Month: September 2013

  • ติดตั้ง LibreOffice 4.1 บน Ubuntu และ Linux Mint

    • Add repository โดย repository นี้ใช้ได้สำหรับ Ubuntu รุ่น Precise, Quantal, Raring และ Linux Mint ในรุ่นที่เทียบเคียงกัน เช่น ปัจจุบัน Linux Mint 15 ซึ่งเทียบเคียงได้กับ Ubuntu Raring เป็นต้น ด้วยคำสั่ง

    sudo add-apt-repository ppa:libreoffice/ppa

    • เนื่องจากในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีไซต์ http://mirrors.psu.ac.th ซึ่งได้ทำการ mirror ไซต์ต่างๆ ที่จำเป็นไว้แล้วส่วนหนึ่ง รวมถึง repository ของ LibreOffice ด้วย ดังนั้น สามารถใช้งานได้ โดยการแก้แฟ้ม /etc/apt/sources.list.d/libreoffice-ppa-raring.list จากเดิม มีอะไรอยู่ให้แก้เป็นดังนี้ โดยหากเป็น Ubuntu รุ่นอื่นๆ ก็ให้เปลี่ยนคำว่า raring เป็นรุ่นที่ใช้งาน สำหรับ Linux Mint ก็ยังคงใช้รุ่นของ Ubuntu ที่เทียบเคียงกันมาเช่น Linux Mint 15 ก็ให้ใช้ของ raring

    deb http://mirrors.psu.ac.th/ppa/libreoffice/ raring main

    • สั่ง update ฐานข้อมูล software ด้วยคำสั่ง

    sudo apt-get update

    • สั่ง upgrade software ซึ่ง LibreOffice จะถูก upgrade ไปในคราวเดียวกันโดยอัตโนมัติด้วยคำสั่ง

    sudo apt-get -y dist-upgrade

    • จบ.. ขอให้สนุกครับ

    ที่มา

        http://www.ubuntuupdates.org/ppa/libreoffice

  • การติดตั้งเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด

    การติดตั้งเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด

    • เตรียมอุปกรณ์ Hardware
    • เตรียมชุดข้อมูล Software+config
    • Config ระบบอินเทอร์เน็ต

    เตรียมอุปกรณ์ Hardware มีอะไรบ้าง ? (สำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิด 4 ช่องสัญญาณครับ)

    1. สาย RG สีขาวยี่ห้อ Link หรือ Commscope ยาว 100 เมตร

    2. หัวแจ๊คสัญญาณ RG 6 (BNC Type) จำนวน 4 ตัว

    3. รางเก็บสายไฟฟ้า PVC สีขาว 5*5 cm ยาว 4 m.

    4.สายไฟฟ้า VCT 2*0.5  SQ.mm หรือ VCT 2*1.5 SQ.mm ความยาว 20 เมตร

    5.ปลั๊กตัวเมีย 2 ตัว

    6. กล่องกันน้ำขนาด 6*6*8 จำนวน 2 ใบ

    7. เกลียวปล่อยขนาด #7*1 หัว JP  30 ตัว

    8 พุกผีเสื้อจำนวน 30 ตัว

    9.เครื่องบันทึกภาพ 4 ช่อง INNEKT ZLD104A H.264 Full D1 อินเตอร์เฟช GUI OSD, คอนโทรลเลอร์ USB Mouse 4CH

    10.กล้องอินฟาเรด ขนาด 1/3″CMOS ความละเอียด 600 TVL

    11.Harddisk western digital ขนาด 500 GB

    รวมราคา 14,097.25 บาท นี่คือราคาของอุปกรณ์ Hardware ที่เราซื้อมาติดตั้ง รวม Vat 7% แล้วนะครับ

    สำหรับการเดินสายอุปกรณ์ทั้งหมดในส่วนของ Hardware ต้องขอขอบพระคุณพี่ประเสริฐ นายช่างใหญ่จากจังหวัดภูเก็ตเดินทางมาติดตั้งให้ครับ (งานนี้จะเป็นงานเดินสายสัญญาณบนฝ้าเพดานครับ)

     

     

    การเชื่อมต่ออุปกรณ์กล้องวงจรปิด

     

    รูปที่ 1 แสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์กล้องวงจรปิด

     

    เตรียมอุปกรณ์ Software+Config มีอะไรบ้าง ? (สำหรับการติดตั้งกล้องวงจรปิด 4 ช่องสัญญาณครับ)

     

    1. หน้าจอสำหรับ Monitor เครื่อง DVR  สำหรับการเข้าใช้งานครั้งแรก

     

