วยให้ไม่ต้องประมวลผล Page เดิม ๆ ซ้ำบ่อย ๆ แต่ถึงกระนั้นวิธีนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการทดสอบก่อนจะมีการใช้งานจริง เพื่อทำให้เราเตรียมการได้ทันท่วงที เช่นทดสอบแล้วมีบ้าง SQL ที่ใช้เวลานานกว่าปกติ หรือ database connection limit

    สำหรับ Jmeter นั้นสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย สามารถเขียน Script ในลักษณะของ Batch Job เพื่อดู Flow การทำงานของทั้ง Web Database และอื่น ๆ ถ้าใครอยากศึกษาเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จาก Google ทั่ว ๆ ไปครับ

    Reference :
    [1] http://www.cyberciti.biz/tips/howto-performance-benchmarks-a-web-server.html

  • การติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพ Server : Apache Jmeter บนเครื่อง Windows

    โปรแกรม Jmeter เป็นโปรแกรมสารพัดประโยชน์ใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพการรองรับโหลดจำนวนมาก โดยในเบื้องต้นผมยังจะไม่อธิบายรายละเอียดโปรแกรมมากนะครับ จะนำเสนอแค่วิธีติดตั้ง และการ Test ในส่วนที่เป็น Web Server แบบไม่มี Script อะไรพิเศษเป็นหลัก แล้ววันหลังค่อยมาเปล่าในส่วนอื่น ๆ เช่นการ Test Load Database, LDAP, FTP, WebService ฯลฯ ถ้ามีโอกาสครับ

    ความต้องการพื้นฐานสำหรับโปรแกรม Jmeter
    1. Java 6 ขึ้นไป
    2. OS ซึ่งรองรับทั้ง Unix, Windows

    วิธีการติดตั้งบน Windows 
    Test OS : Windows 8.1
    1. ติดตั้ง JAVA สามารถทำการ Download และติดตั้งได้จาก

    http://www.java.com/en/download/index.jsp
    

    2. ดาวน์โหลดโปรแกรม Jmeter ได้จาก

    http://jmeter.apache.org/download_jmeter.cgi
    

    3. Save file .zip ดังรูป
    2014-05-22_202646

    4. ทำการแตกไฟล์ออกมา และทำการรันไฟล์ ApacheMeter.jar ดังรูป (จะปรากฎเป็น icon java สามารถ double click รันได้เลย)
    2014-05-22_203814

    ตัวอย่างการสร้าง Test Plan เพื่อทดสอบ Web Server

    1. ทำการสร้าง Thread Group ภายใต้ Test Plan ดังรูป
    2014-05-22_204434

    2. หลังจากนั้นจะปรากฎหน้าต่างให้ตั้งค่าได้ดังนี้
    2014-05-22_205548

    Number of Threads (users) : จำนวนผู้ใช้งานที่ต้องการ ณ เวลานั้น ๆ (concurrent users)
    Ramp-up Period (in seconds) : เวลาหน่วงในการเพิ่มผู้ใช้งานจนถึงจำนวน Number of Threads ที่ตั้งไว้ เช่น Number of Threads = 300, Ramp-up Period = 60 แสดงว่า ภายใน 60 วินาทีจะมี จำนวนผู้ใช้เข้าสู่ระบบรวม 300 คน (ค่อย ๆ เพิ่มเข้าไปจนครบ 300 ใน 60 วินาที)
    Loop Count : คือจำนวนรอบที่ทำ ถ้าติด Forever ก็แสดงว่าทำตลอดไป

    *หมายเหตุ ระวังอย่างตั้งค่าเว่อร์จนเกินไป เครื่องผู้ที่สั่ง Test อาจจะทำงานไม่ไหว Hang ได้

    3. จากนั้นทำการสร้าง Sampler ที่เป็น HTTP Request เพื่อกำหนดค่า config เบื้องต้นที่จำเป็นในการทดสอบ ดังรูป
    2014-05-22_212211

    4. จะปรากฎให้ตั้งค่า หลัก ๆ ถ้าต้องการยิงทดสอบธรรมดา ๆ ให้ใส่เฉพาะ Server Name หรือ IP และ Path เช่น /regist.php ถ้าต้องการยิงหน้าแรกก็ใส่ / เฉย ๆ ดังรูป

    2014-05-22_212413

    5. หลังจากนั้นทำการเพิ่มในส่วนของรายงานผล โดยแนะนำ 2 ตัวคือ View Results Tree และ Graph Results
    2014-05-22_210512

    6. ตัวอย่างผลลัพธ์จาก Results Tree (วิธีการรัน Test ให้กดที่ปุ่ม Play สีเขียว และปุ่ม Stop สีแดงเพื่อหยุด)2014-05-22_212755

    7. ตัวอย่างผลลัพธ์ในรูปแบบ Graph Results2014-05-22_213206

    Reference :
    [1] http://www.narisa.com/forums/index.php?app=blog&blogid=9&showentry=3019
    [2] http://www.narisa.com/forums/index.php?app=blog&blogid=9&showentry=2873