สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมได้ลองติดตั้งอะไรหลายๆอย่าง ซึ่งได้ทำเป็นไฟล์ pdf แล้วด้วยบางส่วน แต่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งวันนี้ห่างหายไปนานกับการเขียนบล็อกเนื่องจากไม่ว่างแล้วก็งานยุ่งมาก แต่ก็มีความคิดอยากจะเขียนบทความอยู่นะ พอดีขณะนี้ได้โอกาศเลยขอมาจัดซักหน่อยหนึ่งบทความ โดยในบทความนี้ผมก็เขียนขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กับการทำงานในคณะเหมือนเดิม คือ เครื่องเซิร์ฟเวอร์เครื่องเก่าเป็น windows 2003 ซึ่งอายุก็มากกว่า 7 ปีแล้ว สภาพเครื่อง cpu ram part มันหมดอายุการผลิตไม่สามารถซื้อมาอัพเกรดเพิ่มได้ จึงต้องเปลี่ยนที่อยู่ให้เว็บไซต์ภายในเครื่องใหม่ คือ ย้ายโฮสต์นั่นแหละครับ คราวนี้เปลี่ยนมาติดตั้ง virtual แทน โดย OS: Ubuntu Server 12.04.3 LTS i386 ตอนแรกว่าจะโหลดแบบ 64 bit มาใช้งานแต่กลัวมันไม่เข้ากับ software ที่จะติดตั้งตัวอื่นๆเลยใช้แบบนี้ไปก่อน โดยอันดับแรกผมก็ติดตตั้ง ubuntu 12.04.3 LST นะ โดยไม่ได้ใช้แบบสำเร็จรูป โดยตอนเลือกติดตั้ง ผมเลือก Package Openssh-server และ LAMP เพื่อนำมาทำเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยเมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ลองทดสอบเรียกหน้า localhost หรือเรียกไปที่ ip เครื่องก็จะแสดงสถานะการทำงานว่า It’s Work apache2 ทำงานได้ ส่วน service ของ mysql ก็ทำงานได้ตามปกติแต่เวลาจะเข้าไปจัดการมันนี่สิ ถ้าไม่มี tool ก็ลำบากหน่อย จึงได้ไปโหลด script authentication ของ อาจารย์ฉัตรชัย จาก share มาใช้งาน http://share.psu.ac.th/blog/etc/19218 ซึ่งเขียนตั้งแต่ปี 54 ปัจจุบัน 56 แล้วก็ยังใช้งานได้อยู่นะ (ของแกดีจริง ๕๕๕)
จากนั้นมาอัพเกรด ubuntu ของเราก่อนโดย
1. sudo apt-get update
2. จากนั้น ใช้คำสั่งติดตั้ง phpmyadmin โดย sudo apt-get install phpmyadmin ระบบก็จะให้เราเลือกว่าเราจะใช้ host ตัวใหน ระหว่าง apache2 หรือ lighthttp ถ้าติดตั้ง LAMP ก็เลือก apache2 นะ จากนั้นระบบจะให้เรากรอกรหัสผ่านของ mysql
จากนั้นระบบก็จะให้เราตั้งรหัสผ่านสำหรับ root ของ phpmyadmin และก็ให้เรายืนยันรหัสอีกครั้ง
จากนั้นให้เราทดสอบเปิด localhost/phpmyadmin ดูว่ามาใหม ถ้ามาแสดงว่าเราทำถูกต้องแล้ว
ถ้าไม่มาให้กลับไปเช็คว่าเราใส่รหัสผิดตรงใหนใหม โดยใช้คำสั่ง sudo dpkg-reconfigure phpmyadmin และตรวจสอบดูว่ารหัสที่เราใช้ถูกต้องใหมนะ ใครทำผ่านก็ข้ามข้อนี้ไป
3.จากนั้นเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วเราก็ไปสร้าง data base และ user name เพื่อให้ joomla สามารถติดตั้งบน ubuntu ของเราได้
ตรงนี้เราก็กำหนด username , password และก็ host ที่จะใช้งานให้กับ user นี้
จากนั้นตรงสิทธิ์การใช้งาน data base ก็เลือก ให้ใช้งานได้เพียง database นี้เท่านั้น และตรงสิทธิ์ที่ไม่ใช้ใน joomla ก็ไม่ต้องเลือกให้ก็ได้เพื่อความปลอดภัยในภายภาคหน้า