    •       ใส่ User Name : admin , Password : 123456   (การทำงานของระบบคลิกซ้ายคือการเข้าใช้งาน คลิกขวาคือการย้อนกลับไปยังเมนูก่อนหน้า)

    2. วิธีการตั้งค่าวันที่และเวลาเครื่อง

    • คลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration > System ตั้งค่าวันที่และเวลาเรียบร้อยแล้วกดปุ่ม Save กด Apply และกด OK

    3. วิธีการตั้งค่าการบันทึก

    • คลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration >Record
    • Channel คือ การเลือกกล้อง
    • Resolution คือขนาดของภาพ แนะนำที่ D1
    • Frame Rate คือ ความเร็วในการบันทึก Real-time อยู่ที่ 25 FPS
    • สามารถ config All Channel ได้จากฟังก์ชัน Copy ครับ

    4. วิธีการเลือกรูปแบบการบันทึก สามารถเลือกได้ 3 รูปแบบ คือ บันทึกตลอดเวลา, บันทึกเฉพาะเวลาที่ต้องการ และบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์

    • การตั้งค่าการบันทึกตลอดเวลา คลิกขวาเลือก > Record > Manual
    • การตั้งค่าบันทึกเฉพาะเวลาที่ต้องการ คลิกขวาเลือก > Record > Schedule  เมื่อเลือกการตั้งค่าแบบนี้จำเป็นต้องตั้งค่าเวลาที่ต้องการบันทึก สามารถทำได้โดย คลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration >Record > Record Plan  โดยแถบสีเขียว คือ การบันทึกแบบ Manual, แถบสีเหลือง คือ การบันทึกแบบ Motion และ แถบสีแดงคือการบันทึกแบบ Alarm
    • กดปุ่ม Set เพื่อทำการตั้งค่าเวลาที่ต้องการบันทึก
    • การตั้งค่าบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์  จำเป็นต้องตั้งค่า Record ให้เป็น Schedule ก่อนโดยเข้าไปที่เมนู คลิกขวา > Record > Schedule หลังจากนั้นเข้าไปที่ฟังก์ชัน Alarm เพื่อตั้งค่าการบันทึก คลิกขวา Main Menu > Configuration >Alarm > Detect  เลือก Channel ที่ต้องการบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์ เพื่อกำหนดพื้นที่ในการตรวจจับและความไวในการตรวจจับวัตถุ (ที่สถาบัน ก็เลือกการตั้งค่าแบบนี้ครับเพราะไม่เปลือง Harddisk)
    • หลังจากกำหนดพื้นที่ในการตรวจจับวัตถุและความไวในการตรวจจับวัตถุได้ ขั้นตอนต่อมาให้เข้าไปที่เมนู Process เพื่อเลือกกล้องที่ต้องการบันทึกเมื่อมีเหตุการณ์  เข้าไปที่เมนู Process > Linkage Set > Record Channel

    5. วิธีการใช้งานโปรแกรม iNNEKT ผ่านคอมพิวเตอร์

    • ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม iNNEKT ผ่านคอมพิวเตอร์ได้นั้นต้องตั้งค่าระบบก่อนสามารถทำได้โดยคลิกขวาเลือก Main Menu > Configuration > Network
    • IP Address : ใส่ IP ที่อยู่ใน group เดียวกับคอมพิวเตอร์
    • Gateway : ให้ใส่เป็นค่า IP ของ Router
    • หลังจากตั้งค่า IP และ gateway แล้วต้องตั้งค่า Port ที่เมนู Advance เลือก Multicast
    • TCP Port : 8000 , HTTP Port : 80
    • ลงโปรแกรม แผ่น CD Software ที่แถมมาให้ตอนซื้อเครื่องบันทึกภาพ (เครื่อง DVR)  ผมลงโปรแกรมบน Window 7 Professional 32 bit ครับ  เมื่อลง Software เสร็จเรียบร้อย ถ้าหากดับเบิ้ลคลิกโปรแกรมจะไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ต้องคลิกขวา –>Run as administrator ครับ

    เมื่อเปิดโปรแกรมจะขึ้นแบบนี้

     

     

    login

     

    รูปที่ 2 แสดงการเข้าสู่ระบบผ่านคอมพิวเตอร์

    • ให้กด OK เพื่อเข้าสู่ระบบได้เลยครับ
    • จากนั้นไปเลือกเมนู Setting > Device Config เพื่อ Add Device ครับ
    • เลือก Search Device (อุปกรณ์ต้องอยู่ในวงแลนเดียวกัน)
    • กดที่ Device แล้วกด Add
    • เข้ามาแก้ไขชื่ออุปกรณ์
    • ใส IP Address หรือ Host name
    • ใส่ User name : admin , Password : 123456
    • กดปุ่ม Get Device Channel Count
    • กดปุ่ม Select Organization First เพื่อเลือกที่อยู่
    • ใส่ Device Port  : 8000
    • กดปุ่ม Update

    6. ขั้นตอนการดูภาพผ่าน Web Browser

    • ทดลองใน IE 10 นะครับ ใส่ IP Address ของเครื่อง DVR ครับ : 192.168.xx.xx
    • ใส่ Username : admin , Password : 123456
    • หากเจอปัญหา ActiveX  ให้เลือก Tool > Internet Option
    • เลือก Security > Custom level
    • ในส่วนที่เป็น ActiveX เลือกเป็น Enable ให้หมด ถ้าหัวข้อไหนเลือก Enable แล้วมีแถบสีแดงให้เลือกเป็น Prompt แทน

    กล้อง

    รูปที่ 3 แสดงการการดูผ่านเวบ

     

    7. การดูผ่านโทรศัพท์มือถือ

    • สามารถดาวโหลด Application เพื่อดูผ่านโทรศัพท์มือถือได้ มีเวอร์ชั่น Iphone, Android
    • วิธีการลงโปรแกรม IZee Pro เข้าไปที่ Store แล้ว Search โปรแกรม IZee Pro แล้วทำการติดตั้ง
    • add device เข้าไปที่เมนู Device List ใส่ค่า Name , Address , TCP port , User ID,password
    • กดปุ่ม Save จะได้ Device มาอยู่บน List

    Config ระบบอินเทอร์เน็ต

    • ต้องขอขอบคุณ พี่โกศล โภคาอนนต์ ศูนย์คอมที่ช่วย Fig IP Address ให้กับอุปกรณ์ DVR ทำให้สามารถเข้าดูผ่านอินเทอร์เน็ตได้
    • หากต้องการดูจากภายนอกมหาวิทยาลัย ต้อง VPN เข้ามาใช้เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยก่อน หรือไม่ก็ขอโดเมนใหม่จากทางศูนย์คอมพิวเตอร์

    Chio..

  • hands on backup joomla website and restore

    เรื่อง hands on backup joomla website and restore นี้จัดเตรียมโดยใช้ Oracle VM VirtualBox เพื่อฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการ backup website ในตัวอย่างจะใช้ joomla web site ซึ่งการ backup คงจะมีหลายแบบตามชนิดของการตั้ง website ในกรณีนี้ก็จะเป็นแบบตั้ง server เองแล้วใช้ apache web server + mysql server ที่ติดตั้งเอง

    สภาพแวดล้อมที่เตรียมมีดังนี้
    ubuntu router: มี Fix IP Address 10.0.100.1 (แจก DHCP IP Address ให้แก่ server1, server2 และ client)
    server1: 10.0.100.206 (joomla website รันบน apache web server)
    server2: 10.0.100.207 (backup)
    client: 10.0.100.205 (เพื่อใช้งาน ssh ผ่านทาง terminal และเพื่อใช้งาน firefox web browser)

    KM4-backup-diagram

    รูปภาพระบบทดสอบนี้

     

    การเตรียม VM
    ดาวน์โหลด [ ubunturouter-dhcp.ova  1.1GB ]  [ ubuntuserver-lamp.ova  1.2GB ] [ linuxmint15-live.ova 81KB]  [ linuxmint-15-mate-dvd-32bit.iso  1.0GB ] หรือได้รับแผ่น DVD ไฟล์ทั้งหมดนี้
    แล้วทำดังนี้
    1. ทำ import ไฟล์ ubunturouter-dhcp.ova ตั้งชื่อว่า ubuntu router ตั้ง network adapter1: NAT, ตั้ง network adapter2: internal network (ตั้ง name: intnet1)
    2. ทำ import ไฟล์ ubuntuserver-lamp.ova ตั้งชื่อว่า server1 ตั้ง network adapter1: internal network (ตั้ง name: intnet1)
    3. ทำ import ไฟล์ ubuntuserver-lamp.ova อีกครั้ง ตั้งชื่อว่า server2 ตั้ง network adapter1: internal network (ตั้ง name: intnet1)
    4. ทำ import ไฟล์ linuxmint15-live.ova ตั้งชื่อว่า client ตั้ง network adapter1: internal network (ตั้ง name: intnet1) และตั้งค่า Storage ใช้ CD/DVD ด้วยไฟล์ linuxmint-15-mate-dvd-32bit.iso

    หมายเหตุ เครื่อง 1,2 และ 3 เปิดเครื่องเข้าใช้ด้วย login mama / password 123456

    การเตรียมทำ joomla site ทดสอบ
    1. สร้าง database ที่ต้องการติดตั้ง ตัวอย่าง สร้าง database ชื่อ testdatabase ใช้คำสั่ง

    mysql -uroot -p123456 -e "CREATE DATABASE testdatabase CHARACTER SET 'UTF8';"