4.เมื่อสร้างเสร็จแล้วเราก็ไปโหลด joomla มาจากเว็บโดยใช้คำสั่ง wget
wget http://joomlacode.org/gf/download/frsrelease/18622/83487/Joomla_3.1.5-Stable-Full_Package.zip เราอยู่ตรงใหนไฟล์ก็จะโหลดมาตรงนั้น หากเราอยู่ใน /home/champy ไฟล์มันก็จะมาอยู่ในนี้ โดยจากลิงค์ไฟล์มันเป็น .zip ใช้โปรแกรมแกะซิบออกมา ผมใช้ unzip แต่ยังไม่ได้ติดตั้งเลยต้องติดตั้งเพิ่มอีก ด้วยคำสั่ง apt-get install unzip
เมื่อติดตั้ง unzip เสร็จเราก็มาแกะไฟล์ โดยใช้คำสั่ง
sudo unzip Joomla_3.1.5-Stable-Full_Package.zip –d /var/www/student-affairs (ชื่อโฟลเดอร์ปลายทางของผมคือ student-affairs)
จากนั้นไฟล์ที่เราแตกออกมามันจะไปอยู่ที่ var/www/student-affairs ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นเรามาทดลองเปิดหน้าติดตั้ง joomla ได้เลยโดยไปที่ ip ของเครื่องโฮสเรา เช่นเครื่องผม 192.168.73.113/student-affairs/ หน้า install สำหรับ joomla จะเด้งขึ้นมาทันที ดังรูปด้านล่าง
5.ลืมบอกไป เวลาเราติดตั้ง joomla เราต้องอนุญาติให้ apache มีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์ของเว็บที่เราจะติดตั้งใน /var/www/student-affairs ด้วยนะ โดยผมใช้คำสั่ง sudo chown -R www-data:www-data /var/www/user โดยเปลี่ยน user และ owner ให้เป็น www-data ก่อน ติดตั้งแล้วค่อยเปลี่ยน
จากนั้นเปลี่ยนสิทธิ์ด้วยโดย sudo chmod g+wrx /var/www/student-affairs
จากนั้นไปเปิดหน้าติดตั้ง joomla ของเราอีกทีครับ
หน้านี้เราก็กรอกข้อมูล เลือกภาษาไทย ตัวนี้รองรับการติดตั้งแบบภาษาไทยแล้ว กรอกชื่อ และรหัสผ่านด้าน back end ของเว็บ
หนเานี้ตั้งค่า database และเลือก host เป็น localhost พร้อมกับชื่อฐานข้อมูลและรหัสผ่าน
จากนั้นเข้ามาสู่ส่วนเปิดให้บริการ ftp ให้ ใครจะเปิดก็เปิดครับใครไม่เปิดก็เลือกให้มันปิด
จากนั้นมันจะสรุปข้อมูลการติดตั้งให้ พร้อมกับถามว่าเราจะติดตั้งข้อมูลตัวอย่างหรือ content ตัวอย่างบนหน้าเว็บหรือไม่
เมื่อพิจารณาแล้วเราก็กดต่อไปเพื่อติดตั้ง
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วมันจะให้เราลบข้อมูลการติดตั้งก่อน โฟลเดอร์ install นั่นแหละ
หากกดแล้วได้หน้าแบบนี้คือคุณยังไม่ได้แก้สิทธิ์ ให้ apache เขียนไฟล์ ต้องกลับไปแก้สิทธิ์ตามข้างบนที่ผมยกตัวอย่างก่อนนะ
หากแก้เรื่องสิทธิ์การเขียนไฟล์แล้วจะสามารถกดลบ โฟลเดอร์ installation ได้ และได้หน้าตาแบบนี้ จากนั้นลองเปิดหน้าเว็บ และหน้าผู้ดูแลระบบดู
หน้าสำหรับผู้ดูแลระบบจะได้หน้าแบบนี้
6.หากได้ดังนี้ถือว่าผ่านครับ แต่ยังไม่จบนะต้องกลับไปเปลี่ยนสิทธิ์ไฟล์ของเว็บเราก่อนเพื่อความปลอดภัย
sudo chown -R champy /var/www/student-affairs เพื่อให้สิทธิ์ของ joomla เป็นสิทธิ์อื่นที่ไม่ใช่ www-data ซึ่งเป็น ของ apache2