    2. กำหนดสิทธิ์การใช้ database testdatabase ให้แก่ user ตัวอย่างสร้าง user ชื่อ mamamysql โดยมีรหัสผ่านว่า mamapass ใช้คำสั่ง

    mysql -uroot -p123456 -e "grant all privileges on testdatabase.* to 'mamamysql'@'localhost' identified by 'mamapass' ;"

    3. เตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง

    sudo mkdir -p /var/www/testjoomla

    4. ดาวน์โหลดแฟ้ม joomla 2.5.9 มาเก็บไว้ด้วยคำสั่ง

    wget http://ftp.psu.ac.th/pub/joomla/Joomla_2.5.9-Stable-Full_Package.tar.gz -P /tmp

    แล้วแตกแฟ้มออกมาเก็บไว้ที่ /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง

    sudo tar -zxvf /tmp/Joomla_2.5.9-Stable-Full_Package.tar.gz -C /var/www/testjoomla

    5. แล้วปรับสิทธิ์เจ้าของ /var/www/testjoomla ให้แก่ apache ด้วยคำสั่ง

    sudo chown -R www-data.www-data /var/www/testjoomla

    6. ต่อไปต้องติดตั้งปรับแต่งระบบ joomla ครั้งแรก เปิด browser (firefox, chrome, Internet Explorer ฯลฯ) แล้วพิมพ์

    http://10.0.100.206/testjoomla

    (หมายเหตุ 10.0.100.206 คือ ip address server ที่ติดตั้ง Joomla)

    ขั้นตอน 1 : Choose language (เลือกภาษา) ให้ click ปุ่ม Next (หรือต่อไป)
    ขั้นตอน 2 : Pre-Installation Check(ตรวจสอบระบบก่อนติดตั้ง) ให้ click ปุ่ม Next (หรือต่อไป)
    ขั้นตอน 3 : License(ลิขสิทธิ์) ให้ click ปุ่ม Next (หรือต่อไป)
    ขั้นตอน 4 : Database Configuration(การตั้งค่าฐานข้อมูล) ให้ใส่ค่าดังนี้ (อย่าลืมใส่ข้อมูลชิดซ้าย ห้ามมีช่องว่าง)
    Database type = mysqli(เลือกที่มี i) (ความแตกต่างระหว่าง mysqli และ mysql)
    Host Name = localhost
    Username = mamamysql
    Password = mamapass
    Database Name = testdatabase เสร็จแล้ว click Next (หรือต่อไป)
    ขั้นตอน 5 : FTP Configuration (ตั้งค่า FTP) ให้ click ปุ่ม Next (หรือต่อไป)
    ขั้นตอน 6 : Main Configuration (ตั้งค่าหลักของ เว็บ) ให้ใส่ค่าดังนี้
    Admin Username = ไม่ต้องแก้ไข ทิ้งไว้เหมือนเดิมคือ admin
    Admin Password = 123456
    Confirm Admin Password = 123456
    อย่าลืม ต้อง Click Install Sample Data (ติดตั้งข้อมูลตัวอย่าง) แล้วกด Next (หรือ ต่อไป)
    ขั้นตอนที่ 7 : Finish (เสร็จสิ้น) (ขั้นตอนสุดท้าย)

    7. แล้วปรับสิทธิ์เจ้าของ /var/www/testjoomla ให้แก่ user ที่ไม่ใช่ www-data ด้วยคำสั่ง

    sudo chown -R mama.mama /var/www/testjoomla

     

    การตั้งค่าการสำรองข้อมูลข้ามเครื่องโดยไม่ต้องถามรหัสผ่าน

    1. ใช้คำสั่งดังนี้คือ

    ssh-keygen -t dsa

    ได้ผลข้อความตัวอย่างว่า
    Generating public/private dsa key pair.
    Enter file in which to save the key (/home/User/.ssh/id_dsa):
    ให้ป้อน Enter จะได้ข้อความตัวอย่างว่า
    Enter passphrase (empty for no passphrase):
    ให้ป้อน Enter จะได้ข้อความตัวอย่างว่า
    Enter same passphrase again:
    ให้ป้อน Enter จะได้ข้อความตัวอย่างว่า
    Your identification has been saved in /home/User/.ssh/id_dsa.
    Your public key has been saved in /home/User/.ssh/id_dsa.pub.
    The key fingerprint is:
    66:ce:cc:8d:33:0d:49:9a:05:26:77:95:1a:3e:96:5f User1@Server1
    ถึงตอนนี้ ระบบจะสร้างแฟ้ม ~/.ssh/id_dsa และ ~/.ssh/id_dsa.pub ขึ้นมา

    2. ให้นำแฟ้ม ~/.ssh/id_dsa.pub จากเครื่องนี้ ไปเก็บไว้ที่ home ของ User2 ปลายทาง @server2
    ด้วยตัวอย่างคำสั่งว่า ssh-copy-id -i ~/.ssh/id_dsa.pub User2@Server2 เช่น

    ssh-copy-id -i ~/.ssh/id_dsa.pub mama@10.0.100.207

    อาจมีการถามรหัสผ่านของ User2@Server2 ให้ป้อนรหัสผ่านให้ถูกด้วย
    หากสำเร็จถูกต้อง ข้อมูลจะถูกเก็บที่ home ของ User2 ปลายทาง @server2 ในแฟ้ม ~/.ssh/authorized_keys

    3. เพื่อความปลอดภัย ให้กำหนดสิทธิ์เฉพาะเจ้าของจึงจะอ่านแฟ้มเหล่านีได้ ด้วยตัวอย่างคำสั่ง

    chmod 600 ~/.ssh/id_dsa ~/.ssh/id_dsa.pub

     

    การตั้งค่า cron เพื่อ backup server1 (10.0.100.206) ไปยัง server2 (10.0.100.207)

    1. ขั้นตอนนี้ต้องเข้าเป็น username root ด้วยคำสั่ง

    sudo su -

    2. สร้างแฟ้ม /etc/cron.d/cron-backup

    nano /etc/cron.d/cron-backup

    ใส่คำสั่งดังนี้

    0 4 * * * root sh /root/backup-joomla.sh

    3. สร้างแฟ้ม /root/mydaily.sh ด้วยคำสั่ง

    nano /root/backup-joomla.sh

    มีข้อมูลคำสั่งต่างๆที่ต้องการสั่งให้ทำงาน ดังนี้

      #!/bin/bash
      TODAY=$(date "+%Y%m%d%H%M")
      mysqldump -u mamamysql -pmamapass testdatabase > /root/testjoomla_${TODAY}.sql
      scp -i /home/mama/.ssh/id_dsa /root/testjoomla_${TODAY}.sql mama@10.0.100.207:backup_testjoomla
      tar -zcp -f /root/testjoomla_${TODAY}.tgz -C /var/www/testjoomla .
      scp -i /home/mama/.ssh/id_dsa /root/testjoomla_${TODAY}.tgz mama@10.0.100.207:backup_testjoomla

    4. เตรียมเสร็จ ให้ลองทดสอบระบบ

    login เข้าไปที่ server2 ด้วย ssh เพื่อสร้างไดเรกทอรี

    ssh -i /home/mama/.ssh/id_dsa mama@10.0.100.207 "mkdir backup_testjoomla"

    ทดสอบ run script นี้สัก 1 ครั้ง

    sh /root/backup-joomla.sh

    ตรวจสอบดูว่ามีการส่งไฟล์ไปเก็บจริงไม๊

    ssh -i /home/mama/.ssh/id_dsa mama@10.0.100.207 "ls -l backup_testjoomla"

    5. เสร็จแล้วสั่งให้ cron ทำงานใหม่ด้วยคำสั่ง

    service cron restart

    6. ออกจาก sudo su ด้วยคำสั่ง

    exit

     

    การ restore joomla web site

    1. สร้าง database ที่ต้องการติดตั้ง ตัวอย่าง สร้าง database ชื่อ testdatabase ใช้คำสั่ง

    mysql -uroot -p123456 -e "CREATE DATABASE testdatabase CHARACTER SET 'UTF8';"

    2. กำหนดสิทธิ์การใช้ database testdatabase ให้แก่ user ตัวอย่างสร้าง user ชื่อ mamamysql โดยมีรหัสผ่านว่า mamapass ใช้คำสั่ง

    mysql -uroot -p123456 -e "grant all privileges on testdatabase.* to 'mamamysql'@'localhost' identified by 'mamapass' ;"

    3. เตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง

    sudo mkdir -p /var/www/testjoomla

    4. แตกแฟ้มที่ backup นั้น (testjoomla_201309031231.tgz) ออกมาเก็บไว้ที่ /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง

    sudo tar -zxvf backup_testjoomla/testjoomla_201309031231.tgz -C /var/www/testjoomla/

    5. import ข้อมูล เข้า ด้วยคำสั่ง

    mysql -uroot -p123456 testdatabase < backup_testjoomla/testjoomla_201309031231.sql

    6. แล้วปรับสิทธิ์เจ้าของ /var/www/testjoomla ให้แก่ user ที่ไม่ใช่ www-data ด้วยคำสั่ง

    sudo chown -R mama.mama /var/www/testjoomla

    7. ก็จะสามารถเข้า server2 ได้ที่ http://10.0.100.207/testjoomla

  • การติดตั้งโปรแกรมชุด Monitor Server (CentOS 6 + Epel + NRPE + NagiosQL + NagiosGraph)

    เนื้อหา

    วิธีการติดตั้ง CentOS และ EPEL Repository

    OS : CentOS 6.3 Nagios : 3.4.X

    1) ติดตั้ง CentOS 6.3

    2) ตั้งค่า Network

    3) ทำการ Update CentOS ให้ใหม่สุดดังนี้

       # yum update

    4) ทำการเปิด Repository EPEL โดยโหลดไฟล์จากดังตัวอย่าง ในตัวอย่างเป็น Version 6.8
    อาจโหลดไม่ได้ถ้ามี Version ใหม่กว่าออกมา

       # wget http://mirrors.thzhost.com/epel/6/x86_64/epel-release-6-8.noarch.rpm

    5) ทำการติดตั้ง EPEL rpm ดังนี้

       # rpm -ivh epel-release-6-8.noarch.rpm

    6) ทำการ Update CentOS อีกครั้ง

    Top


    วิธีการตั้งค่า Time Sync

    1) ติดตั้ง ntpd ดังนี้

       # yum install ntp

    2) ติดตั้งโปรแกรม vim เพื่อใช้ในการแก้ไขไฟล์ ดังนี้

       # yum install vim

    3) แก้ไขไฟล์ /etc/ntp.conf ดังนี้

    ...
    # Please consider joining the pool (http://www.pool.ntp.org/join.html).
    #server 0.centos.pool.ntp.org
    #server 1.centos.pool.ntp.org
    #server 2.centos.pool.ntp.org
    server time.psu.ac.th
    server ntp.ku.ac.th
    ...

    4) ทำการ update เวลาให้ตรงก่อน Start Service ntp ดังนี้

       # ntpdate time.psu.ac.th

    5) ทำการ Start Service ntp และตั้งให้รันตอนเปิดเครื่อง ดังนี้

       # service ntpd start
       # chkconfig ntpd on

    6) คำสั่งสำหรับ Check สถานะการ Sync ต้องรอหลัง Start Service สักพัก * หน้าชื่อ Server
    เป็นตัวบอกว่าเป็น Server ที่กำลัง Sync เวลาด้วยล่าสุด (Service จะเลือกเองว่าจะเลือกใช้ Server ไหน)

       # ntpq -p

    Top


    วิธีการปิด selinux และ firewall

    1) ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/selinux/config ดังนี้

    ...
    #     disabled - No SELinux policy is loaded.
    # SELINUX=enforcing
    SELINUX=disabled
    # SELINUXTYPE= can take one of these two values:
    #     targeted - Targeted processes are protected,
    #     mls - Multi Level Security protection.
    SELINUXTYPE=targeted
    ...

    2) สั่งปิด service firewall ดังนี้

       # service iptables stop
       # service ip6tables stop
       # chkconfig iptables off
       # chkconfig ip6tables off

    3) ทำการ Restart เครื่องเพื่อทดสอบ

       # reboot

    Top


    ตัวอย่างวิธีการ เปิด rule โดยไม่ปิด Firewall

    แก้ไขไฟล์ /etc/sysconfig/iptables ดังนี้

    # Generated by iptables-save v1.4.7 on Mon Feb 18 10:13:39 2013
    *filter
    :INPUT ACCEPT [0:0]
    :FORWARD ACCEPT [0:0]
    :OUTPUT ACCEPT [4:480]
    -A INPUT -m state --state RELATED,ESTABLISHED -j ACCEPT
    -A INPUT -p icmp -j ACCEPT
    -A INPUT -i lo -j ACCEPT
    -A INPUT -p tcp -m state --state NEW -m tcp --dport 22 -j ACCEPT
    -A INPUT -p tcp -m tcp --dport 80 -j ACCEPT
    -A INPUT -p tcp -m tcp --dport 443 -j ACCEPT
    -A INPUT -j REJECT --reject-with icmp-host-prohibited
    -A FORWARD -j REJECT --reject-with icmp-host-prohibited
    COMMIT
    # Completed on Mon Feb 18 10:13:39 2013

    Top


    วิธีการติดตั้ง Nagios

    1) ติดตั้ง Nagios และสั่งเปิดใช้งานอัตโนมัติที่เปิดเครื่องดังนี้

       # yum install nagios
       # chkconfig nagios on
       # service nagios start

    2) สั่ง Start Apache Web Server อัตโนมัติดังนี้

       # chkconfig httpd on
       # service httpd start

    3) ติดตั้ง Plugin ของ Nagios ดังนี้

       # yum install nagios-plugins*

    4) ทำการตั้งรหัสผ่าน User Nagiosadmin ดังนี้

       # htpasswd -c /etc/nagios/passwd nagiosadmin

    5) เปิดใช้งาน https ดังนี้

       # yum install mod_ssl
       # service httpd restart

    6) ทำการสร้างไฟล์ /var/www/html/index.html เพื่อให้ Redirect อัตโนมัติเข้าไปยัง /nagios ดังนี้

    <!DOCTYPE HTML PUBLIC "-//W3C//DTD HTML 4.0 Transitional//EN">
    <html>
    <head>
    <title>Auto Redirect to nagios</title>
    <meta http-equiv="REFRESH" content="0;url=https://<server-name>/nagios"></HEAD>
    <BODY>
    Please Wait.....
    </BODY>
    </HTML>

    7) เพื่อความปลอดภัยให้ปิด Signature เพื่อไม่ให้บอก Version ของ Apache โดยแก้ไขไฟล์ /etc/httpd/conf/httpd.conf ดังนี้

    ...
    # Set to one of:  On | Off | EMail
    #
    #ServerSignature On
    ServerSignature Off
    #
    # Aliases: Add here as many aliases as you need (with no limit). The format is
    # Alias fakename realname
    ...

    8) ทำการ Restart Service Apache ดังนี้

       # service httpd restart

    Top


    ขั้นตอนการเตรียมการติดตั้ง NagiosQL

    1) เบื้องต้นต้องทำการติดตั้ง php5 mysql-server

       # yum install php mysql-server php-mysql

    2) ทำการ config /etc/php.ini ในส่วนของ Timezone ดังนี้

    ...
    [Date]
    ; Defines the default timezone used by the date functions
    ; http://www.php.net/manual/en/datetime.configuration.php#ini.date.timezone
    ;date.timezone = 
    date.timezone = Asia/Bangkok
    
    ; http://www.php.net/manual/en/datetime.configuration.php#ini.date.default-latitude
    ...

    3) ทำการ Start Mysql Server และ ตั้งให้รันอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง

       # service mysqld start
       # chkconfig mysqld on

    4) ทำการตั้ง password root mysql-server ดังนี้ (ไม่แนะนำให้ใช้ mysqladmin เพราะจะค้างอยู่ใน history

    4.1) เข้าไปยัง mysql console ดังนี้

       # mysql -u root

    4.2) ทำการตั้งรหัสผ่าน ดังนี้ (ระวัง password มี ‘ ให้ใส่ \’ ถ้าจะตั้ง password ที่มี ‘)

       mysql>SET PASSWORD FOR 'root'@'localhost' = PASSWORD('secret_password');

    5) สร้าง directory ดังนี้

       # mkdir /etc/nagiosql
       # mkdir /etc/nagiosql/hosts
       # mkdir /etc/nagiosql/services
       # mkdir /etc/nagiosql/backup
       # mkdir /etc/nagiosql/backup/hosts
       # mkdir /etc/nagiosql/backup/services

    6) เปลี่ยนเจ้าของ directory ข้างต้นเป็น [webserver_account].nagios ดังนี้

       # chown -R apache.nagios /etc/nagiosql

    7) ทำการเปลี่ยน Owner ของ Config nagios ให้เป็นดังนี้

       # chown -R apache:nagios /etc/nagios/nagios.cfg
       # chown -R apache:nagios /etc/nagios/cgi.cfg
       # chown -R apache.nagios /var/spool/nagios/cmd/nagios.cmd
       # chmod 640 /etc/nagios/nagios.cfg
       # chmod 640 /etc/nagios/cgi.cfg
       # chmod 660 /var/spool/nagios/cmd/nagios.cmd

    8) สร้าง directory เพิ่มเติมดังนี้

       # mkdir /opt/nagiosql
       # chown apache /opt/nagiosql

    9) ทำการสร้างไฟล์ apache config สำหรับ nagiosql ดังนี้

       # touch /etc/httpd/conf.d/nagiosql.conf

    10) ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/httpd/conf.d/nagiosql.conf โดยเพิ่มข้อความดังนี้

    Alias /nagiosql "/opt/nagiosql"
    <Directory "/opt/nagiosql">
       Options None
       AllowOverride None
       Order allow,deny
       Allow from all
    #  Order deny,allow
    #  Deny from all
    #  Allow from 127.0.0.1
       AuthName "NagiosQL Access"
       AuthType Basic
       AuthUserFile /etc/nagios/passwd
       Require valid-user
    </Directory>

    11) ทำการติดตั้ง extension ssh2 ดังนี้

        # yum install php-pecl-ssh2

    12) ทำการ Restart Apache อีกรอบ

        # service httpd restart

    13) ทำการโหลดโปรแกรมตาม URL ดังนี้

       # cd /opt
       # wget http://downloads.sourceforge.net/project/nagiosql/nagiosql/NagiosQL%203.2.0/nagiosql_320.tar.gz

    14) แตกไฟล์วางใน /opt/nagiosql ดังนี้

       # gunzip -c nagiosql_320.tar.gz | tar -xf - 
       # cd nagiosql32
       # mv * ../nagiosql
       # cd ..
       # rm -rf nagiosql32
       # chown -R apache /opt/nagiosql
       # chmod 750 /opt/nagiosql/config

    Top


    วิธีการติดตั้ง NagiosQL

    1) เปิด Web Browser https://nagios.in.psu.ac.th/nagiosql เพื่อเข้าสู่หน้าติดตั้ง

    2) กดปุ่ม START INSTALLATION เพิ่มไปยังหน้าถัดไป

    3) ตรวจสอบหน้า Checking requirements ถ้าพบข้อความ Environment test completed successfully ให้กดปุ่ม Next

    4) ในหน้า Setup ให้ทำการกรอกข้อมูล User Password Mysql-Server รวมถึง User Password ตั้งต้นของ NagiosQL

    5) จากนั้นกด Finish

    6) ทำการลบ directory install ทิ้ง

    *หมายเหตุ พบว่าระหว่างติดตั้ง แต่การใช้งานถ้ารหัสผ่านมี ‘ จะลงไม่ผ่าน

    7) หลังจากนั้นทำการ Login เข้าไปในหัวข้อ Admnistrator->Config targets

    8) แก้ Path ของ Nagios ดังนี้

    Nagios command file : /var/spool/nagios/cmd/nagios.cmd
    Nagios binary file : /usr/sbin/nagios
    Nagios process file : /var/run/nagios.pid
    Nagios config file : /etc/nagios/nagios.cfg (เหมือนเดิม)

    Top


    วิธีการติดตั้ง NagiogGraph

    1) เปิด Web Browser http://nagiosgraph.sourceforge.net/ เพื่อโหลดโปรแกรม

      # cd /tmp
      # wget http://downloads.sourceforge.net/project/nagiosgraph/nagiosgraph/1.4.4/nagiosgraph-1.4.4.tar.gz

    2) แตกไฟล์ zip ออกมาดังนี้

      # tar -xvzf /nagiosgraph-1.4.4.tar.gz
      # cd nagiosgraph-1.4.4

    3) ติดตั้ง Perl-GD และ Perl-CGI ดังนี้

      # yum install perl-GD perl-CGI

    4) ทำการตรวจสอบโปรแกรมที่ต้องการสำหรับการติดตั้ง ดังนี้

      # ./install.pl --check-prereq

    5) ทำการติดตั้งโปรแกรม nagiosgraph ดังนี้

      # ./install.pl --install
    * Enter ไปเรื่อย ๆ ให้แก้เฉพาะในส่วนของ username or userid of Nagios user? [nagios] เป็น user ที่ใช้งานจริง

    6) ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/nagios/nagios.cfg โดยเพิ่มท้ายไฟล์ดังนี้

    # process nagios performance data using nagiosgraph
    process_performance_data=1
    service_perfdata_file=/tmp/perfdata.log
    service_perfdata_file_template=$LASTSERVICECHECK$||$HOSTNAME$||$SERVICEDESC$||$SERVICEOUTPUT$||$SERVICEPERFDATA$
    service_perfdata_file_mode=a
    service_perfdata_file_processing_interval=30
    service_perfdata_file_processing_command=process-service-perfdata-for-nagiosgraph

    7) ทำการเพิ่ม command ใน web nagiosql ให้รันคำสั่งดัง config ไฟล์นี้

    define command {
    command_name process-service-perfdata-for-nagiosgraph
    command_line /usr/local/nagiosgraph/bin/insert.pl
    }

    8) ทำการเพิ่มท้ายไฟล์ /etc/httpd/config/httpd.conf ให้ include config ไฟล์นี้

    include /usr/local/nagiosgraph/etc/nagiosgraph-apache.conf

    9) ทำการสร้าง Service ชื่อ nagiosgraph ใน web nagiosql โดยไฟล์ config มีข้อความประมาณนี้

    define service {
    name nagiosgraph
    action_url /nagiosgraph/cgi-bin/show.cgi?host=$HOSTNAME$&service=$SERVICEDESC$
    register 0
    }

    10) เพิ่ม Service ดังกล่าวไปยังเครื่องที่ต้องการ
    Top